คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
หลังจากอ่านมุมมองของคนทั่วไปแล้วขอตอบในมุมมองของแพทย์เฉพาะทางบ้างนะครับ
- AI ทำงานแทนได้จริงหรือ
คำตอบคือไม่ได้ครับ การรักษาคนไข้ เป็นลักษณะของ tailor made คนแต่ละคนมีความต่างกัน การรักษา ต้องเลือกให้เหมาะกับแต่ละบุคคล
เช่น คนไข้สะโพกหักมา อายุ 55 60 70 80 รักษาไม่เหมือนกันครับ หรือแม้แต่ คนอายุเท่ากัน แข็งแรงไม่เท่ากัน การผ่าตัดก็ต่างกันครับ สิ่งนี้คือศิลปะ ที่ทำให้ต้องสอบใบประกอบโรคศิลป์
ที่กล่าวอ้างว่า อ่าน MRI CT แทนแพทย์ สิ่งนี้ยากมากครับ เหมือนทุกวันนี้คลื่นหัวใจเวลาทำออกมาจะมีผลอ่านจาก AI ในเครื่อง ก็มักอ่านผิดอยู่บ่อยๆ ซึ่งก็ต้องอ่านโดยแพทย์อยู่ดี
เคยเห็การสอบแบบ open book ไหมครับ คือให้เอาหนังสือเข้าห้องสอบได้ แต่ก็ยังทำข้อสอบกันไม่ได้ทุกคน เพราะสิ่งเหล่านี้คือต้องผ่านการวิเคราะห์ ไม่ใช่เปิดเจอแล้วตอบได้เลย เช่น คนไข้คนนี้รักษาอย่างไร คนที่ตอบผ่าตัด กับไม่ผ่าตัด มีโอกาสได้คะแนนเท่าๆกันครับ ถ้ามีเหตุผล เพราะมันคือ "ศิลปะ"
- ผลิตหมอล้นจริงหรือ
คำตอบคือผลิตเยอะขึ้นจริง สุดท้ายต้องล้นแน่ๆครับ สมัยผม เมื่อ 17 ปีก่อน ปีหนึ่งมีแพทย์ออกมาไม่ถึงพันคน ปัจจุบันเพิ่มขึ้น เกิน 3-4 เท่า
ที่ล้นคือ แพทย์ทั่วไป และ ตามโรงพยาบาลใหญ่ๆครับ ตามชนบทยังขาดเหมือนเดิม แต่ด้วยเหตุผลเบื้องลึก เกี่ยวกับการบริหารจัดการ คงบอกหมดไม่ได้ครับที่แพทย์มักไม่อยู่ตามชนบทกัน หรือยู่ก็มักไม่นาน
ส่วนแพทย์เฉพาะทาง ยังผลิตได้พอๆเดิมครับ ปัจจุบันน้องๆมักบอกว่า การสมัครเรียนต่อยากขึ้นมาก เพราะการแข่งขันสูง หมอทั่วไปเยอะขึ้น
ตรงนี้บอกเลยว่า งานใน กทม. และ ปริมณฑล หายากขึ้นครับ แต่ต่างจังหวัด ยังมีงานรองรับอีกมาก
- งานหมอไม่น่าสนใจอีกแล้ว
ไม่ครับ เป็นอาชีพที่ดี โดยเฉลี่ย ไม่รวยมาก ไม่จน ไม่อดตาย ไม่เคยเจอเพื่อนที่จบมาด้วยกันยากจนสักคนเลยครับ
- ช่วงโควิด เป็นอย่างไร
เอกชน เกรด S ที่เพื่อนๆทำงานอยู่ ยอดหายลงชัดเจน เพราะคนไข้ต่างชาติเป็นหลัก ตอนนี้ดีขึ้น แต่ก็ถือว่ายังน้อยอยู่
เอกชนส่วนใหญ่ ลดการันตีแพทย์ครับ
รัฐบาล งานลดลง แต่แค่ 1 -2 เดือน คนไข้ก็มาทบต้นชดเชยช่วงที่หายไป
แต่ก็ยังอยู่ได้ไม่ลำบากกันครับ
-ฟ้องร้อง ถึงกับหมดอนาคตไหม
ถ้าเอกชน แบทุกที่ บังคับหมอทำประกันการฟ้องร้องครับ
แต่ที่ประสบมา คนไข้คนไทย และ คนพม่า น่ารักมากครับ ทำตามคำแนะนำ และ ถ้าเราตั้งใจรักษาคนไข้ พูดจาสุภาพให้เกียรติคนไข้ ต่อให้มีปัญหาจริง เช่น แผลติดเชื้อ ซึ่งมันจะเกิดก็ต้องเกิด คนไข้ไม่เคยว่าเราเลยครับ เพราะเค้าเข้าใจ เราก็รักษาให้เค้าต่อ การสื่อสารสำคัญมากครับ
เวลามีปัญหา ส่วนใหญ่ ฝ่ายบริหาร จะลงมาช่วยหมอก่อนเลยครับ เพื่อดูว่ามีทางแก้ไขอะไรหรือไม่ เป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่
ถ้าคุณไม่ได้ทำแย่กับคนไข้ ไม่มีทางโดนฟ้องจนหมดอนาคตหรอกครับ
- ตอบ จขกท. อะไรที่ทำให้ไม่มั่นคง
ส่วนตัวคิดว่า ถ้าคุณหมอที่ยังไม่เรียนต่อเฉพาะทาง คิดจะอยู่ กทม .ต่อไปคงจะยิ่งยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะอย่างที่บอก หมอผลิตเยอะขึ้นมาก แต่กระจุกอยู่กทม.มากสุดครับ
แต่ถ้าไปอยู่ ต่างจังหวัด ยังมีงานรองรับอีกมาก ณ ตอนนี้
- AI ทำงานแทนได้จริงหรือ
คำตอบคือไม่ได้ครับ การรักษาคนไข้ เป็นลักษณะของ tailor made คนแต่ละคนมีความต่างกัน การรักษา ต้องเลือกให้เหมาะกับแต่ละบุคคล
เช่น คนไข้สะโพกหักมา อายุ 55 60 70 80 รักษาไม่เหมือนกันครับ หรือแม้แต่ คนอายุเท่ากัน แข็งแรงไม่เท่ากัน การผ่าตัดก็ต่างกันครับ สิ่งนี้คือศิลปะ ที่ทำให้ต้องสอบใบประกอบโรคศิลป์
ที่กล่าวอ้างว่า อ่าน MRI CT แทนแพทย์ สิ่งนี้ยากมากครับ เหมือนทุกวันนี้คลื่นหัวใจเวลาทำออกมาจะมีผลอ่านจาก AI ในเครื่อง ก็มักอ่านผิดอยู่บ่อยๆ ซึ่งก็ต้องอ่านโดยแพทย์อยู่ดี
เคยเห็การสอบแบบ open book ไหมครับ คือให้เอาหนังสือเข้าห้องสอบได้ แต่ก็ยังทำข้อสอบกันไม่ได้ทุกคน เพราะสิ่งเหล่านี้คือต้องผ่านการวิเคราะห์ ไม่ใช่เปิดเจอแล้วตอบได้เลย เช่น คนไข้คนนี้รักษาอย่างไร คนที่ตอบผ่าตัด กับไม่ผ่าตัด มีโอกาสได้คะแนนเท่าๆกันครับ ถ้ามีเหตุผล เพราะมันคือ "ศิลปะ"
- ผลิตหมอล้นจริงหรือ
คำตอบคือผลิตเยอะขึ้นจริง สุดท้ายต้องล้นแน่ๆครับ สมัยผม เมื่อ 17 ปีก่อน ปีหนึ่งมีแพทย์ออกมาไม่ถึงพันคน ปัจจุบันเพิ่มขึ้น เกิน 3-4 เท่า
ที่ล้นคือ แพทย์ทั่วไป และ ตามโรงพยาบาลใหญ่ๆครับ ตามชนบทยังขาดเหมือนเดิม แต่ด้วยเหตุผลเบื้องลึก เกี่ยวกับการบริหารจัดการ คงบอกหมดไม่ได้ครับที่แพทย์มักไม่อยู่ตามชนบทกัน หรือยู่ก็มักไม่นาน
ส่วนแพทย์เฉพาะทาง ยังผลิตได้พอๆเดิมครับ ปัจจุบันน้องๆมักบอกว่า การสมัครเรียนต่อยากขึ้นมาก เพราะการแข่งขันสูง หมอทั่วไปเยอะขึ้น
ตรงนี้บอกเลยว่า งานใน กทม. และ ปริมณฑล หายากขึ้นครับ แต่ต่างจังหวัด ยังมีงานรองรับอีกมาก
- งานหมอไม่น่าสนใจอีกแล้ว
ไม่ครับ เป็นอาชีพที่ดี โดยเฉลี่ย ไม่รวยมาก ไม่จน ไม่อดตาย ไม่เคยเจอเพื่อนที่จบมาด้วยกันยากจนสักคนเลยครับ
- ช่วงโควิด เป็นอย่างไร
เอกชน เกรด S ที่เพื่อนๆทำงานอยู่ ยอดหายลงชัดเจน เพราะคนไข้ต่างชาติเป็นหลัก ตอนนี้ดีขึ้น แต่ก็ถือว่ายังน้อยอยู่
เอกชนส่วนใหญ่ ลดการันตีแพทย์ครับ
รัฐบาล งานลดลง แต่แค่ 1 -2 เดือน คนไข้ก็มาทบต้นชดเชยช่วงที่หายไป
แต่ก็ยังอยู่ได้ไม่ลำบากกันครับ
-ฟ้องร้อง ถึงกับหมดอนาคตไหม
ถ้าเอกชน แบทุกที่ บังคับหมอทำประกันการฟ้องร้องครับ
แต่ที่ประสบมา คนไข้คนไทย และ คนพม่า น่ารักมากครับ ทำตามคำแนะนำ และ ถ้าเราตั้งใจรักษาคนไข้ พูดจาสุภาพให้เกียรติคนไข้ ต่อให้มีปัญหาจริง เช่น แผลติดเชื้อ ซึ่งมันจะเกิดก็ต้องเกิด คนไข้ไม่เคยว่าเราเลยครับ เพราะเค้าเข้าใจ เราก็รักษาให้เค้าต่อ การสื่อสารสำคัญมากครับ
เวลามีปัญหา ส่วนใหญ่ ฝ่ายบริหาร จะลงมาช่วยหมอก่อนเลยครับ เพื่อดูว่ามีทางแก้ไขอะไรหรือไม่ เป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่
ถ้าคุณไม่ได้ทำแย่กับคนไข้ ไม่มีทางโดนฟ้องจนหมดอนาคตหรอกครับ
- ตอบ จขกท. อะไรที่ทำให้ไม่มั่นคง
ส่วนตัวคิดว่า ถ้าคุณหมอที่ยังไม่เรียนต่อเฉพาะทาง คิดจะอยู่ กทม .ต่อไปคงจะยิ่งยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะอย่างที่บอก หมอผลิตเยอะขึ้นมาก แต่กระจุกอยู่กทม.มากสุดครับ
แต่ถ้าไปอยู่ ต่างจังหวัด ยังมีงานรองรับอีกมาก ณ ตอนนี้
แสดงความคิดเห็น
อาชีพหมอ กับนักบินเป็นอาชีพมั่นคง แต่โควิดทำนักบินไม่มั่นคงแล้ว ถามว่ามีอะไรที่ทำให้อาชีพหมอไม่มั่นคงได้อีกบ้าง
มาวันนี้นักบินเจอโควิด หยุดงาน
ถามว่าอาชีพหมอล่ะ มีความเสี่ยงอะไรที่จะทำให้หมอไม่มั่นคงบ้าง