Idol (สักการะวัตถุ/รูปเคารพ) กับ icon (ปฏิมา)
เป็นสองคำเขียนคล้ายกัน แต่มีความหมายต่างกัน
สักการะวัตถุ คือสิ่งที่คนนมัสการเป็นพระเจ้า เช่น ต้นไม้ สิ่งของต่าง ๆ ที่เรากราบไหว้เป็นพระเจ้า หรือ ธรรมชาติ เช่นภูเขา แม่น้ำ ฯลฯ ขณะที่ ปฏิมา เป็นภาพ รูปปั้น หรือสัญลักษณ์ที่เตือนใจเราถึงบุคคลหรือเหตุการณ์ของบุคคลนั้น ๆ(เช่นพระเยซูคริสต์เป็นต้น)
เมื่อคริสเตียนพูดว่าเราปฏิเสธเรื่องสักการะวัตถุบูชา/รูปเคารพ ควรหมายความว่าเราปฏิเสธการเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใด(ความคิด บุคคล สิ่งของ เหตุการณ์) มาแทนที่พระเจ้า คริสเตียนไม่บูชาสิ่งของใดๆ เป็นพระเจ้า และผมคงไม่ก้าวล่วงวิจารณ์คริสเตียนบางกลุ่มที่ยกย่องผู้นำของตนเองอย่างสุดขอบประดุจพระเจ้า ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ขณะเดียวกันเราไม่ควรด่วนปฏิเสธหรือตัดสินเรื่องการมีปฏิมาที่กระทำในคริสตจักรคาทอลิกหรือกรีกออทอร์ดอกซ์ เพราะพวกเขาไม่ได้กราบไหว้ปฏิมาเป็นพระเจ้า แต่เป็นการเคารพ ให้เกียรติ ยกย่องบุคคล ๆ หนึ่ง (พระเยซูคริสต์) ที่เป็นพระฉายาของพระเจ้าที่ไม่ประจักษ์แก่ตา ได้ทำให้คนได้เห็นพระเจ้าที่ประจักษ์แก่ตาได้
จริงอยู่ที่คจ.คาทอลิคมีรูปปั้นและคจ.ออร์ทอร์ดอกซ์มีภาพวาดของนางมาเรียหรือนักบุญคนอื่น ๆ ในสถานนมัสการแต่พวกเขาเองไม่ได้บูชานางมาเรียหรือนักบุญเป็นพระเจ้า
การเคารพและยกย่องปฏิมาดังกล่าวได้ถูกยกเลิกในสภาฮิเอเรีย (Hieria) ในปี ค.ศ. 753 เพราะจักรพรรดิลีโอที่ 3 (ค.ศ. 685–741) แห่งจักรวรรดิ์ไบแซนทินทรงเข้าพระทัย (ผิด) ว่า การตกต่ำของมหาอาณาจักรโรมันเกิดจากการที่คริสเตียนมีการปฏิบัติเรื่องปฏิมาบูชาเหมือนกับที่คนอิสราเอลถูกพระเจ้าลงโทษ เพราะการกราบไหว้รูปเคารพ แต่สภาไนเซียครั้งที่ 2 (ค.ศ.787) โดยความเห็นของบิชอปส่วนใหญที่มองว่า เรื่องปฏิมาไม่ใช่เป็นการกราบไหว้พระเจ้าเทียมแบบที่คนอิสราเอลกระทำในอดีต แต่เป็นการยกย่องพระคริสต์ผู้เป็นพระเจ้าแท้ สภาไนเซียครั้งที่ 2 จึงลงมติให้กระทำได้อีก และศาสนปิตาจารย์บางคน เช่น จอห์น ดามัสกัส กล่าวว่า เมื่อพระเจ้าผู้ทรงปราศจากพระกายมาบังเกิดเป็นพระเยซูคริสต์ทรงสภาพของมนุษย์ เราจึงควรวาดภาพหรือปั้นภาพของพระองค์ไว้ ปฏิมาจึงเป็นสัญลักษณ์ และตัวแทนของความล้ำลึกของสิ่งที่สัมผัสไม่ได้ให้คนสามารถเห็นได้ ปฏิมา (Icon) จึงไม่ใช่สักการะวัตถุ (Idol)
ปัจจุบันยังมีปฏิมาในคริสตจักรโดยทางคาทอลิกจะมีรูปปั้น ขณะที่กรีกออร์ทอดอกซ์จะเน้นภาพวาด ทั้งนี้ คจ.ยุคกลางใช้คำละตินสามคำแยกแยะเรื่องนี้ชัดเจน
คือ dulia สำหรับนักบุญหรือคนที่เขาเคารพ
Hyperdulia ใช้กับนางมารีย์ เป็นการเคารพที่สูงสุด
Latria การนมัสการซึ่งจะใช้กับพระเยซูคริสต์เท่านั้น
คริสเตียนไทยเรารับอิทธิพลของเทววิทยายุคปฏิรูปศาสนาโดยเฉพาะในสายของคาลวินและซวิงลี โดยเฉพาะองค์กรมิชชั่นอิสระมากมายที่เกิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 20 ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย องค์กรเหล่านี้เน้นการประกาศแต่ขาดความเข้าใจประวัติศาสตร์ ศาสนศาสตร์และพระคัมภีร์อย่างถ่องแท้ ทั้งนี้หลักปฏิรูปศาสนาของคาลวินและซวิงลีคือ สิ่งที่ คจ. คาทอลิกกระทำ ถ้าไม่มีการบันทึกในพระคัมภีร์ พวกเขาจะไม่ทำ กล่าวคือจะทำแต่สิ่งที่มีอยู่ในพระคัมภีร์เท่านั้น ต่างจากหลักการของลูเทอร์ที่บอกว่า สิ่งใดที่ คจ. คาทอลิกกระทำ แม้ไม่มีการบันทึกในพระคัมภีร์ แต่ถ้าไม่ผิดพระคัมภีร์ เราก็ทำได้
ถ้าเอาความคิดของคาลวินและซวิงลีเป็นหลัก โปรเตสแตนท์ต้องยกเลิกหลาย ๆ อย่างที่ดีที่เรากระทำอยู่เพราะไม่มีในพระคัมภีร์ ในทางตรงกันข้าม เราต้องทำหลาย ๆ อย่างที่คนบนโลกนี้ไม่ทำกันเพราะสิ่งเหล่านั้นมีอยู่ในพระคัมภีร์
ไม่ใช่เลือกทำ เลือกอธิบาย...
ผมจึงสรุปว่า เรื่องนี้เป็นนานาจิตตังครับ อยู่ที่ว่า เราจะคิดอย่างไรในเรื่องนี้เท่านั้นเอง แต่เราไม่ควรปฏิเสธหรือตัดสินเรื่องปฏิมาที่กระทำในคริสตจักรคาทอลิกหรือกรีกออทอร์ดอกซ์ เพราะพวกเขาไม่ได้กราบไหว้ปฏิมาเป็นพระเจ้าครับ
CR. : Ponksak Limthongviratn
บทความโดย : ศจ.ดร. พงษ์ศักดิ์ ลิ่มทองวิรัตน์ คริสตจักรลูเธอรัน
CR.ภาพ : ลูกพระคริสต์
Idol (สักการะวัตถุ/รูปเคารพ) กับ icon (ปฏิมา)
เป็นสองคำเขียนคล้ายกัน แต่มีความหมายต่างกัน
สักการะวัตถุ คือสิ่งที่คนนมัสการเป็นพระเจ้า เช่น ต้นไม้ สิ่งของต่าง ๆ ที่เรากราบไหว้เป็นพระเจ้า หรือ ธรรมชาติ เช่นภูเขา แม่น้ำ ฯลฯ ขณะที่ ปฏิมา เป็นภาพ รูปปั้น หรือสัญลักษณ์ที่เตือนใจเราถึงบุคคลหรือเหตุการณ์ของบุคคลนั้น ๆ(เช่นพระเยซูคริสต์เป็นต้น)
เมื่อคริสเตียนพูดว่าเราปฏิเสธเรื่องสักการะวัตถุบูชา/รูปเคารพ ควรหมายความว่าเราปฏิเสธการเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใด(ความคิด บุคคล สิ่งของ เหตุการณ์) มาแทนที่พระเจ้า คริสเตียนไม่บูชาสิ่งของใดๆ เป็นพระเจ้า และผมคงไม่ก้าวล่วงวิจารณ์คริสเตียนบางกลุ่มที่ยกย่องผู้นำของตนเองอย่างสุดขอบประดุจพระเจ้า ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ขณะเดียวกันเราไม่ควรด่วนปฏิเสธหรือตัดสินเรื่องการมีปฏิมาที่กระทำในคริสตจักรคาทอลิกหรือกรีกออทอร์ดอกซ์ เพราะพวกเขาไม่ได้กราบไหว้ปฏิมาเป็นพระเจ้า แต่เป็นการเคารพ ให้เกียรติ ยกย่องบุคคล ๆ หนึ่ง (พระเยซูคริสต์) ที่เป็นพระฉายาของพระเจ้าที่ไม่ประจักษ์แก่ตา ได้ทำให้คนได้เห็นพระเจ้าที่ประจักษ์แก่ตาได้
จริงอยู่ที่คจ.คาทอลิคมีรูปปั้นและคจ.ออร์ทอร์ดอกซ์มีภาพวาดของนางมาเรียหรือนักบุญคนอื่น ๆ ในสถานนมัสการแต่พวกเขาเองไม่ได้บูชานางมาเรียหรือนักบุญเป็นพระเจ้า
การเคารพและยกย่องปฏิมาดังกล่าวได้ถูกยกเลิกในสภาฮิเอเรีย (Hieria) ในปี ค.ศ. 753 เพราะจักรพรรดิลีโอที่ 3 (ค.ศ. 685–741) แห่งจักรวรรดิ์ไบแซนทินทรงเข้าพระทัย (ผิด) ว่า การตกต่ำของมหาอาณาจักรโรมันเกิดจากการที่คริสเตียนมีการปฏิบัติเรื่องปฏิมาบูชาเหมือนกับที่คนอิสราเอลถูกพระเจ้าลงโทษ เพราะการกราบไหว้รูปเคารพ แต่สภาไนเซียครั้งที่ 2 (ค.ศ.787) โดยความเห็นของบิชอปส่วนใหญที่มองว่า เรื่องปฏิมาไม่ใช่เป็นการกราบไหว้พระเจ้าเทียมแบบที่คนอิสราเอลกระทำในอดีต แต่เป็นการยกย่องพระคริสต์ผู้เป็นพระเจ้าแท้ สภาไนเซียครั้งที่ 2 จึงลงมติให้กระทำได้อีก และศาสนปิตาจารย์บางคน เช่น จอห์น ดามัสกัส กล่าวว่า เมื่อพระเจ้าผู้ทรงปราศจากพระกายมาบังเกิดเป็นพระเยซูคริสต์ทรงสภาพของมนุษย์ เราจึงควรวาดภาพหรือปั้นภาพของพระองค์ไว้ ปฏิมาจึงเป็นสัญลักษณ์ และตัวแทนของความล้ำลึกของสิ่งที่สัมผัสไม่ได้ให้คนสามารถเห็นได้ ปฏิมา (Icon) จึงไม่ใช่สักการะวัตถุ (Idol)
ปัจจุบันยังมีปฏิมาในคริสตจักรโดยทางคาทอลิกจะมีรูปปั้น ขณะที่กรีกออร์ทอดอกซ์จะเน้นภาพวาด ทั้งนี้ คจ.ยุคกลางใช้คำละตินสามคำแยกแยะเรื่องนี้ชัดเจน
คือ dulia สำหรับนักบุญหรือคนที่เขาเคารพ
Hyperdulia ใช้กับนางมารีย์ เป็นการเคารพที่สูงสุด
Latria การนมัสการซึ่งจะใช้กับพระเยซูคริสต์เท่านั้น
คริสเตียนไทยเรารับอิทธิพลของเทววิทยายุคปฏิรูปศาสนาโดยเฉพาะในสายของคาลวินและซวิงลี โดยเฉพาะองค์กรมิชชั่นอิสระมากมายที่เกิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 20 ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย องค์กรเหล่านี้เน้นการประกาศแต่ขาดความเข้าใจประวัติศาสตร์ ศาสนศาสตร์และพระคัมภีร์อย่างถ่องแท้ ทั้งนี้หลักปฏิรูปศาสนาของคาลวินและซวิงลีคือ สิ่งที่ คจ. คาทอลิกกระทำ ถ้าไม่มีการบันทึกในพระคัมภีร์ พวกเขาจะไม่ทำ กล่าวคือจะทำแต่สิ่งที่มีอยู่ในพระคัมภีร์เท่านั้น ต่างจากหลักการของลูเทอร์ที่บอกว่า สิ่งใดที่ คจ. คาทอลิกกระทำ แม้ไม่มีการบันทึกในพระคัมภีร์ แต่ถ้าไม่ผิดพระคัมภีร์ เราก็ทำได้
ถ้าเอาความคิดของคาลวินและซวิงลีเป็นหลัก โปรเตสแตนท์ต้องยกเลิกหลาย ๆ อย่างที่ดีที่เรากระทำอยู่เพราะไม่มีในพระคัมภีร์ ในทางตรงกันข้าม เราต้องทำหลาย ๆ อย่างที่คนบนโลกนี้ไม่ทำกันเพราะสิ่งเหล่านั้นมีอยู่ในพระคัมภีร์
ไม่ใช่เลือกทำ เลือกอธิบาย...
ผมจึงสรุปว่า เรื่องนี้เป็นนานาจิตตังครับ อยู่ที่ว่า เราจะคิดอย่างไรในเรื่องนี้เท่านั้นเอง แต่เราไม่ควรปฏิเสธหรือตัดสินเรื่องปฏิมาที่กระทำในคริสตจักรคาทอลิกหรือกรีกออทอร์ดอกซ์ เพราะพวกเขาไม่ได้กราบไหว้ปฏิมาเป็นพระเจ้าครับ
CR. : Ponksak Limthongviratn
บทความโดย : ศจ.ดร. พงษ์ศักดิ์ ลิ่มทองวิรัตน์ คริสตจักรลูเธอรัน
CR.ภาพ : ลูกพระคริสต์