⚙มาลาริน/ยุทธนาวีที่เกาะช้าง..แฉรบ.ในรอบ10ปีหนุนซื้อ'เรือดำน้ำ'ซ้ำร้ายปีที่แล้วทุกพรรคการเมืองก็ไฟเขียว!

ไทยเคยมีเรือดำน้ำ 4 ลำ ออกศึกรบยุทธนาวีเกาะช้าง ไล่ฝรั่งเศส หนีกระเจิง

ท่ามกลางเสียงคัดค้านไม่เห็นด้วยในการจัดซื้อเรือดำน้ำ เนื่องจากขณะนี้ไทยกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ในห้วงเชื้อไวรัสโควิด-19 กำลังแพร่ระบาด ขณะที่กองทัพเรือไทย ยังคงยืนยันความจำเป็นต้องมีเรือดำน้ำ เพื่อความมั่นคงผลประโยชน์ในทะเล แม้ว่าสงครามจะยังไม่เกิดขึ้นก็ตาม

แนวความคิดของกองทัพเรือไทย ในการจัดหา "เรือดำน้ำ"มีมาตั้งแต่ปี 2453 แต่ติดขัดเรื่องงบประมาณ จึงไม่สามารถจัดหาเรือดำน้ำมาได้ ต่อมาภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อปลายปี 2477 สภาผู้แทนราษฎร ได้อนุมัติพ.ร.บ.บำรุงกำลังทหารเรือ พ.ศ.2478 ในการจัดหาเรือดำนำ้ งบประมาณ 18 ล้านบาท และกองทัพเรือได้เรียกประกวดราคาสร้างเรือดำน้ำในปี 2478 โดยบริษัทมิตซูบิชิ โชยีไกชา จำกัด ประเทศญี่ปุ่น เสนอราคาต่ำที่สุด จึงได้รับเลือกในการว่าจ้าง
 
กระทั่งปี 2481 ไทยได้มีเรือดำน้ำ 4 ลำ เป็นชาติแรกในอาเซียน ได้แก่ เรือหลวงมัจฉาณุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล ซึ่งเป็นชื่อพระราชทาน นอกจากนี้มีการกำหนดให้วันที่ 4 ก.ย. ของทุกปีเป็น “วันเรือดำน้ำ” เนื่องจากเมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2480 ทางญี่ปุ่นสามารถสร้างเรือหลวงมัจฉาณุ และเรือหลวงวิรุณ จนประสบความสำเร็จ 2 ลำแรก ถือเป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ที่ราชนาวีไทยมีเรือดำน้ำเป็นครั้งแรก ส่วนเรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2481
   
เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ มีบทบาทสำคัญในช่วงเหตุการณ์รบทางเรือ “ยุทธนาวีเกาะช้าง” กรณีพิพาทอินโดจีนระหว่างไทยและฝรั่งเศส เมื่อปี 2484 โดยกองทัพเรือไทยได้ใช้เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ตระเวนข่มขวัญฝรั่งเศสในทะเลอ่าวไทย จนต้องรีบถอนกำลังกลับไปกรุงไซ่ง่อน เมืองหลวงของเวียดนามใต้ในขณะนั้น นอกจากนี้ยังลอบส่งสายลับขบวนการเสรีไทย
    
ต่อมาในปี 2494 เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ได้ปลดประจำการ ภายหลังรับใช้ชาติมากว่า 13 ปี เนื่องจากขาดแคลนชิ้นส่วนอะไหล่ หลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 และไม่ได้รับอนุญาตให้ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ และโรงงานของไทย ไม่สามารถผลิตแบตเตอรี่สำหรับใช้ประจำเรือได้ และเกิดเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2494 ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในกองทัพเรือ มีคำสั่งยุบหมวดเรือดำน้ำ และนำเรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ มาจอดบริเวณท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้กับโรงพยาบาลศิริราช ต่อมามีการขายให้กับบริษัทปูนซีเมนต์ไทย เพื่อทำการศึกษา และคงเหลือแต่หอบังคับการ อาวุธปืน และกล้องส่อง นำมาจัดสร้างสะพานเรือจำลอง จัดแสดงพิพิธภัณฑ์ทหารเรือ หน้าโรงเรียนนายเรือ และป้อมพระจุลจอมเกล้า จ.สมุทรปราการ
   
เมื่อสงครามโลก ครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในปี 2492 กองทัพเรือได้เสนอโครงการ 5 ปี ต่อรัฐบาล ในการจัดหาเรือดำน้ำอีก 8 ลำ ในระหว่างปี 2493-2494 แต่ไม่ได้รับอนุมัติและต้องเลิกล้มไป เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ และไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียอาคเนย์ ซึ่งได้มีการกำหนดขอบเขตการปฏิบัติงานของกองทัพเรือไทย ทำให้การจัดหาเรือดำน้ำต้องชะงักไป

ความพยายามของกองทัพเรือไทย ยังมีอย่างต่อเนื่องที่จะเสนอโครงการจัดหาเรือดำน้ำ กลับเข้าประจำการอีกครั้งหนึ่งเพื่อเสริมเขี้ยวเล็บทางทะเลตั้งแต่ปี 2528 จนเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2560 รัฐบาล คสช.ได้มีมติเห็นชอบจัดซื้อเรือดำน้ำ หยวนคลาส เอส 26 ที จำนวน 1 ลำ วงเงิน 1.35 หมื่นล้านบาท โดยไม่มีการแถลงข่าว อ้างว่าเป็นเอกสารลับที่สุด ในโหมดงานด้านความมั่นคง ก่อให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์มากมาย กระทั่งปีงบประมาณ 2563 จะขอจัดซื้ออีก 2 ลำต่อเนื่องมาจากปี 2560 แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด จึงโอนงบประมาณคืน และจะใช้จ่ายงวดแรกในปีงบประมาณ 2564 และไปจบงวดสุดท้ายในปี 2570
  
ภาพจาก : สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ

https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1917957

'ไพศาล'แฉรัฐบาลในรอบ10ปีหนุนซื้อ'เรือดำน้ำ'ซ้ำร้ายปีที่แล้วทุกพรรคการเมืองก็ไฟเขียว!

26 ส.ค.2563-  นายไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความพร้อมรูปผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ “ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดซื้อเรือดำน้ำ 3 ลำ!!!!” ระบุว่า....✏

1.ผมตั้งตัวเป็นผู้คัดค้านการจัดซื้อเรือดำน้ำ3ลำมาตั้งแต่ 30 ปีก่อนแล้ว เพราะขณะนั้นไม่มีประเทศใดในย่านนี้ที่มีเรือดำน้ำเลย และศักยภาพของกองทัพเรือในขณะนั้นก็เพียงพอที่จะดูแลอธิปไตยของชาติได้

2.ในระยะ 7 ปีมานี้ ประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ได้จัดหาเรือดำน้ำเข้าประจำการกันโดยทั่วไป เพื่อดูแลผลประโยชน์ทางทะเลและอธิปไตยของชาติ ประเทศเล็กๆ บางประเทศมีถึง 12 ลำ แม้ว่าเราจะเป็นมิตรประเทศกัน แต่ในเรื่องอธิปไตยและผลประโยชน์แห่งชาตินั้น ย่อมจำเป็นที่จะต้องพิทักษ์รักษา ให้มีความมั่นใจ จึงเป็นเหตุความจำเป็นที่ต้องมีเรือดำน้ำ มิฉะนั้นแล้วกองเรือผิวน้ำก็จะตกอยู่ในอันตรายด้วย

3.เรือดำน้ำนั้นต้องมีอย่างน้อย 3 ลำ เพราะสองฝั่งทะเลของประเทศไทยยาวเหยียด การพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ ด้านอ่าวไทยและแปซิฟิกก็สำคัญ ทางด้านมหาสมุทรอินเดียก็สำคัญ จึงต้องมีเรืออย่างน้อยด้านละ1 ลำ และต้องมีสำรองไว้อีก 1 ลำ  เพราะเรือแต่ละลำนั้น สามารถปฏิบัติภารกิจใต้น้ำได้ 25 วัน ต้องเข้าฝั่ง และต้องส่งเรือสำรอง ไปปฏิบัติภารกิจแทนสลับกันไป นี่คือความจำเป็นที่ต้องมี 3 ลำเป็นอย่างน้อย

4.รัฐบาลทุกยุคทุกสมัย ในระยะ 10 ปีมานี้ล้วนเห็นชอบในแผนการจัดหาเรือดำน้ำ 3 ลำ และเมื่อมีความพร้อมและจำเป็นขั้นสูง รัฐบาลและรัฐสภาในปีที่แล้วก็ได้อนุมัติโครงการนี้โดยจัดซื้อลำแรกก่อน ซึ่งต้องชำระเงินปีละประมาณ 3,000 ล้านบาท มาปีนี้จึงดำเนินการต่อ จัดหาลำที่ 2 และที่ 3 เพื่อให้ เป็นไปตามแผนปฏิบัติการทางทหาร ซึ่งจะใช้งบประมาณปี 64 เพียงประมาณ 3,000 ล้านบาทเท่านั้น

5.การจัดซื้อเรือดำน้ำลำแรกเหมือนกับการซื้อรองเท้าก่อน 1 ข้าง มาปีนี้จึงตั้งงบซื้อข้างที่ 2 และสำรองอีกข้างหนึ่งจึงจะใช้ได้ ทุกพรรคการเมืองในปัจจุบันนี้เมื่อปีที่แล้วก็เห็นชอบเรื่องนี้เกือบเป็นเอกฉันท์ มาปีนี้ถ้าหากไม่เห็นชอบก็เท่ากับให้ใช้รองเท้าข้างเดียว ก็จะสูญเสียเงินเปล่าและใช้การไม่ได้ ที่สำคัญคืออธิปไตยและผลประโยชน์แห่งชาตินั้นเสี่ยงไม่ได้!!!!

6.รายละเอียดเกี่ยวกับสมรรถนะของเรือดำน้ำทั้ง 3 ลำนี้ เท่าที่ดูจากการเปิดเผยข้อมูลก็เห็นใจฝ่ายทหาร เพราะมีความจำเป็นที่ไม่อาจเปิดเผยในรายละเอียดได้ แต่ผมยืนยันได้ว่าเรือดำน้ำทั้ง 3 ลำนี้สมรรถนะไม่เบา แม้มีรัศมีปฏิบัติการทางด้านแปซิฟิกถึงทะเลจีนใต้ ฝั่งมหาสมุทรอินเดียถึงย่านศรีลังกา แต่รัศมีทำการของขีปนาวุธและตอร์ปิโดนั้น ไม่ได้อยู่แค่นั้นนะครับ!!!! อาจจะมีรัศมีทำการถึง 5,000 ไมล์ก็ได้ ใครจะล่วงรู้ 5555 แต่ยืนยันได้เลยว่า สมรรถนะไม่ด้อยกว่าใครเลยในภูมิภาคนี้!!!!

7.ไม่ต้องห่วงเรื่องเงินที่ต้องใช้เพราะปี 2564 ใช้เพียงแค่ 3 พันล้านบาทและอยู่ในกรอบวงเงินงบประมาณที่ตั้งประมาณการไว้ตั้งนานแล้ว และที่สำคัญน้อยกว่ามีประโยชน์กว่าเงินที่ไปล้างผลาญซื้อเครื่องพ่นยาฆ่าไวรัสนับหมื่นล้านบาทโดยไม่เข้าท่ามากมายนัก สำหรับราคาเรือ3ลำนี้ ผมยืนยันได้ว่า ราคาถูกมากเกือบจะเหมือนได้เปล่า จนกล่าวได้ว่าซื้อ 3 ลำรวมกันราคายังไม่เท่ากับซื้อจากบางประทศแค่ลำเดียวเท่านั้น 

ข้อสำคัญอยากจะบอกให้ทราบว่า ราคาเรือ 3 ลำนี้ที่ลดราคามากมายเหมือนได้เปล่านั้น เกิดจากการตัดสินใจของท่านประธานสีจิ้นผิงโดยตรง โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ไทยจีนนั่นเอง!!!!

ลองนึกย้อนก็คงจำภาพครั้งท่านผู้บัญชาการทหารเรือ ไปร่วมฉลองวันกองทัพเรือจีน แล้วประธานสีจิ้นผิงให้เกียรติจัดให้ยืนแถวหน้าสุด ในขณะที่รัฐมนตรีกลาโหมของหลายประเทศยืนอยู่แถวที่ 2 ด้วยซ้ำไป และท่านประธานสีเดินกุมมือท่านผู้บัญชาการทหารเรือไม่ปล่อยก็จะเข้าใจได้ว่านั่นเพราะอะไร? มีความลึกซึ้งขนาดไหนจึงไม่ต้องห่วงว่าจะมีเงินใต้โต๊ะบนโต๊ะในเรื่องนี้!!!!

ผมนำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างนี้แหละ และเชื่อว่าสมาชิกรัฐสภา ย่อมทราบและเข้าใจในเรื่องนี้ ทั้งเห็นความจำเป็นในการพิทักษ์รักษาอธิปไตยและผลประโยชน์แห่งชาติอย่างแน่นอน เราอาจจะเห็นต่างกันบ้าง ทะเลาะกันบ้างแต่ก็ยังเป็นคนไทยด้วยกัน  แต่เรื่องผลประโยชน์แห่งชาติและอธิปไตยนั้น ควรจะมีความคิดเห็นที่ยึดถือชาติบ้านเมืองเป็นหลัก ไม่ใช่เล่นการเมืองเป็นหลักครับ

http://www.thaipost.net/main/detail/75561

อมยิ้ม35อมยิ้ม35อมยิ้ม35อมยิ้ม35อมยิ้ม35
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่