ระบบเบรก ABS คืออะไร และสำคัญแค่ไหน ทำงานอย่างไร

กระทู้สนทนา
BS ย่อมาจาก Anti – lock Brake System
       ABS เปรียบเสมือนเป็นผู้ช่วยให้ระบบเบรกพื้นฐาน ทำงานดียิ่งขึ้นเมื่อประสบอุบัติเหตุกระทันหัน โดยการทำงานของระบบนี้เมื่อเราต้องเบรกแบบกระทันหันโดยปกติแล้วล้อจะมีการสไลด์หรือที่เราเรียกกันง่ายๆ ว่าล้อล็อค ทำให้ระยะเบรกมีความไกลมากกว่าเดิมยิ่งโดยเฉพาะตอนถนนเปียกเมื่อเราต้องเบรกแบบกระทันหันสามารถเกิดอุบัติเหตได้ง่ายมากกว่าเดิม แต่ด้วยเทคโนโลยีที่มีการปรับเปลี่ยนทำให้ระบบเบรกย่อมมีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น โดยใช้ ABS ซึ่งเป็นระบบป้องกันล้อล็อคในกรณีเบรกกระทันหันและทำให้ระยะเบรกสั้นมากกว่าเดิม รวมไปถึงเพิ่มความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

⚠ ABS จะทำงานในกรณี ที่ต้องเบรกกระทันหัน
บนพื้นผิวถนนเปียก ทางโค้งฝุ่นทราย รวมถึงถนนเรียบแห้งสะอาด ซึ่งจะป้องกันล้อล็อก หรือในกรณีเบรกแบบกระทันหันเช่น รถตัดหน้าหรือทางข้างหน้าติดไฟแดง ฯลฯ

⚠ ข้อห้ามระหว่างการใช้เบรก

1.ห้ามตกใจ – หลายคนตกใจเมื่อ ABS ทำงาน เพราะการคุมแรงดันน้ำมันของระบบ ABS นั้นจะทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนสะท้านที่เบรก ซึ่งอาจทำให้หลายคนตกใจและนำไปสู่อุบัติเหตุ
2.ห้ามย้ำเบรก – หลักการทำงาน ABS จำเป็นต้องใช้การตรวจแรงดันเบรค ซึ่งการทำงานของเบรกนั้นเมื่อเราเบรกก็จะไปเพิ่มแรงดันน้ำมันในปั้มเบรก ซึ่งเมื่อเราคลายน้ำหนักเบรก แรงดันนั้นก็จะลดลง ผลคือ ABS ไม่ทำงาน ดังน้ันจำไว้ว่าอย่าย้ำเบรก
3.อย่าคลายน้ำหนักเบรก – เมื่อเบรกและ ABS ทำงานแล้ว จำไว้ว่าอย่าคลายน้ำหนัก เบรกให้ค้างไว้แล้วให้สมาธิกับการหลบหลีก และเมื่อพ้นแล้วถึงค่อยคลายน้ำหนักเบรกได้
4.ทางลูกรังอาจอันตราย – นี่เป็นเรื่องที่หลายคนไม่ค่อยทราบ แต่บนถนนบางแบบ ABS อาจเป็นต้นเหตุทำให้อันตราย โดยเฉพาะทางลูกรังหรือโคลนนั้น การเบรกโดยใช้ระบบ ABS อาจทำให้มีระยะทางเพิ่มขึ้นกว่าปกติ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากอัตราการเกาะถนนที่น้อยกว่าในพื้นที่เหล่านี้ ซึ่งการใช้เบรก ABS จะทำให้รถลื่น ในขณะที่การใช้เบรกที่ล้อล็อคปกติ จะทำให้ล้อกดลงไปเพื่อเพิ่มอัตราการเกาะมากกว่า บางครั้งอาจขุดพื้นผิว เพื่อสร้างระยะหยุดที่สั้นกว่า

บทความจาก https://realmotosports.com/%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%81-abs-%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่