เท้าเหม็น (กลิ่นลับๆที่มากับฝน - ตอนที่ 2)
ในสัปดาห์ที่แล้ว พี่หมอทิ้งท้ายเอาไว้ด้วยเรื่องเท้าเหม็น ซึ่งทุกคนก็น่าจะเคยผ่านประสบการณ์เรื่องนี้กันมาบ้างไม่มากก็น้อยใช่มั้ยครับ อย่างเวลาไปดูหนังแล้วได้กลิ่นตุๆ โชยออกมาจากคนข้างๆ หันไปอีกทีก็เห็นเขาถอดรองเท้าออกมาแล้ว ไอ้ครั้นจะไปบอกว่าเขามีกลิ่นเท้า ช่วยใส่รองเท้ากลับไปหน่อยก็คงจะไม่ได้ ที่ทำได้ก็คือ…หาอะไรมาปิดจมูกตัวเองแล้วก็กลั้นใจดูหนังให้จบเท่านั้น
ซึ่ง “เท้าเหม็น” เนี่ยก็จัดว่าเป็นโรคชนิดหนึ่งเหมือนกันนะครับ และถึงแม้ว่าจะไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงอะไร แต่ก็อาจจะทำให้คนที่เป็นเสียบุคลิกภาพรวมถึงความมั่นใจ นอกจากนี้ ยังอาจจะทำให้บรรยากาศและคนรอบข้างเสียอารมณ์กับกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นอีกด้วย
ดังนั้น วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคนี้กัน รวมถึงเรียนรู้วิธีป้องกันและรักษา เผื่อใครมีคนรู้จักที่มีอาการแบบนี้จะได้เอาไปแนะนำกันได้
เท้าเหม็น (Pitted Keratolysis)
เกิดจากการที่เรามีเหงื่อออกที่เท้าเยอะ หรือมีความอับชื้น ยิ่งในเวลาที่อากาศร้อนอบอ้าวหรือทำกิจกรรมก็จะยิ่งทำให้ร่างกายผลิตเหงื่อเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการระบายความร้อนออกจากร่างกาย ซึ่งกระบวนการนี้เองที่ทำให้แบคทีเรียที่อยู่ในบริเวณเท้าของเรา ผลิตสารเคมีที่ทำให้เกิดกลิ่นขึ้นมา ซึ่งกลิ่นเหล่านี้จะติดอยู่ที่เท้า รวมไปถึงรองเท้าและถุงเท้าด้วย
โดยลักษณะที่พบได้ก็คือ จะเห็นเป็นรูพรุนเล็กๆ ที่เท้า บางครั้งก็อาจเห็นเป็นวงๆ หรือเป็นแอ่งตื้นๆ ที่ฝ่าเท้า โดยเฉพาะบริเวณที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ
สาเหตุที่ทำให้เท้ามีกลิ่น
· สภาพอากาศที่ร้อน ชื้น
· รองเท้าที่อับ และไม่มีที่ระบายอากาศ เช่น รองเท้าบูท
· ภาวะเหงื่อออกมากเกินไปที่มือและเท้า
· ผิวหนังบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้าหนา
· การรับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำมันสูง อาหารรสจัด อาหารที่มีกลิ่นแรง คาเฟอีน และการรับประทานยาบางชนิด
· ปัจจัยอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน อายุที่มากขึ้น ภาวะบกพร่องของภูมิคุ้มกัน การขาดธาตุสังกะสี (Zinc) รวมถึงความเครียด ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายผลิตเหงื่อมากขึ้น และทำให้เกิดกลิ่นได้เช่นกัน
การป้องกัน
· รักษาความสะอาดของเท้า โดยการล้างเท้าด้วยสบู่อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และเช็ดให้แห้งทุกครั้ง
· ทาครีมบำรุงอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
· หมั่นทำความสะอาดตามซอกเล็บและตัดเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอ รวมถึงใช้ที่ขัดเท้าขจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วออก เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรคและความอับชื้น
· ถุงเท้า ควรเลือกแบบที่ทำจากผ้าผ้ายหรือผ้าขนสัตว์ เพราะสามารถดูดซับเหงื่อได้ดีกว่าแบบที่ทำจากผ้าโพลีเอสเตอร์หรือไนลอน ที่สำคัญ ต้องเปลี่ยนถุงเท้าคู่ใหม่เป็นประจำด้วยนะครับ เพราะการใส่ถุงเท้าคู่เดิม ก็อาจจะให้เกิดความอับชื้นและกลิ่นได้เช่นกัน
· รองเท้า ควรเลือกแบบที่ไม่คับจนเกินไปและสามารถระบายอากาศได้ดี หรือถ้าจำเป็นต้องสวมรองเท้าหุ้มข้อ เช่น รองเท้าบูท ก็ควรเลือกสวมแบบที่สั้นที่สุด
· อย่าสวมรองเท้าคู่เดียวกัน 2 วันติด ควรผึ่งลมให้แห้งก่อน และไม่ควรใช้รองเท้าร่วมกับผู้อื่น
· รับประทานอาหารที่มีธาตุสังกะสี (Zinc) เป็นส่วนประกอบ เช่น หอยนางรม ไก่ ไข่ นม จมูกข้าว และธัญพืช เป็นต้น
การรักษา
สำหรับใครที่ทำตามคำแนะนำที่พี่หมอบอกแล้ว แต่ยังมีปัญหานี้อยู่ก็สามารถไปปรึกษาคุณหมอเพื่อรับการรักษาได้นะครับ ไม่ต้องอาย คุณหมอจะได้ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงยาทาในกลุ่ม Benzyl peroxide ซึ่งสามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์ผิวใหม่และฆ่าเชื้อได้ รวมถึงอาจให้ยาลดเหงื่อร่วมด้วย
อีกหนึ่งเคล็ดลับที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่นเท้าก็คือ ทุกครั้งที่กลับถึงบ้าน ให้รีบถอดถุงเท้า รองเท้า ล้างเท้าให้สะอาด แช่เท้าในน้ำอุ่นๆ ผสมกับเกลือแช่เท้าเล็กน้อย ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลายแล้ว ก็ยังช่วยไม่ให้เท้าของเรามีกลิ่นตุๆอีกด้วยนะครับ
กลิ่นเท้าเหม็นเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ก็สามารถแก้ไขได้ ถ้าเราใส่ใจดูแลรักษาความสะอาดสุขลักษณะของเท้าเราให้ดี และไม่ปล่อยปละละเลยจนเกินไป เพราะปัญหาเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเรา รวมถึงอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงบางอย่างด้วย เช่น เบาหวาน และไทรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น
ในสัปดาห์หน้าพี่หมอจะมีเรื่องอะไรมาฝากกันอีก ก็อย่าลืมติดตามกันด้วยนะครับ หรือถ้าสนใจอยากรู้เรื่องไหนเป็นพิเศษก็สามารถฝากคอมเม้นท์ไว้ใต้โพสต์นี้ได้เช่นกัน พี่หมอจะไปหาข้อมูลมาให้
ช่วงนี้ฝนตกบ่อย อย่าลืมดูแลสุขภาพกันด้วยนะครับ 😘😘😘
เท้าเหม็น (กลิ่นลับๆที่มากับฝน - ตอนที่ 2)
ในสัปดาห์ที่แล้ว พี่หมอทิ้งท้ายเอาไว้ด้วยเรื่องเท้าเหม็น ซึ่งทุกคนก็น่าจะเคยผ่านประสบการณ์เรื่องนี้กันมาบ้างไม่มากก็น้อยใช่มั้ยครับ อย่างเวลาไปดูหนังแล้วได้กลิ่นตุๆ โชยออกมาจากคนข้างๆ หันไปอีกทีก็เห็นเขาถอดรองเท้าออกมาแล้ว ไอ้ครั้นจะไปบอกว่าเขามีกลิ่นเท้า ช่วยใส่รองเท้ากลับไปหน่อยก็คงจะไม่ได้ ที่ทำได้ก็คือ…หาอะไรมาปิดจมูกตัวเองแล้วก็กลั้นใจดูหนังให้จบเท่านั้น
ซึ่ง “เท้าเหม็น” เนี่ยก็จัดว่าเป็นโรคชนิดหนึ่งเหมือนกันนะครับ และถึงแม้ว่าจะไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงอะไร แต่ก็อาจจะทำให้คนที่เป็นเสียบุคลิกภาพรวมถึงความมั่นใจ นอกจากนี้ ยังอาจจะทำให้บรรยากาศและคนรอบข้างเสียอารมณ์กับกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นอีกด้วย
ดังนั้น วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคนี้กัน รวมถึงเรียนรู้วิธีป้องกันและรักษา เผื่อใครมีคนรู้จักที่มีอาการแบบนี้จะได้เอาไปแนะนำกันได้
เท้าเหม็น (Pitted Keratolysis)
เกิดจากการที่เรามีเหงื่อออกที่เท้าเยอะ หรือมีความอับชื้น ยิ่งในเวลาที่อากาศร้อนอบอ้าวหรือทำกิจกรรมก็จะยิ่งทำให้ร่างกายผลิตเหงื่อเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการระบายความร้อนออกจากร่างกาย ซึ่งกระบวนการนี้เองที่ทำให้แบคทีเรียที่อยู่ในบริเวณเท้าของเรา ผลิตสารเคมีที่ทำให้เกิดกลิ่นขึ้นมา ซึ่งกลิ่นเหล่านี้จะติดอยู่ที่เท้า รวมไปถึงรองเท้าและถุงเท้าด้วย
โดยลักษณะที่พบได้ก็คือ จะเห็นเป็นรูพรุนเล็กๆ ที่เท้า บางครั้งก็อาจเห็นเป็นวงๆ หรือเป็นแอ่งตื้นๆ ที่ฝ่าเท้า โดยเฉพาะบริเวณที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ
สาเหตุที่ทำให้เท้ามีกลิ่น
· สภาพอากาศที่ร้อน ชื้น
· รองเท้าที่อับ และไม่มีที่ระบายอากาศ เช่น รองเท้าบูท
· ภาวะเหงื่อออกมากเกินไปที่มือและเท้า
· ผิวหนังบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้าหนา
· การรับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำมันสูง อาหารรสจัด อาหารที่มีกลิ่นแรง คาเฟอีน และการรับประทานยาบางชนิด
· ปัจจัยอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน อายุที่มากขึ้น ภาวะบกพร่องของภูมิคุ้มกัน การขาดธาตุสังกะสี (Zinc) รวมถึงความเครียด ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายผลิตเหงื่อมากขึ้น และทำให้เกิดกลิ่นได้เช่นกัน
การป้องกัน
· รักษาความสะอาดของเท้า โดยการล้างเท้าด้วยสบู่อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และเช็ดให้แห้งทุกครั้ง
· ทาครีมบำรุงอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
· หมั่นทำความสะอาดตามซอกเล็บและตัดเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอ รวมถึงใช้ที่ขัดเท้าขจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วออก เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรคและความอับชื้น
· ถุงเท้า ควรเลือกแบบที่ทำจากผ้าผ้ายหรือผ้าขนสัตว์ เพราะสามารถดูดซับเหงื่อได้ดีกว่าแบบที่ทำจากผ้าโพลีเอสเตอร์หรือไนลอน ที่สำคัญ ต้องเปลี่ยนถุงเท้าคู่ใหม่เป็นประจำด้วยนะครับ เพราะการใส่ถุงเท้าคู่เดิม ก็อาจจะให้เกิดความอับชื้นและกลิ่นได้เช่นกัน
· รองเท้า ควรเลือกแบบที่ไม่คับจนเกินไปและสามารถระบายอากาศได้ดี หรือถ้าจำเป็นต้องสวมรองเท้าหุ้มข้อ เช่น รองเท้าบูท ก็ควรเลือกสวมแบบที่สั้นที่สุด
· อย่าสวมรองเท้าคู่เดียวกัน 2 วันติด ควรผึ่งลมให้แห้งก่อน และไม่ควรใช้รองเท้าร่วมกับผู้อื่น
· รับประทานอาหารที่มีธาตุสังกะสี (Zinc) เป็นส่วนประกอบ เช่น หอยนางรม ไก่ ไข่ นม จมูกข้าว และธัญพืช เป็นต้น
การรักษา
สำหรับใครที่ทำตามคำแนะนำที่พี่หมอบอกแล้ว แต่ยังมีปัญหานี้อยู่ก็สามารถไปปรึกษาคุณหมอเพื่อรับการรักษาได้นะครับ ไม่ต้องอาย คุณหมอจะได้ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงยาทาในกลุ่ม Benzyl peroxide ซึ่งสามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์ผิวใหม่และฆ่าเชื้อได้ รวมถึงอาจให้ยาลดเหงื่อร่วมด้วย
อีกหนึ่งเคล็ดลับที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่นเท้าก็คือ ทุกครั้งที่กลับถึงบ้าน ให้รีบถอดถุงเท้า รองเท้า ล้างเท้าให้สะอาด แช่เท้าในน้ำอุ่นๆ ผสมกับเกลือแช่เท้าเล็กน้อย ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลายแล้ว ก็ยังช่วยไม่ให้เท้าของเรามีกลิ่นตุๆอีกด้วยนะครับ
กลิ่นเท้าเหม็นเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ก็สามารถแก้ไขได้ ถ้าเราใส่ใจดูแลรักษาความสะอาดสุขลักษณะของเท้าเราให้ดี และไม่ปล่อยปละละเลยจนเกินไป เพราะปัญหาเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเรา รวมถึงอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงบางอย่างด้วย เช่น เบาหวาน และไทรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น
ในสัปดาห์หน้าพี่หมอจะมีเรื่องอะไรมาฝากกันอีก ก็อย่าลืมติดตามกันด้วยนะครับ หรือถ้าสนใจอยากรู้เรื่องไหนเป็นพิเศษก็สามารถฝากคอมเม้นท์ไว้ใต้โพสต์นี้ได้เช่นกัน พี่หมอจะไปหาข้อมูลมาให้
ช่วงนี้ฝนตกบ่อย อย่าลืมดูแลสุขภาพกันด้วยนะครับ 😘😘😘