หลายปีที่ผ่านมา “ โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ” มักจะมีนักเตะดาวรุ่งฝีเท้าระดับเทพมากมายตบเท้าเข้าสู่ทีม ส่งผลให้ทีมสามารถทำกำไรจากการขายดาวรุ่งเหล่านี้ได้เม็ดเงินมหาศาล...ทุกคนเคยตั้งคำถามหรือไม่ว่าดอร์ทมุนด์ทำได้อย่างไร? วันนี้เราจะชวนทุกท่านวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นกัน
ก่อนอื่นต้องเล่าย้อนไปก่อนว่า ”ทีมเสือเหลือง” เคยเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปลายยุค 90 ถึงช่วงต้นยุค 2000 กวาดมาแล้วแทบจะทุกแชมป์ที่ลงแข่งกัน ทั้งถ้วย UCL, Bundesliga, DFL ซูเปอร์คัพ และถือว่าเป็นทีมที่มีสถานะทางการเงินค่อนข้างดีทีเดียวในยุคนั้น สามารถซื้อตัวนักเตะดีๆ ค่าตัว 20-30 ล้านยูโรได้อย่างสบายๆ
แต่ทว่าในปีช่วงปี 2003-2005 ทีมประสบปัญหาการเงินครั้งใหญ่ ทำให้จำเป็นต้องขายนักเตะเก่งๆค่าเหนื่อยแพงๆ หลายคนเพื่อลดค่าใช้จ่ายของทีม จนถึงขั้นต้องยืมเงินจากคู่แค้นบาร์เยิร์น มิวนิค 2 ล้านยูโร และตัดสินใจขายชื่อสนามที่แสนคลาสสิคอย่าง “Westfalen Stadion” เป็น “Signal iduna park” ไปอย่างน่าเสียดาย ดังนั้น ปัญหาทางการเงินน่าจะเป็นปัจจัยแรกที่ทำให้ทีมต้องเปลี่ยนแนวทางการบริหารใหม่
ปัจจัยต่อมาคือ การได้ “เจอร์เกน คลอปป์” กุนซือสุดฮาร์ดคอร์จากทีม Mainz 05 โดยทางบอร์ดบริหารของเสือเหลืองได้บอกคลอปป์ไว้ตั้งแต่แรกว่า ทีมไม่มีนโยบายซื้อนักเตะในราคาสูงๆ คลอปป์ถึงกับตบเข่าฉาดใหญ่ เพราะน้าแกชอบสร้างมากกว่าซื้ออยู่แล้ว
ปัจจัยสุดท้าย “คลอปป์” พาเสือเหลืองเถลิงบัลลังก์แชมป์ Bundes liga ได้ 2 สมัยติดในฤดูกาล 2010/11 และ 2011/12 รวมถึงผลงานรองแชมป์
ถ้วย UCL ในฤดูกาล 2012/13 ซึ่งผลงานเหล่านี้เกิดจาก“ดาวรุ่ง” และ ”นักเตะโนเนม” ที่เติบโตจากการบ่มเพาะของ “เจอร์เกน คลอปป์” ถึงท้ายที่สุดคลอป์จะต้องจากทีมไป แต่แนวทางการทำทีมที่ชอบ “สร้าง” มากกว่า “ซื้อ” มันฝังรากลึกจนกลายเป็น DNA ของทีมไปแล้ว
หลังจากนั้นทีมเสือเหลืองได้แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า “โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์” เป็นสถานที่ ที่เปิดโอกาสให้นักเตะดาวรุ่งทั่วโลกมา
“เก็บเกี่ยวประสบการณ์การเล่นฟุตบอลระดับสูง” พัฒนาฝีเท้าตนเอง และ “ไม่ปิดกั้นโอกาสการย้ายทีมในอนาคต” หากมีทีมยักษ์ใหญ่ต้องการฉกไปเข้าทีม และสามารถขายได้ในราคาที่เหมาะสม
ตัวอย่างที่ชัดเจนของจุดยืนดังกล่าวคือ “อุซมาน เดมเบเล่” เขาย้ายเข้ามาในปี 2016 จากทีมแรนในลีกเอิง (league un) ฝรั่งเศสเพียง 15 ล้านยูโร
เขาใช้เวลาเพียง 1 ฤดูกาลในการระเบิดฟอร์ม ลงเล่น 50 นัด ยิง 10 ประตู และส่งให้เพื่อนยิงอีก 22 ครั้ง ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วยุโรปและสุดท้ายเป็นทีมจ้าวบุญทุ่มบาร์เซโลน่า ควักเงินให้ดอร์ทมุนด์ 105 ล้านยูโรเพื่อดูดเดมเบเล่ขึ้นยาน จะเห็นได้ว่าเพียง 1 ฤดูกาลเสือเหลืองสามารถทำกำไรจากการซื้อขายเดมเบเล่ทั้งสิ้น 90 ล้านยูโร
หรือจะเป็นเคสที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่าง “เจดอน ซานโช” เขาเป็นดาวรุ่งที่เติบโตจากศูนย์ฝึกเยาวชนของแมนเชสเตอร์ซิตี้ และซิตี้พยายามจะเพิ่มค่าเหนื่อยให้เป็น 30,000 ปอนด์/สัปดาห์ เพื่อรั้งตัวไว้ แต่เจ้าตัวปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวและเลือกที่จะย้ายไปเล่นกับทีมสือเหลืองด้วยราคเพียง
8 ล้านปอนด์ เพราะเจ้าตัวเชื่อว่าจะได้รับโอกาสในการลงเล่นในสนามระดับสูงมากขึ้น และอย่างที่ทุกคนทราบดี ตอนนี้เจ้าหนูซานโชพัฒนาฝีเท้าขึ้นมาจนว่ากันว่ามีค่าตัวถึง 120 ล้านยูโรแล้ว แม้จะยังไม่มีการย้ายทีมเกิดขึ้นแต่เชื่อว่ายังไงดอร์ทมุนด์ก็ยอมขายซานโชแน่!!!! หากมีเงินก้อนโตมากองตรงหน้า
และอีกสิ่งหนึ่งที่ดอร์ทมุนด์ทำเพื่อให้แน่ใจว่าจะได้นักเตะดาวรุ่งเก่งๆ เข้าสู่ทีมคือการพูดคุยกับ “เอเยนต์ส่วนตัวของนักเตะ” ว่ากันว่าตอนเจดอน ซานโชย้ายมาดอร์ทมุนด์ เอเยนต์ของซานโชได้รับเงินกินเปล่าจากดีลถึง 200,000 ยูโร หรือว่าจะเป็นดีลของ “เออร์ลิ่ง เบราท์ ฮาแลนด์”
ก่อนจะเกิดการย้ายทีม มีกระแสข่าวว่าทีมยักษ์ใหญ่เสนอค่าเหนื่อยให้ฮาแลนด์ถึง 150,000 ปอนด์/สัปดาห์ แต่ไรโอล่ากลับพาฮาแลนด์ไปรับค่าเหนื่อยเพียง 130,000 ปอนด์/สัปดาห์ กับเสือเหลืองแทน เพื่อให้ฮาแลนด์ได้มีพื้นที่ให้เก็บเลเวล และเจ้าตัวจะได้เงินกินเปล่าจำนวน 15 ล้านยูโรจากดีลดังกล่าว
ทั้งหมดทั้งมวลก็ต้องยอมรับนะครับว่า “โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์” จะไม่สามารถดำเนินธุรกิจแบบนี้ได้หากไม่มีทีมงานแมวมองที่ดี เพราะไม่ว่าจะหยิบจะจับนักเตะคนไหนมาเข้าทีม ก็สามารถพัฒนาฝีเท้าจนเป็นสตาร์ได้แทบจะทุกคน เมื่อนำเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมาวิเคราะห์รวมกันจึงได้คำตอบของข้อสงสัยที่ว่า “ทำไมเสือเหลืองไม่เคยขาดเด็กเทพ” ?
รู้หรือไม่? เห็นชอบฟันกำไรแบบนี้ แต่มีนักเตะ 1 คนที่ดอร์ทมุนด์ยอมเสียไปฟรีๆ เพื่อแลกกับการได้ใช้งานต่ออีก 1 ฤดูกาล
.
.
.
ฮันส์-โยอัคคิม วัตช์เค่ CEO เสือเหลืองเคยกล่าวว่า “การมี 1 ฤดูกาลที่ดีจาก เลวานดอฟสกี้ อาจมีค่ามากกว่าการได้รับเงินค่าตัวจากการขายเขา” ซึ่งหลังจากการให้สัมภาษณ์ปรากฏว่าทีมไม่ขายเลวานดอฟสกี้จริงๆ ยอมให้สัญญาหมดลงในปี 2014 และเสียดาวยิงไปฟรีๆให้กับ“บาร์เยิร์น มิวนิค”
.
.
.
เขียนโดย FootballWorm
ทำไมเสือเหลืองไม่เคยขาดเด็กเทพ?
ก่อนอื่นต้องเล่าย้อนไปก่อนว่า ”ทีมเสือเหลือง” เคยเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปลายยุค 90 ถึงช่วงต้นยุค 2000 กวาดมาแล้วแทบจะทุกแชมป์ที่ลงแข่งกัน ทั้งถ้วย UCL, Bundesliga, DFL ซูเปอร์คัพ และถือว่าเป็นทีมที่มีสถานะทางการเงินค่อนข้างดีทีเดียวในยุคนั้น สามารถซื้อตัวนักเตะดีๆ ค่าตัว 20-30 ล้านยูโรได้อย่างสบายๆ
แต่ทว่าในปีช่วงปี 2003-2005 ทีมประสบปัญหาการเงินครั้งใหญ่ ทำให้จำเป็นต้องขายนักเตะเก่งๆค่าเหนื่อยแพงๆ หลายคนเพื่อลดค่าใช้จ่ายของทีม จนถึงขั้นต้องยืมเงินจากคู่แค้นบาร์เยิร์น มิวนิค 2 ล้านยูโร และตัดสินใจขายชื่อสนามที่แสนคลาสสิคอย่าง “Westfalen Stadion” เป็น “Signal iduna park” ไปอย่างน่าเสียดาย ดังนั้น ปัญหาทางการเงินน่าจะเป็นปัจจัยแรกที่ทำให้ทีมต้องเปลี่ยนแนวทางการบริหารใหม่
ปัจจัยต่อมาคือ การได้ “เจอร์เกน คลอปป์” กุนซือสุดฮาร์ดคอร์จากทีม Mainz 05 โดยทางบอร์ดบริหารของเสือเหลืองได้บอกคลอปป์ไว้ตั้งแต่แรกว่า ทีมไม่มีนโยบายซื้อนักเตะในราคาสูงๆ คลอปป์ถึงกับตบเข่าฉาดใหญ่ เพราะน้าแกชอบสร้างมากกว่าซื้ออยู่แล้ว
ปัจจัยสุดท้าย “คลอปป์” พาเสือเหลืองเถลิงบัลลังก์แชมป์ Bundes liga ได้ 2 สมัยติดในฤดูกาล 2010/11 และ 2011/12 รวมถึงผลงานรองแชมป์
ถ้วย UCL ในฤดูกาล 2012/13 ซึ่งผลงานเหล่านี้เกิดจาก“ดาวรุ่ง” และ ”นักเตะโนเนม” ที่เติบโตจากการบ่มเพาะของ “เจอร์เกน คลอปป์” ถึงท้ายที่สุดคลอป์จะต้องจากทีมไป แต่แนวทางการทำทีมที่ชอบ “สร้าง” มากกว่า “ซื้อ” มันฝังรากลึกจนกลายเป็น DNA ของทีมไปแล้ว
หลังจากนั้นทีมเสือเหลืองได้แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า “โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์” เป็นสถานที่ ที่เปิดโอกาสให้นักเตะดาวรุ่งทั่วโลกมา
“เก็บเกี่ยวประสบการณ์การเล่นฟุตบอลระดับสูง” พัฒนาฝีเท้าตนเอง และ “ไม่ปิดกั้นโอกาสการย้ายทีมในอนาคต” หากมีทีมยักษ์ใหญ่ต้องการฉกไปเข้าทีม และสามารถขายได้ในราคาที่เหมาะสม
ตัวอย่างที่ชัดเจนของจุดยืนดังกล่าวคือ “อุซมาน เดมเบเล่” เขาย้ายเข้ามาในปี 2016 จากทีมแรนในลีกเอิง (league un) ฝรั่งเศสเพียง 15 ล้านยูโร
เขาใช้เวลาเพียง 1 ฤดูกาลในการระเบิดฟอร์ม ลงเล่น 50 นัด ยิง 10 ประตู และส่งให้เพื่อนยิงอีก 22 ครั้ง ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วยุโรปและสุดท้ายเป็นทีมจ้าวบุญทุ่มบาร์เซโลน่า ควักเงินให้ดอร์ทมุนด์ 105 ล้านยูโรเพื่อดูดเดมเบเล่ขึ้นยาน จะเห็นได้ว่าเพียง 1 ฤดูกาลเสือเหลืองสามารถทำกำไรจากการซื้อขายเดมเบเล่ทั้งสิ้น 90 ล้านยูโร
หรือจะเป็นเคสที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่าง “เจดอน ซานโช” เขาเป็นดาวรุ่งที่เติบโตจากศูนย์ฝึกเยาวชนของแมนเชสเตอร์ซิตี้ และซิตี้พยายามจะเพิ่มค่าเหนื่อยให้เป็น 30,000 ปอนด์/สัปดาห์ เพื่อรั้งตัวไว้ แต่เจ้าตัวปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวและเลือกที่จะย้ายไปเล่นกับทีมสือเหลืองด้วยราคเพียง
8 ล้านปอนด์ เพราะเจ้าตัวเชื่อว่าจะได้รับโอกาสในการลงเล่นในสนามระดับสูงมากขึ้น และอย่างที่ทุกคนทราบดี ตอนนี้เจ้าหนูซานโชพัฒนาฝีเท้าขึ้นมาจนว่ากันว่ามีค่าตัวถึง 120 ล้านยูโรแล้ว แม้จะยังไม่มีการย้ายทีมเกิดขึ้นแต่เชื่อว่ายังไงดอร์ทมุนด์ก็ยอมขายซานโชแน่!!!! หากมีเงินก้อนโตมากองตรงหน้า
และอีกสิ่งหนึ่งที่ดอร์ทมุนด์ทำเพื่อให้แน่ใจว่าจะได้นักเตะดาวรุ่งเก่งๆ เข้าสู่ทีมคือการพูดคุยกับ “เอเยนต์ส่วนตัวของนักเตะ” ว่ากันว่าตอนเจดอน ซานโชย้ายมาดอร์ทมุนด์ เอเยนต์ของซานโชได้รับเงินกินเปล่าจากดีลถึง 200,000 ยูโร หรือว่าจะเป็นดีลของ “เออร์ลิ่ง เบราท์ ฮาแลนด์”
ก่อนจะเกิดการย้ายทีม มีกระแสข่าวว่าทีมยักษ์ใหญ่เสนอค่าเหนื่อยให้ฮาแลนด์ถึง 150,000 ปอนด์/สัปดาห์ แต่ไรโอล่ากลับพาฮาแลนด์ไปรับค่าเหนื่อยเพียง 130,000 ปอนด์/สัปดาห์ กับเสือเหลืองแทน เพื่อให้ฮาแลนด์ได้มีพื้นที่ให้เก็บเลเวล และเจ้าตัวจะได้เงินกินเปล่าจำนวน 15 ล้านยูโรจากดีลดังกล่าว
ทั้งหมดทั้งมวลก็ต้องยอมรับนะครับว่า “โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์” จะไม่สามารถดำเนินธุรกิจแบบนี้ได้หากไม่มีทีมงานแมวมองที่ดี เพราะไม่ว่าจะหยิบจะจับนักเตะคนไหนมาเข้าทีม ก็สามารถพัฒนาฝีเท้าจนเป็นสตาร์ได้แทบจะทุกคน เมื่อนำเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมาวิเคราะห์รวมกันจึงได้คำตอบของข้อสงสัยที่ว่า “ทำไมเสือเหลืองไม่เคยขาดเด็กเทพ” ?
รู้หรือไม่? เห็นชอบฟันกำไรแบบนี้ แต่มีนักเตะ 1 คนที่ดอร์ทมุนด์ยอมเสียไปฟรีๆ เพื่อแลกกับการได้ใช้งานต่ออีก 1 ฤดูกาล
.
.
.
ฮันส์-โยอัคคิม วัตช์เค่ CEO เสือเหลืองเคยกล่าวว่า “การมี 1 ฤดูกาลที่ดีจาก เลวานดอฟสกี้ อาจมีค่ามากกว่าการได้รับเงินค่าตัวจากการขายเขา” ซึ่งหลังจากการให้สัมภาษณ์ปรากฏว่าทีมไม่ขายเลวานดอฟสกี้จริงๆ ยอมให้สัญญาหมดลงในปี 2014 และเสียดาวยิงไปฟรีๆให้กับ“บาร์เยิร์น มิวนิค”
.
.
.
เขียนโดย FootballWorm