เมื่ออยากต่อปลั๊กไฟเพิ่ม เพิ่มตำแหน่งปลั๊กไฟ งานระบบไฟก็มา ยิปรอค ยิปซัมกูรู
ขั้นตอนต่อเติมเพิ่มปลั๊กไฟบนผนังเบา
เวอร์ชั่นวีดีโอ :
1.วัดพื้นที่เพื่อเจาะผนังเบา
2.ใช้เลื่อยหางหนูเพื่อเจาะผนังเบาให้เป็นช่องสำหรับวางระบบไฟ
3.ขยายช่องโครงคร่าว เพื่อให้สอดท่อร้อยสายไฟเข้าไปได้
โครงคร่าวเหล็กชุบสังกะสี นำมาใช้เป็นฐานในการติดตั้งแผ่นยิปซัมกลับเข้าไปในช่องเดิมที่เจาะได้ด้วย
4.ยึดโครงคร่าวกับตัวผนังเบา
5. ติดตั้งโครงคร่าว เพื่อเป็นฐานรองกล่องปลั๊กไฟ
ติดตั้งท่อร้อยสายไฟเข้ากับตัวกล่องปลั๊กไฟ
6. เจาะช่องสำหรับปล่องไฟบนกล่องที่เจาะออกมาให้พอดีกับกล่องปลั๊กไฟที่จะใส่เข้าไปในผนังเบา
8.นำแผ่นที่เจาะออกมา ติดตั้งกลับเข้าไปในช่องเดิมที่เจาะไว้ แล้ว
ติดตั้งปลั๊กไฟ หรือสวิทช์ไฟ
9. ปิดรอยต่อของแผ่นด้วยปูนฉาบรอยต่อแผ่นยิปซัม
ปิดทับด้วยผ้าเทปที่กึ่งกลางรอยต่อ แล้วรีดเทปให้แนบสนิทกับเนื้อปูน
ฉาบปูนบางๆ กับผ้าเทปอีกครั้งให้เรียบเสมอผิวหน้า แล้วปล่อยให้แห้ง
ฉาบผิวแต่งซ้ำ เพื่อปรับระนาบให้เรียบด้วยเกรียงฉาบอีก 1-2 เที่ยว และทิ้งไว้ให้แห้ง
งานระบบไฟบนผนังเบา เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ
ขั้นตอนต่อเติมเพิ่มปลั๊กไฟบนผนังคอนกรีต ผนังก่ออิฐ
1. ใช้สว่านเจาะผนังคอนกรีต ผนังก่ออิฐ
2.เจาะผนังคอนกรีต ผนังก่ออิฐ ให้พอดีกับท่อไฟ
3.เจาะผนังคอนกรีต ผนังก่ออิฐ ให้พอดีกับกล่องไฟ
4.ใช้เวลานานในการเจาะผนังคอนกรีต ผนังก่ออิฐ ให้พอดีกับท่อไฟ
ถ้าเจาะผนังตื้นไป ก็ต้องเจาะอีกรอบ เพื่อใส่ท่อไฟได้
5. ผสมปูน เพื่อฉาบปิดทับพื้นผิว ให้ท่อติดยึดไปกับผนังคอนกรีต ผนังก่ออิฐ
6. ติดตั้งปลั๊กไฟ หรือสวิทช์ไฟ
งานระบบไฟบนผนังคอนกรีต ผนังก่ออิฐ เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ
สิ่งที่แตกต่างอย่างชัดเจนมากๆ ระหว่าง ติดปลั๊กไฟเพิ่ม ระหว่างผนังก่ออิฐ vs ผนังเบา คือ
(1) ระยะเวลา
ผนังก่ออิฐ : ติดตั้งเสร็จด้วยเวลาเกือบ 1 สัปดาห์ เพราะต้องรอปูนแห้ง และเก็บงานทาสี
แต่
ผนังเบา : ติดตั้งเสร็จด้วยเวลาเพียง 1-2 วัน สามารถซ่อมเก็บงานทาสีได้เลย เมื่อปูนฉาบแห้งสนิท
(2) ความสะอาด และฝุ่นฟุ้งที่หน้างาน
ผนังก่ออิฐ : พื้นที่หน้างาน สกปรกมาก และฝุ่นฟุ้งในช่วงขณะเจาะผนัง จึงไม่เหมาะกับงานต่อเติม งานรีโนเวลทในคอนโดมิเนียม หรือบ้าน
ผนังเบา : พื้นที่ติดตั้งสะอาด และฝุ่นน้อยในช่วงติดตั้ง
อยากต่อปลั๊กไฟเพิ่ม เพิ่มตำแหน่งปลั๊กไฟ มาดูกันว่าบนผนังไหนติดตั้งง่ายกว่ากัน ระหว่างผนังก่ออิฐ vs ผนังเบา ?
ขั้นตอนต่อเติมเพิ่มปลั๊กไฟบนผนังเบา
เวอร์ชั่นวีดีโอ :
1.วัดพื้นที่เพื่อเจาะผนังเบา
2.ใช้เลื่อยหางหนูเพื่อเจาะผนังเบาให้เป็นช่องสำหรับวางระบบไฟ
3.ขยายช่องโครงคร่าว เพื่อให้สอดท่อร้อยสายไฟเข้าไปได้
โครงคร่าวเหล็กชุบสังกะสี นำมาใช้เป็นฐานในการติดตั้งแผ่นยิปซัมกลับเข้าไปในช่องเดิมที่เจาะได้ด้วย
4.ยึดโครงคร่าวกับตัวผนังเบา
5. ติดตั้งโครงคร่าว เพื่อเป็นฐานรองกล่องปลั๊กไฟ
ติดตั้งท่อร้อยสายไฟเข้ากับตัวกล่องปลั๊กไฟ
6. เจาะช่องสำหรับปล่องไฟบนกล่องที่เจาะออกมาให้พอดีกับกล่องปลั๊กไฟที่จะใส่เข้าไปในผนังเบา
8.นำแผ่นที่เจาะออกมา ติดตั้งกลับเข้าไปในช่องเดิมที่เจาะไว้ แล้ว
ติดตั้งปลั๊กไฟ หรือสวิทช์ไฟ
9. ปิดรอยต่อของแผ่นด้วยปูนฉาบรอยต่อแผ่นยิปซัม
ปิดทับด้วยผ้าเทปที่กึ่งกลางรอยต่อ แล้วรีดเทปให้แนบสนิทกับเนื้อปูน
ฉาบปูนบางๆ กับผ้าเทปอีกครั้งให้เรียบเสมอผิวหน้า แล้วปล่อยให้แห้ง
ฉาบผิวแต่งซ้ำ เพื่อปรับระนาบให้เรียบด้วยเกรียงฉาบอีก 1-2 เที่ยว และทิ้งไว้ให้แห้ง
งานระบบไฟบนผนังเบา เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ
ขั้นตอนต่อเติมเพิ่มปลั๊กไฟบนผนังคอนกรีต ผนังก่ออิฐ
1. ใช้สว่านเจาะผนังคอนกรีต ผนังก่ออิฐ
2.เจาะผนังคอนกรีต ผนังก่ออิฐ ให้พอดีกับท่อไฟ
3.เจาะผนังคอนกรีต ผนังก่ออิฐ ให้พอดีกับกล่องไฟ
4.ใช้เวลานานในการเจาะผนังคอนกรีต ผนังก่ออิฐ ให้พอดีกับท่อไฟ
ถ้าเจาะผนังตื้นไป ก็ต้องเจาะอีกรอบ เพื่อใส่ท่อไฟได้
5. ผสมปูน เพื่อฉาบปิดทับพื้นผิว ให้ท่อติดยึดไปกับผนังคอนกรีต ผนังก่ออิฐ
6. ติดตั้งปลั๊กไฟ หรือสวิทช์ไฟ
งานระบบไฟบนผนังคอนกรีต ผนังก่ออิฐ เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ
สิ่งที่แตกต่างอย่างชัดเจนมากๆ ระหว่าง ติดปลั๊กไฟเพิ่ม ระหว่างผนังก่ออิฐ vs ผนังเบา คือ
(1) ระยะเวลา
ผนังก่ออิฐ : ติดตั้งเสร็จด้วยเวลาเกือบ 1 สัปดาห์ เพราะต้องรอปูนแห้ง และเก็บงานทาสี แต่ผนังเบา : ติดตั้งเสร็จด้วยเวลาเพียง 1-2 วัน สามารถซ่อมเก็บงานทาสีได้เลย เมื่อปูนฉาบแห้งสนิท
(2) ความสะอาด และฝุ่นฟุ้งที่หน้างาน
ผนังก่ออิฐ : พื้นที่หน้างาน สกปรกมาก และฝุ่นฟุ้งในช่วงขณะเจาะผนัง จึงไม่เหมาะกับงานต่อเติม งานรีโนเวลทในคอนโดมิเนียม หรือบ้าน
ผนังเบา : พื้นที่ติดตั้งสะอาด และฝุ่นน้อยในช่วงติดตั้ง