ลงทุนหุ้น VS ลงทุนอสังหาฯ ยกที่4



ลงทุนหุ้น VS ลงทุนอสังหาฯ แบบไหนดีกว่ากัน? อาจเป็นคำถามที่หลายๆคนเคยสงสัย วันนี้เราจะมาวิเคราะห์ความแตกต่างของการลงทุนทั้งสองแบบนี้ โดยจะเป็นการวิเคราะห์จากประสบการณ์และความรู้สึกส่วนตัวของเราเองจากที่ได้ลงทุนทั้งสองแบบ โดยรูปแบบการลงทุนของเราจะเป็นสายฟาร์มค่าเช่าและปันผลครับ เชิญพบกับหุ้นฝ่ายน้ำเงิน และอสังหาฯฝ่ายแดงครับ
(สำหรับยกที่1 คลิกที่นี่ https://ppantip.com/topic/39931906 )
(สำหรับยกที่2 คลิกที่นี่ https://ppantip.com/topic/39959940 )
(สำหรับยกที่3 คลิกที่นี่ https://ppantip.com/topic/40037420)
แบบไหนดีกว่ากัน? อืมม เป็นคำถามที่ค่อนข้างตอบยากพอสมควรนะครับ กับคำจำกัดความแค่คำสั้นๆว่า
“ดี” เพราะฉะนั้นเราจะตอบในมุมมองต่อ 4 สิ่งนี้ครับ ผลตอบแทน สภาพคล่อง การประเมินมูลค่า ความเสี่ยงในการลงทุน สำหรับวันนี้พบกับยกที่สุดท้ายตอนความเสี่ยงในการลงทุนครับ.
.
ยกที่4 ยกสุดท้าย (เสียงระฆัง)
-ความเสี่ยงในการลงทุน
และแล้วก็เดินทางมาถึงยกสุดท้ายที่จะชี้ชะตาระหว่างการลงทุนหุ้นกับอสังหาฯแล้วนะครับ สำหรับความเสี่ยงนั้นเราคิดว่าข้อนี้อาจแตกต่างกันไปในพฤติกรรมและข้อจำกัดของนักลงทุนแต่ละคน ขอยกตัวอย่างความเสี่ยงเด่นๆของฝั่งอสังหาเช่นการleverage สำหรับคำว่าleverageอาจเปรียบได้กับการใช้คานงัดของเงินกู้ หรือบางตำราก็ชอบเรียกว่าOPM (Other people’s moneyเงินคนอื่น) มีอยู่ยุคนึงที่การสอนแนวนี้ได้รับความนิยมมากและปลูกฝังให้คนไปกู้เงินซื้อบ้าน ซื้อคอนโดมาปล่อยเช่า ให้คนเช่าผ่อนให้ หรือได้เงินโดยไม่ต้องลงทุน หรือทำกำไรจากการซื้อขายอสังหาฯโดยใช้เงินกู้เป็นต้น ถามว่าการleverageแบบนี้ทำได้จริงหรือไม่ ก็ขอตอบว่าทำได้ แต่ แต่ ไม่ใช่กับทุกคน และไม่ใช่ทำจนเกินตัว เช่นแม้จะเป็นการใช้เงินคนอื่นก็ต้องมีเงินสำรองไว้กรณีฉุกเฉิน และไม่สร้างหนี้อย่างประมาทเช่นกู้เป็นสิบๆหลัง เป็นต้น ซึ่งในกรณีนี้ถ้าเป็นคนที่มีเงินเย็น เงินเหลือสามารถซื้อโดยไม่ต้องกู้แบงค์เรามองว่าก็ไม่มีความเสี่ยงในด้านนี้ ซึ่งถ้าเป็นนักลงทุนที่ทุนทรัพย์ไม่มากนักหรือช่วงเริ่มต้นก็อาจต้องใช้เงินกู้เพื่อเป็นคานงัดแต่ก็ควรวางแผนอย่างระมัดระวัง และที่สำคัญที่สุดคือการกู้เงินนั้นมีระยะเวลาผูกพันหลายปี จึงควรวางแผนอย่างรัดกุม
.
.
ถ้าเปรียบเทียบการลงทุนหุ้นกับมุมด้านleverageของอสังหาฯก็ต้องบอกว่าหุ้นถือว่าเสี่ยงน้อยกว่ามากในแง่ที่ไม่มีความจำเป็นในการสร้างหนี้ซึ่งตรงนี้เรามองว่าเป็นข้อได้เปรียบของการลงทุนในหุ้นมาก เนื่องจากหุ้นเริ่มต้นซื้อขายกันที่100หุ้น มีเงินหลักพันหรือหลักหมื่นก็สามารถลงทุนในหุ้นได้ สามารถซึ่งจุดนี้ถ้าหากเป็นอสังหาฯไม่สามารถทำได้ แต่ว่าก็ไม่ได้แปลว่าหุ้นไม่มีความเสี่ยงเลย เรามองว่าความเสี่ยงของหุ้นค่อนข้างจะแตกต่างจากอสังหาฯ เนื่องจากการที่เราถือหุ้นก็เหมือนเราครอบครองส่วนหนึ่งของกิจการ แต่ไม่ได้มีอำนาจในการบริหารประกอบกับปัจจัยภายนอก การแข่งขันภายในกลุ่มอุตสาหกรรมรวมถึงความเสี่ยงอื่นๆที่อาจมีผลกระทบต่อธุรกิจซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ถือหุ้น
.
.
Margin of safetyจุดร่วมของการลงทุนหุ้นและอสังหาฯ
เมื่อพูดถึงความเสี่ยงประเด็นที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้เลยคงเป็นmargin of safetyหรือส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย หลักการนี้ถูกคิดขึ้นโดยเบน เกรแฮมผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการลงทุนหุ้นคุณค่า โดยแนวคิดสำคัญของเกรแฮมคือ ยิ่งมีส่วนเผื่อระหว่างราคากับมูลค่ามากเท่าไหร่ก็ยิ่งปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น รวมถึงถ้าการประเมินของนักลงทุนผิดส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัยนี้ก็จะช่วยให้นักลงทุนขาดทุนหรือเจ็บตัวน้อยลงอีกด้วย ตัวอย่างเช่น เมื่อซื้ออสังหาฯที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าๆมากๆหากวันหนึ่งมีความจำเป็นต้องขายก็สามารถขายในราคาตลาดได้โดยที่ไม่ขาดทุน หรือกรณีของหุ้นหากเข้าซื้อหุ้นที่ราคาต่ำกว่ามูลค่ามากๆหากวันหนึ่งราคาหุ้นตกพอร์ตของนักลงทุนก็อาจไม่กระทบอะไรหรือได้ผลกระทบน้อยมากเป็นต้น
.
.
ความเข้าใจในสิ่งที่ทำ
"ความเสี่ยงมาจากการไม่เข้าใจในสิ่งที่คุณทำ"
-วอเร็น บัฟเฟตต์-
สุดท้ายนี้ลองถามตัวเองว่าถนัดอะไร มีความเข้าใจกับสิ่งไหน ถูกจริตกับสิ่งไหนมากกว่ากัน และการลงทุนไหนที่จะไม่ทำให้เกิดความกังวลหรือเกิดน้อยกว่ากัน สมมุติว่าคนอื่นบอกว่าหุ้นดีกว่า ถ้าคุณถนัดอสังหา และอ่านงบการเงินไม่เป็น รับไม่ได้หากหุ้นติดลบ การลงทุนในอสังหาก็อาจเหมาะสมกว่า กลับกันหากคนอื่นบอกว่าอสังหาฯดีกว่า แต่คุณมีเงินทุนน้อยและไม่อยากมีหนี้สิน การลงทุนแบบค่อยเป็นค่อยไปในหุ้นก็อาจเหมาะสมกว่า
สำหรับยกสุดท้ายนี้เราให้หุ้นชนะไป ทำให้คะแนนเป็นหุ้นชนะไปที่3:2ครับ แต่อย่างไรก็ตามเราคิดว่าทุกเครื่องมือการลงทุนนั้นดี หากมีความเข้าใจ และได้ทำการศึกษามาอย่างดีแล้ว และสิ่งที่ใช่สำหรับคนหนึ่งอาจไม่ใช่สำหรับอีกคน การค้นหาเครื่องมือที่เหมาะสมกับตัวเราคือสิ่งที่สำคัญที่สุดครับ
 

สุดท้ายนี้ขออนุญาตฝากเพจด้วยนะคร้าบ
https://www.facebook.com/sharingiscaringreviewer/

แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  Value Investment การลงทุน การเงิน หุ้น อสังหาริมทรัพย์
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่