ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนว่า ไม่ใช่แบตเตอรี่ทุกๆยี่ห้อ ทุกๆรุ่น ทุกๆlot การผลิตจะเหนียวได้แบบนี้ อาจจะเป็นเฉพาะแบตลูกนี้ก็ได้นะ แต่อย่างไรก็ตามผมเองก็ยังเชื่อว่า วิธีการดูแลเองก็มีผลทำให้แบตลูกนี้ยืนยงคงมั่นอยู่จนถึงตอนนี้ แม้ว่า”จวนเจียน”แล้วก็ตาม
แบตเตอรี่รถยนต์ที่เราใช้กันทั่วไปในทุกวันนี้ ก็ยังคงเป็นแบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว-กรด ที่เราคุ้นเคยกันดี คุณสมบัติที่แสดงว่าแบตเตอรี่ยังมีสุขภาพที่ดีอยู่นั้น เราจะต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Battery meter ซึ่งจะสามารถวัดค่าต่างๆ เช่น
1.
CCA ซึ่งค่า CCA เป็นตัวสะท้อนให้เราเห็นความสามารถในการจ่ายไฟแบบกระโชกโฮกฮาก โดยเฉพาะเวลาที่เราสตาร์ทเครื่อง ถ้าค่านี้ต่ำเกินไป หรือ แบตเตอรี่หมดความสามารถในการจ่ายไฟแบบพรวดพราดได้ อาการที่เราเห็นก็คือ กดรีโมตเปิดรถได้ กดแตรดัง ไฟหน้าปัทม์ติด แต่พอสตาร์ทแล้ว อาจจะได้ยินเสียงเครื่องขยับ แล้วก็เงียบ ครับ ตอนนั้น CCA มันร่วงมาเยอะแล้ว
2.
SOC หรือ
Stage of Charge ก็คือตัวบอกว่า แบตเตอรี่มีประจุสะสมแค่ไหน ซึ่งค่านี้จะคำนวณจากแรงเคลื่อนแบตเตอรี่
3.
ความต้านทานภายใน (
internal resistance ) ตัวนี้น้อยคนนักที่จะให้ความสนใจ ทั้งๆที่จริงๆมันเป็นตัวบอกถึง”
อายุขัย”ของแบตเตอรี่ได้เป็นอย่างดี ในแบตใหม่แกะกล่อง ไฟเต็ม พร้อมใช้ ค่า internal resistance จะต่ำกว่า 5 mΩ ( milli-Ohm ) และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามอายุของมัน ถ้าไฟอ่อนค่านี้จะสูงขึ้น ถ้าชาร์จไฟให้เต็มมันก็จะลดลงมา แต่จะให้ลดลงมาจนต่ำกว่า 5mΩ ก็คงเป็นไปไม่ได้ แล้วในรถบางค่ายจะมี Battery module มาคอยคำนวณค่านี้ผ่าน Current sensor ที่ติดไว้ที่ขั้วลบของแบต ถ้ามันได้ค่านี้เกินกว่า 9mΩ มันก็จะสั่งปิดระบบ auto start-stop เสีย เพราะมันไม่มีทางรู้ว่า CCA เหลือเท่าไหร่ มันจึงประเมินเอาจากค่านี้แทน
( อยากได้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าพวกนี้ รบกวนอ่านเพิ่มเติมที่
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=lucifer-product&group=2 )
เข้าเรื่องนะ
ผมมีรถให้วนเวียนสลับกันใช้ตามความจำเป็นอยู่บ้าง คันที่จะพูดถึงนี่คือ
Honda Accord G7 MY2004 เอาตามปีจดทะเบียน ก็ปาเข้าไป 15หยกๆ 16หย่อนๆ หละ ถ้าเป็นสาวๆก็คงจะกำลังงามสดใสทีเดียว แต่พอเป็นรถแล้วอะไรๆก็คงเสื่อมสภาพไปบ้าง
การจะใช้รถเก่าแล้วมีความสุข เจ้าของรถก็ควรจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับรถบ้าง ลงมือทำเองบ้างจะได้ไม่อับจนกับศูนย์บริการ โดยเฉพาะถ้ามีอู่ที่ถูกจริตกัน อันนั้นก็คือ ความสุข
มอมแมมหน่อยนะ ไม่จัดถ่ายนะ สภาพจริงๆเช้านี้เอง
Specification ของเขา
ผมเริ่มต้นกับแบตเตอรี่ลูกนี้เมื่อเดือน พย.ปี 2559 ด้วยสนนราคา 2,000 บาท สเปคก็ตามรูปด้านบน
รถอายุ 10 ปีเศษ ก็คงจะต้องมีอะไรที่ควรจะ”พัง”กันบ้าง แต่ตัวที่พังแล้วสร้างเรื่องได้”รุนแรง”มากอันหนึ่งก็คือ Alternator หรือ เรียกบ้านๆกันว่า “ไดชาร์จ” ปกติแล้วรถที่ผมใช้เองทุกคันจะต้องมี monitor ที่จำเป็น เช่น อุณหภูมิน้ำหล่อเย็น อุณหภูมิน้ำมันเครื่อง และ ระดับของไฟชาร์จ ผมเป็นพวกกระหายข้อมูลที่เปลี่ยนไปของรถตลอดเวลา
คืนหนึ่งของปลายเดือนมีค. ปี 2561 รถเริ่มมีอะไรแปลกๆ เพราะจู่ๆไฟชาร์จมันอ่านได้แค่ 12 volts อัลลัยเนี่ย มันใช่ที่เหรอ? พักเดียว ไฟหน้าปัทม์รถก็ขึ้นโชว์รูปแบตเตอรี่ให้เห็น เอาหละหวา ฝัน(ร้าย)ที่เป็นจริง ไดชาร์จพัง ขับรถมามากกว่า 35 ปี แล้วมันเป็นรถคันแรกในชีวิตที่ไดชาร์จพัง ประสบการณ์ใหม่สุดๆเลย ทำไงหว่า จะขับกลับถึงบ้านไหม ปิดแอร์ แต่ปิดไฟหน้าไม่ได้ เพราะมืดแล้ว นั่งดูระดับไฟไปเรื่อยๆ 11 ---> 10 --> 9 เศษๆ แล้วจอ OBD gauge ก็ดับไป ขับไปได้อีกแป๊บหนึ่ง รถก็ดับ
รถหัวฉีดเบนซิน มันใช้ไฟฟ้าเยอะกว่าที่หลายคนเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นชุดคอยล์จุดระเบิด ตัวหัวฉีด ปั้มน้ำมันไฟฟ้า พวกนี้คือตัวสูบแบตเตอรี่อย่างดี จริงๆวันนั้นมองโลกในแง่ดีไปหน่อย เรียกแทกซี่แต่แรกก็จบเรื่อง ดันดื้อเอง สุดท้ายก็ต้องจ้างแทกซี่ลากรถกลับบ้านอยู่ดี
ครับ อาการนี้เขาเรียกว่า “ใช้กันแบตเตอรี่ตาย” ตายคาหน้าที่จริงๆ
ตามทฤษฎีแล้ว ใช้งานกันจนแบตตาย คือ เรื่องที่เลวร้ายที่สุดสำหรับแบตเตอรี่แบบตะกั่ว-กรด เพราะการจะทำให้มันกลับมามีชีวิตใหม่และยังคงมีสุขภาพที่ดีไปด้วยนั้น มันย่อมจะไม่ใช่เรื่องที่ลงทุนน้อยๆแล้วหละ
แบตลูกละ 2 พันใช้มายังไม่ถึง 16 เดือน เอาไงเอากัน บทจะต้องเสียเงิน คือ ต้องเสีย
1.
สั่งไดชาร์จ refurbish ( เขาเอาโครงเดิม แล้วรื้อทุ่น รื้อแปลงถ่าน รื้อ regulator มาเปลี่ยนใหม่หมด ) ราคา 3,900 บาท ( รวมส่งถึงบ้าน , ถึงจะเป็นปี 2561 แต่มันก็เป็นยุคของการซื้อขาย online กันแล้ว เลิกเดินไปหาซื้อของเองกันแล้ว )
2.
สั่งเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ CTEK MXS 5.0 ราคา 4,000 บาท ตอนเห็นราคาก็ชะงักอยู่เหมือนกัน แต่ความที่ว่ามีรถอยู่ 3 คัน แล้วที่ผ่านมาขนาดใช้รถวิ่งไปกลับวันละ 125 กม. แบตยังอยู่ได้แค่ 2 ปีนิดๆเลย ไม่เห็นจะได้เกิน 3 ปีเลย ก็รู้ๆกันอยู่ว่าเพราะอะไร เอาหละหวา กัดฟันเสียเงิน
หลังจากจอดรถตากแดดตากน้ำค้างไว้หน้าบ้านสัปดาห์เศษๆ ( สตาร์ทรถไม่ได้จ้า ตัวบ้านอยู่บนเนิน เข็นครกขึ้นภูเขาไม่ได้หรอกนะ
)
ที่ชาร์จแบต และ ไดชาร์จก็ส่งมาถึงมือ อย่างแรกที่ทำ ก็คือ จับแบตมาทำการ recharge ไฟกันใหม่ก่อน ด้วยการเปิด mode recondition เอาไว้เพื่อให้มัน”กระทุ้ง” ซัลเฟตที่เกาะอยู่บนแผ่นธาตุขั้วลบภายในแบตเตอรี่ให้หมด ไดชาร์จ refurbish ก็มาอยู่ในมือ
ขอบ่น
ความรู้ในโลกใบนี้หาง่ายกว่าสมัยก่อนมากมายนัก ( แต่ก็แปลกที่ผู้คนจำนวนหนึ่งก็ยัง”งอมืองอเท้า” เที่ยวถามคนโน้นคนนี้ถึงปัญหาที่มีคำอธิบายอยู่แล้วในคู่มือรถ เรื่องบางเรื่องมีคนเคยอธิบายไว้ในกระดานข่าว ในเวปไซท์ ในสื่อ online มาเยอะแล้ว ทั้งคนไทย ทั้งคนต่างชาติ ก็มีอยู่ออกเยอะ ) แค่เปิด Google ค้นคำว่า Honda Accord G7 Alternator replace (คีย์ๆไปเถอะ เดี๋ยว google มันก็หาให้เราเอง) แล้วมันก็โผล่ไปที่หน้าของ Youtube
ใน Youtube มีคนที่มีจิตสาธารณะ สอนวิธีการรื้อรถหลากหลายยี่ห้อ หลายรุ่น หลายชิ้นส่วน เช่นกัน ผมเองก็เคยรื้อชุดควบคุมแอร์และวิทยุ-CD ของรถคันนี้ออกมาจากหน้าคอนโซลด้วยตัวเองโดยไม่มีริ้วรอยบุบสลาย แล้วก็หอบไปร้านอมร เพื่อเปลี่ยน IC regulator พร้อมค่าแรงในราคาไม่ถึง 900 บาท ( เรื่องของเรื่องร้านซ่อมมี แต่ไม่มีใครยอมรื้อชุดดังกล่าวให้ ครูของผมก็คือ Youtube นั่นเอง )
เช่นกัน ผมก็ทำการเปลี่ยนไดชาร์จเอง โดยศึกษาขั้นตอนจากใน Youtube จนจบขั้นตอนทุกอย่างภายในเวลาประมาณ 3 ชม. แลกกับริ้วรอยบนมือบ้าง (ห้องเครื่องของรถขับหน้า มันไม่ได้โอ่โถงเหมือนรถกระบะนะครับ กว่าจะเอาของเก่าออก ใส่ของใหม่เข้าไป มันยากอยู่ จ้างเขาทำ เขาจะประนีตเหมือนเราทำเองหรือเปล่าก็ไม่รู้ รู้อย่างเดียว “งกครับ” ทำเองไม่เสียเงิน ฮ่า ฮ่า ฮ่า
แบตที่ถูกชาร์จมาจนเต็มก็ทำหน้าที่ของมัน สตาร์ทจึ้งเดียว ก็ติด ขับไปทดสอบไดชาร์จใหม่ว่าทำงานปกติไหม ทุกอย่างจบอย่างมีความสุข
++++++++++++++++++++++++
ครับแบตลูกนี้ก็ยังคงทำหน้าที่ของมันได้อย่างคงเส้นคงวา ถึงแม้ว่ามันจะเก่าแก่ชรา จนค่า internal resistance สูงขึ้นไปเรื่อยๆ จนตอนนี้มากกว่า 10 mΩ แล้วก็ตาม แต่เครื่องชาร์จ hiso ราคา 4พันบาท ก็ช่วยต่ออายุให้กับมัน รวมถึงแบตเตอรี่ในรถอีก 2 คัน ที่ยังสามารถรักษาค่า internal resistance ให้ยังคงต่ำๆเตี้ยๆ และค่า CCA ที่ยังสูงใกล้เคียงกับแบตใหม่ได้อยู่ตลอด จนกระทั่งเมื่อวานนี้
Accord สตาร์ทไม่ได้ !!! เกิดอะไรขึ้น ?
คำตอบกวนมาก คือ
ลืมเอามาขับครับ
คือ หลังจากเอามาrecharge แบตจนเต็ม ก็เอาไปจอดทิ้งเอาไว้นิ่งๆอยู่ 23 วันพอดิบพอดี จอดจนลืม
23วันนี่นานมากไหม? นานพอครับ เพราะถึง Accord G7 จะไม่ได้เป็นรถที่ High tech อะไรนักเมื่อเทียบกับรถในปัจจุบัน แต่มันก็มีอุปกรณ์ไฟฟ้าที่คอย”ดูด”ไฟจากแบตเตอรี่อยู่ตลอดเวลานะครับ เช่น อุปกรณ์กันขโมย ระบบอิเลคทรอนิคส์หลายๆอย่างที่อยู่ในสถานะ idle ซึ่งก็ยังคง”ดูด”ไฟอยู่ดี ที่สำคัญแบตลูกนี้มันมีความจุเพียงแค่ 45Ah เท่านั้น
ทำไงหละ ?
1. Jump start หรือ พ่วงแบตนั่นแหละครับ
แบตมันถูก deep dischargedไปเยอะแล้ว เพราะอ่านแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้ 11.7 โวลท์ ก็แค่ SOC เหลือประมาณ 25% แบตยังไม่ตาย แต่ถูก”ดูด”ประจุไปจนเหลือค่า CCA ไม่สูงพอจะจ่ายกระแสโหดๆตอนสตาร์ทได้ เสียดายตอนนั้นไม่มี Battery meter อยู่ด้วย เลยไม่ได้ดูค่าต่างๆว่ามันแย่แค่ไหน ขอเพียงแค่สตาร์ทรถติดได้ เรื่องก็จบครับ เพราะไดชาร์จจะทำหน้าที่ชาร์จแบตต่อไปอีกระยะหนึ่งก่อนจะกลับถึงบ้าน อย่างน้อยก็ราวๆ 30 นาที
2. ฟื้นคืนชีพแบตเตอรี่ใหม่
หลังจากกลับถึงบ้าน เปิดฝากระโปรงรถรอให้เครื่องเย็น และแบตเตอรี่เย็นลงสักพัก และเพื่อดูด้วยว่า หลังจากไม่มีไดชาร์จมาคอยจ่ายไฟเพื่อรีชาร์จแบตแล้วสัก 1 ชม. แบตมันจะเก็บไฟเอาไว้ไหม คือ พูดง่ายๆ ว่าถ้าวัดค่า CCA และ SOC แล้วมันร่วงลงมาจนดูแล้วว่า มันจะไม่ไหวจริงๆ ก็จะไม่ฝืน กะว่าเช้านี้คงจะพ่วงสตาร์ทอีกครั้ง แล้วขับไปแวะร้านแบตที่รู้จักกันตอนสายๆเพื่อเปลี่ยนแบตลูกใหม่
เอา Battery meter มาวัด ตกใจเหมือนกันว่า Internal resistance พี่ทะยานไปถึง 12.89 mΩ แล้ว แต่ค่า CCA ขึ้นมาถึง 230 จากสเปคเดิม 295A และค่า SOC 48% ซึ่งก็คือค่าที่ได้หลังจากให้ไดชาร์จทำหน้าที่ของมันเพียงแค่ 30-40 นาทีเท่านั้น แปลว่า ยังพอลุ้น
กระบวนการฟื้นคืนชีพก็เริ่มต้นขึ้น ไม่ต้องคิดอะไรมาก ชาร์จมันข้ามคืนเลย เพราะถ้าสั่ง recond แล้วหละก้อ อาจจะต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นกว่าการชาร์จแบบปกติอีก 6 ชั่วโมงกันเลย ที่สำคัญเครื่องชาร์จตัวนี้มันจะทำการประเมินการชาร์จด้วย ถ้ามันพบว่าหลังจากที่มันผ่านการชาร์จแบตจนถึงจุดที่คิดว่า”เต็ม” มันก็จะหยุดชาร์จ แล้วจะวัดค่าแรงเคลื่อนของแบต ถ้าหากภายใน 3 นาที ค่าแรงเคลื่อนของแบตยังคงไม่ร่วงลงไปจนถึงจุดที่มันถูกโปรแกรมมา มันก็จะยอมผ่านไปกระบวนการ recondition ให้ แต่ถ้าไม่ผ่าน ก็เลิกแล้วมีสัญญลักษณ์เตือนให้ทราบว่า แบตลูกนี้เข็นไม่ขึ้น
ผ่านไป 1 คืน เป็นอันว่าแบตลูกนี้น่าจะผ่านเกณฑ์
หลังจากปลดเครื่องชาร์จเก็บ ผมก็ไปนั่งกินกาแฟ อ่านข่าว สัก 20 นาที แล้วจึงเดินกลับมาที่รถ จิ้ม battery meter เพื่อวัดค่าต่างๆใหม่
ค่าความต้านทานภายในเหลือแค่ 10.27 mΩ
เข้าไปนั่งในรถ แล้วบิดกุญแจสตาร์ท เสียงลากเครื่องยาวนิดตามประสารถเก่าที่ใช้มาเกือบๆจะครบ 280,000 กม.แล้ว แล้วตามมาด้วยเสียงเครื่องยนต์ทำงาน
คุณได้ไปต่อ
ปอลิง. ผมลงทุนเพิ่มกับแบตยี่ห้อนี้ เอามาใส่รถอีก 2 คัน ในปี 2561 ( ปีเดียวกันกับที่ไดชาร์จของ Accordพัง )
ฟังมาว่าเป็นช่วงเวลาที่แบตจากอินเดียยี่ห้อนี้ กำลังมีชื่อเสียงในทางที่ดี และยังกล้ารับประกันให้ยาวนานถึง 2 ปีทีเดียว
ถึงผลงานในอดีตอาจจะไม่สามารถรับรองผลงานในปัจจุบันและอนาคตได้ก็จริง แต่การดูแลและการใช้แบตเตอรี่ที่ถูกวิธี ก็ล้วนแล้วแต่เป็นวิธีที่ต่ออายุแบตเตอรี่ให้ยาวนานมากพอ
จะใช้ให้ครบ 48 เดือน ในกลางเดือน พย. ของปีนี้ให้ได้
[CR] เรื่องของ Batteries เก่าๆ และ การดูแล Batteries ให้อยู่กับเราไปนานๆ
แบตเตอรี่รถยนต์ที่เราใช้กันทั่วไปในทุกวันนี้ ก็ยังคงเป็นแบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว-กรด ที่เราคุ้นเคยกันดี คุณสมบัติที่แสดงว่าแบตเตอรี่ยังมีสุขภาพที่ดีอยู่นั้น เราจะต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Battery meter ซึ่งจะสามารถวัดค่าต่างๆ เช่น
1. CCA ซึ่งค่า CCA เป็นตัวสะท้อนให้เราเห็นความสามารถในการจ่ายไฟแบบกระโชกโฮกฮาก โดยเฉพาะเวลาที่เราสตาร์ทเครื่อง ถ้าค่านี้ต่ำเกินไป หรือ แบตเตอรี่หมดความสามารถในการจ่ายไฟแบบพรวดพราดได้ อาการที่เราเห็นก็คือ กดรีโมตเปิดรถได้ กดแตรดัง ไฟหน้าปัทม์ติด แต่พอสตาร์ทแล้ว อาจจะได้ยินเสียงเครื่องขยับ แล้วก็เงียบ ครับ ตอนนั้น CCA มันร่วงมาเยอะแล้ว
2. SOC หรือ Stage of Charge ก็คือตัวบอกว่า แบตเตอรี่มีประจุสะสมแค่ไหน ซึ่งค่านี้จะคำนวณจากแรงเคลื่อนแบตเตอรี่
3. ความต้านทานภายใน ( internal resistance ) ตัวนี้น้อยคนนักที่จะให้ความสนใจ ทั้งๆที่จริงๆมันเป็นตัวบอกถึง”อายุขัย”ของแบตเตอรี่ได้เป็นอย่างดี ในแบตใหม่แกะกล่อง ไฟเต็ม พร้อมใช้ ค่า internal resistance จะต่ำกว่า 5 mΩ ( milli-Ohm ) และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามอายุของมัน ถ้าไฟอ่อนค่านี้จะสูงขึ้น ถ้าชาร์จไฟให้เต็มมันก็จะลดลงมา แต่จะให้ลดลงมาจนต่ำกว่า 5mΩ ก็คงเป็นไปไม่ได้ แล้วในรถบางค่ายจะมี Battery module มาคอยคำนวณค่านี้ผ่าน Current sensor ที่ติดไว้ที่ขั้วลบของแบต ถ้ามันได้ค่านี้เกินกว่า 9mΩ มันก็จะสั่งปิดระบบ auto start-stop เสีย เพราะมันไม่มีทางรู้ว่า CCA เหลือเท่าไหร่ มันจึงประเมินเอาจากค่านี้แทน
( อยากได้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าพวกนี้ รบกวนอ่านเพิ่มเติมที่ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=lucifer-product&group=2 )
เข้าเรื่องนะ
ผมมีรถให้วนเวียนสลับกันใช้ตามความจำเป็นอยู่บ้าง คันที่จะพูดถึงนี่คือ Honda Accord G7 MY2004 เอาตามปีจดทะเบียน ก็ปาเข้าไป 15หยกๆ 16หย่อนๆ หละ ถ้าเป็นสาวๆก็คงจะกำลังงามสดใสทีเดียว แต่พอเป็นรถแล้วอะไรๆก็คงเสื่อมสภาพไปบ้าง
การจะใช้รถเก่าแล้วมีความสุข เจ้าของรถก็ควรจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับรถบ้าง ลงมือทำเองบ้างจะได้ไม่อับจนกับศูนย์บริการ โดยเฉพาะถ้ามีอู่ที่ถูกจริตกัน อันนั้นก็คือ ความสุข
มอมแมมหน่อยนะ ไม่จัดถ่ายนะ สภาพจริงๆเช้านี้เอง
Specification ของเขา
ผมเริ่มต้นกับแบตเตอรี่ลูกนี้เมื่อเดือน พย.ปี 2559 ด้วยสนนราคา 2,000 บาท สเปคก็ตามรูปด้านบน
รถอายุ 10 ปีเศษ ก็คงจะต้องมีอะไรที่ควรจะ”พัง”กันบ้าง แต่ตัวที่พังแล้วสร้างเรื่องได้”รุนแรง”มากอันหนึ่งก็คือ Alternator หรือ เรียกบ้านๆกันว่า “ไดชาร์จ” ปกติแล้วรถที่ผมใช้เองทุกคันจะต้องมี monitor ที่จำเป็น เช่น อุณหภูมิน้ำหล่อเย็น อุณหภูมิน้ำมันเครื่อง และ ระดับของไฟชาร์จ ผมเป็นพวกกระหายข้อมูลที่เปลี่ยนไปของรถตลอดเวลา
คืนหนึ่งของปลายเดือนมีค. ปี 2561 รถเริ่มมีอะไรแปลกๆ เพราะจู่ๆไฟชาร์จมันอ่านได้แค่ 12 volts อัลลัยเนี่ย มันใช่ที่เหรอ? พักเดียว ไฟหน้าปัทม์รถก็ขึ้นโชว์รูปแบตเตอรี่ให้เห็น เอาหละหวา ฝัน(ร้าย)ที่เป็นจริง ไดชาร์จพัง ขับรถมามากกว่า 35 ปี แล้วมันเป็นรถคันแรกในชีวิตที่ไดชาร์จพัง ประสบการณ์ใหม่สุดๆเลย ทำไงหว่า จะขับกลับถึงบ้านไหม ปิดแอร์ แต่ปิดไฟหน้าไม่ได้ เพราะมืดแล้ว นั่งดูระดับไฟไปเรื่อยๆ 11 ---> 10 --> 9 เศษๆ แล้วจอ OBD gauge ก็ดับไป ขับไปได้อีกแป๊บหนึ่ง รถก็ดับ
รถหัวฉีดเบนซิน มันใช้ไฟฟ้าเยอะกว่าที่หลายคนเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นชุดคอยล์จุดระเบิด ตัวหัวฉีด ปั้มน้ำมันไฟฟ้า พวกนี้คือตัวสูบแบตเตอรี่อย่างดี จริงๆวันนั้นมองโลกในแง่ดีไปหน่อย เรียกแทกซี่แต่แรกก็จบเรื่อง ดันดื้อเอง สุดท้ายก็ต้องจ้างแทกซี่ลากรถกลับบ้านอยู่ดี
ครับ อาการนี้เขาเรียกว่า “ใช้กันแบตเตอรี่ตาย” ตายคาหน้าที่จริงๆ
ตามทฤษฎีแล้ว ใช้งานกันจนแบตตาย คือ เรื่องที่เลวร้ายที่สุดสำหรับแบตเตอรี่แบบตะกั่ว-กรด เพราะการจะทำให้มันกลับมามีชีวิตใหม่และยังคงมีสุขภาพที่ดีไปด้วยนั้น มันย่อมจะไม่ใช่เรื่องที่ลงทุนน้อยๆแล้วหละ
แบตลูกละ 2 พันใช้มายังไม่ถึง 16 เดือน เอาไงเอากัน บทจะต้องเสียเงิน คือ ต้องเสีย
1. สั่งไดชาร์จ refurbish ( เขาเอาโครงเดิม แล้วรื้อทุ่น รื้อแปลงถ่าน รื้อ regulator มาเปลี่ยนใหม่หมด ) ราคา 3,900 บาท ( รวมส่งถึงบ้าน , ถึงจะเป็นปี 2561 แต่มันก็เป็นยุคของการซื้อขาย online กันแล้ว เลิกเดินไปหาซื้อของเองกันแล้ว )
2. สั่งเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ CTEK MXS 5.0 ราคา 4,000 บาท ตอนเห็นราคาก็ชะงักอยู่เหมือนกัน แต่ความที่ว่ามีรถอยู่ 3 คัน แล้วที่ผ่านมาขนาดใช้รถวิ่งไปกลับวันละ 125 กม. แบตยังอยู่ได้แค่ 2 ปีนิดๆเลย ไม่เห็นจะได้เกิน 3 ปีเลย ก็รู้ๆกันอยู่ว่าเพราะอะไร เอาหละหวา กัดฟันเสียเงิน
หลังจากจอดรถตากแดดตากน้ำค้างไว้หน้าบ้านสัปดาห์เศษๆ ( สตาร์ทรถไม่ได้จ้า ตัวบ้านอยู่บนเนิน เข็นครกขึ้นภูเขาไม่ได้หรอกนะ )
ที่ชาร์จแบต และ ไดชาร์จก็ส่งมาถึงมือ อย่างแรกที่ทำ ก็คือ จับแบตมาทำการ recharge ไฟกันใหม่ก่อน ด้วยการเปิด mode recondition เอาไว้เพื่อให้มัน”กระทุ้ง” ซัลเฟตที่เกาะอยู่บนแผ่นธาตุขั้วลบภายในแบตเตอรี่ให้หมด ไดชาร์จ refurbish ก็มาอยู่ในมือ
ขอบ่น
ความรู้ในโลกใบนี้หาง่ายกว่าสมัยก่อนมากมายนัก ( แต่ก็แปลกที่ผู้คนจำนวนหนึ่งก็ยัง”งอมืองอเท้า” เที่ยวถามคนโน้นคนนี้ถึงปัญหาที่มีคำอธิบายอยู่แล้วในคู่มือรถ เรื่องบางเรื่องมีคนเคยอธิบายไว้ในกระดานข่าว ในเวปไซท์ ในสื่อ online มาเยอะแล้ว ทั้งคนไทย ทั้งคนต่างชาติ ก็มีอยู่ออกเยอะ ) แค่เปิด Google ค้นคำว่า Honda Accord G7 Alternator replace (คีย์ๆไปเถอะ เดี๋ยว google มันก็หาให้เราเอง) แล้วมันก็โผล่ไปที่หน้าของ Youtube
ใน Youtube มีคนที่มีจิตสาธารณะ สอนวิธีการรื้อรถหลากหลายยี่ห้อ หลายรุ่น หลายชิ้นส่วน เช่นกัน ผมเองก็เคยรื้อชุดควบคุมแอร์และวิทยุ-CD ของรถคันนี้ออกมาจากหน้าคอนโซลด้วยตัวเองโดยไม่มีริ้วรอยบุบสลาย แล้วก็หอบไปร้านอมร เพื่อเปลี่ยน IC regulator พร้อมค่าแรงในราคาไม่ถึง 900 บาท ( เรื่องของเรื่องร้านซ่อมมี แต่ไม่มีใครยอมรื้อชุดดังกล่าวให้ ครูของผมก็คือ Youtube นั่นเอง )
เช่นกัน ผมก็ทำการเปลี่ยนไดชาร์จเอง โดยศึกษาขั้นตอนจากใน Youtube จนจบขั้นตอนทุกอย่างภายในเวลาประมาณ 3 ชม. แลกกับริ้วรอยบนมือบ้าง (ห้องเครื่องของรถขับหน้า มันไม่ได้โอ่โถงเหมือนรถกระบะนะครับ กว่าจะเอาของเก่าออก ใส่ของใหม่เข้าไป มันยากอยู่ จ้างเขาทำ เขาจะประนีตเหมือนเราทำเองหรือเปล่าก็ไม่รู้ รู้อย่างเดียว “งกครับ” ทำเองไม่เสียเงิน ฮ่า ฮ่า ฮ่า
แบตที่ถูกชาร์จมาจนเต็มก็ทำหน้าที่ของมัน สตาร์ทจึ้งเดียว ก็ติด ขับไปทดสอบไดชาร์จใหม่ว่าทำงานปกติไหม ทุกอย่างจบอย่างมีความสุข
++++++++++++++++++++++++
ครับแบตลูกนี้ก็ยังคงทำหน้าที่ของมันได้อย่างคงเส้นคงวา ถึงแม้ว่ามันจะเก่าแก่ชรา จนค่า internal resistance สูงขึ้นไปเรื่อยๆ จนตอนนี้มากกว่า 10 mΩ แล้วก็ตาม แต่เครื่องชาร์จ hiso ราคา 4พันบาท ก็ช่วยต่ออายุให้กับมัน รวมถึงแบตเตอรี่ในรถอีก 2 คัน ที่ยังสามารถรักษาค่า internal resistance ให้ยังคงต่ำๆเตี้ยๆ และค่า CCA ที่ยังสูงใกล้เคียงกับแบตใหม่ได้อยู่ตลอด จนกระทั่งเมื่อวานนี้
Accord สตาร์ทไม่ได้ !!! เกิดอะไรขึ้น ?
คำตอบกวนมาก คือ ลืมเอามาขับครับ
คือ หลังจากเอามาrecharge แบตจนเต็ม ก็เอาไปจอดทิ้งเอาไว้นิ่งๆอยู่ 23 วันพอดิบพอดี จอดจนลืม
23วันนี่นานมากไหม? นานพอครับ เพราะถึง Accord G7 จะไม่ได้เป็นรถที่ High tech อะไรนักเมื่อเทียบกับรถในปัจจุบัน แต่มันก็มีอุปกรณ์ไฟฟ้าที่คอย”ดูด”ไฟจากแบตเตอรี่อยู่ตลอดเวลานะครับ เช่น อุปกรณ์กันขโมย ระบบอิเลคทรอนิคส์หลายๆอย่างที่อยู่ในสถานะ idle ซึ่งก็ยังคง”ดูด”ไฟอยู่ดี ที่สำคัญแบตลูกนี้มันมีความจุเพียงแค่ 45Ah เท่านั้น
ทำไงหละ ?
1. Jump start หรือ พ่วงแบตนั่นแหละครับ
แบตมันถูก deep dischargedไปเยอะแล้ว เพราะอ่านแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้ 11.7 โวลท์ ก็แค่ SOC เหลือประมาณ 25% แบตยังไม่ตาย แต่ถูก”ดูด”ประจุไปจนเหลือค่า CCA ไม่สูงพอจะจ่ายกระแสโหดๆตอนสตาร์ทได้ เสียดายตอนนั้นไม่มี Battery meter อยู่ด้วย เลยไม่ได้ดูค่าต่างๆว่ามันแย่แค่ไหน ขอเพียงแค่สตาร์ทรถติดได้ เรื่องก็จบครับ เพราะไดชาร์จจะทำหน้าที่ชาร์จแบตต่อไปอีกระยะหนึ่งก่อนจะกลับถึงบ้าน อย่างน้อยก็ราวๆ 30 นาที
2. ฟื้นคืนชีพแบตเตอรี่ใหม่
หลังจากกลับถึงบ้าน เปิดฝากระโปรงรถรอให้เครื่องเย็น และแบตเตอรี่เย็นลงสักพัก และเพื่อดูด้วยว่า หลังจากไม่มีไดชาร์จมาคอยจ่ายไฟเพื่อรีชาร์จแบตแล้วสัก 1 ชม. แบตมันจะเก็บไฟเอาไว้ไหม คือ พูดง่ายๆ ว่าถ้าวัดค่า CCA และ SOC แล้วมันร่วงลงมาจนดูแล้วว่า มันจะไม่ไหวจริงๆ ก็จะไม่ฝืน กะว่าเช้านี้คงจะพ่วงสตาร์ทอีกครั้ง แล้วขับไปแวะร้านแบตที่รู้จักกันตอนสายๆเพื่อเปลี่ยนแบตลูกใหม่
เอา Battery meter มาวัด ตกใจเหมือนกันว่า Internal resistance พี่ทะยานไปถึง 12.89 mΩ แล้ว แต่ค่า CCA ขึ้นมาถึง 230 จากสเปคเดิม 295A และค่า SOC 48% ซึ่งก็คือค่าที่ได้หลังจากให้ไดชาร์จทำหน้าที่ของมันเพียงแค่ 30-40 นาทีเท่านั้น แปลว่า ยังพอลุ้น
กระบวนการฟื้นคืนชีพก็เริ่มต้นขึ้น ไม่ต้องคิดอะไรมาก ชาร์จมันข้ามคืนเลย เพราะถ้าสั่ง recond แล้วหละก้อ อาจจะต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นกว่าการชาร์จแบบปกติอีก 6 ชั่วโมงกันเลย ที่สำคัญเครื่องชาร์จตัวนี้มันจะทำการประเมินการชาร์จด้วย ถ้ามันพบว่าหลังจากที่มันผ่านการชาร์จแบตจนถึงจุดที่คิดว่า”เต็ม” มันก็จะหยุดชาร์จ แล้วจะวัดค่าแรงเคลื่อนของแบต ถ้าหากภายใน 3 นาที ค่าแรงเคลื่อนของแบตยังคงไม่ร่วงลงไปจนถึงจุดที่มันถูกโปรแกรมมา มันก็จะยอมผ่านไปกระบวนการ recondition ให้ แต่ถ้าไม่ผ่าน ก็เลิกแล้วมีสัญญลักษณ์เตือนให้ทราบว่า แบตลูกนี้เข็นไม่ขึ้น
ผ่านไป 1 คืน เป็นอันว่าแบตลูกนี้น่าจะผ่านเกณฑ์
หลังจากปลดเครื่องชาร์จเก็บ ผมก็ไปนั่งกินกาแฟ อ่านข่าว สัก 20 นาที แล้วจึงเดินกลับมาที่รถ จิ้ม battery meter เพื่อวัดค่าต่างๆใหม่
ค่าความต้านทานภายในเหลือแค่ 10.27 mΩ
เข้าไปนั่งในรถ แล้วบิดกุญแจสตาร์ท เสียงลากเครื่องยาวนิดตามประสารถเก่าที่ใช้มาเกือบๆจะครบ 280,000 กม.แล้ว แล้วตามมาด้วยเสียงเครื่องยนต์ทำงาน
คุณได้ไปต่อ
ปอลิง. ผมลงทุนเพิ่มกับแบตยี่ห้อนี้ เอามาใส่รถอีก 2 คัน ในปี 2561 ( ปีเดียวกันกับที่ไดชาร์จของ Accordพัง )
ฟังมาว่าเป็นช่วงเวลาที่แบตจากอินเดียยี่ห้อนี้ กำลังมีชื่อเสียงในทางที่ดี และยังกล้ารับประกันให้ยาวนานถึง 2 ปีทีเดียว
ถึงผลงานในอดีตอาจจะไม่สามารถรับรองผลงานในปัจจุบันและอนาคตได้ก็จริง แต่การดูแลและการใช้แบตเตอรี่ที่ถูกวิธี ก็ล้วนแล้วแต่เป็นวิธีที่ต่ออายุแบตเตอรี่ให้ยาวนานมากพอ
จะใช้ให้ครบ 48 เดือน ในกลางเดือน พย. ของปีนี้ให้ได้
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้