สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม และมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จัดอบรม "เขียนไทย : ราชบุรี" โดยการจัดอบรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับนักเขียนราชบุรีและกวีซีไรต์ เป็นการเสริมมุมมองและพลังสร้างสรรค์กับกิจกรรม Writing Clinic รวมทั้งบอกเล่าเรื่องราวของท้องถิ่นผ่านการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ และนำผลงานเผยแพร่ทางระบบออนไลน์และพิมพ์รวมเล่ม รวมถึงปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและสร้างนักเขียนรุ่นใหม่ในพื้นที่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยฤทธิ์ ศิลาเดช รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง กล่าวต้อนรับและกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัย โดยกล่าวว่างาน เขียนเป็นงานที่ท้าทายสามารถนำไปสู่ได้ทุกมิติ แม้จะเป็นนอกโลก โดยผ่านตัวอักษร ผ่านอ่านเขียน พร้อมฝากถึงนักศึกษาที่เข้าร่วมอบรมตักตวงประสบการณ์ครั้งนี้ให้เต็มที่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยฤทธิ์ ศิลาเดช
รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง
@@@@@@@@@
นายโกวิท ผกามาส
รองผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
ด้าน นายโกวิท ผกามาส รองผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กล่าวถึงบทบาทของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยกับงานด้านวรรณศิลป์ โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงวัฒนธรรม มีหน้าที่ส่งเสริมและต่อยอดศิลปะร่วมสมัย โดยได้ร่วมกับสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยจัดกิจกรรมนี้ขึ้นมาเพื่อให้นักศึกษาได้ประโยชน์และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตได้
นางกนกวลี กันไทยราษฎร์ นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย กล่าวรายงานว่า สำหรับการจัดอบรม “เขียนไทย : ราชบุรี” ในครั้งนี้ มุ่งหวังเพื่อส่งเสริมเยาวชนผู้สนใจให้มีโอกาสพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์งานเขียน เปิดโอกาสให้เยาวชน และประชาชนในพื้นที่ ได้เรียนรู้ ค้นคว้าหาข้อมูลในพื้นที่อันเป็นถิ่นเกิดของตนเอง และมีส่วนร่วมในการแสดงออกและสามารถถ่ายทอดเรื่องราวจากท้องถิ่นให้ผู้อ่าน ทั้งในและนอกพื้นที่ได้รับรู้และเข้าใจมากขึ้น ผ่านงานเขียนและภาพถ่าย ตลอดจนปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและสร้างนักเขียนรุ่นใหม่ในพื้นที่ ทั้งนี้งานวรรณกรรมสามารถเชื่อมโยงไปยังสื่อแขนงต่างๆ ได้ ทั้ง ภาพยนตร์ ดนตรี รวมถึงการท่องเที่ยว และเชื่อว่างานวรรณกรรมจะส่งพลังไปถึงคนในสังคม โดยเลือกพื้นที่จังหวัดราชบุรีเป็นแห่งแรกของประเทศสำหรับการจัดกิจกรรมนี้
นางกนกวลี กันไทยราษฎร์
นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
@@@@@@@@@
นายพงษ์พันธ์ แสงสุวรรณ
รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
นายพงษ์พันธ์ แสงสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ประธานในพิธี กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นตัวแทนของชาวราชบุรี มั่นใจว่าจังหวัดราชบุรีมีศักยภาพและความพร้อมในการเป็นต้นแบบสำหรับการจัดกิจกรรมในลักษณะนี้ได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งจังหวัดราชบุรีมีความเป็นมาอันยาวนาน มีมรดกศิลปวัฒนธรรมหลากหลาย อีกทั้งแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่มีคุณค่าต่อการศึกษาค้นคว้าและทำความเข้าใจในมิติต่างๆ จำนวนมาก ผู้คน ชุมชน สถานที่และเรื่องราวเหล่านั้นล้วนแต่มีเสน่ห์และมีความน่าสนใจควรที่จะถ่ายทอดให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย โดยเฉพาะการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรผู้มีประสบการณ์ ซึ่งหลายท่านเป็นชาวราชบุรีด้วย ก็ยิ่งทำให้เชื่อได้ว่าการอบรมครั้งนี้จะสร้างมิติใหม่ให้กับวงการวรรณกรรมในการนำเรื่องราวของท้องถิ่นมาถ่ายทอดด้วยกลวิธีและรูปแบบที่จะช่วยให้การถ่ายทอดเอกลักษณ์และมุมมองใหม่ๆ ตลอดจนประชาสัมพันธ์จังหวัดราชบุรีของเราให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
พร้อมกล่าวขอบคุณสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ร่วมมือร่วมใจจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์เช่นนี้ขึ้นมา พร้อมเชื่อว่านักศึกษาที่เข้าร่วมการอบรมทุกคนจะเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการลงพื้นที่ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร นำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานที่คุณค่าทางวรรณศิลป์เพื่อเผยแพร่ทั้งทางระบบออนไลน์และการพิมพ์รวมเล่มต่อไป
กิจกรรมนี้นอกจากจะเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรแล้ว ยังนำผู้เข้ารับการอบรมไปศึกษาดูงานที่โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ บ้านบ่อหวี อำเภอสวนผึ้ง และโรงงานเซรามิกเถ้าฮงไถ่ อำเภอเมืองราชบุรี เพื่อเป็นแรงบันดาลในการสร้างสรรค์ผลงานที่คุณค่าทางวรรณศิลป์เพื่อเผยแพร่ทั้งทางระบบออนไลน์และการพิมพ์รวมเล่มต่อไป
โดยวิทยากรประกอบด้วย
1.กนกวลี กันไทยราษฎร์ นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
2. สกุล บุณยทัต นักวิชาการ นักเขียนและนักวิจารณ์วรรณกรรม
3.นายแพทย์พงศกร จินดา
4. อังคาร จันทาทิพย์ กวีซีไรต์ 2 สมัย
5.วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ศิลปินศิลปาธร
6. บุหลัน รันตี (ไชโย สุวรรณ์) นักเขียนราชบุรี
ทั้งนี้ การจัดอบรม "เขียนไทย : ราชบุรี" มีขึ้นในระหว่างวันที่ 17 -19 สิงหาคม 2563 นอกจากนี้ยังนำผู้เข้ารับการอบรมลงพื้นที่ศึกษาดูงานที่โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ บ้านบ่อหวี อำเภอสวนผึ้ง และโรงงานเซรามิกเถ้าฮงไถ่ อำเภอเมืองราชบุรี เพื่อเป็นแรงบันดาลในการสร้างสรรค์ผลงานด้วย
@@@@@@@@@
ภาพบรรยากาศในวันเปิดงาน 17 สิงหาคม 2563
การอบรม "เขียนไทย : ราชบุรี"
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยฤทธิ์ ศิลาเดช รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง กล่าวต้อนรับและกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัย โดยกล่าวว่างาน เขียนเป็นงานที่ท้าทายสามารถนำไปสู่ได้ทุกมิติ แม้จะเป็นนอกโลก โดยผ่านตัวอักษร ผ่านอ่านเขียน พร้อมฝากถึงนักศึกษาที่เข้าร่วมอบรมตักตวงประสบการณ์ครั้งนี้ให้เต็มที่
นางกนกวลี กันไทยราษฎร์ นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย กล่าวรายงานว่า สำหรับการจัดอบรม “เขียนไทย : ราชบุรี” ในครั้งนี้ มุ่งหวังเพื่อส่งเสริมเยาวชนผู้สนใจให้มีโอกาสพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์งานเขียน เปิดโอกาสให้เยาวชน และประชาชนในพื้นที่ ได้เรียนรู้ ค้นคว้าหาข้อมูลในพื้นที่อันเป็นถิ่นเกิดของตนเอง และมีส่วนร่วมในการแสดงออกและสามารถถ่ายทอดเรื่องราวจากท้องถิ่นให้ผู้อ่าน ทั้งในและนอกพื้นที่ได้รับรู้และเข้าใจมากขึ้น ผ่านงานเขียนและภาพถ่าย ตลอดจนปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและสร้างนักเขียนรุ่นใหม่ในพื้นที่ ทั้งนี้งานวรรณกรรมสามารถเชื่อมโยงไปยังสื่อแขนงต่างๆ ได้ ทั้ง ภาพยนตร์ ดนตรี รวมถึงการท่องเที่ยว และเชื่อว่างานวรรณกรรมจะส่งพลังไปถึงคนในสังคม โดยเลือกพื้นที่จังหวัดราชบุรีเป็นแห่งแรกของประเทศสำหรับการจัดกิจกรรมนี้
กิจกรรมนี้นอกจากจะเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรแล้ว ยังนำผู้เข้ารับการอบรมไปศึกษาดูงานที่โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ บ้านบ่อหวี อำเภอสวนผึ้ง และโรงงานเซรามิกเถ้าฮงไถ่ อำเภอเมืองราชบุรี เพื่อเป็นแรงบันดาลในการสร้างสรรค์ผลงานที่คุณค่าทางวรรณศิลป์เพื่อเผยแพร่ทั้งทางระบบออนไลน์และการพิมพ์รวมเล่มต่อไป
โดยวิทยากรประกอบด้วย
1.กนกวลี กันไทยราษฎร์ นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
2. สกุล บุณยทัต นักวิชาการ นักเขียนและนักวิจารณ์วรรณกรรม
3.นายแพทย์พงศกร จินดา
4. อังคาร จันทาทิพย์ กวีซีไรต์ 2 สมัย
5.วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ศิลปินศิลปาธร
6. บุหลัน รันตี (ไชโย สุวรรณ์) นักเขียนราชบุรี
ทั้งนี้ การจัดอบรม "เขียนไทย : ราชบุรี" มีขึ้นในระหว่างวันที่ 17 -19 สิงหาคม 2563 นอกจากนี้ยังนำผู้เข้ารับการอบรมลงพื้นที่ศึกษาดูงานที่โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ บ้านบ่อหวี อำเภอสวนผึ้ง และโรงงานเซรามิกเถ้าฮงไถ่ อำเภอเมืองราชบุรี เพื่อเป็นแรงบันดาลในการสร้างสรรค์ผลงานด้วย