สมาคมลูกหนังไทย ขาดสภาพคล่องจนต้องหากู้เงินมาใช้จัดการบริหารงาน ถ้าเป็นจริงจะนับเป็นคร้ังแรกในประวัติศาสตร์ในรอบ 104 ปี ของวงการฟุตบอลไทย ในยุคการบริหารงานของ "บิ๊กอ็อด" โดยก่อนหน้านี้เคยมีการยืมเงินลูกสาวมาใช้ก่อน หลังรอเงินเบิกจ่ายจาก กกท.นาน
จากที่สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้ประสบปัญหาขาดงบประมาณในการดำเนินการจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกในประเทศ หลังจากบรรดาสปอนเซอร์หลายเจ้าได้ลดเงินจากการเป็นผู้สนับสนุน โดยทางสภากรรมการบริหารสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ ได้มีมติอนุมัติให้ สมาคมฯ ไปกู้เงินระยะสั้นจากแหล่งต่างๆ เพื่อใช้จัดการแข่งขันไทยลีก และบริหารทีมชาติไทย โดยจะกู้เงินจาก สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ(ฟีฟ่า), สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี), สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน (เอเอฟเอฟ) และแหล่งเงินกู้ต่างๆภายในประเทศ เพื่อให้การดำเนินงานของสมาคมฯ เดินหน้าได้นั้น
จากเรื่องดังกล่าวทาง นายจิรัฏฐ์ จันทะเสน คณะกรรมการสมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้มีการโพสต์ข้อความลงทางเฟสบุ๊คถึงเรื่องดังกล่าวว่าจะเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทยที่มีการกู้เงินมาใช้บริหารจัดการงานของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ โดยมีข้อความดังนี้
"ถ้าหากเกิดขึ้นจริง? คือการ “กู้เงิน” ครั้งแรกในรอบ 104 ปี ของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ในประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทยเคยผ่านวิกฤตการเมือง คือเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 และวิกฤตโลก คือสงครามโลก ครั้งที่ 2 พ.ศ.2482-2488 จนทำให้ต้องหยุดกิจกรรมการแข่งขันภายในประเทศนานกว่า 15 ปี
จนเมื่อ “อัศวินม้าขาว” เจ้าพระยารามราฆพ อดีตนายกสมาคมคนแรก (พ.ศ. 2459-2462) กลับมาจากประเทศอังกฤษ เมื่อพ.ศ.2490 จึงทำการฟื้นฟูคณะฟุตบอลแห่งสยาม (สมาคมกีฬาฟุตบอลฯ) ให้มีการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่องขึ้นอีกครั้ง ด้วยการขายทรัพย์สินของสมาคมเพื่อนำเงินมาใช้ในการจัดแข่งขันฟุตบอลถ้วยใหญ่และถ้วยน้อย รายการสูงสุดของสมาคม
จนมาถึงยุค “ลุงต่อ”พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ยมนาค เป็นนายกสมาคม เมื่อพ.ศ.2504 ยังคงมีเงินติดลบในบัญชีของสมาคมฯ ในขณะนั้น FIFA มีกฎห้ามรับเงินสนับสนุนจากสปอร์นเซอร์ แต่แล้วภายในเวลา 3 ปี สมาคมมีเงินในบัญชี 5 ล้านบาท สืบเนื่องจากทีมชาติไทยสร้างผลงานชนะเลิศฟุตบอลเยาวชนแห่งเอเชีย คนไทยตื่นตัวเข้าดูฟุตบอลกันมากขึ้น ทั้งแมตช์พิเศษและแมตช์นานาชาติ จึงมีรายได้จากค่าผ่านประตูเป็นกอบเป็นกำ จนทำให้ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานถ้วย ประเภท ค และประเภท ง วงการฟุตบอลไทยจึงมีการแข่งขันครบทั้ง 4 ดิวิชั่นแบบอังกฤษ (ถ้วย ก ถ้วย ข ถ้วย ค และถ้วย ง) พร้อมทั้งพระราชทานถ้วยคิงส์คัพ โดยมีถ้วยพระราชทานเป็นถ้วยรางวัลสูงสุดทุกรายการ
ตลอดระยะเวลา 104 ปี ของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จึงยังไม่เคยปรากฏข่าว “กู้เงิน” เพื่อนำมาบริหารจัดการฟุตบอลไทย จึงถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสมาคมฯ โดยเฉพาะองค์กรที่ต่อท้ายว่า “ในพระบรมราชูปถัมภ์” ดังนั้น คณะผู้บริหาร FA THAILAND ชุดปัจจุบัน จึงควรต้องตระหนักอยู่เสมอ เพื่อมิให้เกิดความเสื่อมเสียพระเกียรติและเกียรติภูมิของวงการฟุตบอลไทย ครับ.
นั้นคือข้อความที่ได้มีการโพสต์และก็มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นมากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ในยุคที่มี "บิ๊กอ็อด" พล.ต.อ.ดร.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง เป็นนายกสมาคมฯ เมื่อปี พ.ศ.2559 เคยมีเหตุการณ์ที่สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ขาดสภาพคล่องทางการเงิน จากที่ บริษัท ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น2 จำกัด มีปัญหาการจ่ายเงินค่าตอบแทนของผู้ตัดสินที่ทำหน้าที่ในศึกฟุตเอไอเอส ลีก ดิวิชั่น 2 เนื่องจากการเบิกงานจากฝ่ายกีฬาอาชีพ การกีฬาแห่งประเทศไทย ที่ต้องใช้เวลาทาง “บิ๊กอ็อด” จึงตัดสินใจแก้ปัญหาเร่งด่วนด้วยการยืมเงิน คือ นางสาวชมกมล พุ่มพันธุ์ม่วง ซึ่งเป็นลูกสาวตัวเองจำนวน 10 ล้านบาทมาจ่ายก่อน
ส่วนการกู้เงินในคราวนี้ ยังไม่มีการระบุว่าจะต้อง กู้เงินจำนวนเท่าไหร่ เพื่อนำมาใช้จ่ายในส่วนไหนบ้าง แต่ก็ถือเป็น ยุคแรกที่วงการฟุตบอลโดยเฉพาะสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ที่ถือเป็นองค์กรหลักของฟุตบอลในประเทศได้คิดจะกู้เงินเพื่อนำมาใช้บริหารจัดการงานต่างๆ
ที่มา
https://www.smmsport.com/reader/news/311065?fbclid=IwAR2XlZqaO3S_b5BbGquRPKzRqK-jT3l1dO4N6g8RgZQw_lewtB4T2hlNkys
ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ รอบ 104 ปี ส.บอล กู้เงินมาใช้บริหารงาน
จากที่สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้ประสบปัญหาขาดงบประมาณในการดำเนินการจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกในประเทศ หลังจากบรรดาสปอนเซอร์หลายเจ้าได้ลดเงินจากการเป็นผู้สนับสนุน โดยทางสภากรรมการบริหารสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ ได้มีมติอนุมัติให้ สมาคมฯ ไปกู้เงินระยะสั้นจากแหล่งต่างๆ เพื่อใช้จัดการแข่งขันไทยลีก และบริหารทีมชาติไทย โดยจะกู้เงินจาก สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ(ฟีฟ่า), สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี), สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน (เอเอฟเอฟ) และแหล่งเงินกู้ต่างๆภายในประเทศ เพื่อให้การดำเนินงานของสมาคมฯ เดินหน้าได้นั้น
จากเรื่องดังกล่าวทาง นายจิรัฏฐ์ จันทะเสน คณะกรรมการสมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้มีการโพสต์ข้อความลงทางเฟสบุ๊คถึงเรื่องดังกล่าวว่าจะเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทยที่มีการกู้เงินมาใช้บริหารจัดการงานของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ โดยมีข้อความดังนี้
"ถ้าหากเกิดขึ้นจริง? คือการ “กู้เงิน” ครั้งแรกในรอบ 104 ปี ของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ในประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทยเคยผ่านวิกฤตการเมือง คือเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 และวิกฤตโลก คือสงครามโลก ครั้งที่ 2 พ.ศ.2482-2488 จนทำให้ต้องหยุดกิจกรรมการแข่งขันภายในประเทศนานกว่า 15 ปี
จนเมื่อ “อัศวินม้าขาว” เจ้าพระยารามราฆพ อดีตนายกสมาคมคนแรก (พ.ศ. 2459-2462) กลับมาจากประเทศอังกฤษ เมื่อพ.ศ.2490 จึงทำการฟื้นฟูคณะฟุตบอลแห่งสยาม (สมาคมกีฬาฟุตบอลฯ) ให้มีการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่องขึ้นอีกครั้ง ด้วยการขายทรัพย์สินของสมาคมเพื่อนำเงินมาใช้ในการจัดแข่งขันฟุตบอลถ้วยใหญ่และถ้วยน้อย รายการสูงสุดของสมาคม
จนมาถึงยุค “ลุงต่อ”พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ยมนาค เป็นนายกสมาคม เมื่อพ.ศ.2504 ยังคงมีเงินติดลบในบัญชีของสมาคมฯ ในขณะนั้น FIFA มีกฎห้ามรับเงินสนับสนุนจากสปอร์นเซอร์ แต่แล้วภายในเวลา 3 ปี สมาคมมีเงินในบัญชี 5 ล้านบาท สืบเนื่องจากทีมชาติไทยสร้างผลงานชนะเลิศฟุตบอลเยาวชนแห่งเอเชีย คนไทยตื่นตัวเข้าดูฟุตบอลกันมากขึ้น ทั้งแมตช์พิเศษและแมตช์นานาชาติ จึงมีรายได้จากค่าผ่านประตูเป็นกอบเป็นกำ จนทำให้ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานถ้วย ประเภท ค และประเภท ง วงการฟุตบอลไทยจึงมีการแข่งขันครบทั้ง 4 ดิวิชั่นแบบอังกฤษ (ถ้วย ก ถ้วย ข ถ้วย ค และถ้วย ง) พร้อมทั้งพระราชทานถ้วยคิงส์คัพ โดยมีถ้วยพระราชทานเป็นถ้วยรางวัลสูงสุดทุกรายการ
ตลอดระยะเวลา 104 ปี ของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จึงยังไม่เคยปรากฏข่าว “กู้เงิน” เพื่อนำมาบริหารจัดการฟุตบอลไทย จึงถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสมาคมฯ โดยเฉพาะองค์กรที่ต่อท้ายว่า “ในพระบรมราชูปถัมภ์” ดังนั้น คณะผู้บริหาร FA THAILAND ชุดปัจจุบัน จึงควรต้องตระหนักอยู่เสมอ เพื่อมิให้เกิดความเสื่อมเสียพระเกียรติและเกียรติภูมิของวงการฟุตบอลไทย ครับ.
นั้นคือข้อความที่ได้มีการโพสต์และก็มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นมากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ในยุคที่มี "บิ๊กอ็อด" พล.ต.อ.ดร.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง เป็นนายกสมาคมฯ เมื่อปี พ.ศ.2559 เคยมีเหตุการณ์ที่สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ขาดสภาพคล่องทางการเงิน จากที่ บริษัท ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น2 จำกัด มีปัญหาการจ่ายเงินค่าตอบแทนของผู้ตัดสินที่ทำหน้าที่ในศึกฟุตเอไอเอส ลีก ดิวิชั่น 2 เนื่องจากการเบิกงานจากฝ่ายกีฬาอาชีพ การกีฬาแห่งประเทศไทย ที่ต้องใช้เวลาทาง “บิ๊กอ็อด” จึงตัดสินใจแก้ปัญหาเร่งด่วนด้วยการยืมเงิน คือ นางสาวชมกมล พุ่มพันธุ์ม่วง ซึ่งเป็นลูกสาวตัวเองจำนวน 10 ล้านบาทมาจ่ายก่อน
ส่วนการกู้เงินในคราวนี้ ยังไม่มีการระบุว่าจะต้อง กู้เงินจำนวนเท่าไหร่ เพื่อนำมาใช้จ่ายในส่วนไหนบ้าง แต่ก็ถือเป็น ยุคแรกที่วงการฟุตบอลโดยเฉพาะสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ที่ถือเป็นองค์กรหลักของฟุตบอลในประเทศได้คิดจะกู้เงินเพื่อนำมาใช้บริหารจัดการงานต่างๆ
ที่มา https://www.smmsport.com/reader/news/311065?fbclid=IwAR2XlZqaO3S_b5BbGquRPKzRqK-jT3l1dO4N6g8RgZQw_lewtB4T2hlNkys