ถอดบทเรียน "สาดสี" เทเสีย ถกเถียงเพื่อแก้ไขปรับปรุงกับก้าวย่างที่รัดกุมในการเติบโตของขบวนการ+มิติของความรุนแรง

กระทู้คำถาม
การรักษามวลชนและขยายแนวร่วมเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น สิ่งหนึ่งที่มีส่วนสำคัญเป็นปัจจัยจูงใจนอกเหนือไปจากเนื้อหาของข้อเรียกร้องแล้วก็คือ ภาพลักษณ์ของการชุมนุม ซึ่งแน่นอนว่า การชุมนุมโดยสันติวิธีจะนำมาซึ่งการเข้าร่วมมากกว่าการชุมนุมโดยใช้ความรุนแรง

การกระทำการใดๆ อย่ามองแต่เพียงว่าเป็นกระทำโดยปัจเจก หากการกระทำนั้นกระทำอยู่ในการชุมนุม ความรับผิดชอบร่วมจะปฏิเสธไปไม่ได้เลย โชคดีที่ครั้งนี้ มีเสียงติเตียน ตักเตือนจากโลกไซเบอร์ด้วยความปรารถนาดีที่กลับกลายเป็นเกราะกำบังช่วยลดแรงเสียดทานและกระแสต่อต้านให้บรรเทาเบาบางลงได้กับข้อเสนอเรียกร้องให้มีการขอโทษหรือชดใช้จากกระทำในครั้งนี้ และก็ต้องนับว่าเป็นการดีที่แกนนำในครั้งนี้ "คุณไผ่" เปิดรับฟังกระแสวิพากษ์วิจารณ์และนำข้อเสนอไปสนอง จากข้อเท็จจริงการเคลื่อนไหวจากโลกไซเบอร์กลับเร็วกว่า มีการเปิดตัวระดมทุนนำเงินไปมอบให้ตำรวจอย่างรวดเร็ว

มามองอีกมิติหนึ่งของความรุนแรง ซึ่งในเหตุการณ์นี้มีการนำเหตุการณ์ต่างๆ มาเทียบเคียง ซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. เทียบเคียงในลักษณะนำความรุนแรงที่เกิดจากการก่ออาชญากรรมมาเทียบเคียงกับการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์การสาดสี อาทิ โพสต์ของแม่น้องเกด โพสต์ของจ่านิว

2. เทียบเคียงในลักษณะเพื่อชี้ให้เห็นถึง "ระดับ" ของความรุนแรง อาทิ การหยิบเอาภาพเหตุการณ์ก่อความรุนแรงของพันธมิตรหรือกปปส.มาเทียบเคียง อาทิ การใช้ธงทิ่มทำร้ายปักอกตำรวจของพันธมิตร การปาระเบิดใส่แถวตำรวจของกปปส. การถอยรถทับตำรวจของพันธมิตร การใช้อาวุธปืนยิงใส่จนท.ตำรวจของคปท.จนทำให้ตำรวจเสียชีวิต

3. เทียบเคียงเพื่อให้เห็นถึง "มิติ" ของความรุนแรงของผู้ถูกระทำจากภาครัฐ อาทิ การออกหมายจับ การดำเนินการจับกุมของจนท. หรือการคุกคามของจนท.ในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น

จากข้อ 1 การหยิบเอาเหตุการณ์ก่ออาชญากรรมที่ต้องมีการติดตามดำเนินคดีเอาผิดกับผู้ที่ดักทำร้ายจ่านิวมาลงโทษนั้นเป็นสิ่งที่สมควรทำและสมควรประฌามผู้ที่ก่ออาชญากรรมอย่างไม่มีข้อสงสัย แต่การหยิบเอาเหตุการณ์นี้มาสร้างความชอบธรรมให้กับการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ที่หลายฝ่ายมีการถกเถียงกันว่าเกินขอบเขตไม่ได้ เป็นคนละเรื่องและคนละมิติกันโดยสิ้นเชิง

จากข้อ 2 ไม่ได้ชี้ให้เห็นว่าการกระทำ "สาดสี" ไม่ผิด อีกเช่นเดียวกัน แต่เป็นการยกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาชี้ให้เห็นถึงระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันมาเทียบเคียง ซึ่งน่าจะเทียบกันไม่ได้เลย แต่ผู้ที่จ้องจะจับผิดและวิจารณ์ได้นำมาขยายผล ผลของการสาดสี ไปเกินระดับของความรุนแรง โดยมีทัศคติทางการเมืองเป็นตัวแปรชี้วัดถึงเจตนาของการวิพากษ์วิจารณ์ที่เป็นตัวตั้ง ติเพื่อก่อ หรือ ถล่มเพื่อทำลาย

จากข้อที่ 3 แน่นอนนี่ย่อมเป็นโจทย์ของผู้ที่คิดว่าตนเองถูกกระทำฝ่ายเดียว โดยการยกเอาเหตุแห่งการถูกคุกคามมาเทียบเคียง ซึ่งทำให้เกิดการมองข้ามสิ่งที่กำลังต่อสู้เรียกร้อง คือ ระบบ โดยมีผู้มีอำนาจอยู่ในระบบเป้นเป้าหมาย แต่การแสดงออกโดยใช้อารมณ์นำหน้า สถานการณ์นำพา การแสดงออกทางเชิงสัญลักษณ์จากที่จะเป็นสิ่งที่สร้างสรรค์ พอผิดที่ ผิดเวลา และผิดบุคคล มันก็เป็นกระแสที่ย้อนกลับมากระแทกตนเอง กลายเป็นราคาที่ต้องจ่าย และทำให้คนในขบวนการต้องช่วยกันจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

#ไปต่อแถว การนั่งต่อแถวของนักเรียนหน้ากระทรวง การส่งเสียง #ไปต่อแถว ของหญิงสาวมัธยม การชูสามนิ้วเคารพธงชาติ การผูกโบว์ขาว ที่เป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ มีพลังทำลายล้างยิ่งกว่าการก่อความรุนแรงและการใช้อาวุธใดๆ

คือ บทเรียน ที่สมควรถอดแบบและนำมาต่อยอดในการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ที่สร้างสรรค์

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

198 methods non violent action
https://www.brandeis.edu/peace-conflict/pdfs/198-methods-non-violent-action.pdf
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่