สวัสดีครับทุกท่าน
นี่เป็นรีวิวที่ 2 ของผม หลังจากที่รีวิวแรกได้เผยแพร่ออกไป
ต้องขอขอบพระคุณทุก ๆ คอมเมนต์และข้อความส่วนตัวที่ส่งมามากมาย ทำให้มีกำลังใจที่จะเขียนต่อ.. ❤️❤️
สำหรับทริปนี้ ผมจะพาทุกท่าน เดินทางข้ามแผ่นดิน (รถทัวร์) และผืนทะเล (เรือ) ไปยังจุดหมายของเรา
... เอ้า ชิดในเลยเพ่ ล้อมวงเข้ามาฟังการเดินทางลุย ๆ งง ๆ ของ จขกท กันจ้าท ✌️
“เกาะพยาม”
ตั้งอยู่ที่ ต.เกาะพยาม อ.เมือง จ.ระนอง เป็นเกาะใหญ่หนึ่งในสองเกาะของทะเลระนอง (อีกเกาะหนึ่งคือเกาะช้างที่มีขนาดใหญ่สุดของระนอง) ที่วันนี้ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ภูมิภาค ภาคใต้ ได้ส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
เกาะพยามมีพื้นที่ประมาณ 35 ตารางกิโลเมตร(อยู่ห่างจากเกาะช้างมาทางใต้ประมาณ 4 กม.) ชื่อเกาะพยาม มีข้อมูลว่ามาจากคำว่า “พยายาม” ด้วยมีเรื่องเล่าขานกันว่า...
...มีเกาะแห่งหนึ่งในจังหวัดระนอง สมัยก่อนการเดินทางไปยังเกาะแห่งนี้ แต่ละวันมีเรือออกจากฝั่งเพียงเที่ยวเดียว ถ้าพลาดก็ต้องรอวันถัดไป ในขณะที่ขากลับนั้นก็ต้องอาศัยการโบกเรือที่แล่นผ่านไปแวะกลับฝั่งเป็นหลัก
นับเป็นเกาะที่ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการไปมาสู่ ชาวบ้านจึงเรียกเกาะๆนี้ ว่า “เกาะพยายาม” แต่ในภาษาใต้นิยมพูดห้วนๆสั้นๆ เกาะพยายาม จึงกร่อนเสียงเป็น “เกาะพยาม” มาจนทุกวันนี้...
เกาะพยามมีพื้นที่ตอนกลางของเกาะ เป็นภูเขา ป่าไม้ ที่วันนี้ยังคงมีสัตว์ป่าอย่าง ลิง หมูป่า และนกชุกชุม เสน่ห์สำคัญของเกาะพยามนั่นก็คือ ในส่วนของพื้นที่บริเวณรอบเกาะ ที่เป็นชายหาดสลับกับโขดหิน มีหาดทรายสวยๆงามๆอยู่หลายหาดด้วยกัน ซึ่งวันนี้ตามบริเวณหาดต่างๆมีที่พักผุดขึ้นมาไม่น้อย เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่กำลังนิยมต่อเกาะแห่งนี้
มีชุมชนดั้งเดิมคือชุมชนชาวมอแกน(ชาวเล) ที่วันนี้ยังคงอาชีพประมงพื้นบ้าน จับสัตว์น้ำในละแวกใกล้เคียงเกาะ เนื่องจากทรัพยากรสัตว์น้ำยังมีความสมบูรณ์อยู่ ผู้ชายชาวมอแกนหลายๆคน วันนี้ยังใช้วิธีดำน้ำจับกุ้งมังกร(ลอบเตอร์)ด้วยมือแบบดั้งเดิม
นอกจากนี้ยังมีชุมชนดั้งเดิมของชาวบ้านที่เป็นชาวเกาะพยามรุ่นแรกๆ ที่บางข้อมูลระบุว่าเป็นชุมชนที่เริ่มจากหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นเพื่อป้องกันการรุกรานของอังกฤษ ซึ่งครอบครองพม่าอยู่ในอดีต โดยการให้ชาวบ้านไปตั้งชุมชนอยู่บนเกาะพยามนั้นเป็นแนวคิดของ พระยาดำรงสุจริตมหิศวรภักดี(คอซู้เจียง) เจ้าเมืองระนองคนแรก ขณะที่บางข้อมูลก็ว่าชาวบ้านรุ่นแรกๆบนเกาะพยามนั้นอพยพมาจากเกาะสมุยแล้วมาตั้งรกรากอยู่ที่นี่ (credit :
https://mgronline.com/travel/detail/9600000096741 )
จากข้อมูลข้างต้น ทำให้ผมไม่ลังเลที่จะตัดสินใจฉับพลัน (อีกแล้ว) เพื่อเดินทางเข้าสู่ “มัลดีฟเมืองไทย” ตามคำกล่าวขาน
27/7 หาข้อมูล อันที่จริงแล้ว ผมเริ่มหาที่เที่ยวตั้งแต่อยู่ที่กาญจนบุรีแล้ว ว่าทริปต่อไปจะไปไหนดี มีทั้ง เขาช้างเผือ ภูสอยดาว ภูชี้เดือน ภูชี้ฟ้า ภูชี้ดาว อุ้งผาง ทีลอซู เยอะแยะไปหมด ส่วนใหญ่ผมชอบทีจะเข้าป่า ชมนกชมไม้ มากกว่าลงทะเล สาเหตุสำคัญคือ ..แดดร้อน.. แต่ที่มาตัดสินใจที่จะลงเกาะพยามเพราะอุทยานหลาย ๆ ที่ยังไม่ถึงฤดูท่องเที่ยว เลยยังไม่อนุญาติให้เดินทาง
เอาวะ .. ข้อมูลเพิ่มเติม ก็น่าสนใจใช่ย่อย ด้วยคำว่ามัลดีฟเมืองไทยที่ล่ะที่ทำให้ผมอยากกก
31/7 หลังจากหาข้อมูลหลายวัน และด้วยความช่วยเหลือของพี่สาวสุดสวย ผู้ซึ่งมีเพื่อนอยู่บนเกาะ เลยทำให้รู้สึกอุ่นใจขึ้น การหาข้อมูลส่วนใหญ่ก็จะเป็นโรงแรม การเดินทางไประนอง การเดินทางไปเกาะ การเดินทางบนเกาะ อย่างอื่นไปตายเอาดาบหน้า ผมจึงตัดสินใจที่จะจองที่พักของเพื่อนพี่สาวผม เป็นบังกาโลส่วนตัว อ้ออ ที่พักมีสองฝั่งให้เลือกนะครับ ฝั่งด้านหน้าคือฝั่งที่เป็นท่าเรือของเกาะ กับฝั่งด้านหลังซึ่งจะมีวิวภูเขา ผมเลือกฝั่งหลังที่เป็นวิวเขา เพราะน่าจะเงียบสงบเหมาะกับการพักผ่อน
ที่พักชื่อ Contact Bungalows :
https://m.facebook.com/contactbungalow/ ผมแปะลิงค์ไว้นะครับเผื่อใครสนใจ โดยได้ห้องพักราคาโปรโมชั่นคืนละ 500 บาท ต้องขอบคุณมากๆครับ
1/8 การเดินทาง การเดินทางมาจังหวัดระนองมีผู้ให้บริการอยู่หลายบริษัท ทั้งสมบัติทัวร์, โชคอนันต์ชุมพร (ระนองคือทางผ่าน) ผมตัดสินใจเลือกเดือนทางกับบริษัทโชคอนันต์ทัวร์ เนื่องจากดึกสุดคือ 21.00 ผมต้องทำงานก่อนง่าาา แล้วข่วงนี้ตั๋วเครื่องบินก็ราคาค่อนข้างแรง บายยยย... ทำการจองรถไป-กลับ 680 บาท/เที่ยว
ค่าเรือข้ามไปยังเกาะก็มีให้เลือกที่
- 200 บาท สำหรับเรือธรรมดา ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง
- 350 บาท สำหรับเรือสปีดโบ๊ท ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 35 นาที
ผมเลือก เป็นเรือสปีดโบ๊ท เพื่อจะได้รักษาเวลา
และคิดไว้ว่าบนเกาะคงจะเช่ารถมอเตอร์ไซด์อีกแล้วว
8/8 หลายวันที่ผ่านมาผมก็สอบถามสภาพอากาศกับทางเพื่อนพี่ผมที่ระนองและเจ้าของรีสอร์ท ทราบมาว่าช่วงวันที่ 2-3-4-5 ฝนตกติดต่อกับไม่หยุด (เอ้าแล้ววว ล่มมั้ยยย) แต่ทางฝั่งระนองก็แจ้งว่าน่าจะหายในไม่กี่วันเพราะ มรสุมกำลังจะออกแล้ว สาธุ ขอให้สงบทีเถิด
กระทั่ง ถึงก่อนวันที่เดินทาง ก็ทราบว่าพายุสงบ คลื่นลมสงบ เย้สสสส..
08.00 - 18.00 ก็ทำงานตามปกติ กระทั่งเลิกงาน 18.00 จึงรีบกุลีกุจอออกจากที่ทำงานเพื่อไปยังสายใต้
—— สยาม —- บางหว้า —- สายใต้ ถึงสายใต้เวลา
20.00 รับตั๋วที่หน้าเค้าท์เตอร์ และลงไปรอขึ้นรถที่ชานชาลา 62
ผู้คนไม่พลุกพล่านและสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
20.20 รถเทียบชานชาลาแล้วครับ เป็นรถ VIP 24 ที่นั่ง ผมเลือกเบาะเดี่ยวหน้าสุดเพราะผมจะได้เหยียดขาได้ ขออภัย ไ่ม่ได้อาบน้ำ เพราะไม่มีเวลาจริง ๆ 🥺
สภาพตามที่เห็นครับ 😬😄
เดินทางประมาณ 8 ชั่วโมง
เวลาถึงระนองน่าจะ ตี 5 - 6 โมงเช้า
24.00 น. รถทัวร์จอดพักให้รับประทานอาหารประมาณ 20 นาทีที่จุดจอดเพชรบุรี แต่ผมไม่ได้ลงไปเพราะง่วงเหลือหลาย ว่าแล้วก็ ....zzzzzZz
เที่ยวพยาม แบบไม่ต้องพยายาม (3 วัน 2 คืน กับตำนานแห่งมัลดีฟเมืองไทย)
นี่เป็นรีวิวที่ 2 ของผม หลังจากที่รีวิวแรกได้เผยแพร่ออกไป
ต้องขอขอบพระคุณทุก ๆ คอมเมนต์และข้อความส่วนตัวที่ส่งมามากมาย ทำให้มีกำลังใจที่จะเขียนต่อ.. ❤️❤️
สำหรับทริปนี้ ผมจะพาทุกท่าน เดินทางข้ามแผ่นดิน (รถทัวร์) และผืนทะเล (เรือ) ไปยังจุดหมายของเรา
... เอ้า ชิดในเลยเพ่ ล้อมวงเข้ามาฟังการเดินทางลุย ๆ งง ๆ ของ จขกท กันจ้าท ✌️
“เกาะพยาม”
ตั้งอยู่ที่ ต.เกาะพยาม อ.เมือง จ.ระนอง เป็นเกาะใหญ่หนึ่งในสองเกาะของทะเลระนอง (อีกเกาะหนึ่งคือเกาะช้างที่มีขนาดใหญ่สุดของระนอง) ที่วันนี้ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ภูมิภาค ภาคใต้ ได้ส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
เกาะพยามมีพื้นที่ประมาณ 35 ตารางกิโลเมตร(อยู่ห่างจากเกาะช้างมาทางใต้ประมาณ 4 กม.) ชื่อเกาะพยาม มีข้อมูลว่ามาจากคำว่า “พยายาม” ด้วยมีเรื่องเล่าขานกันว่า...
...มีเกาะแห่งหนึ่งในจังหวัดระนอง สมัยก่อนการเดินทางไปยังเกาะแห่งนี้ แต่ละวันมีเรือออกจากฝั่งเพียงเที่ยวเดียว ถ้าพลาดก็ต้องรอวันถัดไป ในขณะที่ขากลับนั้นก็ต้องอาศัยการโบกเรือที่แล่นผ่านไปแวะกลับฝั่งเป็นหลัก
นับเป็นเกาะที่ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการไปมาสู่ ชาวบ้านจึงเรียกเกาะๆนี้ ว่า “เกาะพยายาม” แต่ในภาษาใต้นิยมพูดห้วนๆสั้นๆ เกาะพยายาม จึงกร่อนเสียงเป็น “เกาะพยาม” มาจนทุกวันนี้...
เกาะพยามมีพื้นที่ตอนกลางของเกาะ เป็นภูเขา ป่าไม้ ที่วันนี้ยังคงมีสัตว์ป่าอย่าง ลิง หมูป่า และนกชุกชุม เสน่ห์สำคัญของเกาะพยามนั่นก็คือ ในส่วนของพื้นที่บริเวณรอบเกาะ ที่เป็นชายหาดสลับกับโขดหิน มีหาดทรายสวยๆงามๆอยู่หลายหาดด้วยกัน ซึ่งวันนี้ตามบริเวณหาดต่างๆมีที่พักผุดขึ้นมาไม่น้อย เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่กำลังนิยมต่อเกาะแห่งนี้
มีชุมชนดั้งเดิมคือชุมชนชาวมอแกน(ชาวเล) ที่วันนี้ยังคงอาชีพประมงพื้นบ้าน จับสัตว์น้ำในละแวกใกล้เคียงเกาะ เนื่องจากทรัพยากรสัตว์น้ำยังมีความสมบูรณ์อยู่ ผู้ชายชาวมอแกนหลายๆคน วันนี้ยังใช้วิธีดำน้ำจับกุ้งมังกร(ลอบเตอร์)ด้วยมือแบบดั้งเดิม
นอกจากนี้ยังมีชุมชนดั้งเดิมของชาวบ้านที่เป็นชาวเกาะพยามรุ่นแรกๆ ที่บางข้อมูลระบุว่าเป็นชุมชนที่เริ่มจากหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นเพื่อป้องกันการรุกรานของอังกฤษ ซึ่งครอบครองพม่าอยู่ในอดีต โดยการให้ชาวบ้านไปตั้งชุมชนอยู่บนเกาะพยามนั้นเป็นแนวคิดของ พระยาดำรงสุจริตมหิศวรภักดี(คอซู้เจียง) เจ้าเมืองระนองคนแรก ขณะที่บางข้อมูลก็ว่าชาวบ้านรุ่นแรกๆบนเกาะพยามนั้นอพยพมาจากเกาะสมุยแล้วมาตั้งรกรากอยู่ที่นี่ (credit : https://mgronline.com/travel/detail/9600000096741 )
จากข้อมูลข้างต้น ทำให้ผมไม่ลังเลที่จะตัดสินใจฉับพลัน (อีกแล้ว) เพื่อเดินทางเข้าสู่ “มัลดีฟเมืองไทย” ตามคำกล่าวขาน
27/7 หาข้อมูล อันที่จริงแล้ว ผมเริ่มหาที่เที่ยวตั้งแต่อยู่ที่กาญจนบุรีแล้ว ว่าทริปต่อไปจะไปไหนดี มีทั้ง เขาช้างเผือ ภูสอยดาว ภูชี้เดือน ภูชี้ฟ้า ภูชี้ดาว อุ้งผาง ทีลอซู เยอะแยะไปหมด ส่วนใหญ่ผมชอบทีจะเข้าป่า ชมนกชมไม้ มากกว่าลงทะเล สาเหตุสำคัญคือ ..แดดร้อน.. แต่ที่มาตัดสินใจที่จะลงเกาะพยามเพราะอุทยานหลาย ๆ ที่ยังไม่ถึงฤดูท่องเที่ยว เลยยังไม่อนุญาติให้เดินทาง
เอาวะ .. ข้อมูลเพิ่มเติม ก็น่าสนใจใช่ย่อย ด้วยคำว่ามัลดีฟเมืองไทยที่ล่ะที่ทำให้ผมอยากกก
31/7 หลังจากหาข้อมูลหลายวัน และด้วยความช่วยเหลือของพี่สาวสุดสวย ผู้ซึ่งมีเพื่อนอยู่บนเกาะ เลยทำให้รู้สึกอุ่นใจขึ้น การหาข้อมูลส่วนใหญ่ก็จะเป็นโรงแรม การเดินทางไประนอง การเดินทางไปเกาะ การเดินทางบนเกาะ อย่างอื่นไปตายเอาดาบหน้า ผมจึงตัดสินใจที่จะจองที่พักของเพื่อนพี่สาวผม เป็นบังกาโลส่วนตัว อ้ออ ที่พักมีสองฝั่งให้เลือกนะครับ ฝั่งด้านหน้าคือฝั่งที่เป็นท่าเรือของเกาะ กับฝั่งด้านหลังซึ่งจะมีวิวภูเขา ผมเลือกฝั่งหลังที่เป็นวิวเขา เพราะน่าจะเงียบสงบเหมาะกับการพักผ่อน
ที่พักชื่อ Contact Bungalows : https://m.facebook.com/contactbungalow/ ผมแปะลิงค์ไว้นะครับเผื่อใครสนใจ โดยได้ห้องพักราคาโปรโมชั่นคืนละ 500 บาท ต้องขอบคุณมากๆครับ
1/8 การเดินทาง การเดินทางมาจังหวัดระนองมีผู้ให้บริการอยู่หลายบริษัท ทั้งสมบัติทัวร์, โชคอนันต์ชุมพร (ระนองคือทางผ่าน) ผมตัดสินใจเลือกเดือนทางกับบริษัทโชคอนันต์ทัวร์ เนื่องจากดึกสุดคือ 21.00 ผมต้องทำงานก่อนง่าาา แล้วข่วงนี้ตั๋วเครื่องบินก็ราคาค่อนข้างแรง บายยยย... ทำการจองรถไป-กลับ 680 บาท/เที่ยว
ค่าเรือข้ามไปยังเกาะก็มีให้เลือกที่
- 200 บาท สำหรับเรือธรรมดา ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง
- 350 บาท สำหรับเรือสปีดโบ๊ท ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 35 นาที
ผมเลือก เป็นเรือสปีดโบ๊ท เพื่อจะได้รักษาเวลา
และคิดไว้ว่าบนเกาะคงจะเช่ารถมอเตอร์ไซด์อีกแล้วว
8/8 หลายวันที่ผ่านมาผมก็สอบถามสภาพอากาศกับทางเพื่อนพี่ผมที่ระนองและเจ้าของรีสอร์ท ทราบมาว่าช่วงวันที่ 2-3-4-5 ฝนตกติดต่อกับไม่หยุด (เอ้าแล้ววว ล่มมั้ยยย) แต่ทางฝั่งระนองก็แจ้งว่าน่าจะหายในไม่กี่วันเพราะ มรสุมกำลังจะออกแล้ว สาธุ ขอให้สงบทีเถิด
กระทั่ง ถึงก่อนวันที่เดินทาง ก็ทราบว่าพายุสงบ คลื่นลมสงบ เย้สสสส..
08.00 - 18.00 ก็ทำงานตามปกติ กระทั่งเลิกงาน 18.00 จึงรีบกุลีกุจอออกจากที่ทำงานเพื่อไปยังสายใต้
—— สยาม —- บางหว้า —- สายใต้ ถึงสายใต้เวลา
20.00 รับตั๋วที่หน้าเค้าท์เตอร์ และลงไปรอขึ้นรถที่ชานชาลา 62
ผู้คนไม่พลุกพล่านและสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
20.20 รถเทียบชานชาลาแล้วครับ เป็นรถ VIP 24 ที่นั่ง ผมเลือกเบาะเดี่ยวหน้าสุดเพราะผมจะได้เหยียดขาได้ ขออภัย ไ่ม่ได้อาบน้ำ เพราะไม่มีเวลาจริง ๆ 🥺
สภาพตามที่เห็นครับ 😬😄
เดินทางประมาณ 8 ชั่วโมง
เวลาถึงระนองน่าจะ ตี 5 - 6 โมงเช้า
24.00 น. รถทัวร์จอดพักให้รับประทานอาหารประมาณ 20 นาทีที่จุดจอดเพชรบุรี แต่ผมไม่ได้ลงไปเพราะง่วงเหลือหลาย ว่าแล้วก็ ....zzzzzZz