คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 119
IMPOSTER SYNDROME: ฉันกลัวตัวเอง ฉันเก่งไม่พอ
.
ประสบความสำเร็จ แต่ปฏิเสธความภูมิใจ
.
หลายคนอยากสร้างชีวิตที่มีคุณค่า
หลายคนมองหาความสำเร็จ
หลายคนวิ่งตามความฝัน
.
แต่จะเป็นอย่างไร หากเราวิ่งไล่จนทันความฝัน สร้างมันจนประสบความสำเร็จ แต่กลับไม่รู้สึกยินดีปรีดา ทั้งยังมองว่าตัวเองไม่คู่ควรกับความสำเร็จที่ได้รับ “สิ่งที่คุณสร้างไม่มีค่าในสายตาของคุณเอง”
.
หากคุณทำอะไรสำเร็จ แต่ปฏิเสธความภูมิใจ รู้หรือไม่ คุณอาจกำลังประสบปัญหากับ 'Imposter Syndrome'
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้Imposter Syndrome หรือที่เรียกอย่างง่ายในภาษาไทยว่า โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่งจริง คือ การคิดว่า จริง ๆ แล้วตัวเองไม่ได้มีความสามารถ ทุกความสำเร็จ รางวัล หรือคำชื่นชมที่ได้รับ ไม่ว่าจะในรูปแบบไหนล้วนเป็นเพราะฟลุก เพราะโชคช่วย รวมทั้งยังเชื่อว่าสิ่งเดี่ยวที่เรา “เก่ง” คือการตบตาให้ผู้อื่นเชื่อว่าเราเก่ง ทั้งที่เราไม่ได้เก่งจริงอย่างที่ใครคิด ดังนั้น ลึก ๆ ในใจผู้ป่วยโรค Imposter Syndrome มักจะกลัวถูกจับได้ว่าเก่งไม่จริง ไม่ว่าในความเป็นจริงตัวเองจะเก่งหรือไม่เก่งก็ตาม…...โอ้ อะไรจะเศร้าซับซ้อนขนาดนี้
.
จึงอาจสรุปให้เข้าใจง่ายได้ว่า อาการของ Imposter Syndrome คือความรู้สึกที่มองตัวเองในแง่ลบและรู้สึกด้อยค่า จนบางครั้งอาจทวีความรุนแรงไปสู่ภาวะซึมเศร้า (Depression) ซึ่งส่งผลกระทบทั้งการทำงาน การเรียน รวมทั้งการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจลงท้ายด้วยการใช้สารเสพติด สุรา หรือทำร้ายตัวเองได้
.
โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่งจริงพบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และส่วนใหญ่จะพบในคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต คนดังระดับโลก นักร้อง นักแสดง นักกีฬา ตลอดจนนักวิชาการก็ยังมีภาวะของโรคนี้
และไม่ใช่แค่ผู้ที่ประสบความสำเร็จในระดับสูงเท่านั้นที่เสี่ยงต่อการเป็น Imposter syndrome ด้วยสภาพสังคมปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง ทำให้พบผู้ป่วยในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา หรือกลุ่มคนวัยธรรมงานทั่วไปเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่งจริง จึงเป็นสิ่งที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงอย่างจริงจังในปัจจุบัน
.
ดร.วาเลรี ยัง ผู้เชี่ยวชาญด้านโรค Imposter syndrome โดยเฉพาะ ได้จำแนกกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคนี้ออกเป็น 4 กลุ่ม ทั้งยังให้คำแนะนำในการต่อสู้กับ Imposter syndrome สำหรับคนแต่ละกลุ่มด้วย
.
1. ผู้รักในความสมบูรณ์แบบ (The Perfectionist)
เพอร์เฟ็คชั่นนิสเป็นของคู่กันกับ Imposter syndrome อย่างที่รู้กันดีว่าผู้ที่รักในความสมบูรณ์แบบจะตั้งเป้าหมายสำหรับตัวเองไว้สูงลิ่ว ดังนั้นเมื่อไม่สามารถเนรมิตสิ่งที่ตนคาดหวังได้ครบ 100% ความเคลือบแคลงในความสามารถของตนจึงเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าคนทั่วไป อาการ Imposter syndrome จึงคลืบคลานเข้าใกล้กลุ่มคนที่รักในความสมบูรณ์แบบเสมอมา
.
วิธีต่อสู้กับการคิดว่าตัวเองไม่เก่งจริงคือ คุณต้องยอมรับให้ได้ว่าไม่มีอะไรสมบูรณ์พร้อมทั้ง 100 ส่วน มันโอเคที่จะคิดว่าสิ่งที่เรายังทำดีกว่านี้ได้ แต่ที่ต้องทำให้ได้ควบคู่กัน คือคุณต้องเรียนรู้ที่จะมีความสุขและเฉลิมฉลองกับผลงานปัจจุบันที่คุณสร้างขึ้น
วันหนึ่งคุณอาจพัฒนามันได้ไกลกว่านี้ แต่วันนี้ คุณทำได้เท่านี้ ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่เก่งจริง
.
2. ยอดมนุษย์จอมขยัน (The Superwoman/man)
คนกลุ่มนี้มักถูกแวดล้อมไปด้วยเพื่อนร่วมงานที่เก่งกาจ เขาและเธอจึงมุ่งมั่นสุดความสามารถ ขยันกว่าปกติ เพราะเชื่อว่า หากโหมงานเป็นพิเศษจะช่วยให้เราเก่งได้เท่าคนอื่น(ทั้งที่ความจริงอาจเก่งกว่าไปแล้ว) แต่การทำงานหนักเหล่านี้อาจเป็นวิธีปกปิดความไม่เก่งที่ผู้มีอาการ Imposter syndrome ใช้นั่นเอง
.
วิธีแก้คือคุณต้องไม่ยอมให้ความสุขของคุณถูกตัดสินโดยผู้อื่น แข่งขันกับผู้อื่นให้น้อยลง หันมาแข่งขันกับตัวเองให้มากขึ้น คุณควรรู้สึกยินดีได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการเซ็นอนุญาตจากเจ้านายของคุณ
สร้างความเชื่อมั่นในตัวเองทีละนิด ขยันทำงานได้ แต่ไม่ใช่เพื่อพิสูจน์ว่าตัวเองดีพอ แต่เพื่อความสุขในชีวิตต่างหาก
.
3. ผู้ปราดเปรื่อง (The Natural Genius / The Expert)
หากคุณเชื่อว่าตัวเองมีความเป็นอัจฉริยะโดยกำเนิด นั่นคือมีเซนท์ในการหยิบจับ ตัดสินใจ รวมถึงวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว นั่นหมายความว่าคุณเป็น “ผู้ปราดเปรื่อง” คุณมักรู้สึกไม่พอใจเวลาที่ตัวเองต้องใช้เวลานานกว่าปกติในการลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพราะปกติทุกอย่างมันง่ายเสมอสำหรับคุณ
.
คุณไม่เพียงตั้งความคาดหวังไว้สูง แต่คุณมั่นใจด้วยว่าทักษะที่คุณมีจะทำให้คุณแก้ไขสถานการณ์ตรงหน้าได้รวดเร็วกว่าคนอื่น ดังนั้นครั้งไหนที่ทำไม่ได้ คุณจะคิดว่า “หรือตัวเองไม่เก่งจริง”
.
เพื่อเอาชนะ Imposter syndrome คุณต้องถอยออกมามองภาพกว้าง ไม่มีใครที่เก่งไปซะทุกด้าน แถมในหนึ่งด้าน ก็มีใครถนัดไปซะทุกเรื่อง อย่าเพิ่งท้อแท้หากคุณเจอสิ่งที่ตัวเองไม่ถนัด การใช้เวลาฝึกฝนนานกว่าปกติไม่ได้หมายความว่าคุณไม่เก่ง และไม่แน่ว่าบางที หลังฝึกเสร็จคุณก็อาจจะเป็นอัจฉริยะในด้านนี้เพิ่มก็เป็นได้
.
4. จอมลุยเดี่ยว (The Soloist)
คือผู้ที่เชื่อว่าตัวเองสามารถก้าวข้ามหรือจัดการสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวคนเดียว ไม่ใช่เพราะเชื่อมั่นว่าตัวเองเก่ง แต่อาจจะเป็นเพราะความเคยชิน เกรงใจ หรือไม่ก็คิดว่าการขอความช่วยเหลือเป็นการแสดงความอ่อนแอให้ผู้อื่นรับรู้
.
“ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” การพยายามทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเองเป็นสิ่งที่ดี แต่การขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้างไม่ได้แปลว่าคุณไม่เก่ง ทุกคนมีเรื่องที่ถนัดต่างกันไป มากกว่านั้นคนรอบข้างก็มีแนวโน้มที่จะให้ความช่วยเหลือ “จอมลุยเดี่ยว” ค่อนข้างสูง เพราะรู้สึกสงสารที่เห็นคุณรับบท “เดอะแบก” ทำงานคนเดียวมาอย่างยาวนาน แต่อย่างไรซะ ตอนขอความช่วยเหลือก็อย่าลืมพูดจาดี ๆ กับเขาด้วยล่ะ
.
ไม่ว่าคุณจะกำลังคิดว่าตัวเองไม่เก่งจริงอยู่หรือไม่ ถ้าไม่ก็นับเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่หากคนรอบข้างหรือคุณเองรู้สึก จงอย่าปล่อยให้อาการ Imposter syndrome มาทำให้คุณหมดไฟในการทำงาน เพราะรู้สึกเหนื่อยกับการต้องเป็นคนเก่งตลอดเวลา
.
การเป็นคนไม่เก่งที่มีความสุขและมีคนรอบข้าง ย่อมดีกว่า การเป็นคนที่เก่งล้นฟ้า แต่ไม่มีความสุขและผู้คนรอบกาย อีกทั้ง...ความเป็นจริงคือ คุณไม่ได้ไม่เก่งจริง
.
แน่นอนว่าโชคเป็นปัจจัยภายนอกที่แม้จะพิสูจน์ไม่ได้ แต่หลายคนก็เชื่อว่ามันมีผลต่อการทำงาน แต่ไม่มีความสำเร็จใดหรอกที่ได้มาเพราะโชคเพียงอย่างเดียว คุณต้องเก่งจริงด้วยจึงได้มา ดังนั้น การพัฒนาตัวเอง เรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นสิ่งที่ดี แต่วันนี้เราอยากให้คุณบอกตัวเองดัง ๆ ว่า “ฉันเก่งจริง ๆ”
.
d: ประสบความสำเร็จ แต่ปฏิเสธความภูมิใจงที่คุณได้สร้างมันออกมา แล้วมีความสุขกับความสำเร็จของคุณเถอะd
.
#UNITX #BETTERHUMAN #IMPOSTERSYNDROME
.
ประสบความสำเร็จ แต่ปฏิเสธความภูมิใจ
.
หลายคนอยากสร้างชีวิตที่มีคุณค่า
หลายคนมองหาความสำเร็จ
หลายคนวิ่งตามความฝัน
.
แต่จะเป็นอย่างไร หากเราวิ่งไล่จนทันความฝัน สร้างมันจนประสบความสำเร็จ แต่กลับไม่รู้สึกยินดีปรีดา ทั้งยังมองว่าตัวเองไม่คู่ควรกับความสำเร็จที่ได้รับ “สิ่งที่คุณสร้างไม่มีค่าในสายตาของคุณเอง”
.
หากคุณทำอะไรสำเร็จ แต่ปฏิเสธความภูมิใจ รู้หรือไม่ คุณอาจกำลังประสบปัญหากับ 'Imposter Syndrome'
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้Imposter Syndrome หรือที่เรียกอย่างง่ายในภาษาไทยว่า โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่งจริง คือ การคิดว่า จริง ๆ แล้วตัวเองไม่ได้มีความสามารถ ทุกความสำเร็จ รางวัล หรือคำชื่นชมที่ได้รับ ไม่ว่าจะในรูปแบบไหนล้วนเป็นเพราะฟลุก เพราะโชคช่วย รวมทั้งยังเชื่อว่าสิ่งเดี่ยวที่เรา “เก่ง” คือการตบตาให้ผู้อื่นเชื่อว่าเราเก่ง ทั้งที่เราไม่ได้เก่งจริงอย่างที่ใครคิด ดังนั้น ลึก ๆ ในใจผู้ป่วยโรค Imposter Syndrome มักจะกลัวถูกจับได้ว่าเก่งไม่จริง ไม่ว่าในความเป็นจริงตัวเองจะเก่งหรือไม่เก่งก็ตาม…...โอ้ อะไรจะเศร้าซับซ้อนขนาดนี้
.
จึงอาจสรุปให้เข้าใจง่ายได้ว่า อาการของ Imposter Syndrome คือความรู้สึกที่มองตัวเองในแง่ลบและรู้สึกด้อยค่า จนบางครั้งอาจทวีความรุนแรงไปสู่ภาวะซึมเศร้า (Depression) ซึ่งส่งผลกระทบทั้งการทำงาน การเรียน รวมทั้งการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจลงท้ายด้วยการใช้สารเสพติด สุรา หรือทำร้ายตัวเองได้
.
โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่งจริงพบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และส่วนใหญ่จะพบในคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต คนดังระดับโลก นักร้อง นักแสดง นักกีฬา ตลอดจนนักวิชาการก็ยังมีภาวะของโรคนี้
และไม่ใช่แค่ผู้ที่ประสบความสำเร็จในระดับสูงเท่านั้นที่เสี่ยงต่อการเป็น Imposter syndrome ด้วยสภาพสังคมปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง ทำให้พบผู้ป่วยในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา หรือกลุ่มคนวัยธรรมงานทั่วไปเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่งจริง จึงเป็นสิ่งที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงอย่างจริงจังในปัจจุบัน
.
ดร.วาเลรี ยัง ผู้เชี่ยวชาญด้านโรค Imposter syndrome โดยเฉพาะ ได้จำแนกกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคนี้ออกเป็น 4 กลุ่ม ทั้งยังให้คำแนะนำในการต่อสู้กับ Imposter syndrome สำหรับคนแต่ละกลุ่มด้วย
.
1. ผู้รักในความสมบูรณ์แบบ (The Perfectionist)
เพอร์เฟ็คชั่นนิสเป็นของคู่กันกับ Imposter syndrome อย่างที่รู้กันดีว่าผู้ที่รักในความสมบูรณ์แบบจะตั้งเป้าหมายสำหรับตัวเองไว้สูงลิ่ว ดังนั้นเมื่อไม่สามารถเนรมิตสิ่งที่ตนคาดหวังได้ครบ 100% ความเคลือบแคลงในความสามารถของตนจึงเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าคนทั่วไป อาการ Imposter syndrome จึงคลืบคลานเข้าใกล้กลุ่มคนที่รักในความสมบูรณ์แบบเสมอมา
.
วิธีต่อสู้กับการคิดว่าตัวเองไม่เก่งจริงคือ คุณต้องยอมรับให้ได้ว่าไม่มีอะไรสมบูรณ์พร้อมทั้ง 100 ส่วน มันโอเคที่จะคิดว่าสิ่งที่เรายังทำดีกว่านี้ได้ แต่ที่ต้องทำให้ได้ควบคู่กัน คือคุณต้องเรียนรู้ที่จะมีความสุขและเฉลิมฉลองกับผลงานปัจจุบันที่คุณสร้างขึ้น
วันหนึ่งคุณอาจพัฒนามันได้ไกลกว่านี้ แต่วันนี้ คุณทำได้เท่านี้ ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่เก่งจริง
.
2. ยอดมนุษย์จอมขยัน (The Superwoman/man)
คนกลุ่มนี้มักถูกแวดล้อมไปด้วยเพื่อนร่วมงานที่เก่งกาจ เขาและเธอจึงมุ่งมั่นสุดความสามารถ ขยันกว่าปกติ เพราะเชื่อว่า หากโหมงานเป็นพิเศษจะช่วยให้เราเก่งได้เท่าคนอื่น(ทั้งที่ความจริงอาจเก่งกว่าไปแล้ว) แต่การทำงานหนักเหล่านี้อาจเป็นวิธีปกปิดความไม่เก่งที่ผู้มีอาการ Imposter syndrome ใช้นั่นเอง
.
วิธีแก้คือคุณต้องไม่ยอมให้ความสุขของคุณถูกตัดสินโดยผู้อื่น แข่งขันกับผู้อื่นให้น้อยลง หันมาแข่งขันกับตัวเองให้มากขึ้น คุณควรรู้สึกยินดีได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการเซ็นอนุญาตจากเจ้านายของคุณ
สร้างความเชื่อมั่นในตัวเองทีละนิด ขยันทำงานได้ แต่ไม่ใช่เพื่อพิสูจน์ว่าตัวเองดีพอ แต่เพื่อความสุขในชีวิตต่างหาก
.
3. ผู้ปราดเปรื่อง (The Natural Genius / The Expert)
หากคุณเชื่อว่าตัวเองมีความเป็นอัจฉริยะโดยกำเนิด นั่นคือมีเซนท์ในการหยิบจับ ตัดสินใจ รวมถึงวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว นั่นหมายความว่าคุณเป็น “ผู้ปราดเปรื่อง” คุณมักรู้สึกไม่พอใจเวลาที่ตัวเองต้องใช้เวลานานกว่าปกติในการลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพราะปกติทุกอย่างมันง่ายเสมอสำหรับคุณ
.
คุณไม่เพียงตั้งความคาดหวังไว้สูง แต่คุณมั่นใจด้วยว่าทักษะที่คุณมีจะทำให้คุณแก้ไขสถานการณ์ตรงหน้าได้รวดเร็วกว่าคนอื่น ดังนั้นครั้งไหนที่ทำไม่ได้ คุณจะคิดว่า “หรือตัวเองไม่เก่งจริง”
.
เพื่อเอาชนะ Imposter syndrome คุณต้องถอยออกมามองภาพกว้าง ไม่มีใครที่เก่งไปซะทุกด้าน แถมในหนึ่งด้าน ก็มีใครถนัดไปซะทุกเรื่อง อย่าเพิ่งท้อแท้หากคุณเจอสิ่งที่ตัวเองไม่ถนัด การใช้เวลาฝึกฝนนานกว่าปกติไม่ได้หมายความว่าคุณไม่เก่ง และไม่แน่ว่าบางที หลังฝึกเสร็จคุณก็อาจจะเป็นอัจฉริยะในด้านนี้เพิ่มก็เป็นได้
.
4. จอมลุยเดี่ยว (The Soloist)
คือผู้ที่เชื่อว่าตัวเองสามารถก้าวข้ามหรือจัดการสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวคนเดียว ไม่ใช่เพราะเชื่อมั่นว่าตัวเองเก่ง แต่อาจจะเป็นเพราะความเคยชิน เกรงใจ หรือไม่ก็คิดว่าการขอความช่วยเหลือเป็นการแสดงความอ่อนแอให้ผู้อื่นรับรู้
.
“ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” การพยายามทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเองเป็นสิ่งที่ดี แต่การขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้างไม่ได้แปลว่าคุณไม่เก่ง ทุกคนมีเรื่องที่ถนัดต่างกันไป มากกว่านั้นคนรอบข้างก็มีแนวโน้มที่จะให้ความช่วยเหลือ “จอมลุยเดี่ยว” ค่อนข้างสูง เพราะรู้สึกสงสารที่เห็นคุณรับบท “เดอะแบก” ทำงานคนเดียวมาอย่างยาวนาน แต่อย่างไรซะ ตอนขอความช่วยเหลือก็อย่าลืมพูดจาดี ๆ กับเขาด้วยล่ะ
.
ไม่ว่าคุณจะกำลังคิดว่าตัวเองไม่เก่งจริงอยู่หรือไม่ ถ้าไม่ก็นับเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่หากคนรอบข้างหรือคุณเองรู้สึก จงอย่าปล่อยให้อาการ Imposter syndrome มาทำให้คุณหมดไฟในการทำงาน เพราะรู้สึกเหนื่อยกับการต้องเป็นคนเก่งตลอดเวลา
.
การเป็นคนไม่เก่งที่มีความสุขและมีคนรอบข้าง ย่อมดีกว่า การเป็นคนที่เก่งล้นฟ้า แต่ไม่มีความสุขและผู้คนรอบกาย อีกทั้ง...ความเป็นจริงคือ คุณไม่ได้ไม่เก่งจริง
.
แน่นอนว่าโชคเป็นปัจจัยภายนอกที่แม้จะพิสูจน์ไม่ได้ แต่หลายคนก็เชื่อว่ามันมีผลต่อการทำงาน แต่ไม่มีความสำเร็จใดหรอกที่ได้มาเพราะโชคเพียงอย่างเดียว คุณต้องเก่งจริงด้วยจึงได้มา ดังนั้น การพัฒนาตัวเอง เรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นสิ่งที่ดี แต่วันนี้เราอยากให้คุณบอกตัวเองดัง ๆ ว่า “ฉันเก่งจริง ๆ”
.
d: ประสบความสำเร็จ แต่ปฏิเสธความภูมิใจงที่คุณได้สร้างมันออกมา แล้วมีความสุขกับความสำเร็จของคุณเถอะd
.
#UNITX #BETTERHUMAN #IMPOSTERSYNDROME
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
❤️ 🎲〰📈 บ้านนักลงทุนสายฮา® 🎵🍜Sun 6 Sep 2020 📉〰🎲 ❤️
เมื่อวาน https://ppantip.com/topic/40176488