ปัจจุบันชาวมองโกลใช้อักษรซีริลลิกของรัสเซียมาทำเป็นคาราโอเกะภาษาตนเอง เนื่องจากตกอยู่ใต้อิทธิพลโซเวียตมานาน ต้องแจ้งว่าปัจจุบันรัฐบาลมองโกเลียกำลังดำเนินการ "นำอักษรมองโกลกลับมาใช้" นะครับ โดยเริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2015 และตั้งใจให้แล้วเสร็จในปี 2025 รวมระยะสิบปี ตอนนี้ (ปี 2020) รัฐบาลบอกว่าเรามาถึงเฟสที่สามแล้ว คือการเอาอักษรมองโกลโบราณไปเข้ารหัสดิจิตอลทั้งหมด
ภายใต้โครงการนี้โรงเรียนและสื่อมวลชนของมองโกเลียจะต้องค่อยๆ สอนและตีพิมพ์ตัวอักษรทั้งสองแบบคู่กัน เอาให้ในที่สุดแล้วผู้คนกลับมาใช้ตัวอักษรโบราณจนชิน แม้จะสิ้นเปลืองทรัพยากรมหาศาล แต่ก็ทำเพื่อรักษาวัฒนธรรม
ขอท้าวความไปว่าอักษรมองโกลโบราณนั้นถูกพัฒนาโดยจากปราชญ์ชาวไหนหมันชื่อตาตาตองกา เผ่าของเขาถูกทัพมองโกลของเจงกิสข่านทำลายล้างจนสิ้นชาติกลืนรวมไปกับมองโกล อย่างไรก็ตามเขาสามารถหาช่องทางไปยังราชสำนักของเจงกิสข่าน และแนะนำให้เอาอักษรอุยกูร์โบราณมาโมเขียนภาษามองโกลเพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร การพัฒนาอักษรของเขานั้นเป็นผลสำเร็จส่งผลให้ชาวมองโกล (ซึ่งก่อนนี้ไม่มีอักษร) ใช้อักษรชุดนี้มาหลายร้อยปี แม้ตัวเจงกิสข่านเองไม่มีโอกาสเรียนมันก็ตาม
ต่อมามองโกลตกเป็นเมืองขึ้นจีนราชวงศ์ชิง เมื่อราชวงศ์ชิงเสื่อมอำนาจในต้นศตวรรษที่ยี่สิบ บอดจ์ข่านคนที่แปดผู้นำมองโกลถือโอกาสประกาศเอกราช และชักนำกำลังรัสเซียมาต้านทานผู้ปกครองเดิม
ผลคือเขาใช้รัสเซียต้านจีนสำเร็จ รักษาดินแดนสำคัญส่วนใหญ่ไว้ได้ แต่ก็ทำให้มองโกลแตกเป็นสองส่วน ที่ยังอยู่กับจีนกลายเป็นมองโกเลียใน ส่วนที่รัสเซียคุ้มครองไว้เรียกว่ามองโกเลียนอก กลายเป็นประเทศมองโกเลียอิสระในปัจจุบัน
แม้บอดจ์ข่านบรรลุแผนสวามิภักดิ์รัสเซีย แต่ติดขัดที่รัสเซียยุคนั้นเป็นคอมมิวนิสต์ และตัวตนของบอดจ์ข่านนั้นเป็นพระลามะผู้นำทางศาสนาซึ่งเป็นสิ่งที่คอมมิวนิสต์เกลียด
ดังนั้นบอดจ์ข่านจึงถูกควบคุมในฐานะกษัตริย์หุ่นจนเสด็จสวรรคตเองในปี 1924 ทางการก็ประกาศว่าเขาไม่กลับชาติมาเกิดอีก ให้สิ้นสุดราชวงศ์แต่เพียงเท่านี้ (มองโกลใช้ระบบราชวงศ์ลามะสืบทอดราชสมบัติโดยการกลับชาติมาเกิดเหมือนทิเบต)
จนถึงยุคสตาลินผู้โหดร้าย ได้มีการกดขี่เข่นฆ่าพระสงฆ์และผู้มีแนวคิดขัดแย้งกับลัทธิคอมมิวนิสต์ไปเป็นจำนวนมาก จนพระสงฆ์ที่เคยมีกว่าแสนรูป กลับลดจำนวนลงเหลือเพียงไม่กี่ร้อย วัดถูกทำลายไปกว่าเจ็ดร้อยแห่ง สูญเสียสมบัติล้ำค่านับมิได้ แม้แต่รูปพระโพธิสัตว์คู่บ้านคู่เมือง ที่เปรียบเหมือนพระแก้วมรกตของไทยก็ถูกเอาไปหล่อทำอาวุธ
เหตุการณ์นี้ทำให้ "ระบบการศึกษาเก่า" ของมองโกลถูกทำลายลงหมด แทนที่ด้วยระบบการศึกษาใหม่แบบโซเวียต รวมถึงมีการใช้อักษรซีริลลิกในการเขียนภาษามองโกล โดยตอนที่โซเวียตล่มใหม่ๆ นั้น รัฐบาลมองโกลคุยกันว่าจะพยายามเปลี่ยนกลับไปใช้อักษรมองโกลดีไหม แต่เลิกความคิดเพราะใช้ทุนสูงเกินไป เอาเงินไปพัฒนาอย่างอื่นก่อนดีกว่า
เหตุนี้ทำให้การศึกษาของสองมองโกลนั้นตกจากกันด้วย โดยมองโกเลียในนั้นยังมีคนใช้อักษรมองโกลโบราณได้อยู่มาก ขณะที่คนมองโกเลียนอกอ่านไม่ค่อยออกแล้ว โดยแม้มองโกเลียในถูกจีนปกครองก็ยังไม่ถูกกดขี่ขนาดยุครัสเซียสตาลิน
หลังโซเวียตเสื่อมอำนาจ มองโกเลียนอกหลุดพ้นจากคอมมิวนิสต์ ศาสนาพุทธก็กลับเฟื่องฟูกลายเป็นศาสนาหลักของชาติอีกครั้ง ฝ่ายศาสนาได้เปิดตัวบอดจ์ข่านคนที่เก้า (ที่จริงๆ มีการแอบสืบหาการกลับชาติมาเกิดนานแล้ว แต่เก็บตัวไว้เป็นความลับเพื่อความปลอดภัย) เขากลับมาเป็นผู้นำทางจิตวิญญานของชาวมองโกล และมีการสร้างวัดวาอารามขึ้นใหม่เป็นอันมาก
ไม่กี่ปีมานี้ เมื่อวัฒนธรรมกลับมาเฟื่องฟู ประกอบกับมองโกเลียร่ำรวยขึ้นจากการค้นพบแร่ธาตุมากมาย จึงมีกำลังเอาตัวอักษรมองโกลกลับมาใช้ใหม่
การกลับไปใช้อักษรมองโกลทำให้ถูกมองว่าเอาใจออกห่างรัสเซีย ซึ่งความจริงมองโกเลียอยู่ระหว่างรัสเซียกับจีน ต้องเล่นการเมืองบาลานซ์อำนาจของสองฝ่ายนี้อยู่เสมอ
ภาพแนบ: หนังสือที่มีทั้งอักษรซิลรีลิก และอักษรมองโกลอยู่คู่กัน
::: ::: :::
สนใจอ่านเรื่องประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ กดติดตาม เพจ The Wild Chronicles ได้เลยนะครับ
https://facebook.com/pongsorn.bhumiwat
*** ชาวมองโกลกับการกลับไปใช้อักษรดั้งเดิม ***
ภายใต้โครงการนี้โรงเรียนและสื่อมวลชนของมองโกเลียจะต้องค่อยๆ สอนและตีพิมพ์ตัวอักษรทั้งสองแบบคู่กัน เอาให้ในที่สุดแล้วผู้คนกลับมาใช้ตัวอักษรโบราณจนชิน แม้จะสิ้นเปลืองทรัพยากรมหาศาล แต่ก็ทำเพื่อรักษาวัฒนธรรม
ขอท้าวความไปว่าอักษรมองโกลโบราณนั้นถูกพัฒนาโดยจากปราชญ์ชาวไหนหมันชื่อตาตาตองกา เผ่าของเขาถูกทัพมองโกลของเจงกิสข่านทำลายล้างจนสิ้นชาติกลืนรวมไปกับมองโกล อย่างไรก็ตามเขาสามารถหาช่องทางไปยังราชสำนักของเจงกิสข่าน และแนะนำให้เอาอักษรอุยกูร์โบราณมาโมเขียนภาษามองโกลเพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร การพัฒนาอักษรของเขานั้นเป็นผลสำเร็จส่งผลให้ชาวมองโกล (ซึ่งก่อนนี้ไม่มีอักษร) ใช้อักษรชุดนี้มาหลายร้อยปี แม้ตัวเจงกิสข่านเองไม่มีโอกาสเรียนมันก็ตาม
ต่อมามองโกลตกเป็นเมืองขึ้นจีนราชวงศ์ชิง เมื่อราชวงศ์ชิงเสื่อมอำนาจในต้นศตวรรษที่ยี่สิบ บอดจ์ข่านคนที่แปดผู้นำมองโกลถือโอกาสประกาศเอกราช และชักนำกำลังรัสเซียมาต้านทานผู้ปกครองเดิม
ผลคือเขาใช้รัสเซียต้านจีนสำเร็จ รักษาดินแดนสำคัญส่วนใหญ่ไว้ได้ แต่ก็ทำให้มองโกลแตกเป็นสองส่วน ที่ยังอยู่กับจีนกลายเป็นมองโกเลียใน ส่วนที่รัสเซียคุ้มครองไว้เรียกว่ามองโกเลียนอก กลายเป็นประเทศมองโกเลียอิสระในปัจจุบัน
แม้บอดจ์ข่านบรรลุแผนสวามิภักดิ์รัสเซีย แต่ติดขัดที่รัสเซียยุคนั้นเป็นคอมมิวนิสต์ และตัวตนของบอดจ์ข่านนั้นเป็นพระลามะผู้นำทางศาสนาซึ่งเป็นสิ่งที่คอมมิวนิสต์เกลียด
ดังนั้นบอดจ์ข่านจึงถูกควบคุมในฐานะกษัตริย์หุ่นจนเสด็จสวรรคตเองในปี 1924 ทางการก็ประกาศว่าเขาไม่กลับชาติมาเกิดอีก ให้สิ้นสุดราชวงศ์แต่เพียงเท่านี้ (มองโกลใช้ระบบราชวงศ์ลามะสืบทอดราชสมบัติโดยการกลับชาติมาเกิดเหมือนทิเบต)
จนถึงยุคสตาลินผู้โหดร้าย ได้มีการกดขี่เข่นฆ่าพระสงฆ์และผู้มีแนวคิดขัดแย้งกับลัทธิคอมมิวนิสต์ไปเป็นจำนวนมาก จนพระสงฆ์ที่เคยมีกว่าแสนรูป กลับลดจำนวนลงเหลือเพียงไม่กี่ร้อย วัดถูกทำลายไปกว่าเจ็ดร้อยแห่ง สูญเสียสมบัติล้ำค่านับมิได้ แม้แต่รูปพระโพธิสัตว์คู่บ้านคู่เมือง ที่เปรียบเหมือนพระแก้วมรกตของไทยก็ถูกเอาไปหล่อทำอาวุธ
เหตุการณ์นี้ทำให้ "ระบบการศึกษาเก่า" ของมองโกลถูกทำลายลงหมด แทนที่ด้วยระบบการศึกษาใหม่แบบโซเวียต รวมถึงมีการใช้อักษรซีริลลิกในการเขียนภาษามองโกล โดยตอนที่โซเวียตล่มใหม่ๆ นั้น รัฐบาลมองโกลคุยกันว่าจะพยายามเปลี่ยนกลับไปใช้อักษรมองโกลดีไหม แต่เลิกความคิดเพราะใช้ทุนสูงเกินไป เอาเงินไปพัฒนาอย่างอื่นก่อนดีกว่า
เหตุนี้ทำให้การศึกษาของสองมองโกลนั้นตกจากกันด้วย โดยมองโกเลียในนั้นยังมีคนใช้อักษรมองโกลโบราณได้อยู่มาก ขณะที่คนมองโกเลียนอกอ่านไม่ค่อยออกแล้ว โดยแม้มองโกเลียในถูกจีนปกครองก็ยังไม่ถูกกดขี่ขนาดยุครัสเซียสตาลิน
หลังโซเวียตเสื่อมอำนาจ มองโกเลียนอกหลุดพ้นจากคอมมิวนิสต์ ศาสนาพุทธก็กลับเฟื่องฟูกลายเป็นศาสนาหลักของชาติอีกครั้ง ฝ่ายศาสนาได้เปิดตัวบอดจ์ข่านคนที่เก้า (ที่จริงๆ มีการแอบสืบหาการกลับชาติมาเกิดนานแล้ว แต่เก็บตัวไว้เป็นความลับเพื่อความปลอดภัย) เขากลับมาเป็นผู้นำทางจิตวิญญานของชาวมองโกล และมีการสร้างวัดวาอารามขึ้นใหม่เป็นอันมาก
ไม่กี่ปีมานี้ เมื่อวัฒนธรรมกลับมาเฟื่องฟู ประกอบกับมองโกเลียร่ำรวยขึ้นจากการค้นพบแร่ธาตุมากมาย จึงมีกำลังเอาตัวอักษรมองโกลกลับมาใช้ใหม่
การกลับไปใช้อักษรมองโกลทำให้ถูกมองว่าเอาใจออกห่างรัสเซีย ซึ่งความจริงมองโกเลียอยู่ระหว่างรัสเซียกับจีน ต้องเล่นการเมืองบาลานซ์อำนาจของสองฝ่ายนี้อยู่เสมอ
ภาพแนบ: หนังสือที่มีทั้งอักษรซิลรีลิก และอักษรมองโกลอยู่คู่กัน
::: ::: :::
สนใจอ่านเรื่องประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ กดติดตาม เพจ The Wild Chronicles ได้เลยนะครับ https://facebook.com/pongsorn.bhumiwat