ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 2
ไม้แปรรูปหนา 1 1/2" ไสปรับแล้วเหลือหนาประมาณ 29 mm ถึง 35 mm ขึ้นกับไม้แปรรูปนั้นเลื่อยเต็ม พอดีขนาด หรือเลื่อยตกขนาด
ไม้แปรรูปหนา 1" ไสปรับแล้วเหลือหนาประมาณ 1ุ6 mm ถึง 22 mm ขึ้นกับไม้แปรรูปนั้นเลื่อยเต็ม พอดีขนาด หรือเลื่อยตกขนาด
ไม้เลื่อยเต็มขนาด หนา กว้างจะเลื่อยเผื่อ 1 หุน
ไม้เลื่อยพอดีขนาด หนา กว้างจะเลื่อยพอดีในระบบนิ้ว
ไม้ตกขนาด หนา กว้างจะเลื่อยขาด 1 หุนขึ้นไป
การไสปรับไม้ให้เรียบทั้ง 2 หน้าหลัก จะกินเนื้อไม้หนา 5 mm ถึง 6 mm
ปกติลูกนอนบันไดไม้ที่ใช้ติดตั้งบนลูกนอนรอง ที่เป็นคอนกรีตหรือเหล็กรองรับ ควรใช้กลุ่มไม้หนา 1 1/2"
การไปกำหนดใช้ไม้หนา 1" จึงถือว่าบางเกินไป ไม่เหมาะสมด้วยเหตุผลคือ
^ไม้บางถ้ามีจมูกบันไดยื่น เวลาเดินขึ้น-ลงบันได จมูกบันไดจะเป็นจุดที่ถูกเท้ากระทำเสมอ บางเกินไปจะเสียหายง่าย
^ไม้หน้าใหญ่แล้วบาง โอกาสเกิดการบิด ห่อตัวของไม้ง่ายกว่าไม้หนา
ไม้เต็งขนาดหนา 1 1/2" ยังมีโอกาส บิด ห่อตัวแม้ใช้งานนานแล้ว
การปรับปูนบนขั้นบันได ค.ส.ล. เพื่อติดตั้งลูกนอนไม้ โดยให้ขั้นมีตวามสูงขั้นเท่ากันทุกขั้นหลังติดตั้งลูกนอนไม้แล้ว จะต้องทราบความหนาของลูกนอนไม้หลังไสปรับก่อนเสมอ เพื่อใช้ในการปรับระดับขั้น ดังนี้
*ระยะความสูงหรือระดับปูนปรับขั้นแรกวัดจากพื้นที่ปู ปิดผิวสำเร็จแล้วที่ชั้นล่าง = ความสูงขั้น - ความหนาลูกนอนไม้ที่ไสปรับแล้ว
*ระยะความสูงหรือระดับปูนปรับขั้นวัดจากพื้นที่ปู ปิดผิวสำเร็จแล้วของชั้นบนมายังผิวปูนปรับของหน้าขั้นก่อนขั้นพื้นชั้นบน = ความสูงขั้น + ความหนาลูกนอนไม้ที่ไสปรับแล้ว
ขั้นอื่นๆปรับระยะเท่าความสูงขั้น รวมทั้งชานพักที่ใช้ไม้หนาเท่าลูกนอนไม้
หากชานพักใช้ไม้หนาต่างกันกับลูกนอนไม้ ความสูงขั้นปูนปรับขั้นชานพักและขั้นหลังชานพักจะต้องคำนวณใหม่
ดังนั้น จขกท. ต้องตรวจสอบว่า บันไดนี้ได้มีการปรับปูนเพื่อติดตั้งลูกนอนไม้หนาเท่าไหร่
บันได ค.ส.ล. ความแข็งแรงของบันไดขึ้นกับระบบโครงสร้าง ค.ส.ล. การปู ปืดผิว ลูกนอน ตัวบันไดด้วยวัสดุอื่น นั้นเพื่อเพิ่มความเรียบร้อยสวยงาม ความสะดวกสบายในการใช้งาน แต่หากวัสดุที่ใช้นั้นไม่มีคุณภาพ เช่นลื่น ผิวแตก หลุด บิดงอ ก็อาจก่ออันตรายในการใช้งานได้
แก้ไขเพิ่มข้อมูล
ไม้แปรรูปหนา 1" ไสปรับแล้วเหลือหนาประมาณ 1ุ6 mm ถึง 22 mm ขึ้นกับไม้แปรรูปนั้นเลื่อยเต็ม พอดีขนาด หรือเลื่อยตกขนาด
ไม้เลื่อยเต็มขนาด หนา กว้างจะเลื่อยเผื่อ 1 หุน
ไม้เลื่อยพอดีขนาด หนา กว้างจะเลื่อยพอดีในระบบนิ้ว
ไม้ตกขนาด หนา กว้างจะเลื่อยขาด 1 หุนขึ้นไป
การไสปรับไม้ให้เรียบทั้ง 2 หน้าหลัก จะกินเนื้อไม้หนา 5 mm ถึง 6 mm
ปกติลูกนอนบันไดไม้ที่ใช้ติดตั้งบนลูกนอนรอง ที่เป็นคอนกรีตหรือเหล็กรองรับ ควรใช้กลุ่มไม้หนา 1 1/2"
การไปกำหนดใช้ไม้หนา 1" จึงถือว่าบางเกินไป ไม่เหมาะสมด้วยเหตุผลคือ
^ไม้บางถ้ามีจมูกบันไดยื่น เวลาเดินขึ้น-ลงบันได จมูกบันไดจะเป็นจุดที่ถูกเท้ากระทำเสมอ บางเกินไปจะเสียหายง่าย
^ไม้หน้าใหญ่แล้วบาง โอกาสเกิดการบิด ห่อตัวของไม้ง่ายกว่าไม้หนา
ไม้เต็งขนาดหนา 1 1/2" ยังมีโอกาส บิด ห่อตัวแม้ใช้งานนานแล้ว
การปรับปูนบนขั้นบันได ค.ส.ล. เพื่อติดตั้งลูกนอนไม้ โดยให้ขั้นมีตวามสูงขั้นเท่ากันทุกขั้นหลังติดตั้งลูกนอนไม้แล้ว จะต้องทราบความหนาของลูกนอนไม้หลังไสปรับก่อนเสมอ เพื่อใช้ในการปรับระดับขั้น ดังนี้
*ระยะความสูงหรือระดับปูนปรับขั้นแรกวัดจากพื้นที่ปู ปิดผิวสำเร็จแล้วที่ชั้นล่าง = ความสูงขั้น - ความหนาลูกนอนไม้ที่ไสปรับแล้ว
*ระยะความสูงหรือระดับปูนปรับขั้นวัดจากพื้นที่ปู ปิดผิวสำเร็จแล้วของชั้นบนมายังผิวปูนปรับของหน้าขั้นก่อนขั้นพื้นชั้นบน = ความสูงขั้น + ความหนาลูกนอนไม้ที่ไสปรับแล้ว
ขั้นอื่นๆปรับระยะเท่าความสูงขั้น รวมทั้งชานพักที่ใช้ไม้หนาเท่าลูกนอนไม้
หากชานพักใช้ไม้หนาต่างกันกับลูกนอนไม้ ความสูงขั้นปูนปรับขั้นชานพักและขั้นหลังชานพักจะต้องคำนวณใหม่
ดังนั้น จขกท. ต้องตรวจสอบว่า บันไดนี้ได้มีการปรับปูนเพื่อติดตั้งลูกนอนไม้หนาเท่าไหร่
บันได ค.ส.ล. ความแข็งแรงของบันไดขึ้นกับระบบโครงสร้าง ค.ส.ล. การปู ปืดผิว ลูกนอน ตัวบันไดด้วยวัสดุอื่น นั้นเพื่อเพิ่มความเรียบร้อยสวยงาม ความสะดวกสบายในการใช้งาน แต่หากวัสดุที่ใช้นั้นไม่มีคุณภาพ เช่นลื่น ผิวแตก หลุด บิดงอ ก็อาจก่ออันตรายในการใช้งานได้
แก้ไขเพิ่มข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
ความหนาของไม้บันไดลูกนอน