Billie Jean King เป็นชื่อที่เราค่อนข้างคุ้นเคยมากทีเดียว แม้ว่าจะเกิดไม่ทันยุครุ่งเรืองของนักเทนนิสหญิงมือวางอันดับหนึ่งของโลกคนนี้ แต่เราก็เขียนถึง/อ้างถึงชื่อเธออยู่บ่อยครั้งในสมัยที่เขียนต้นฉบับให้นิตยสาร @tom act ในฐานะที่ Billie Jean King เป็นผู้กรุยทางให้กับนักกีฬาระดับโลกอีกมากมายได้เปิดตัวว่าเป็นชาวเลสเบี้ยน รวมถึงบทบาทการเป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรีและสิทธิ LGBT คนสำคัญ
.
Battle of the Sexes เป็นหนังที่สร้างจากเรื่องจริงในปี 1973 อันเป็นช่วงเวลาอันแสนหนักหน่วงของ Billie Jean King เมื่อเธอถูกท้าทายจาก Bobby Riggs นักเทนนิสชายรุ่นใหญ่วัยห้าสิบให้มาลงหวดลูกเทนนิสกันเพื่อพิสูจน์ว่าผู้หญิงเป็นเพศอ่อนแอที่ควรจะอยู่กับบ้านเฝ้ากับเรือน เพราะผู้ชายเท่านั้นที่แกร่งกว่าและคู่ควรกับสนามกีฬา และการใช้ชีวิตนอกบ้าน ใช่! มันคือศึกแห่งศักดิ์ศรี และมันคือหมุดหมายสำคัญของการขับเคลื่อนสิทธิสตรีในสหรัฐอเมริกา แล้วก็ไม่ใช่แค่ในแวดวงนักกีฬาด้วย แต่นี่คือก้าวที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น ... แถมในตอนนั้น King เองก็เพิ่งตระหนักรู้ในเพศสภาพของตัวเอง จนทำให้เกิดเรื่องรักสามเส้าระหว่างตัวเธอ สามีที่อยู่เคียงข้างกันมานาน และช่างทำผมสาวผู้รักอิสระที่มาเปิดโลกให้กับ King อีกต่างหาก
.
ชอบการแสดงของ Emma Stone มาก เหมือนกับว่านี่เป็นครั้งแรกที่เธอสวมคาแร็คเตอร์เป็นคนอื่น เพราะที่ผ่านมามันล้วนแต่เป็นตัวละครแบบ Emma Stone ทั้งนั้นเลย และชอบมากที่เราได้เห็นฉากหลังของ Billie Jean King ที่เต็มไปด้วยความเคร่งเครียด จริงจัง มีช่วงเวลาอันสับสน เพราะในพื้นที่สื่อต่างๆ เรามักจะได้เห็น King ตัวจริงยิ้มแย้มสู้กล้องเท่านั้น ด้วยเพราะมันคือการวางตัวสไตล์นักเทนนิสอาชีพ ที่ไม่ต่างอะไรจากดารานักแสดง! ส่วน Steve Carell ก็ผสมผสานความมีชีวิตชีวาและมิติด้านอารมณ์ลึกๆ ให้กับตัวละครโผงผางโฉ่งฉ่าง กวนบาทา และน่ายี๊อย่าง Bobby Riggs ได้ดี แม้เราจะรู้สึกว่ามันคือการยัดเยียดด้านแย่ๆ ให้ฝั่งผู้ชายอันเป็นขั้วตรงข้ามที่หนังตั้งท่าโจมตีมากไปหน่อย แต่พอย้อนกลับไปดูในเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง เราก็พบว่า นี่คือการมอบด้านดีๆ ให้กับตัวละครอย่าง Riggs เยอะมากแล้วแหละ
.
เอาจริงๆ Battle of the Sexes นี่มีความคล้ายกับ Bohemian Rhapsody อยู่มากเหมือนกัน โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องความรักความสัมพันธ์ (ที่ทั้งคู่ต่างเคยผ่านการแต่งงานและใช้ชีวิตคู่กับคนต่างเพศมาก่อน) การอยู่กับตัวตนที่ต้องปิดบังกับตัวตนกลางแสงสปอตไลต์ และการสะท้อนภาพของ LGBT ในยุคก่อน โดยเรื่องนึงก็เป็นตัวแทนฝั่งเลสเบี้ยน อีกเรื่องก็เป็นตัวแทนฝั่งเกย์
อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่
เพจ ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
[CR] [Review] Battle of the Sexes (2017)
Billie Jean King เป็นชื่อที่เราค่อนข้างคุ้นเคยมากทีเดียว แม้ว่าจะเกิดไม่ทันยุครุ่งเรืองของนักเทนนิสหญิงมือวางอันดับหนึ่งของโลกคนนี้ แต่เราก็เขียนถึง/อ้างถึงชื่อเธออยู่บ่อยครั้งในสมัยที่เขียนต้นฉบับให้นิตยสาร @tom act ในฐานะที่ Billie Jean King เป็นผู้กรุยทางให้กับนักกีฬาระดับโลกอีกมากมายได้เปิดตัวว่าเป็นชาวเลสเบี้ยน รวมถึงบทบาทการเป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรีและสิทธิ LGBT คนสำคัญ
.
Battle of the Sexes เป็นหนังที่สร้างจากเรื่องจริงในปี 1973 อันเป็นช่วงเวลาอันแสนหนักหน่วงของ Billie Jean King เมื่อเธอถูกท้าทายจาก Bobby Riggs นักเทนนิสชายรุ่นใหญ่วัยห้าสิบให้มาลงหวดลูกเทนนิสกันเพื่อพิสูจน์ว่าผู้หญิงเป็นเพศอ่อนแอที่ควรจะอยู่กับบ้านเฝ้ากับเรือน เพราะผู้ชายเท่านั้นที่แกร่งกว่าและคู่ควรกับสนามกีฬา และการใช้ชีวิตนอกบ้าน ใช่! มันคือศึกแห่งศักดิ์ศรี และมันคือหมุดหมายสำคัญของการขับเคลื่อนสิทธิสตรีในสหรัฐอเมริกา แล้วก็ไม่ใช่แค่ในแวดวงนักกีฬาด้วย แต่นี่คือก้าวที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น ... แถมในตอนนั้น King เองก็เพิ่งตระหนักรู้ในเพศสภาพของตัวเอง จนทำให้เกิดเรื่องรักสามเส้าระหว่างตัวเธอ สามีที่อยู่เคียงข้างกันมานาน และช่างทำผมสาวผู้รักอิสระที่มาเปิดโลกให้กับ King อีกต่างหาก
.
ชอบการแสดงของ Emma Stone มาก เหมือนกับว่านี่เป็นครั้งแรกที่เธอสวมคาแร็คเตอร์เป็นคนอื่น เพราะที่ผ่านมามันล้วนแต่เป็นตัวละครแบบ Emma Stone ทั้งนั้นเลย และชอบมากที่เราได้เห็นฉากหลังของ Billie Jean King ที่เต็มไปด้วยความเคร่งเครียด จริงจัง มีช่วงเวลาอันสับสน เพราะในพื้นที่สื่อต่างๆ เรามักจะได้เห็น King ตัวจริงยิ้มแย้มสู้กล้องเท่านั้น ด้วยเพราะมันคือการวางตัวสไตล์นักเทนนิสอาชีพ ที่ไม่ต่างอะไรจากดารานักแสดง! ส่วน Steve Carell ก็ผสมผสานความมีชีวิตชีวาและมิติด้านอารมณ์ลึกๆ ให้กับตัวละครโผงผางโฉ่งฉ่าง กวนบาทา และน่ายี๊อย่าง Bobby Riggs ได้ดี แม้เราจะรู้สึกว่ามันคือการยัดเยียดด้านแย่ๆ ให้ฝั่งผู้ชายอันเป็นขั้วตรงข้ามที่หนังตั้งท่าโจมตีมากไปหน่อย แต่พอย้อนกลับไปดูในเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง เราก็พบว่า นี่คือการมอบด้านดีๆ ให้กับตัวละครอย่าง Riggs เยอะมากแล้วแหละ
.
เอาจริงๆ Battle of the Sexes นี่มีความคล้ายกับ Bohemian Rhapsody อยู่มากเหมือนกัน โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องความรักความสัมพันธ์ (ที่ทั้งคู่ต่างเคยผ่านการแต่งงานและใช้ชีวิตคู่กับคนต่างเพศมาก่อน) การอยู่กับตัวตนที่ต้องปิดบังกับตัวตนกลางแสงสปอตไลต์ และการสะท้อนภาพของ LGBT ในยุคก่อน โดยเรื่องนึงก็เป็นตัวแทนฝั่งเลสเบี้ยน อีกเรื่องก็เป็นตัวแทนฝั่งเกย์
อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ เพจ ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้