Entropy เป็นคำที่ไม่ได้ยินมาหลายปี หลังจากแทบไม่ได้อ่านหนังสือวิทยาศาสตร์ตามรูปแบบการใช้ชีวิตที่ห่างออกไป
เคยนิยามความหมายของคำนี้ หลังจากศึกษาพุทธศาสนาง่าย ๆ ว่า Entropy = สภาพการไม่สามารถคงทนของสรรพสิ่ง = ทุกข์ นั่นเอง
ปัญหาของการทำความเข้าใจหนังเรื่องนี้ จากปรมาจารย์ด้านไอเดียการเล่าเรื่องและลำดับมิติทั้งด้านภาพและเวลาอย่าง Nolan ภายในครั้งแรกที่ดู คือ ธรรมชาติการดำเนินชีวิตของเราคิดแบบเส้นตรงตามเวลาที่มุ่งไปข้างหน้า
แม้จะมีหนังหลายเรื่องเกี่ยวกับการเดินทางข้ามเวลา แต่จะเป็นในรูปแบบเส้นตรงไปข้างหน้า หรือย้อนหลังเท่านั้น
แต่สำหรับ Tenet เงื่อนไขของสรรพสิ่ง เมื่อ Entropy ถูกควบคุม จึงไม่สามารถทำความเข้าใจแบบเส้นตรงแบบนั้นได้ เพราะการเคลื่อนที่ของมันเป็นไปในแบบ 'ไม่มีระเบียบแบบแผน'
เป็นความทะเยอทะยานครั้งใหม่ของ Nolan ที่เอาเรื่องราวแบบนี้มารับใช้วิธีการทางภาพยนตร์ โดยเฉพาะการลำดับเรื่องราว งานภาพ และการตัดต่อ
สาวกเขาพร้อมจะเข้าไปเพื่อขบคิดอยู่แล้ว แม้ว่าทฤษฎีที่เขานำมาใช้ในเรื่องนี้จะชวนให้มึนงงและยุ่งเหยิง
แต่ก็เป็นความยุ่งเหยิงที่มีระเบียบแบบแผนให้เขานำมารับใช้เรื่องราว
ตัวละครหลัก 5-6 ตัว แต่ละคนมี Character น่าจดจำของตัวเอง ถึงหนังจะเน้นการเล่าเรื่องมากกว่าดราม่า และความเร็วในการเล่าเรื่องหนัก ๆ จะทำให้คนดูไม่รู้สึกถูกดึงดูดไปกับเรื่องราวของตัวละครนัก
ส่วนดนตรีประกอบที่เป็นงานชิ้นเอก ช่วยส่งเสริมเรื่องของ Nolan ให้เข้มข้นขึ้นเสมอ พอเปลี่ยนจาก Hans Zimmer มือประพันธ์คู่บุญ มาเป็น Ludwig Göransson ถามว่าชอบไหม มันก็ชอบในระดับหนึ่ง กับการใช้เครื่องสายมารัวโน้ตราวไร้ระเบียบตามธีมของเรื่อง แต่หลายฉากก็รู้สึกพาอารมณ์ขึ้นไปไม่สุดเท่า งานเก่า ๆ ของ Zimmer
พูดมากกว่านี้คงไม่ได้ เพราะไม่ต้องการเปิดเผยเนื้อหา แต่ถือว่าเป็นงานน่าจดจำ แม้อาจไม่กลมกล่อมย่อยง่าย ได้ทั้งความน่าตื่นตาตื่นใจและบันเทิง เท่างานโชว์ไอเดียก่อนหน้าอย่าง Inception (2010) หรือ Interstellar (2014)
เป็นหนังที่ชวนให้นึกถึงงานของผู้กำกับอีกคนที่ผมชอบนำมาเปรียบเทียบกับ Nolan นั่นคือเรื่อง Enemy (2013) ของ Denis Villeneuve ที่ใช้วิธีการทางภาพยนตร์มาบิดเบี้ยวการเล่าเรื่อง แต่ Tenet พาเราไปไกลกว่าทั้ง Scale ของพล็อตเรื่อง และทฤษฎี
แต่งานของทั้งคู่ไม่สามารถดูแล้วเข้าใจได้ในรอบเดียวแน่นอน
ขอบคุณที่โลกนี้มีภาพยนตร์
9/10
Tenet (2020): ระเบียบในความยุ่งเหยิง
Entropy เป็นคำที่ไม่ได้ยินมาหลายปี หลังจากแทบไม่ได้อ่านหนังสือวิทยาศาสตร์ตามรูปแบบการใช้ชีวิตที่ห่างออกไป
เคยนิยามความหมายของคำนี้ หลังจากศึกษาพุทธศาสนาง่าย ๆ ว่า Entropy = สภาพการไม่สามารถคงทนของสรรพสิ่ง = ทุกข์ นั่นเอง
ปัญหาของการทำความเข้าใจหนังเรื่องนี้ จากปรมาจารย์ด้านไอเดียการเล่าเรื่องและลำดับมิติทั้งด้านภาพและเวลาอย่าง Nolan ภายในครั้งแรกที่ดู คือ ธรรมชาติการดำเนินชีวิตของเราคิดแบบเส้นตรงตามเวลาที่มุ่งไปข้างหน้า
แม้จะมีหนังหลายเรื่องเกี่ยวกับการเดินทางข้ามเวลา แต่จะเป็นในรูปแบบเส้นตรงไปข้างหน้า หรือย้อนหลังเท่านั้น
แต่สำหรับ Tenet เงื่อนไขของสรรพสิ่ง เมื่อ Entropy ถูกควบคุม จึงไม่สามารถทำความเข้าใจแบบเส้นตรงแบบนั้นได้ เพราะการเคลื่อนที่ของมันเป็นไปในแบบ 'ไม่มีระเบียบแบบแผน'
เป็นความทะเยอทะยานครั้งใหม่ของ Nolan ที่เอาเรื่องราวแบบนี้มารับใช้วิธีการทางภาพยนตร์ โดยเฉพาะการลำดับเรื่องราว งานภาพ และการตัดต่อ
สาวกเขาพร้อมจะเข้าไปเพื่อขบคิดอยู่แล้ว แม้ว่าทฤษฎีที่เขานำมาใช้ในเรื่องนี้จะชวนให้มึนงงและยุ่งเหยิง
แต่ก็เป็นความยุ่งเหยิงที่มีระเบียบแบบแผนให้เขานำมารับใช้เรื่องราว
ตัวละครหลัก 5-6 ตัว แต่ละคนมี Character น่าจดจำของตัวเอง ถึงหนังจะเน้นการเล่าเรื่องมากกว่าดราม่า และความเร็วในการเล่าเรื่องหนัก ๆ จะทำให้คนดูไม่รู้สึกถูกดึงดูดไปกับเรื่องราวของตัวละครนัก
ส่วนดนตรีประกอบที่เป็นงานชิ้นเอก ช่วยส่งเสริมเรื่องของ Nolan ให้เข้มข้นขึ้นเสมอ พอเปลี่ยนจาก Hans Zimmer มือประพันธ์คู่บุญ มาเป็น Ludwig Göransson ถามว่าชอบไหม มันก็ชอบในระดับหนึ่ง กับการใช้เครื่องสายมารัวโน้ตราวไร้ระเบียบตามธีมของเรื่อง แต่หลายฉากก็รู้สึกพาอารมณ์ขึ้นไปไม่สุดเท่า งานเก่า ๆ ของ Zimmer
พูดมากกว่านี้คงไม่ได้ เพราะไม่ต้องการเปิดเผยเนื้อหา แต่ถือว่าเป็นงานน่าจดจำ แม้อาจไม่กลมกล่อมย่อยง่าย ได้ทั้งความน่าตื่นตาตื่นใจและบันเทิง เท่างานโชว์ไอเดียก่อนหน้าอย่าง Inception (2010) หรือ Interstellar (2014)
เป็นหนังที่ชวนให้นึกถึงงานของผู้กำกับอีกคนที่ผมชอบนำมาเปรียบเทียบกับ Nolan นั่นคือเรื่อง Enemy (2013) ของ Denis Villeneuve ที่ใช้วิธีการทางภาพยนตร์มาบิดเบี้ยวการเล่าเรื่อง แต่ Tenet พาเราไปไกลกว่าทั้ง Scale ของพล็อตเรื่อง และทฤษฎี
แต่งานของทั้งคู่ไม่สามารถดูแล้วเข้าใจได้ในรอบเดียวแน่นอน
ขอบคุณที่โลกนี้มีภาพยนตร์
9/10