ภาครัฐให้ความสำคัญในการผลักดันให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่สังคมยานยนต์ไฟฟ้า และกระตุ้นให้คนไทยเห็นถึงความสำคัญ ความจำเป็น และประโยชน์จากการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการลดมลพิษในอากาศในระยะยาว ซึ่งประเด็นการปล่อยมลพิษของรถยนต์สันดาปภายใน ถือเป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนารถยนต์พลังงานทางเลือก เกิดเทคโนโลยียานยนต์ใหม่ๆ รวมถึงการออกกฎหมายควบคุมมลพิษจากยานยนต์เกิดขึ้น ดังจะเห็นได้จากกำหนดค่าไอเสียที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะที่มลรัฐแคลิฟอร์เนียที่มีการกำหนดค่ามาตรฐานการปล่อยมลพิษของตัวเอง เพื่อควบคุมและแก้ปัญหามลพิษ รวมไปถึงภูมิภาคอื่นๆ อย่างเช่นในประเทศในกลุ่มยุโรป ก็ได้มีการออกมาตรฐานการปล่อยมลพิษของยานยนต์อย่าง มาตรฐานยูโร โดยเริ่มตั้งแต่ ยูโร 1 ถึงปัจจุบันอยู่ที่มาตรฐานยูโร 6
ปัจจุบันมียานยนต์จำหน่ายทั่วโลกรวมกันกว่า 1,200 ล้านคัน ย่อมก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศที่มากขึ้น ดังนั้น รัฐบาลประเทศต่างๆ จึงได้มีการออกมาตรการที่เข้มงวดในเรื่องระบบท่อไอเสีย รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีให้รองรับการใช้ทั้งเครื่องยนต์และแบตเตอรี่ ไม่ว่าจะเป็น การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle : HEV) ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (Plug-in Hybrid Electric Vehicle : PHEV) รวมทั้งยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle : BEV) รวมถึงการออกนโยบายสนับสนุนการใช้รถยนต์ประเภทนี้ อาทิ รัฐแคลิฟอร์เนียออกนโยบายการเงินในการสนับสนุนเงินให้ผู้ซื้อยานยนต์ไฟฟ้าสูงสุดกว่า 200,000 บาทต่อคัน และการสนับสนุนให้ตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า ทำให้ในปี ค.ศ. 2018 มีจำนวนแท่นชาร์จไฟกว่า 450,000 มากที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
สำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญ โดยในปี ค.ศ. 2019 มีการผลิตอยู่ในอันดับที่ 11 ของโลก และอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ถือเป็น 1 ใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ที่มีศักยภาพและมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ และมีการบูรณาการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการประชุมครั้งที่ 1 ได้มีการเห็นชอบ แผน 30@30 โดยปี ค.ศ. 2030 จะผลิตยานยนต์ไฟฟ้า 30% ของการผลิตรถยนต์ในไทย โดยแบ่งการทำงานเป็น 3 ระยะ คือ
· ระยะสั้น (2020-2022) ผลิตรถสำหรับรถราชการ รถสาธารณะ รถจักรยานยนต์สาธารณะ 60,000-110,000 คัน
· ระยะกลาง (2021-2025) จะผลักดัน ECO EV จำนวน 100,000-250,000 คัน และผลักดันสมาร์ท ซิตี้ บัส จำนวน 300,000 คัน
· ระยะยาว (2026-2030) ให้มีการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าประมาณ 750,000 คัน
พร้อมกันนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมยังได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเดินหน้าโครงการมาตรการยานยนต์เก่าแลกยานยนต์ไฟฟ้า (xEV) โดยการนำรถเก่าที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 15 ปี มาเปลี่ยนเป็นยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมตลาดและการจัดการซากยานยนต์ โดยจะมีการศึกษาการจัดการซากยานยนต์ในประเทศไทยอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดการจัดการซากรถยนต์ที่เป็นระบบ ลงทุนการรีไซเคิลซากรถยนต์และแบตเตอรี่ และเข้าสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน
ด้านโครงสร้างพื้นฐานได้รองรับการส่งเสริมสถานีอัดประจุไฟฟ้า โดยใช้อัตราค่าไฟฟ้าแบบคงที่ 2.63 บาท ต่อหน่วย และตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะให้ตั้งภายในรัศมี 50-70 กิโลเมตร เพื่อให้ครอบคลุมการเดินทางระยะไกล ซึ่งที่ผ่านมาภาครัฐและภาคเอกชนมีการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยมีความพร้อมในการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในอนาคตอันใกล้
มาแน่รถไฟฟ้า ในไทย เปิดแผนรถ EV ระยะสั้น-กลาง-ยาว ตั้งเป้าผลิตถึง 7.5 แสนคัน
ภาครัฐให้ความสำคัญในการผลักดันให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่สังคมยานยนต์ไฟฟ้า และกระตุ้นให้คนไทยเห็นถึงความสำคัญ ความจำเป็น และประโยชน์จากการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการลดมลพิษในอากาศในระยะยาว ซึ่งประเด็นการปล่อยมลพิษของรถยนต์สันดาปภายใน ถือเป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนารถยนต์พลังงานทางเลือก เกิดเทคโนโลยียานยนต์ใหม่ๆ รวมถึงการออกกฎหมายควบคุมมลพิษจากยานยนต์เกิดขึ้น ดังจะเห็นได้จากกำหนดค่าไอเสียที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะที่มลรัฐแคลิฟอร์เนียที่มีการกำหนดค่ามาตรฐานการปล่อยมลพิษของตัวเอง เพื่อควบคุมและแก้ปัญหามลพิษ รวมไปถึงภูมิภาคอื่นๆ อย่างเช่นในประเทศในกลุ่มยุโรป ก็ได้มีการออกมาตรฐานการปล่อยมลพิษของยานยนต์อย่าง มาตรฐานยูโร โดยเริ่มตั้งแต่ ยูโร 1 ถึงปัจจุบันอยู่ที่มาตรฐานยูโร 6
ปัจจุบันมียานยนต์จำหน่ายทั่วโลกรวมกันกว่า 1,200 ล้านคัน ย่อมก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศที่มากขึ้น ดังนั้น รัฐบาลประเทศต่างๆ จึงได้มีการออกมาตรการที่เข้มงวดในเรื่องระบบท่อไอเสีย รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีให้รองรับการใช้ทั้งเครื่องยนต์และแบตเตอรี่ ไม่ว่าจะเป็น การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle : HEV) ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (Plug-in Hybrid Electric Vehicle : PHEV) รวมทั้งยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle : BEV) รวมถึงการออกนโยบายสนับสนุนการใช้รถยนต์ประเภทนี้ อาทิ รัฐแคลิฟอร์เนียออกนโยบายการเงินในการสนับสนุนเงินให้ผู้ซื้อยานยนต์ไฟฟ้าสูงสุดกว่า 200,000 บาทต่อคัน และการสนับสนุนให้ตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า ทำให้ในปี ค.ศ. 2018 มีจำนวนแท่นชาร์จไฟกว่า 450,000 มากที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
สำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญ โดยในปี ค.ศ. 2019 มีการผลิตอยู่ในอันดับที่ 11 ของโลก และอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ถือเป็น 1 ใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ที่มีศักยภาพและมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ และมีการบูรณาการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการประชุมครั้งที่ 1 ได้มีการเห็นชอบ แผน 30@30 โดยปี ค.ศ. 2030 จะผลิตยานยนต์ไฟฟ้า 30% ของการผลิตรถยนต์ในไทย โดยแบ่งการทำงานเป็น 3 ระยะ คือ
· ระยะสั้น (2020-2022) ผลิตรถสำหรับรถราชการ รถสาธารณะ รถจักรยานยนต์สาธารณะ 60,000-110,000 คัน
· ระยะกลาง (2021-2025) จะผลักดัน ECO EV จำนวน 100,000-250,000 คัน และผลักดันสมาร์ท ซิตี้ บัส จำนวน 300,000 คัน
· ระยะยาว (2026-2030) ให้มีการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าประมาณ 750,000 คัน
พร้อมกันนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมยังได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเดินหน้าโครงการมาตรการยานยนต์เก่าแลกยานยนต์ไฟฟ้า (xEV) โดยการนำรถเก่าที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 15 ปี มาเปลี่ยนเป็นยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมตลาดและการจัดการซากยานยนต์ โดยจะมีการศึกษาการจัดการซากยานยนต์ในประเทศไทยอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดการจัดการซากรถยนต์ที่เป็นระบบ ลงทุนการรีไซเคิลซากรถยนต์และแบตเตอรี่ และเข้าสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน
ด้านโครงสร้างพื้นฐานได้รองรับการส่งเสริมสถานีอัดประจุไฟฟ้า โดยใช้อัตราค่าไฟฟ้าแบบคงที่ 2.63 บาท ต่อหน่วย และตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะให้ตั้งภายในรัศมี 50-70 กิโลเมตร เพื่อให้ครอบคลุมการเดินทางระยะไกล ซึ่งที่ผ่านมาภาครัฐและภาคเอกชนมีการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยมีความพร้อมในการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในอนาคตอันใกล้