ใครที่ติดตามข่าวสารวงการบันเทิงญี่ปุ่นมาพอสมควร ก็จะทราบว่า เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ค่ายหนังญี่ปุ่นได้มีการทำหนังแนวหนึ่งที่อาจจะตั้งชื่อ ได้ว่า “หนังจากบทเพลง” โดยฝ่ายผู้สร้างจะนำเพลงญี่ปุ่นดังๆ และแรงบันดาลใจที่ได้จากเนื้อเพลงมาสรรค์สร้างเป็นหนังหนึ่งเรื่อง โดยส่วนใหญ่ หนังจากบทเพลงเหล่านี้ มักจะเป็นหนังแนวดราม่า-โรแมนติก ตัวย่างที่ของหนังจากบทเพลงญี่ปุ่นที่ผ่านๆมานั้น ได้แก่ Kiseki (Greene) Ai Uta (Greene) Yuki no Hana (มิกะ นากาชิมะ) เป็นต้น Ito ก็เป็นหนังจากบทเพลงดังอีกเรื่องหนึ่ง โดยที่ตัวเพลง Ito ที่ขับร้องโดย มิยูกิ นากาชิมะนั้น ก็เป็นเพลงดังระดับตลอดกาลของญี่ปุ่นเพลงหนึ่งทีเดียว
ความจริงแล้ว ผมไม่นิยมไปดูหนังดราม่า-รักโรแมนติกในโรงจอใหญ่สักเท่าไร แต่แล้ว ผมก็ตัดสินใจไปดูเรื่อง Ito ด้วยเหตุผลเล็กๆที่ใครได้ฟังแล้วก็คงจะขำกลิ้ง เหตุผลที่ว่าก็คือ นี่เป็นหนึ่งในผลงานของโคมัตสึ นานะเพียงไม่กี่เรื่องที่เธอทำหน้าตาใจดีครับ เมื่อสามปีก่อน ผมดูหนังเรื่อง Tomorrow I will Date with Yesterday’s You แล้วพอชอบโคมัตสึ นานะ มากๆ แต่พอได้ลองดูผลงานเรื่องอื่นๆ ก็จะรู้สึกตะหงิดๆในใจว่าทำไมในผลงานอื่นๆ เธอถึงดูหน้าไม่ออกไปในทางดุๆ ไม่ใจดีเหมือนเรื่อง Tomorrowฯ เลย พอได้เห็นเธอกลับมาหน้าตาอ่อนโยนอีกครั้งในเรื่อง Ito ก็เลยรู้สึกว่าไม่อยากพลาดครับ
Ito นั้นเป็นเรื่องราวความรักของ เร็น (รับบทโดย มาซากิ สุดะ ) และ อาโออิ (รับบทโดย นานะ โคมัทสึ) ซึ่งต่างก็เกิดในปีที่ 1 แห่งรัชสมัยเฮเซ (ปี 1989) กันทั้งคู่ ในวัยเด็ก เขาและเธอได้พบกันโดยบังเอิญ และกลายเป็นรักแรกของกันและกัน แต่แล้วก็มีเหตุการณ์พลิกผันที่ทำให้ทั้งคู่ต้องพรากจากกันไปโดยที่จำใจ หลังกาลเวลาได้ผ่านไปจนถึงช่วงปลายรัชสมัยเฮเซ เร็นและอาโออิที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ก็ได้โคจรมาเจอกันอีกครั้งหนึ่ง แต่สถานการณ์ต่างๆที่เขาและเธอประสบอยู๋ในชีวิตนั้น ก็ใช่ว่าจะทำให้ทั้งคู่กลับมาสมหวังในความรักได้อีกง่ายๆ จนกระทั่งทุกอย่างได้มาถึงบทสรุปในปีที่ 31 (ปี 2019)
ก่อนไปชมหนังเรื่องนี้ หลายๆคนก็อาจจะคิดว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังแนวโรแมนติกหวานซึ้ง และอาจจะให้ความรู้สึกแบบดอกฟ้ากับหมาวัดเสียด้วยซ้ำ เพราะในหนังตัวอย่าง พระเอกตอนโตทำงานโรงงาน ส่วนนางเอกใส่ชุดสวยๆ ได้ไปอยู่สิงคโปร์ ในขณะเดียวกัน เพลง Ito ก็สะท้อนถึงความเชื่อของญี่ปุ่นสมัยก่อนที่ว่า คู่แท้นั้นมีด้ายแดงผูกเอาไว้ด้วยกัน หากเป็นคุ่แล้วก็ไม่แคล้วกัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อได้ดูหนังเรื่องนี้แล้ว ผมเห็นว่าหนังเรื่องนี้มีอะไรมากไปกว่าความโรแมนติกหวานซึ้งของคู่พระนางเพียงอย่างเดียว เราจะได้เห็นว่ากว่าพระเอกและนางเอกจะมีโอกาสได้โคจรมาเจอกันในแต่ละครั้งนั้น ทั้งคู่ได้ดิ้นรนต่อสู้ชีวิตและผ่านอะไรมาบ้าง จนให้รสชาติของความเป็นหนังคนแนวสู้ชีวิตรวมอยู่ด้วย (จนรู้สึกว่าเพลง Faito ที่เป็นเพลงเก่าชื่อดังอีกเพลงหนึ่งของ มิยูกิ นากาชิมะ และถูกใช้เป็นเพลงรองในเรื่องนั้น ก็มีความโดดเด่นไม่แพ้เพลงหลัง) ตัวละครรองต่างๆที่พระเอกนางเอกได้พบเจอนั้น ก็ถูกนำเสนอออกมาได้อย่างมีมิติและน่าประทับใจไม่แพ้กัน
คลิปตัวอย่างเพลง Faito ร้อง Cover โดย ฮิคาริ มิทสึชิมะ
อีกสิ่งหนึ่งที่ผมชอบเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ก็คือ ผู้กำกับและผู้เขียนบทก็สามารถนำความเป็นหนังชีวิตแบบสมจริง ที่ใช่ว่าอะไรๆจะเป็นไปได้ดั่งใจ มาผสมผสานกับองค์ประกอบของความโรแมนติกอย่างเช่นเรื่องพรหมลิขิตและรักแท้ได้อย่างกลมกลืนและกลมกล่อม
การดำเนินเนื้อเรื่องของ Ito ถึงแม้จะมีการสลับช่วงเวลาอยู่บ้าง แต่ก็ย่อยง่าย ภายในหนังแม้จะไม่ได้มีฉากหวานแหววมากนัก และฉากสู้ชีวิตก็ไม่ได้รันทดถึงขั้นชวนให้ฟูมฟายหรือมีฉากจุดไฟในใจคนดูก็ตาม แต่หนังก็ชวนให้ติดตาม ไม่น่าเบื่อแต่อย่างไร และเมื่อหนังได้ดำเนินมาถึงฉากที่เปิดเพลง Ito นั้น ฉากที่ดูเหมือนไม่ได้หวือหวาอะไรเหล่านั้น ก็จะย้อนกลับมาขับเน้นอารมณ์ได้อย่างทรงพลัง โดยเฉพาะในช่วงท้ายเรื่องนั้น ฉากที่บรรเลงเพลง Ito นั้นให้ความรู้สึกที่ลุ้นไม่แพ้ตอนฉากใกล้จบของเรื่อง Your Name ทีเดียว และสามารถทำให้คนดูรู้สึกตาชื้นๆ ได้ แม้หนังจะจบและขึ้นเครดิตแล้วก็ตาม
หากจะให้กล่าวในส่วนข้อเสียของหนังนั้น ผมรู้สึกเสียดายหน่อยๆตรงที่หนังไม่ค่อยเอาความ Nostalgia ในยุคเฮเซ (1989-2019) มาเล่นเท่าไรนัก แม้ในเนื้อเรื่องจะกล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญ 2 เหตุการณ์ในช่วงดังกล่าวก็ตาม ไม่งั้นหนังเรื่องนี้จะสร้างความประทับใจได้มากกว่านี้อีก แต่เรื่องนี้ก็ไม่ใช่ข้อเสียที่ใหญ่หลวงอะไรครับ
ในฐานะที่ตัวเองพอทราบเรื่องราวประเทศญี่ปุ่นในสมัยใหม่อยู่บ้าง ผมรู้สึกว่าหนังเรื่อง Ito เอง สามารถสะท้อนความเป็นยุครัชสมัยเฮเซออกมาได้เป็นอย่างดี เพราะใน ยุคนี้ก็เป็นช่วงเวลาที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นมีขึ้นมีลง เจอเรื่องดีเรื่องร้ายมามากมาย ในช่วงเปิดรัชสมัย ญี่ปุ่นประสบปัญหาฟองสบู่แตกและเจอปัญหาเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่ที่เรียกกันว่า Lost Decade(s) ครั้นสถานการณ์ต่างๆเริ่มจะดีขึ้นในสมัยของนายกฯ โคอิซุมิ (คนที่ไว้ผมทรงสิงโต) แต่พอหมดสมัยของนายกโคอิซุมิ ญี่ปุ่นก็ประสบเรื่องร้ายมากมาย ทั้งปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง (ช่วง 2006 -2012 ญี่ปุ่นเปลี่ยนนายกบ่อยแบบเป็นรายปี) วิกฤติ Lehman Shock ตามด้วยแผ่นดินไหว จนกระทั่งมาถึงสมัยของนายกฯอาเบะรอบที่ 2 ที่ทุกอย่างเริ่มจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นบ้าง แต่ก็ยังให้ความรู้สึกลุ่มๆดอนๆ จนสิ้นรัชสมัยเฮเซในที่สุด
แต่ในขณะเดียวกัน ความอบอุ่นและอิ่มใจในหนังนั้น ก็สะท้อนให้เห็นด้านสว่างของยุคเฮเซด้วยเช่นกัน เพราะในช่วงนี้ก็เป็นยุคที่ญี่ปุ่นเริ่มมีภาพพจน์ที่ Soft และผ่อนคลายลงในสายตาชาวโลกและชาวไทย จากที่เคยถูกมองเป็นประเทศที่ “แกร่งเศรษฐกิจ แต่ชีวิตแย่” เราก็ได้เห็นมุมที่น่าสนใจของประเทศนี้เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิถีชีวิต อาหาร ศิลปวัฒนธรรม และไอเดียต่างๆ ส่งผลให้ความรู้สึกของหลายๆคนที่มีต่อประเทศนี้ก็ดีขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ การใช้ชีวิตของพระเอกและนางเอกในเรื่อง ก็สะท้อนถึงความพยายามของคนในญี่ปุ่นเฮย์เซย์ ที่เริ่มมีนิสัยเปิดกว้างมากขึ้น และพยายามในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆให้ดีขึ้น ที่อาจจะสำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างชีวิตที่ดีโดยไม่ต้องเดินตามสังคมกระแสหลัก (เรียนมหาวิทยาลัยดีๆ ไปเป็นลูกจ้างบริษัทใหญ่ๆ ในโตเกียว) การมีทัศนคติที่มุ่งสู่ความเป็นสากลมากขึ้น และการเพิ่มบทบาทและการเข้ามามีส่วนร่วมในสังคมของผู้หญิงมากขึ้น
ผมไม่ทราบว่าหนังเรื่องนี้จะได้เข้าไทยในอนาคตหรือไม่ แต่ถ้าโอกาสดังกล่าวมาถึงเมื่อไร ขอแนะนำคอหนังดราม่าญี่ปุ่นว่าไม่ควรพลาดกับหนังเรื่องนี้ครับ
Ito - เรื่องราวความรักข้ามรัชกาลของหนุ่มสาวสู้ชีวิต จากเพลงญี่ปุ่นระดับตำนาน
ใครที่ติดตามข่าวสารวงการบันเทิงญี่ปุ่นมาพอสมควร ก็จะทราบว่า เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ค่ายหนังญี่ปุ่นได้มีการทำหนังแนวหนึ่งที่อาจจะตั้งชื่อ ได้ว่า “หนังจากบทเพลง” โดยฝ่ายผู้สร้างจะนำเพลงญี่ปุ่นดังๆ และแรงบันดาลใจที่ได้จากเนื้อเพลงมาสรรค์สร้างเป็นหนังหนึ่งเรื่อง โดยส่วนใหญ่ หนังจากบทเพลงเหล่านี้ มักจะเป็นหนังแนวดราม่า-โรแมนติก ตัวย่างที่ของหนังจากบทเพลงญี่ปุ่นที่ผ่านๆมานั้น ได้แก่ Kiseki (Greene) Ai Uta (Greene) Yuki no Hana (มิกะ นากาชิมะ) เป็นต้น Ito ก็เป็นหนังจากบทเพลงดังอีกเรื่องหนึ่ง โดยที่ตัวเพลง Ito ที่ขับร้องโดย มิยูกิ นากาชิมะนั้น ก็เป็นเพลงดังระดับตลอดกาลของญี่ปุ่นเพลงหนึ่งทีเดียว
ความจริงแล้ว ผมไม่นิยมไปดูหนังดราม่า-รักโรแมนติกในโรงจอใหญ่สักเท่าไร แต่แล้ว ผมก็ตัดสินใจไปดูเรื่อง Ito ด้วยเหตุผลเล็กๆที่ใครได้ฟังแล้วก็คงจะขำกลิ้ง เหตุผลที่ว่าก็คือ นี่เป็นหนึ่งในผลงานของโคมัตสึ นานะเพียงไม่กี่เรื่องที่เธอทำหน้าตาใจดีครับ เมื่อสามปีก่อน ผมดูหนังเรื่อง Tomorrow I will Date with Yesterday’s You แล้วพอชอบโคมัตสึ นานะ มากๆ แต่พอได้ลองดูผลงานเรื่องอื่นๆ ก็จะรู้สึกตะหงิดๆในใจว่าทำไมในผลงานอื่นๆ เธอถึงดูหน้าไม่ออกไปในทางดุๆ ไม่ใจดีเหมือนเรื่อง Tomorrowฯ เลย พอได้เห็นเธอกลับมาหน้าตาอ่อนโยนอีกครั้งในเรื่อง Ito ก็เลยรู้สึกว่าไม่อยากพลาดครับ
Ito นั้นเป็นเรื่องราวความรักของ เร็น (รับบทโดย มาซากิ สุดะ ) และ อาโออิ (รับบทโดย นานะ โคมัทสึ) ซึ่งต่างก็เกิดในปีที่ 1 แห่งรัชสมัยเฮเซ (ปี 1989) กันทั้งคู่ ในวัยเด็ก เขาและเธอได้พบกันโดยบังเอิญ และกลายเป็นรักแรกของกันและกัน แต่แล้วก็มีเหตุการณ์พลิกผันที่ทำให้ทั้งคู่ต้องพรากจากกันไปโดยที่จำใจ หลังกาลเวลาได้ผ่านไปจนถึงช่วงปลายรัชสมัยเฮเซ เร็นและอาโออิที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ก็ได้โคจรมาเจอกันอีกครั้งหนึ่ง แต่สถานการณ์ต่างๆที่เขาและเธอประสบอยู๋ในชีวิตนั้น ก็ใช่ว่าจะทำให้ทั้งคู่กลับมาสมหวังในความรักได้อีกง่ายๆ จนกระทั่งทุกอย่างได้มาถึงบทสรุปในปีที่ 31 (ปี 2019)
ก่อนไปชมหนังเรื่องนี้ หลายๆคนก็อาจจะคิดว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังแนวโรแมนติกหวานซึ้ง และอาจจะให้ความรู้สึกแบบดอกฟ้ากับหมาวัดเสียด้วยซ้ำ เพราะในหนังตัวอย่าง พระเอกตอนโตทำงานโรงงาน ส่วนนางเอกใส่ชุดสวยๆ ได้ไปอยู่สิงคโปร์ ในขณะเดียวกัน เพลง Ito ก็สะท้อนถึงความเชื่อของญี่ปุ่นสมัยก่อนที่ว่า คู่แท้นั้นมีด้ายแดงผูกเอาไว้ด้วยกัน หากเป็นคุ่แล้วก็ไม่แคล้วกัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อได้ดูหนังเรื่องนี้แล้ว ผมเห็นว่าหนังเรื่องนี้มีอะไรมากไปกว่าความโรแมนติกหวานซึ้งของคู่พระนางเพียงอย่างเดียว เราจะได้เห็นว่ากว่าพระเอกและนางเอกจะมีโอกาสได้โคจรมาเจอกันในแต่ละครั้งนั้น ทั้งคู่ได้ดิ้นรนต่อสู้ชีวิตและผ่านอะไรมาบ้าง จนให้รสชาติของความเป็นหนังคนแนวสู้ชีวิตรวมอยู่ด้วย (จนรู้สึกว่าเพลง Faito ที่เป็นเพลงเก่าชื่อดังอีกเพลงหนึ่งของ มิยูกิ นากาชิมะ และถูกใช้เป็นเพลงรองในเรื่องนั้น ก็มีความโดดเด่นไม่แพ้เพลงหลัง) ตัวละครรองต่างๆที่พระเอกนางเอกได้พบเจอนั้น ก็ถูกนำเสนอออกมาได้อย่างมีมิติและน่าประทับใจไม่แพ้กัน
คลิปตัวอย่างเพลง Faito ร้อง Cover โดย ฮิคาริ มิทสึชิมะ
อีกสิ่งหนึ่งที่ผมชอบเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ก็คือ ผู้กำกับและผู้เขียนบทก็สามารถนำความเป็นหนังชีวิตแบบสมจริง ที่ใช่ว่าอะไรๆจะเป็นไปได้ดั่งใจ มาผสมผสานกับองค์ประกอบของความโรแมนติกอย่างเช่นเรื่องพรหมลิขิตและรักแท้ได้อย่างกลมกลืนและกลมกล่อม
การดำเนินเนื้อเรื่องของ Ito ถึงแม้จะมีการสลับช่วงเวลาอยู่บ้าง แต่ก็ย่อยง่าย ภายในหนังแม้จะไม่ได้มีฉากหวานแหววมากนัก และฉากสู้ชีวิตก็ไม่ได้รันทดถึงขั้นชวนให้ฟูมฟายหรือมีฉากจุดไฟในใจคนดูก็ตาม แต่หนังก็ชวนให้ติดตาม ไม่น่าเบื่อแต่อย่างไร และเมื่อหนังได้ดำเนินมาถึงฉากที่เปิดเพลง Ito นั้น ฉากที่ดูเหมือนไม่ได้หวือหวาอะไรเหล่านั้น ก็จะย้อนกลับมาขับเน้นอารมณ์ได้อย่างทรงพลัง โดยเฉพาะในช่วงท้ายเรื่องนั้น ฉากที่บรรเลงเพลง Ito นั้นให้ความรู้สึกที่ลุ้นไม่แพ้ตอนฉากใกล้จบของเรื่อง Your Name ทีเดียว และสามารถทำให้คนดูรู้สึกตาชื้นๆ ได้ แม้หนังจะจบและขึ้นเครดิตแล้วก็ตาม
หากจะให้กล่าวในส่วนข้อเสียของหนังนั้น ผมรู้สึกเสียดายหน่อยๆตรงที่หนังไม่ค่อยเอาความ Nostalgia ในยุคเฮเซ (1989-2019) มาเล่นเท่าไรนัก แม้ในเนื้อเรื่องจะกล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญ 2 เหตุการณ์ในช่วงดังกล่าวก็ตาม ไม่งั้นหนังเรื่องนี้จะสร้างความประทับใจได้มากกว่านี้อีก แต่เรื่องนี้ก็ไม่ใช่ข้อเสียที่ใหญ่หลวงอะไรครับ
ในฐานะที่ตัวเองพอทราบเรื่องราวประเทศญี่ปุ่นในสมัยใหม่อยู่บ้าง ผมรู้สึกว่าหนังเรื่อง Ito เอง สามารถสะท้อนความเป็นยุครัชสมัยเฮเซออกมาได้เป็นอย่างดี เพราะใน ยุคนี้ก็เป็นช่วงเวลาที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นมีขึ้นมีลง เจอเรื่องดีเรื่องร้ายมามากมาย ในช่วงเปิดรัชสมัย ญี่ปุ่นประสบปัญหาฟองสบู่แตกและเจอปัญหาเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่ที่เรียกกันว่า Lost Decade(s) ครั้นสถานการณ์ต่างๆเริ่มจะดีขึ้นในสมัยของนายกฯ โคอิซุมิ (คนที่ไว้ผมทรงสิงโต) แต่พอหมดสมัยของนายกโคอิซุมิ ญี่ปุ่นก็ประสบเรื่องร้ายมากมาย ทั้งปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง (ช่วง 2006 -2012 ญี่ปุ่นเปลี่ยนนายกบ่อยแบบเป็นรายปี) วิกฤติ Lehman Shock ตามด้วยแผ่นดินไหว จนกระทั่งมาถึงสมัยของนายกฯอาเบะรอบที่ 2 ที่ทุกอย่างเริ่มจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นบ้าง แต่ก็ยังให้ความรู้สึกลุ่มๆดอนๆ จนสิ้นรัชสมัยเฮเซในที่สุด
แต่ในขณะเดียวกัน ความอบอุ่นและอิ่มใจในหนังนั้น ก็สะท้อนให้เห็นด้านสว่างของยุคเฮเซด้วยเช่นกัน เพราะในช่วงนี้ก็เป็นยุคที่ญี่ปุ่นเริ่มมีภาพพจน์ที่ Soft และผ่อนคลายลงในสายตาชาวโลกและชาวไทย จากที่เคยถูกมองเป็นประเทศที่ “แกร่งเศรษฐกิจ แต่ชีวิตแย่” เราก็ได้เห็นมุมที่น่าสนใจของประเทศนี้เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิถีชีวิต อาหาร ศิลปวัฒนธรรม และไอเดียต่างๆ ส่งผลให้ความรู้สึกของหลายๆคนที่มีต่อประเทศนี้ก็ดีขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ การใช้ชีวิตของพระเอกและนางเอกในเรื่อง ก็สะท้อนถึงความพยายามของคนในญี่ปุ่นเฮย์เซย์ ที่เริ่มมีนิสัยเปิดกว้างมากขึ้น และพยายามในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆให้ดีขึ้น ที่อาจจะสำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างชีวิตที่ดีโดยไม่ต้องเดินตามสังคมกระแสหลัก (เรียนมหาวิทยาลัยดีๆ ไปเป็นลูกจ้างบริษัทใหญ่ๆ ในโตเกียว) การมีทัศนคติที่มุ่งสู่ความเป็นสากลมากขึ้น และการเพิ่มบทบาทและการเข้ามามีส่วนร่วมในสังคมของผู้หญิงมากขึ้น
ผมไม่ทราบว่าหนังเรื่องนี้จะได้เข้าไทยในอนาคตหรือไม่ แต่ถ้าโอกาสดังกล่าวมาถึงเมื่อไร ขอแนะนำคอหนังดราม่าญี่ปุ่นว่าไม่ควรพลาดกับหนังเรื่องนี้ครับ