🔴มาลาริน/9ก.ย.ไทยพบโควิด1รายจากตปท. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคส.ค.ฟื้นเป็นเดือนที่4 หลังโควิดไทยยืนหน้าท.ท.เชิงแพทย์

ด่วน ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันนี้ไม่ใช่คนไทย ข่าวดีหายป่วยเพิ่ม 2 ราย



ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ประจำวันที่ 9 กันยายน 2563 โดยยอดผู้ติดเชื้อโควิดวันนี้

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ประจำวันที่ 9 กันยายน 2563 โดยพบผู้ติดเชื้อโควิดวันนี้เพิ่ม 1 ราย จากสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ หรือ State Quarantine ป่วยสะสม 3,447 ราย รักษาหายวันนี้ 2 ราย รวมแล้ว 3,286 ราย เสียชีวิตรวม 58 รายตามเดิม และเหลือรักษาในโรงพยาบาล 103 ราย
 
สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 1 ราย เป็นผู้ที่เดินทางกลับมาจากประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นชายสัญชาติญี่ปุ่น อายุ 38 ปี เดินทางกลับถึงไทยเมื่อ 4 ก.ย.2563 เข้าพัก Alternative State Quarantine (ASQ) ใน กทม. และตรวจพบเชื้อเมื่อ 7 ก.ย.2563

https://www.komchadluek.net/news/regional/442779?utm_source=homepage&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=section_ข่าวด่วน

คลายล็อกดาวน์-เยียวยาพิษโควิด ดึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ส.ค.อยู่ที่ 51.0 ฟื้นต่อเนื่อง 4 ด.ติด



นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยว่า ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือน ส.ค.63 พบว่า ดัชนีมีการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 มาอยู่ที่ระดับ 51.0 ทั้งนี้เป็นผลมาจากรัฐบาลได้ดำเนินการผ่อนคลายให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา ประกอบกับการที่รัฐบาลออกมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ทั้งมาตรการด้านการเงินและการคลัง เพื่อช่วยเหลือประชาชนทั่วไปและผู้ประกอบการโดยทั่วไป แต่ทั้งนี้ผู้บริโภคยังมีความกังวลสูงเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและการว่างงานในอนาคตที่เกิดจากผลกระทบเชิงลบจาก โควิด-19

โดยดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 43.6 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำอยู่ที่ระดับ 49.1 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 60.4 โดยปรับตัวดีขึ้นทุกรายการเมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนก่อนหน้า

สำหรับดัชนียังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติที่ระดับ 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคตอย่างมาก เพราะมีความกังวลในวิกฤตโควิด-19 ในประเทศไทยและทั่วโลก ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยและการจ้างงานถดถอยลง ซึ่งจะทำให้รายได้ในอนาคตของผู้บริโภคลดลงในที่สุด

https://siamrath.co.th/n/181027

หลังโควิด-19 “ไทย” ยืนแถวหน้าท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของโลก


สถานการณ์โควิด-19 ในไทยเริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น สวนทางกับอีกหลายประเทศในโลกที่ยังต้องเผชิญกับการระบาดที่รุนแรงอยู่ ด้วยศักยภาพของการควบคุมและการบริหารจัดการของภาครัฐและศักยภาพของวงการแพทย์ไทยที่ได้รับการยอมรับอย่างมาก ทำให้พอหลังจากสถานการณ์โควิดเบาบางลงจากนี้ ประเทศไทยจึงน่าจะมีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่แถวหน้าด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของโลกอีกครั้งหลังโควิด-19 ด้วยการแพทย์ New Normal 

เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยเริ่มคลี่คลายลง อีกทั้งประเทศไทยยังถูกจัดอยู่ในอันดับ 1 ในเอเชียโดย Global COVID-19 Index (GCI) ในการฟื้นตัวของแต่ละประเทศจากสถานการณ์โควิด-19 จาก 184 ประเทศทั่วโลก และเป็นประเทศที่บรรเทาการระบาดของไวรัสได้ก้าวหน้าที่สุดในโลก สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยว ถือเป็นจังหวะที่ดีในการสร้างความได้เปรียบทางการตลาดด้านความปลอดภัย และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical and Wellness Tourism) ให้เป็นตัวชูโรงด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยหลังโควิด-19 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศอีกทางหนึ่ง 

จากการประชุมศูนย์กลางด้านการแพทย์ปี 2561 รายงานว่ามีผู้ป่วยต่างชาติมาใช้บริการในด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ประมาณ 3.4 ล้านครั้ง สร้างรายได้ให้ประเทศกว่า 1.4 แสนล้านบาท และไทยยังมีสถานบริการสุขภาพผ่านมาตรฐานคุณภาพสถานพยาบาลระดับสากล JCI ถึง 68 แห่ง มากที่สุดในอาเซียน สะท้อนให้เห็นถึงความได้เปรียบในการแข่งขันด้าน Medical Hub ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายประเทศ



ภญ.อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ผู้อำนวยการด้านบริหาร (CEO) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดเผยว่า บำรุงราษฎร์ให้การบริบาลผู้ป่วยทั้งคนไทยและคนทั่วโลกมาถึง 40 ปี การรักษาคือหัวใจสำคัญที่เรายึดมั่นมาตลอด โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ได้กลายเป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับว่าเป็นต้นแบบและจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของโลก (Medical Tourism Destination) โดยโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของโลกที่ได้การประกาศรับรอง

จาก Global Healthcare Accreditation (GHA) COVID-19 ซึ่งเป็นการรับรองด้านมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากลสำหรับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้ยกระดับสู่โรงพยาบาลในการรักษาขั้นจตุตถภูมิ (Quaternary Care) ซึ่งจะอยู่บนยอดพีระมิดสูงสุดในการรักษาพยาบาล เป็นการให้การบริบาลทางการแพทย์ที่มีความซับซ้อนอย่างมาก ด้วยนวัตกรรมขั้นสูง เราได้เล็งเห็นเทรนด์โลก 

ด้าน Wellness จึงได้ทำงานร่วมกับศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ ไวทัลไลฟ์ ซึ่งเป็นศูนย์สุขภาพการแพทย์เชิงป้องกันแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียที่มีประสบการณ์กว่า 20 ปี เพื่อให้การดูแลสุขภาพครอบคลุมในทุกมิติ ตามแนวคิดการแพทย์แบบผสมผสาน (Integrated Medicine) ทั้งในด้านการแพทย์แผนปัจจุบัน (conventional medicine) และการรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Medicine) แบบองค์รวมซึ่งเป็นเทรนด์ของการดูแลสุขภาพที่มีการวิเคราะห์เชิงลึกถึงระดับพันธุกรรม รวมถึงวางแผนการดูแลรักษาแบบเฉพาะบุคคล (Personalized Medicine) 



รศ.นพ.ทวีสิน ตันประยูร ผู้อำนวยการปฏิบัติการทางการแพทย์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า บำรุงราษฎร์มีทีมที่มีประสิทธิภาพ ทั้งแพทย์เฉพาะทาง เช่น แพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางระบบประสาท ทางลิ้นหัวใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ทารกแรกเกิด มะเร็งเฉพาะส่วน มีพยาบาลวิชาชีพเฉพาะทาง รวมถึงเภสัชกรวิชาชีพกว่า 100 คน ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง ยังมีนักกายภาพบำบัด นักโภชนาการ นักเทคนิคการแพทย์ และบุคลากรวิชาชีพอื่นๆ อีกกว่า 4,800 คนที่ทำงานร่วมกัน
  
นอกจากนี้ บำรุงราษฎร์ได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยเสริมประสิทธิภาพการรักษาอย่างเหมาะสมเพื่อให้สามารถดูแลรักษาโรคเฉพาะทางและซับซ้อนได้อย่างครอบคลุมและมีผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เช่น ศูนย์หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic Surgery Center) การใช้แขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด หรือการนำเทคโนโลยีขัสูง AI IBM Watson for Oncology เพื่อวางแผนการรักษาโรคมะเร็งแบบเฉพาะเจาะจงให้ผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งจากองค์ประกอบ 3 ประการ คือ การบริบาลด้วยความเอื้ออาทร ความร่วมมือระหว่างกัน และการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม จึงทำให้บำรุงราษฎร์ได้รับความไว้วางใจจากผู้ป่วยทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นจำนวนกว่า 1.1 ล้านรายในแต่ละปี และทำให้บำรุงราษฎร์เป็นจุดหมายปลายทางทางการแพทย์ของผู้คนทั่วโลก



กรณีศึกษาโควิด-19 กับศักยภาพธุรกิจภาคบริการของประเทศไทยสู่อนาคตโลก”

นายคมกริช ด้วงเงิน ผู้อำนวยการกองสร้างสรรค์สินค้าการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นว่า ยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของ ททท.ช่วง New Normal นี้จะมุ่งทำตลาดแบบเจาะจงกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่ม Health and Wellness ซึ่งจะเน้นเชิงคุณภาพมากกว่าปริมาณ และมุ่งไปสู่การท่องเที่ยว 3 แบบ คือ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวร่วมกับการรักษา หรือ Medical Tourism และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร/อาหาร โดยจะชูจุดขายเรื่องความปลอดภัย เรื่องเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมและอาหาร เรื่องความสวยงามของธรรมชาติที่ได้รับการฟื้นฟู และน้ำใจความเอื้ออาทรของคนไทยในการช่วยเหลือเกื้อกูล ขณะเดียวกันก็จะเพิ่มมูลค่าด้วยการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว รวมถึงการทำดิจิทัลแพลตฟอร์มให้เกิดในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวร่วมกับการดูแลสุขภาพให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น 



นายธนา เธียรอัจฉริยะ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานการตลาด และรักษาการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงานสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ให้มุมมองถึงธุรกิจธนาคารว่า โควิด-19 เป็นตัวเร่งดิจิทัลแบงกิ้ง ส่งผลให้ธนาคารต้องปรับแผนดิจิทัลแบงกิ้งที่เคยวางไว้ที่จะทำในช่วง 2-3 ปีต่อจากนี้ มาเป็นต้องทำให้ได้ภายใน 1-2 เดือน เนื่องจากลูกค้าไม่ต้องการไปสาขา และต้องย้ายการทำธุรกรรมต่างๆ มาอยู่บนโทรศัพท์มือถือทั้งหมด รวมถึงปรับวัฒนธรรมองค์กรเพื่อรับวิถีใหม่

โดยหัวใจสำคัญจะอยู่ที่การทำงานให้สำเร็จ ซึ่งเป็นหลักการใหม่ที่เรียกว่า ‘SCB from Anywhere คือ ทำงานที่ไหนก็ได้ แต่ต้องทำงาน เพื่อรองรับลูกค้าให้ได้’ ที่สำคัญ วัฒนธรรมองค์กรก็ต้องเอื้อต่อการทดลองสิ่งใหม่ให้ได้ในระยะเวลาอันสั้น เพื่อให้ธนาคารสามารถทดลองสิ่งต่างๆ ให้เร็วและไม่กลัวที่จะล้มเหลว แต่ก็ต้องรีบปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว 

ดร.ปิยะพงษ์ ธัญญศรีสังข์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายบริหาร บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด ในเครือกลุ่มเซ็นทรัลรีเทล กล่าวว่า ห้างเซ็นทรัลต้องปรับแผนกลยุทธ์ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ โดยให้ความสำคัญเรื่องความสะอาดและสุขอนามัยของลูกค้า พนักงาน รวมถึงพนักงานในร้านค้า รวมทั้งนำเทคโนโลยีการอบโอโซน และ UVC มาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคบนธนบัตร มีมาตรการ Social Distancing รวมถึงมีการ Tracking เพื่อติดตามข้อมูลสุขภาพของพนักงานและลูกค้าที่มาใช้บริการในห้าง



ด้านของเทคโนโลยี ได้มีการปรับปรุงพัฒนาระบบต่างๆ เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้าในทุกช่องทาง และรองรับความรวดเร็วในการซื้อขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออมนิแชนเนล และเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาห้างเซ็นทรัลฯ ได้จับมือกับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบริการ ‘Central at Bumrungrad’ ให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านบริการ ‘Chat & Shop’ และ ‘Call & Shop’ ตอบโจทย์ผู้มาพักโรงพยาบาล พร้อมส่งฟรีถึงโรงพยาบาล ทุกออเดอร์ ไม่มีขั้นต่ำ และจัดส่งภายในวันเดียวกันเมื่อยืนยันออเดอร์ก่อนเวลา 18.00 น. เสมือนยกห้างเซ็นทรัลมาไว้ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์



https://mgronline.com/business/detail/9630000091776

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่