ก่อนอื่นต้องเรียนว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เริ่มระบาดหนักๆในช่วงต้นปี (มีนาคม 2020) หลายๆบริษัทประสบปัญหาจากการขาดรายได้เนื่องจากต้องปิดทำการเป็นระยะเวลาหลายเดือน ในด้านของคนทำงานก็ประสบปัญหาไม่ต่างกัน หลายคนถูกลดวันทำงาน ถูกลดเงินเดือน และคงมีอีกหลายคนที่ต้องโดนออกจากงาน...จขกท. เองก็เป็นหนึ่งในผู้ที่โดนผลกระทบจากโควิด-19 เล่นงานเช่นกัน...
..................................................................................................................
เรื่องราวเริ่มขึ้นเมื่อช่วงเดือนกุมพา 2020 จขกท. มีความต้องการจะเปลี่ยนงานใหม่ เลยเริ่มร่อนใบสมัครไปบริษัทต่างๆมากมาย จนมีโอกาสได้เข้าสัมภาษณ์งานหลายที่ และเจอที่ๆนึง ที่ตรงความต้องการในทุกๆด้าน ทั้งรูปแบบธุรกิจ รูปแบบงาน และเงินเดือน จึงตัดสินใจเข้าทำงานกับบริษัทนั้นในที่สุด
เนื่องจากบริษัทที่ว่านั้นเป็นบริษัทต่างชาติ การติดต่อกับทาง HR จึงเป็นการคุยผ่านโทรศัพท์และ Email เป็นหลัก มีแค่วันสัมภาษณ์รอบแรกที่ต้องไปคุยกับพนักงานไทยที่ออฟฟิศ ซึ่งรูปแบบองค์กรคือ ออฟฟิศในไทยนั้น จะมีเพียงพนักงานฝ่ายปฏิบัติการเท่านั้น ฝ่ายบริหารและฝ่าย HR จะอยู่ที่ต่างประเทศทั้งหมด ซึ่งพอ จขกท. ตัดสินใจตกลงทำงานกับบริษัทนี้ สเต็ปต่อมาก็คือการเซ็นสัญญาผ่าน Email โดยที่ฝ่ายนั้นส่งเอกสารสัญญาที่มีลายเซ็นต์ของเขา แล้วเราแค่ปริ้นท์ออกมาเซ็นต์-แสกน-ส่งกลับไป สัญญาถือเป็นอันสมบูรณ์เรียบร้อย พร้อมเริ่มงาน โดยหลังจากนั้นทาง จขกท. ก็ตัดสินใจยื่นใบลาออกกับบริษัทเดิมที่ทำงานอยู่ทันที...
เนื่องจาก จขกท. มีแผนจะไปต่างประเทศในช่วงเดือนมีนา ก็เลยแจ้งทางบริษัทใหม่ว่าขอเริ่มงานเดือนเมษา 2020 ขณะนั้นช่วงเดือนกุมภา โควิด-19 เริ่มมีการระบาดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ยังไม่มีรายงานในประเทศไทย จนกระทั้งเข้าสู่เดือนมีนาคม 2020 ประเทศไทยเริ่มมีการประกาศ Lock down สายการบินต่างๆทยอยยกเลิก Flight รวมถึงทริปที่ จขกท. จะไปก็เป็นอันยกเลิก ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหารต่างๆ เริ่มประกาศหยุดให้บริการ รวมถึงบริษัทที่ จขกท. จะเข้าทำงานก็เริ่มมีการปิดทำการ จนช่วงกลางเดือนมีนา ทางบริษัทได้แจ้งกับทาง จขกท. มาใน Email ให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ
จนใกล้เข้าสู่ช่วงเดือนเมษา เข้ามาเรื่อยๆ จนกระทั้งวันที่ 1 เมษา จขกท. ก็ได้รับโทรศัพท์จากต่างประเทศ ทางฝ่าย HR ของบริษัทแห่งนั้น โทรมาแจ้งว่า เนื่องจากสถานการโควิด-19 ทางบริษัทได้รับผลกระทบมากมาย ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และทำให้ตำแห่งที่ จขกท. จะเข้าไปทำนั้นถูกยกเลิก ทางบริษัทจึงขอให้ จขกท. ส่งเอกสารบัตร ปชช. เลขบัญชี เพื่อจะทำการโอนเงินเดือน 1 สัปดาห์ และขอให้เราเซ็นใบลาออกส่งกลับไป... ในวินาทีนั้น บอกตรงๆว่าทำตัวไม่ถูกเหมือนกัน เราต้องยอมรับชะตากรรมหรือจะเรียกร้องอะไรได้บ้าง จนพอตั้งสติได้จึงเริ่มหาข้อมูลว่ามีใครเคยเจอประสบการณ์แบบนี้บ้าง ก็พบว่าพอมีอยู่บ้าง จขกท. เลยตัดสินใจที่จะเข้าฟ้องที่ศาลแรงงานกลาง...
ก่อนเดินทางไปศาล ก็ได้ทำการหาข้อมูลก่อน มีการโทรไปขอคำปรึกษาว่าในกรณีนี้เราสามารถเรียกร้องอะไรได้บ้าง สามารถเข้าไปหาข้อมูลได้ที่
https://lbc.coj.go.th จากนั้น จขกท. ก็ทำการรวบรวมหลักฐานต่างๆที่มี ไม่ว่าจะเป็นสัญญาการจ้างงาน / Email ที่พูดคุยกับทาง HR / รวมถึงไฟล์เสียงที่ทางบริษัทโทรมาแจ้งให้เราเซ็นใบลาออกและส่งเอกสารให้เขา
เมื่อรวบรวมทุกอย่างเรียบร้อยก็เดินทางไปยังศาลแรงงานได้เลย (เดินทางไม่ยาก ขึ้น MRT ลงสถานีหัวลำโพง ออกประตู 4 แล้วเดินย้อนไปทางฝั่งตรงข้ามหัวลำโพง) โดยไม่จำเป็นต้องมีทนายใดๆ เพราะทางศาลจะมีนิติกรคอยให้คำปรึกษาฟรี! ย้ำว่าฟรี! ตั้งแต่รับฟัง ร่างคำฟ้อง รวมถึงนัดหมายกำหนดการณ์ต่างๆ โดยสิ่งที่ จขกท. เรียกร้องไปนั้น ก็คือเงินเดือนที่ควรจะได้ ในช่วงเวลาทดลองงาน 3 เดือน (ซึ่งเอาจริงๆ เราสามารถเรียกร้องมากกว่านั้นได้ ถ้าคำนวนจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ไม่ว่าจะเป็นโอกาสจากที่ทำงานอื่นที่เสียไป รายได้ต่างๆที่เสียไปนอกจากเงินเดือน ฯลฯ ถ้าเอาง่ายๆ ให้เราเรียกค่าเสียหายแบบเผื่อต่อ เพราะฝ่ายจำเลยยังไงก็จะต่อแน่ๆ ดังนั้นให้เรียกสูงกว่าที่เราต้องการไว้เป็นดี)
ซึ่งช่วงที่ จขกท. ไปเดินเรื่องฟ้องนั้น เป็นช่วงเดือนเมษา และยังอยู่ในช่วงที่โควิด-19 ระบาด มีผู้เสียหายที่ได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้างเป็นจำนวนมาก ทำให้หลังจากที่ยื่นเรื่องไปแล้วนั้น ต้องรอเวลาราวๆเกือบ 2 เดือน จึงจะได้กำหนดส่งหมายศาล และนัดไกล่เกลี่ย
ก่อนถึงวันนัด ฝ่ายผู้ยื่นฟ้องจะต้องคอยเช็คในเว็บไซต์หรือโทรถามเจ้าหน้าที่ว่าหมายศาลนั้นส่งถึงบริษัทจำเลยหรือไม่ จนกระทั่งถึงวันนัดไกล่เกลี่ย จขกท. ก็ทราบว่าผลการส่งหมายนั้นไม่สำเร็จ ซึ่งเป็นไปได้ว่า บริษัทนั้นยังปิดทำการ และ work from home กันอยู่ ทำให้เอกสารที่ส่งทางไปรษณีย์ไปไม่ถึง แค่ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวเราที่เป็นผู้ยื่นฟ้อง ก็ต้องเดินทางไปศาลเพื่อทำเอกศาลส่งไปอีกครั้ง และนัดวันไกล่เกลี่ยอีกรอบ ซึ่งนับไปอีกประมาณ 1เดือนหลังจากนั้น
ไม่นานนักทางบริษัทนั้นก็ได้รับหมายศาล โดยทางศาลได้โทรมาแจ้งให้ จขกท. ได้ทำการแจ้งทางบริษัทนั้นทาง Email ว่าข้อเรียกร้องความต้องการจะไกล่เกลี่ยนั้นมีอะไรบ้าง ซึ่งทางบริษัทนั้นก็ไม่ยืนยันว่าจะสามารถจ่ายเงินให้เราตามที่เรียกร้องได้ โดนทางนั้นแจ้งว่าสามารถให้เงินเดือนเราได้เพียง 2 เดือนเท่านั้น ซึ่ง จขกท. ไม่โอเคเช่นกัน ก็เลยเสนอให้มาเจรจาที่ศาลในวันนัดไกล่เกลี่ย น่าจะหาทางออกกันได้
เนื่องจากบริษัทที่ จขกท. ยื่นฟ้องนั้นเป็นบริษัทต่างชาติ ที่มาเปิดสำนักงานยูนิตหนึ่งในไทย ไม่มีพนักงานที่มีอำนาจในการตัดสินใจในคดีนี้ได้ จนกระทั่งถึงวันไกล่เกลี่ย กระบวนการพูดคุยทั้งหมดจึงเกิดขึ้นผ่านโปรแกรม zoom เพราะทีมงานทางฝั่งนู้นไม่สามารถบินมาไทยได้ ประเด็นนึงที่น่าสนใจคือ ทางพนักงานของศาลแรงงานกลางนั้น ไม่มีใครสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เลย รวมถึงพนักงานไกล่เกลี่ย ดังนั้นบรรยากาศในห้องไกล่เกลี่ยจึงเป็นการพูดคุยของ จขกท. กับหัวหน้า HR ของบริษัทนั้น โดยมีพนักงานไกล่เกลี่ยนั่งให้คำปรึกษาและสังเกตุการณ์ข้างๆ โดยตลอดการพูดคุยนั้น ทางพนักงานไกล่เกลี่ยพยายามจะเกลี่ยกล่อมโน้มน้าวให้ทางเรารับข้อเสนอต่ำกว่าที่ยื่นฟ้องไป เพื่อให้คดีจบในห้อง ไม่ต้องไปถึงศาล จนในที่สุด จขกท. เองก็ยอมลดด้วยการเรียกค่าเสียหายไปเป็นตัวเลขกลมๆ คิดเป็นเงินเดือนก็ราวๆ 2 เดือน กับอีก 1 สัปดาห์ โดยทางบริษัทนั้น ก็ยินยอมตกลงในที่สุด...
หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ ทางบริษัทนั้นก็ได้ทำงานโอนเงินมาให้ จขกท. เข้าบัญชี สิ่งที่เราต้องทำก็คือไปยื่นเรื่องถอนฟ้องที่ศาลแรงงานเพื่อจบคดี ซึ่งเมื่อไปถึงเราก็ต้องไปหานิติกรให้ร่างเอกสาร และนำไปยื่นที่แผนกไกล่เกลี่ย จนเราได้เอกสารสำเนามา 1แผ่น เป็นหลักฐาน ก็ถือเป็นอันจบคดี หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้ จขกท. ได้รับรู้ถึงการเรียกร้องสิทธิ์ เมื่อพบเจอการเลิกจ้างแบบไม่เป็นธรรม ซึ่ง จขกท. ได้ลองถามเจ้าหน้าที่ศาลว่า มีกรณีแบบที่เราโดนบ่อยหรือไม่ ก็ได้คำตอบมาว่า ไม่ค่อยมี จขกท. เองก็รู้สึกแปลกใจ เพราะจากที่ลองๆเช็คใน google และ twitter ก็เห็นว่ามีคนมาแชร์เรื่องราวแบบนี้พอสมควร อาจเป็นไปได้ว่าคนที่โดนไม่กล้าไปฟ้อง หรือในอีกกรณีคือหลักฐานไม่เพียงพอ ต้องถือว่า จขกท. โชคดีมากที่ได้เซ็นสัญญาก่อนเริ่มงานเอาไว้
หวังว่าเรื่องราวนี้จะเป็นอุทาหรณ์ให้ใครที่เจอปัญาแบบเดียวกัน ไม่ต้องกังวลว่าจะยุ่งยาก เพราะทุกกระบวนการมีคนที่ให้คำปรึกษาได้ดีและไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆอีกด้วย สุดท้ายนี้ขอให้กำลังใจทุกๆท่านที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ให้สู้ต่อไป อย่ายอมแพ้!
แชร์ประสบการณ์ฟ้องศาลแรงงาน กรณีถูกเลิกจ้างหลังจากเซ็นสัญญาเข้าทำงาน
..................................................................................................................
เรื่องราวเริ่มขึ้นเมื่อช่วงเดือนกุมพา 2020 จขกท. มีความต้องการจะเปลี่ยนงานใหม่ เลยเริ่มร่อนใบสมัครไปบริษัทต่างๆมากมาย จนมีโอกาสได้เข้าสัมภาษณ์งานหลายที่ และเจอที่ๆนึง ที่ตรงความต้องการในทุกๆด้าน ทั้งรูปแบบธุรกิจ รูปแบบงาน และเงินเดือน จึงตัดสินใจเข้าทำงานกับบริษัทนั้นในที่สุด
เนื่องจากบริษัทที่ว่านั้นเป็นบริษัทต่างชาติ การติดต่อกับทาง HR จึงเป็นการคุยผ่านโทรศัพท์และ Email เป็นหลัก มีแค่วันสัมภาษณ์รอบแรกที่ต้องไปคุยกับพนักงานไทยที่ออฟฟิศ ซึ่งรูปแบบองค์กรคือ ออฟฟิศในไทยนั้น จะมีเพียงพนักงานฝ่ายปฏิบัติการเท่านั้น ฝ่ายบริหารและฝ่าย HR จะอยู่ที่ต่างประเทศทั้งหมด ซึ่งพอ จขกท. ตัดสินใจตกลงทำงานกับบริษัทนี้ สเต็ปต่อมาก็คือการเซ็นสัญญาผ่าน Email โดยที่ฝ่ายนั้นส่งเอกสารสัญญาที่มีลายเซ็นต์ของเขา แล้วเราแค่ปริ้นท์ออกมาเซ็นต์-แสกน-ส่งกลับไป สัญญาถือเป็นอันสมบูรณ์เรียบร้อย พร้อมเริ่มงาน โดยหลังจากนั้นทาง จขกท. ก็ตัดสินใจยื่นใบลาออกกับบริษัทเดิมที่ทำงานอยู่ทันที...
เนื่องจาก จขกท. มีแผนจะไปต่างประเทศในช่วงเดือนมีนา ก็เลยแจ้งทางบริษัทใหม่ว่าขอเริ่มงานเดือนเมษา 2020 ขณะนั้นช่วงเดือนกุมภา โควิด-19 เริ่มมีการระบาดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ยังไม่มีรายงานในประเทศไทย จนกระทั้งเข้าสู่เดือนมีนาคม 2020 ประเทศไทยเริ่มมีการประกาศ Lock down สายการบินต่างๆทยอยยกเลิก Flight รวมถึงทริปที่ จขกท. จะไปก็เป็นอันยกเลิก ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหารต่างๆ เริ่มประกาศหยุดให้บริการ รวมถึงบริษัทที่ จขกท. จะเข้าทำงานก็เริ่มมีการปิดทำการ จนช่วงกลางเดือนมีนา ทางบริษัทได้แจ้งกับทาง จขกท. มาใน Email ให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ
จนใกล้เข้าสู่ช่วงเดือนเมษา เข้ามาเรื่อยๆ จนกระทั้งวันที่ 1 เมษา จขกท. ก็ได้รับโทรศัพท์จากต่างประเทศ ทางฝ่าย HR ของบริษัทแห่งนั้น โทรมาแจ้งว่า เนื่องจากสถานการโควิด-19 ทางบริษัทได้รับผลกระทบมากมาย ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และทำให้ตำแห่งที่ จขกท. จะเข้าไปทำนั้นถูกยกเลิก ทางบริษัทจึงขอให้ จขกท. ส่งเอกสารบัตร ปชช. เลขบัญชี เพื่อจะทำการโอนเงินเดือน 1 สัปดาห์ และขอให้เราเซ็นใบลาออกส่งกลับไป... ในวินาทีนั้น บอกตรงๆว่าทำตัวไม่ถูกเหมือนกัน เราต้องยอมรับชะตากรรมหรือจะเรียกร้องอะไรได้บ้าง จนพอตั้งสติได้จึงเริ่มหาข้อมูลว่ามีใครเคยเจอประสบการณ์แบบนี้บ้าง ก็พบว่าพอมีอยู่บ้าง จขกท. เลยตัดสินใจที่จะเข้าฟ้องที่ศาลแรงงานกลาง...
ก่อนเดินทางไปศาล ก็ได้ทำการหาข้อมูลก่อน มีการโทรไปขอคำปรึกษาว่าในกรณีนี้เราสามารถเรียกร้องอะไรได้บ้าง สามารถเข้าไปหาข้อมูลได้ที่ https://lbc.coj.go.th จากนั้น จขกท. ก็ทำการรวบรวมหลักฐานต่างๆที่มี ไม่ว่าจะเป็นสัญญาการจ้างงาน / Email ที่พูดคุยกับทาง HR / รวมถึงไฟล์เสียงที่ทางบริษัทโทรมาแจ้งให้เราเซ็นใบลาออกและส่งเอกสารให้เขา
เมื่อรวบรวมทุกอย่างเรียบร้อยก็เดินทางไปยังศาลแรงงานได้เลย (เดินทางไม่ยาก ขึ้น MRT ลงสถานีหัวลำโพง ออกประตู 4 แล้วเดินย้อนไปทางฝั่งตรงข้ามหัวลำโพง) โดยไม่จำเป็นต้องมีทนายใดๆ เพราะทางศาลจะมีนิติกรคอยให้คำปรึกษาฟรี! ย้ำว่าฟรี! ตั้งแต่รับฟัง ร่างคำฟ้อง รวมถึงนัดหมายกำหนดการณ์ต่างๆ โดยสิ่งที่ จขกท. เรียกร้องไปนั้น ก็คือเงินเดือนที่ควรจะได้ ในช่วงเวลาทดลองงาน 3 เดือน (ซึ่งเอาจริงๆ เราสามารถเรียกร้องมากกว่านั้นได้ ถ้าคำนวนจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ไม่ว่าจะเป็นโอกาสจากที่ทำงานอื่นที่เสียไป รายได้ต่างๆที่เสียไปนอกจากเงินเดือน ฯลฯ ถ้าเอาง่ายๆ ให้เราเรียกค่าเสียหายแบบเผื่อต่อ เพราะฝ่ายจำเลยยังไงก็จะต่อแน่ๆ ดังนั้นให้เรียกสูงกว่าที่เราต้องการไว้เป็นดี)
ซึ่งช่วงที่ จขกท. ไปเดินเรื่องฟ้องนั้น เป็นช่วงเดือนเมษา และยังอยู่ในช่วงที่โควิด-19 ระบาด มีผู้เสียหายที่ได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้างเป็นจำนวนมาก ทำให้หลังจากที่ยื่นเรื่องไปแล้วนั้น ต้องรอเวลาราวๆเกือบ 2 เดือน จึงจะได้กำหนดส่งหมายศาล และนัดไกล่เกลี่ย
ก่อนถึงวันนัด ฝ่ายผู้ยื่นฟ้องจะต้องคอยเช็คในเว็บไซต์หรือโทรถามเจ้าหน้าที่ว่าหมายศาลนั้นส่งถึงบริษัทจำเลยหรือไม่ จนกระทั่งถึงวันนัดไกล่เกลี่ย จขกท. ก็ทราบว่าผลการส่งหมายนั้นไม่สำเร็จ ซึ่งเป็นไปได้ว่า บริษัทนั้นยังปิดทำการ และ work from home กันอยู่ ทำให้เอกสารที่ส่งทางไปรษณีย์ไปไม่ถึง แค่ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวเราที่เป็นผู้ยื่นฟ้อง ก็ต้องเดินทางไปศาลเพื่อทำเอกศาลส่งไปอีกครั้ง และนัดวันไกล่เกลี่ยอีกรอบ ซึ่งนับไปอีกประมาณ 1เดือนหลังจากนั้น
ไม่นานนักทางบริษัทนั้นก็ได้รับหมายศาล โดยทางศาลได้โทรมาแจ้งให้ จขกท. ได้ทำการแจ้งทางบริษัทนั้นทาง Email ว่าข้อเรียกร้องความต้องการจะไกล่เกลี่ยนั้นมีอะไรบ้าง ซึ่งทางบริษัทนั้นก็ไม่ยืนยันว่าจะสามารถจ่ายเงินให้เราตามที่เรียกร้องได้ โดนทางนั้นแจ้งว่าสามารถให้เงินเดือนเราได้เพียง 2 เดือนเท่านั้น ซึ่ง จขกท. ไม่โอเคเช่นกัน ก็เลยเสนอให้มาเจรจาที่ศาลในวันนัดไกล่เกลี่ย น่าจะหาทางออกกันได้
เนื่องจากบริษัทที่ จขกท. ยื่นฟ้องนั้นเป็นบริษัทต่างชาติ ที่มาเปิดสำนักงานยูนิตหนึ่งในไทย ไม่มีพนักงานที่มีอำนาจในการตัดสินใจในคดีนี้ได้ จนกระทั่งถึงวันไกล่เกลี่ย กระบวนการพูดคุยทั้งหมดจึงเกิดขึ้นผ่านโปรแกรม zoom เพราะทีมงานทางฝั่งนู้นไม่สามารถบินมาไทยได้ ประเด็นนึงที่น่าสนใจคือ ทางพนักงานของศาลแรงงานกลางนั้น ไม่มีใครสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เลย รวมถึงพนักงานไกล่เกลี่ย ดังนั้นบรรยากาศในห้องไกล่เกลี่ยจึงเป็นการพูดคุยของ จขกท. กับหัวหน้า HR ของบริษัทนั้น โดยมีพนักงานไกล่เกลี่ยนั่งให้คำปรึกษาและสังเกตุการณ์ข้างๆ โดยตลอดการพูดคุยนั้น ทางพนักงานไกล่เกลี่ยพยายามจะเกลี่ยกล่อมโน้มน้าวให้ทางเรารับข้อเสนอต่ำกว่าที่ยื่นฟ้องไป เพื่อให้คดีจบในห้อง ไม่ต้องไปถึงศาล จนในที่สุด จขกท. เองก็ยอมลดด้วยการเรียกค่าเสียหายไปเป็นตัวเลขกลมๆ คิดเป็นเงินเดือนก็ราวๆ 2 เดือน กับอีก 1 สัปดาห์ โดยทางบริษัทนั้น ก็ยินยอมตกลงในที่สุด...
หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ ทางบริษัทนั้นก็ได้ทำงานโอนเงินมาให้ จขกท. เข้าบัญชี สิ่งที่เราต้องทำก็คือไปยื่นเรื่องถอนฟ้องที่ศาลแรงงานเพื่อจบคดี ซึ่งเมื่อไปถึงเราก็ต้องไปหานิติกรให้ร่างเอกสาร และนำไปยื่นที่แผนกไกล่เกลี่ย จนเราได้เอกสารสำเนามา 1แผ่น เป็นหลักฐาน ก็ถือเป็นอันจบคดี หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้ จขกท. ได้รับรู้ถึงการเรียกร้องสิทธิ์ เมื่อพบเจอการเลิกจ้างแบบไม่เป็นธรรม ซึ่ง จขกท. ได้ลองถามเจ้าหน้าที่ศาลว่า มีกรณีแบบที่เราโดนบ่อยหรือไม่ ก็ได้คำตอบมาว่า ไม่ค่อยมี จขกท. เองก็รู้สึกแปลกใจ เพราะจากที่ลองๆเช็คใน google และ twitter ก็เห็นว่ามีคนมาแชร์เรื่องราวแบบนี้พอสมควร อาจเป็นไปได้ว่าคนที่โดนไม่กล้าไปฟ้อง หรือในอีกกรณีคือหลักฐานไม่เพียงพอ ต้องถือว่า จขกท. โชคดีมากที่ได้เซ็นสัญญาก่อนเริ่มงานเอาไว้
หวังว่าเรื่องราวนี้จะเป็นอุทาหรณ์ให้ใครที่เจอปัญาแบบเดียวกัน ไม่ต้องกังวลว่าจะยุ่งยาก เพราะทุกกระบวนการมีคนที่ให้คำปรึกษาได้ดีและไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆอีกด้วย สุดท้ายนี้ขอให้กำลังใจทุกๆท่านที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ให้สู้ต่อไป อย่ายอมแพ้!