. . . สวัสดีครับผมปอ Dojo-mAn ห่างหายไปนานกับการรีวิวสายชาร์จ และ อุปกรณ์ชาร์จไฟ เนื่องด้วยยุคโควิด ทำให้ขาดทุนทรัพย์ในการหาของมารีวิว 555+ ตอนนี้พอมีบ้าง เห็นอะไรน่าสนใจก็เอามาบอกต่อกันครับ
พูดถึงชาร์จเร็ว fast charge / quickcharge หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่เวลาเราไปร้านขายพวกสายชาร์จหรือที่ชาร์จ เขาก็จะพูดเสมอว่า
“น้อง ตัวนี้ชาร์จไวนะ”
“น้อง Adaptor รุ่นนี้จ่ายไฟได้ 4.2A เลยนะ”
“น้องสายชาร์จรุ่นนี้ รองรับ 3A เลยนะ”
. . . ส่วนมากคนทั่วไปเป็นเหยื่อการตลาดว่า ยิ่ง A มาก ยิ่งชาร์จเร็ว ผู้ผลิตสายเลยโชว์พาว ว่าเฮ้ย สายตรู ที่ชาร์จตรู จ่ายได้เท่านี้เลยนะเว้ย . . . ซึ่งเราโดนหลอกมาตั้งแต่ยุคที่มี Smart Phone แรกๆ แล้วครับ ถามว่าเพราะอะไร เพราะ "Apple" ครับ . . . สมัยก่อนจะมี iPad มีแต่ iPad แต่พอมี iPad เท่านั้นแหละ พวกเหล่า Reviewer และ Blogger ทั้งหลาย (รวมทั้งผมด้วย) ก็บอกว่า
. . . " เฮ้ย ! ! !ถ้าเอ็งอยากให้ชาร์จไวๆ เอ็งไปซื้อที่ชาร์จของ iPad มาสิวะ" คนก็สงสัยว่าเพราะอะไร แต่พวก Blogger/Reviewer เหล่านั้นก็อธิบายคร่าวๆ ว่า "อ๋อ ! ! ! เพราะที่ชาร์จ iPad มัน จ่ายไฟ 2.4A ไง ของไอโฟนมันจ่าย 1A เอง" นั่นคือที่มาครับ . . . ซึ่งจริงๆ แล้ว เอาไอโฟน มาชาร์จกับที่ชาร์จไอแพด มันก็ไม่ได้ใช้ไฟถึง 2.4A อยู่ดี ต่อให้เป็นไอแพดเองก็เถอะ ไม่งั้นมันร้อนครับ การชาร์จจะอยู่ที่ 80-90% ของ Charger ตัวนั้น เช่น Adapter 2.4A มันจะชาร์จได้แค่ 2.3-2.37A แค่นั้นครับ
. . . อีกอย่าง คำว่า fast charge เนี่ย มันไม่ใช่ว่าเป็น fast charge แล้วมันจะชาร์จไวทุกเครื่อง การจะชาร์จไวนั้นมันขึ้นอยู่กับมือถือแต่ละแบรนด์ ขึ้นอยู่กับสายชาร์จ และ ที่ชาร์จด้วย การที่สายไฟ หรือ อแดปเตอร์จ่ายไฟ จ่ายไฟ รองรับไฟได้สูงๆ ก็ใช่ว่าจะดีเสมอไป มันอาจจะเป็นแค่คำโฆษณา ก็เป็นได้ . . .
หากเราไปซื้อ อแดปเตอร์ที่ชาร์จไวมา แต่ดันซื้อมาเป็น Fast Charge ของ Samsung แต่มือถือคุณคือ Huawei คุณก็ไม่สามารถชาร์จเร็วตามที่มือถือทำได้ ก็ได้ครับ
. . . เช่นเดียวกัน หากเราซื้อที่ชาร์จไวของ huawei แบบ SCP มา แต่สายชาร์จ ดันเป็นสายชาร์จที่รองรับ AFC คุณก็จะได้ไฟที่ไม่ตรงกับมือถือคุณทำได้ เป็นต้นครับ . . .
ซึ่งการที่จะชาร์จไวได้ มีสามส่วนคือ
1. มือถือที่เราใช้งาน
2. สายชาร์จที่เราใช้งาน
3. Adapter ที่เราใช้งาน
ทุกอย่างต้องสัมพันธ์กัน การจ่ายไฟ ก็เหมือนการคุยกันระหว่างคนสองคนครับ คุยกันรู้เรื่องก็จ่ายไฟเยอะ คุยกันไม่รู้เรื่อง ก็จ่ายไฟปกติ เป็นต้น
เทคโนโลยีชาร์จเร็วในปัจจุบัน
- QC : Qualcomm QuickCharge
- AFC : Samsung Adaptive Fast Charge
- FCP : Huawei Fast Charge Protocol
- SCP : Huawei Supercharge Protocol
- BC1.1 / BC1.2 : USB Battery Charging 1.1/1.2
- VOOC : Voltage Open Loop Multi-step Constant-Current Charging
- PD : USB Power Delivery
- PE : MediaTek Pump Express (ปัจจุบันไม่ค่อยเห็นแล้ว)
เพื่อความไม่งง ผมจะแยกตามยี่ห้อแล้วกันนะครับ
1. Samsung - - > AFC & QC
- แบรนด์นี้มีเทคโนโลยีชาร์จเร็ว น่าจะรายแรกๆ ของโลกแล้วครับ กับ AFC หรือ Adaptive Fast Charge ที่สามารถชาร์จไฟได้ที่ 9V 1.67A หรือ 15W นั่นเอง ซึ่ง AFC นั้นจะไป Compatible กับ QC2.0 ที่รองรับไฟสูงสุดในระดับใกล้เคียงกันคือ 9V/2A หรือ 18W ในฝั่งชาร์จเจอร์ แต่จุดต่างระหว่าง QC และ AFC คือ หากเราใช้มือถือขณะชาร์จ AFC จะปรับแรงไฟลงมาเหลือ 5V ครับ แต่หากปิดจอ ไฟจะกลับไปที่ 9V เช่นเดิม ซึ่งต่างจาก QC2.0 ที่จะไม่ปรับไฟลงมาไม่ว่าจะเปิดจอ หรือ ปิดจอครับ
- ในปี 2019 เอง ก็มีการพัฒนะ AFC 2.0 ที่สามารถรองรับการจ่ายไฟได้สูงสุดถึง 25W และ 45W สำหรับรุ่น Galaxy Note10+ เป็นรุ่นแรก โดยผ่านเทคโนโลยี Type C PDO + PPS ครับ ซึ่งสองเทคโนโลยีนี้จะพูดถึงในส่วนต่อไปนะครับ
2. Huawei - - > FCP & SCP
- แบรนด์นี้มีเทคโนโลยีชาร์จเร็ว รายแรกๆ ของโลกเช่นกัน กับเทคโนโลยี FCP หรือ Fast Charge Protocol ที่สามารถชาร์จไฟได้ที่ 9V/2A โดยตัวมันเองจะไป Compatible กับ QC2.0 เช่นเดียวกับ AFC ครับ โดย ณ ตอนนี้ FCP จะเริ่ม fade ตัวออกจากตลาดแล้ว หรือ รองรับเฉพาะตัวระดับล่างเท่านั้น
- SCP หรือ Supercharge Protocol ซึ่งมีการจ่ายไฟที่ 4.5V/5A หรือ 22.5W ซึ่งในสมัยแรกๆ ถือว่าเร็วมากๆ ครับ ในขณะที่คนอื่น ยังสูงสุดแค่ 18W แต่แบรนด์นี้ไปก่อนเพื่อนละ โดยสายที่ใช้ต้องเป็นสายที่รองรับไฟ 5A หรือ มีแถบสีม่วงเท่านั้น
- SCP 2.0 เข้ามาแทนที่ SCP ตัวแรก โดยตัวแรกที่รองรับคือ P30 Pro ซึ่งถือว่าแรงที่สุด ณ ตอนนั้นเลยครับ โดยรองร้ับไฟ 10V/4A หรือ 40W ครับ โดยหัวเว่ยยังใช้ Protocol นี้จนถึงปัจจุบัน . . .
3. OPPO/realme/OnePlus - -> VooC / Dash Charge
- BBK หรือบริษัทแม่ของ สามแบรนด์ดัง ได้พัฒนาเทคโนโลยี VooC 2.0 โดยสามารถชาร์จไฟที่ 5V/4A หรือ 20W ได้ แต่สายที่ใช้ต้องเป็นสายพิเศษ (oppo สีเขียว,realme สีเหลือง,oneplus สีแดง) เท่านั้น โดยทั้งสามแบรนด์นี้ ทำงานอยู่บนเทคโนโลยีเดียวกัน ใช้สายและชาร์จเจอร์เดียวกันได้ แต่จะถูกเรียกชื่อต่างกันตามแต่ละแบรนด์ครับ
- ในปี 2019 ก็ได้มีการพัฒนา VOOC 3.0 ขึ้นมาโดยทาง BBK เองได้เคลมว่าเร็วกว่าเดิม 23.8% โดยมีการเพิ่มกระแสเข้าไปเป็น 5V/5A หรือ 25W นั่นเอง
- ระหว่างทางก็มีการพัฒนา SuperVOOC ขึ้นมาโดยนำ VooC 2.0 มาพัฒนาต่อโดยแบ่งแบตเป็นสองก้อน และชาร์จเป็นแบบ parallel ไปนั่นเอง โดยจ่ายไฟสูงสุดที่ 10V/5A หรือ 50W กันเลยทีเดียว
- ในปี 2020 ได้มีการนำ VOOC 3.0 มาพัฒนาต่อเป็น VOOC 4.0 โดยสามารถรับไฟที่กระแสสูงขึ้นเป็น 5V/6A หรือ 30W
- นอกจากนั้นทาง BBK ได้พัฒนา Super VOOC Fast Charge 2.1 บนพื้นฐาน VooC 2.0 โดยสามารถจ่ายไฟได้สูงสุดถึง 65W
- ล่าสุดตอนนี้ได้มีการพัฒนาตัวใหม่ Super FlashCharge technology ที่สามารถจ่ายไฟได้มากสุดถึง 120W กันเลยทีเดียว ถือว่ามากสุดในขณะนี้แล้วครับ สำหรับการจ่ายไฟให้มือถือ
4. LG, SONY, NOKIA, XIAOMI, HTC, Nubia, VIVO, ASUS
- ทั้งหมดนี้มักใช้เทคโนโลยีจาก Chipset ที่ใช้งานเป็นหลัก นั่นก็คือ Qualcomm นั่นเอง ซึ่ง Qualcomm เองมีเทคโนโลยี Quickcharge ในมืออยู่แล้วซึ่งแรกเริ่มเดิมทีจะถูกใช้งานคู่กับมือถือที่ใช้ CPU เป็น Chipset ของ Qualcomm เท่านั้น แต่ ณ ปัจจุบัน ถูกนำไปใช้ในอุปกรณ์อื่นๆ อีกด้วย
- Qualcomm QuickCharge ถูกพัฒนามาอย่างยาวนาน โดยล่าสุดคือ Qualcomm QuickCharge 5 ที่สามารถรองรับการจ่ายได้มากกว่า 100W
- - QC1.0 => รองรับการจ่ายไฟ สูงสุดที่ 10W (ที่แรงดัน 5V/2A)
- - QC2.0 => รองรับการจ่ายไฟ สูงสุดที่ 18W (ที่แรงดัน 5V, 9V และ 12V)
- - QC3.0 => รองรับการจ่ายไฟ สูงสุดที่ 36W (ที่แรงดัน 3.6V ถึง 22V สามารถเพิ่มแรงดันไฟทีละ200mV ได้)
- - QC4.0 => รองรับการจ่ายไฟ สูงสุดที่ 100W (ที่แรงดัน 3.6V ถึง 20V สามารถเพิ่มแรงดันที่ละเอียดกว่าเดิม โดยสามารถเพิ่มไฟทีละ 20mV ได้) โดยใน QC4.0 จะไป Compatible กับการจ่ายไฟ แบบ USB Power Delivery (PD) อีกด้วย
นอกจาก 5 แบรนด์หลักแล้ว เรายังมีการชาร์จแบบมาตรฐานด้วยนั่นก็คือ Universal Serial Bus Power Delivery (USB-PD) ซึ่งเทคโนโลยีนี้เป็นเทคโนโลยีที่ เรียกได้ว่าเป็นมาตรฐานของยุคปัจจุบันครับ โดยเทคโนโลยีนี้ไม่จำกัดการใช้งานอยู่แค่บนมือถือเท่านั้น ยังเป็นมาตรฐานเดียวกันบนพื้นฐานของอุปกรณ์ ทั่วไปด้วย เช่น Notebook, เครื่องเล่นเกมส์แบบพกพา
. . . เข้าเรื่องกันสักที . . .
ทำไมผมถึงยกให้ Powerbank ตัวนี้เป็น Powerbank อันดับ 1 ที่เราควรมีไว้
เพราะมันรองรับการชาร์จได้หลายอุปกรณ์มากครับ ไม่ว่าจะเป็น
iPhone, Samsung, Huawei, Macbook, Notebook, Netbook, Nintendo Switch
สามารถยืดอายุการใช้งาน Macbook ได้มากถึง 14 ชั่วโมง / iPad ได้มากถึง 20 ชั่วโมง / iPhone ได้มากถึง 64 ชั่วโมง
รองรับ Protocol การชาร์จ มากที่สุดตัวนึง (Apple 2.4A, AFC, SCP, FCP, QC3.0 และ PD)
ฟังดูเหมือนมาโฆษณาให้ใช่ไหมครับ แบบนี้มันต้องวัดไฟกันจริงๆ ใช้งานกันจริงๆ ไปเลย ผมใช้มา 1 อาทิตย์แล้วหลังจากซื้อมาครับ . . . ผลก็คือ ชอบครับ มันสะดวกมาก . . . .
Protocol ที่รองรับ (ที่วัดได้)
จากการวัดช่อง USB Type C ครับ
ผลที่ได้คือ : Type C รองรับ Protocol การจ่ายไฟแบบ 5V/2A, 5V/1.5A, QC2, QC3 และ FCP
จากการวัดช่อง USB Type A
ผลที่ได้คือ : USB Type A รองรับ Protocol การจ่ายไฟแบบ Apple2.4A, 5V/1.5A, QC2, QC3, AFC,FCP และ SCP
จากการวัดการจ่ายไฟแบบ PDO / PPS
ผลที่ได้คือ :
- Power Delivery rev.3.0
- PDO รองรับแรงดัน 5V - 20 V (สูงสุด 45W)
- PPS รองรับการปรับแรงดัน 3.3V - 11.0V (ที่แรงดัน 3A)
PPS ย่อมาจาก Programable Power Supply เป็นการปรับแรงดันไฟ (Volt) ได้ละเอียดขึ้นทำให้การจ่ายไฟได้นิ่งขึ้น ร้อนน้อยลง น้อยมากครับที่ Powerbank จะมี PPS มาด้วย ส่วนมากจะมีแค่ PDO (Power Delivery Output) ซึ่งหากจะ Charge มือถือรุ่นใหม่ๆ อย่าง Galaxy Note 10+, Galaxy S20 Ultra หรือ Note 20 Ultra รุ่นใหม่ที่พึ่งออก ต้องมี PPS ด้วยครับถึงจะชาร์จแบบ Fast Charge ได้ . . .
[CR] เทคโนโลยีการชาร์จโทรศัพท์ กับ Powerbank ที่ควรมีในยุค 2020
พูดถึงชาร์จเร็ว fast charge / quickcharge หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่เวลาเราไปร้านขายพวกสายชาร์จหรือที่ชาร์จ เขาก็จะพูดเสมอว่า
“น้อง ตัวนี้ชาร์จไวนะ”
“น้อง Adaptor รุ่นนี้จ่ายไฟได้ 4.2A เลยนะ”
“น้องสายชาร์จรุ่นนี้ รองรับ 3A เลยนะ”
. . . ส่วนมากคนทั่วไปเป็นเหยื่อการตลาดว่า ยิ่ง A มาก ยิ่งชาร์จเร็ว ผู้ผลิตสายเลยโชว์พาว ว่าเฮ้ย สายตรู ที่ชาร์จตรู จ่ายได้เท่านี้เลยนะเว้ย . . . ซึ่งเราโดนหลอกมาตั้งแต่ยุคที่มี Smart Phone แรกๆ แล้วครับ ถามว่าเพราะอะไร เพราะ "Apple" ครับ . . . สมัยก่อนจะมี iPad มีแต่ iPad แต่พอมี iPad เท่านั้นแหละ พวกเหล่า Reviewer และ Blogger ทั้งหลาย (รวมทั้งผมด้วย) ก็บอกว่า
. . . " เฮ้ย ! ! !ถ้าเอ็งอยากให้ชาร์จไวๆ เอ็งไปซื้อที่ชาร์จของ iPad มาสิวะ" คนก็สงสัยว่าเพราะอะไร แต่พวก Blogger/Reviewer เหล่านั้นก็อธิบายคร่าวๆ ว่า "อ๋อ ! ! ! เพราะที่ชาร์จ iPad มัน จ่ายไฟ 2.4A ไง ของไอโฟนมันจ่าย 1A เอง" นั่นคือที่มาครับ . . . ซึ่งจริงๆ แล้ว เอาไอโฟน มาชาร์จกับที่ชาร์จไอแพด มันก็ไม่ได้ใช้ไฟถึง 2.4A อยู่ดี ต่อให้เป็นไอแพดเองก็เถอะ ไม่งั้นมันร้อนครับ การชาร์จจะอยู่ที่ 80-90% ของ Charger ตัวนั้น เช่น Adapter 2.4A มันจะชาร์จได้แค่ 2.3-2.37A แค่นั้นครับ
. . . อีกอย่าง คำว่า fast charge เนี่ย มันไม่ใช่ว่าเป็น fast charge แล้วมันจะชาร์จไวทุกเครื่อง การจะชาร์จไวนั้นมันขึ้นอยู่กับมือถือแต่ละแบรนด์ ขึ้นอยู่กับสายชาร์จ และ ที่ชาร์จด้วย การที่สายไฟ หรือ อแดปเตอร์จ่ายไฟ จ่ายไฟ รองรับไฟได้สูงๆ ก็ใช่ว่าจะดีเสมอไป มันอาจจะเป็นแค่คำโฆษณา ก็เป็นได้ . . .
หากเราไปซื้อ อแดปเตอร์ที่ชาร์จไวมา แต่ดันซื้อมาเป็น Fast Charge ของ Samsung แต่มือถือคุณคือ Huawei คุณก็ไม่สามารถชาร์จเร็วตามที่มือถือทำได้ ก็ได้ครับ
. . . เช่นเดียวกัน หากเราซื้อที่ชาร์จไวของ huawei แบบ SCP มา แต่สายชาร์จ ดันเป็นสายชาร์จที่รองรับ AFC คุณก็จะได้ไฟที่ไม่ตรงกับมือถือคุณทำได้ เป็นต้นครับ . . .
ซึ่งการที่จะชาร์จไวได้ มีสามส่วนคือ
1. มือถือที่เราใช้งาน
2. สายชาร์จที่เราใช้งาน
3. Adapter ที่เราใช้งาน
ทุกอย่างต้องสัมพันธ์กัน การจ่ายไฟ ก็เหมือนการคุยกันระหว่างคนสองคนครับ คุยกันรู้เรื่องก็จ่ายไฟเยอะ คุยกันไม่รู้เรื่อง ก็จ่ายไฟปกติ เป็นต้น
เทคโนโลยีชาร์จเร็วในปัจจุบัน
- QC : Qualcomm QuickCharge
- AFC : Samsung Adaptive Fast Charge
- FCP : Huawei Fast Charge Protocol
- SCP : Huawei Supercharge Protocol
- BC1.1 / BC1.2 : USB Battery Charging 1.1/1.2
- VOOC : Voltage Open Loop Multi-step Constant-Current Charging
- PD : USB Power Delivery
- PE : MediaTek Pump Express (ปัจจุบันไม่ค่อยเห็นแล้ว)
เพื่อความไม่งง ผมจะแยกตามยี่ห้อแล้วกันนะครับ
1. Samsung - - > AFC & QC
- แบรนด์นี้มีเทคโนโลยีชาร์จเร็ว น่าจะรายแรกๆ ของโลกแล้วครับ กับ AFC หรือ Adaptive Fast Charge ที่สามารถชาร์จไฟได้ที่ 9V 1.67A หรือ 15W นั่นเอง ซึ่ง AFC นั้นจะไป Compatible กับ QC2.0 ที่รองรับไฟสูงสุดในระดับใกล้เคียงกันคือ 9V/2A หรือ 18W ในฝั่งชาร์จเจอร์ แต่จุดต่างระหว่าง QC และ AFC คือ หากเราใช้มือถือขณะชาร์จ AFC จะปรับแรงไฟลงมาเหลือ 5V ครับ แต่หากปิดจอ ไฟจะกลับไปที่ 9V เช่นเดิม ซึ่งต่างจาก QC2.0 ที่จะไม่ปรับไฟลงมาไม่ว่าจะเปิดจอ หรือ ปิดจอครับ
- ในปี 2019 เอง ก็มีการพัฒนะ AFC 2.0 ที่สามารถรองรับการจ่ายไฟได้สูงสุดถึง 25W และ 45W สำหรับรุ่น Galaxy Note10+ เป็นรุ่นแรก โดยผ่านเทคโนโลยี Type C PDO + PPS ครับ ซึ่งสองเทคโนโลยีนี้จะพูดถึงในส่วนต่อไปนะครับ
2. Huawei - - > FCP & SCP
- SCP หรือ Supercharge Protocol ซึ่งมีการจ่ายไฟที่ 4.5V/5A หรือ 22.5W ซึ่งในสมัยแรกๆ ถือว่าเร็วมากๆ ครับ ในขณะที่คนอื่น ยังสูงสุดแค่ 18W แต่แบรนด์นี้ไปก่อนเพื่อนละ โดยสายที่ใช้ต้องเป็นสายที่รองรับไฟ 5A หรือ มีแถบสีม่วงเท่านั้น
3. OPPO/realme/OnePlus - -> VooC / Dash Charge
- BBK หรือบริษัทแม่ของ สามแบรนด์ดัง ได้พัฒนาเทคโนโลยี VooC 2.0 โดยสามารถชาร์จไฟที่ 5V/4A หรือ 20W ได้ แต่สายที่ใช้ต้องเป็นสายพิเศษ (oppo สีเขียว,realme สีเหลือง,oneplus สีแดง) เท่านั้น โดยทั้งสามแบรนด์นี้ ทำงานอยู่บนเทคโนโลยีเดียวกัน ใช้สายและชาร์จเจอร์เดียวกันได้ แต่จะถูกเรียกชื่อต่างกันตามแต่ละแบรนด์ครับ
- ในปี 2019 ก็ได้มีการพัฒนา VOOC 3.0 ขึ้นมาโดยทาง BBK เองได้เคลมว่าเร็วกว่าเดิม 23.8% โดยมีการเพิ่มกระแสเข้าไปเป็น 5V/5A หรือ 25W นั่นเอง
- ระหว่างทางก็มีการพัฒนา SuperVOOC ขึ้นมาโดยนำ VooC 2.0 มาพัฒนาต่อโดยแบ่งแบตเป็นสองก้อน และชาร์จเป็นแบบ parallel ไปนั่นเอง โดยจ่ายไฟสูงสุดที่ 10V/5A หรือ 50W กันเลยทีเดียว
- ในปี 2020 ได้มีการนำ VOOC 3.0 มาพัฒนาต่อเป็น VOOC 4.0 โดยสามารถรับไฟที่กระแสสูงขึ้นเป็น 5V/6A หรือ 30W
- นอกจากนั้นทาง BBK ได้พัฒนา Super VOOC Fast Charge 2.1 บนพื้นฐาน VooC 2.0 โดยสามารถจ่ายไฟได้สูงสุดถึง 65W
- ล่าสุดตอนนี้ได้มีการพัฒนาตัวใหม่ Super FlashCharge technology ที่สามารถจ่ายไฟได้มากสุดถึง 120W กันเลยทีเดียว ถือว่ามากสุดในขณะนี้แล้วครับ สำหรับการจ่ายไฟให้มือถือ
4. LG, SONY, NOKIA, XIAOMI, HTC, Nubia, VIVO, ASUS
- ทั้งหมดนี้มักใช้เทคโนโลยีจาก Chipset ที่ใช้งานเป็นหลัก นั่นก็คือ Qualcomm นั่นเอง ซึ่ง Qualcomm เองมีเทคโนโลยี Quickcharge ในมืออยู่แล้วซึ่งแรกเริ่มเดิมทีจะถูกใช้งานคู่กับมือถือที่ใช้ CPU เป็น Chipset ของ Qualcomm เท่านั้น แต่ ณ ปัจจุบัน ถูกนำไปใช้ในอุปกรณ์อื่นๆ อีกด้วย
- Qualcomm QuickCharge ถูกพัฒนามาอย่างยาวนาน โดยล่าสุดคือ Qualcomm QuickCharge 5 ที่สามารถรองรับการจ่ายได้มากกว่า 100W
- - QC1.0 => รองรับการจ่ายไฟ สูงสุดที่ 10W (ที่แรงดัน 5V/2A)
- - QC2.0 => รองรับการจ่ายไฟ สูงสุดที่ 18W (ที่แรงดัน 5V, 9V และ 12V)
- - QC3.0 => รองรับการจ่ายไฟ สูงสุดที่ 36W (ที่แรงดัน 3.6V ถึง 22V สามารถเพิ่มแรงดันไฟทีละ200mV ได้)
- - QC4.0 => รองรับการจ่ายไฟ สูงสุดที่ 100W (ที่แรงดัน 3.6V ถึง 20V สามารถเพิ่มแรงดันที่ละเอียดกว่าเดิม โดยสามารถเพิ่มไฟทีละ 20mV ได้) โดยใน QC4.0 จะไป Compatible กับการจ่ายไฟ แบบ USB Power Delivery (PD) อีกด้วย
นอกจาก 5 แบรนด์หลักแล้ว เรายังมีการชาร์จแบบมาตรฐานด้วยนั่นก็คือ Universal Serial Bus Power Delivery (USB-PD) ซึ่งเทคโนโลยีนี้เป็นเทคโนโลยีที่ เรียกได้ว่าเป็นมาตรฐานของยุคปัจจุบันครับ โดยเทคโนโลยีนี้ไม่จำกัดการใช้งานอยู่แค่บนมือถือเท่านั้น ยังเป็นมาตรฐานเดียวกันบนพื้นฐานของอุปกรณ์ ทั่วไปด้วย เช่น Notebook, เครื่องเล่นเกมส์แบบพกพา
PPS ย่อมาจาก Programable Power Supply เป็นการปรับแรงดันไฟ (Volt) ได้ละเอียดขึ้นทำให้การจ่ายไฟได้นิ่งขึ้น ร้อนน้อยลง น้อยมากครับที่ Powerbank จะมี PPS มาด้วย ส่วนมากจะมีแค่ PDO (Power Delivery Output) ซึ่งหากจะ Charge มือถือรุ่นใหม่ๆ อย่าง Galaxy Note 10+, Galaxy S20 Ultra หรือ Note 20 Ultra รุ่นใหม่ที่พึ่งออก ต้องมี PPS ด้วยครับถึงจะชาร์จแบบ Fast Charge ได้ . . .
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้