** ขออ้างอิงว่า รถไฟความเร็วสูงคือรถไฟที่วิ่ง 250กิโลเมตร/ชั่วโมงขึ้นไป **
ขอเปรียบเทียบการเดินทางด้วยรถไฟกับเครื่องบิน
- เครื่องบิน จะต้องไปก่อนเวลาเครื่องขึ้น ประมาณ1ชม. และใช้เวลาหลังเครื่องลงจอดอย่างน้อย 30นาที การโดยสารที่ระยะทาง 1000 กิโลเมตรลงมา เครื่องบินจะใช้เวลาเดินทาง 1ชั่วโมงกว่าๆเท่านั้น(ตีเป็นเลขกลมๆก็ 1ชม.30นาที) 1.30 + 1.30(ขาเข้าออก) จะได้ระยะเวลาเดินทางด้วยเครื่องบินประมาณ 3ชม./การเดินทาง
- รถไฟความเร็วสูง ไปก่อนเวลาประมาณ 30 นาที และเมื่อรถไฟถึงสถานีปลายทาง ก็สามารถออกจากสถานีได้เลย (ตีเวลาไป15นาที) ถ้ารถไฟความเร็วสูงวิ่งด้วยความเร็ว 250กิโลเมตร/ชั่วโมง 3ชม.รถไฟความเร็วสูงจะวิ่งได้ระยะทางประมาณ 700 กิโลเมตร(รวมจอดระหว่างสถานี) เมื่อรวมเวลาเข้าออกสถานี+45 นาที ระยะทาง700 กิโลเมตร รถไฟความเร็วสูงจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 3ชม. 45นาที ทำให้ระยะทาง700 กิโลเมตรลงมาเป็นระยะทางที่เหมาะสมสำหรับรถไฟความเร็วสูง
ด้วยเหตุนี้แล้ว ในระยะไม่เกิน700กิโลเมตร ประเทศใดบ้างที่ควรสร้างรถไฟ
1. มาเลเซีย ระยะทางระหว่างเมือง เหนือ-ใต้- ตะวันออก-ตะวันกตก ระยะไม่เกิน 700 กิโลเมตรเลย ลักษณะทางภูมิศาสตร์แล้ว มาเลย์จึงเป็นประเทศที่เหมาะจะสร้างรถไฟความเร็วสูงที่สุดในอาเซียน
2. กัมพูชา จากลักษณะภูมิประเทศที่ค่อนข้างเท่ากันในทุกด้าน รถไฟความเร็วสูงจะตอบโจทย์มากๆ
3. สปป.ลาว ประเทศนี้แม้จะมีลักษณะยาว แต่...ก็ไม่ยาวมากเกินไปนัก รถไฟความเร็วสูงจึงตอบโจทย์
4. ประเทศไทย เชียงใหม่(เกิน700นิดๆถือว่าอนุโลม) พัทยา หัวหิน ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี มีระยะทางต่ำกว่า 700 กิโลเมตรแทบทั้งหมด ยกเว้นหาดใหญ่และภูเก็ต ทำให้รถไฟความเร็วสูงของประเทศไทย ก็ตอบโจทย์เช่นเดียวกัน
5. พม่า เมืองหลวงเนปิดอร์ อยู่ห่างจากเมืองย่างกุ้งไปประมาณ 350 กิโลเมตร ถ้าพม่ามีงบมากพอ การสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม2เมือง จะตอบโจทย์และเป็นตัวเลือกการเดินทางให้ประชาชนทางหนึ่งเลย
6. อินโดนีเซีย ส่วนพื้นที่อื่นของอินโดไม่เหมาะสร้างรถไฟความเร็วสูงเนื่องจากมีเกาะเป็นจำนวนมาก แต่ยกเว้นเมืองหลวงหรือเกาะชวา ซึ่งมีระยะทางจากตะวันตกสุดไปตะวันออกสุด ประมาณ 900 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะทางที่น่าสร้างรถไฟความเร็วสูงพอสมควรเลย
7. พิลิปินส์ มีความคล้ายกับอินโดนีเซีย เกาะมีขนาดใหญ่ กว้าง สามารถสร้างรถไฟความเร็วสูงได้
ส่วนประเทศที่สร้างได้ แต่...ไม่ค่อยเหมาะนัก มีดังนี้
1. สิงคโปร์ ศักยภาพเต็มสตรีม แต่ด้วยพื้นที่ขนาดเล็กมาก จึงไม่จำเป็นต้องมีรถไฟความเร็วสูง
2. บรูไน ประชากรน้อย+ประเทศเล็ก ไม่จำเป็นต้องมีรถไฟความร็วสูง
3. ติมอร์ (เหมือนข้อ2)
4. เวียดนาม ระยะห่างระหว่าง 2 เมืองใหญ่ คือ ฮานอยและโฮจิมินทร์ ห่างกันมากเกินไป (ประมาณ 1200 กิโลเมตร) ถ้าจะมีรถไฟความเร็วสูง เวียดนามจะต้องมีรถไฟที่ความเร็วระดับ 350-400กิโลเมตร/ชั่วโมง ถึงจะเหมาะสมและสามารถแข่งขันกับเครื่องบินได้
** พูดถึงลักษณะภูมิประเทศเท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงจำนวนประชากร ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและศักยภาพของประเทศ ถ้านำปัจจัยต่างๆ มารวมกันทั้งหมด ในอาเซียนจะเหลือไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่เหมาะจะสร้างรถไฟความเร็วสูงได้ **
ถ้าอ้างอิงตามลักษณะภูมิประเทศแล้ว ในอาเซียนประเทศใดที่เหมาะจะมีรถไฟความเร็วสูง
ขอเปรียบเทียบการเดินทางด้วยรถไฟกับเครื่องบิน
- เครื่องบิน จะต้องไปก่อนเวลาเครื่องขึ้น ประมาณ1ชม. และใช้เวลาหลังเครื่องลงจอดอย่างน้อย 30นาที การโดยสารที่ระยะทาง 1000 กิโลเมตรลงมา เครื่องบินจะใช้เวลาเดินทาง 1ชั่วโมงกว่าๆเท่านั้น(ตีเป็นเลขกลมๆก็ 1ชม.30นาที) 1.30 + 1.30(ขาเข้าออก) จะได้ระยะเวลาเดินทางด้วยเครื่องบินประมาณ 3ชม./การเดินทาง
- รถไฟความเร็วสูง ไปก่อนเวลาประมาณ 30 นาที และเมื่อรถไฟถึงสถานีปลายทาง ก็สามารถออกจากสถานีได้เลย (ตีเวลาไป15นาที) ถ้ารถไฟความเร็วสูงวิ่งด้วยความเร็ว 250กิโลเมตร/ชั่วโมง 3ชม.รถไฟความเร็วสูงจะวิ่งได้ระยะทางประมาณ 700 กิโลเมตร(รวมจอดระหว่างสถานี) เมื่อรวมเวลาเข้าออกสถานี+45 นาที ระยะทาง700 กิโลเมตร รถไฟความเร็วสูงจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 3ชม. 45นาที ทำให้ระยะทาง700 กิโลเมตรลงมาเป็นระยะทางที่เหมาะสมสำหรับรถไฟความเร็วสูง
ด้วยเหตุนี้แล้ว ในระยะไม่เกิน700กิโลเมตร ประเทศใดบ้างที่ควรสร้างรถไฟ
1. มาเลเซีย ระยะทางระหว่างเมือง เหนือ-ใต้- ตะวันออก-ตะวันกตก ระยะไม่เกิน 700 กิโลเมตรเลย ลักษณะทางภูมิศาสตร์แล้ว มาเลย์จึงเป็นประเทศที่เหมาะจะสร้างรถไฟความเร็วสูงที่สุดในอาเซียน
2. กัมพูชา จากลักษณะภูมิประเทศที่ค่อนข้างเท่ากันในทุกด้าน รถไฟความเร็วสูงจะตอบโจทย์มากๆ
3. สปป.ลาว ประเทศนี้แม้จะมีลักษณะยาว แต่...ก็ไม่ยาวมากเกินไปนัก รถไฟความเร็วสูงจึงตอบโจทย์
4. ประเทศไทย เชียงใหม่(เกิน700นิดๆถือว่าอนุโลม) พัทยา หัวหิน ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี มีระยะทางต่ำกว่า 700 กิโลเมตรแทบทั้งหมด ยกเว้นหาดใหญ่และภูเก็ต ทำให้รถไฟความเร็วสูงของประเทศไทย ก็ตอบโจทย์เช่นเดียวกัน
5. พม่า เมืองหลวงเนปิดอร์ อยู่ห่างจากเมืองย่างกุ้งไปประมาณ 350 กิโลเมตร ถ้าพม่ามีงบมากพอ การสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม2เมือง จะตอบโจทย์และเป็นตัวเลือกการเดินทางให้ประชาชนทางหนึ่งเลย
6. อินโดนีเซีย ส่วนพื้นที่อื่นของอินโดไม่เหมาะสร้างรถไฟความเร็วสูงเนื่องจากมีเกาะเป็นจำนวนมาก แต่ยกเว้นเมืองหลวงหรือเกาะชวา ซึ่งมีระยะทางจากตะวันตกสุดไปตะวันออกสุด ประมาณ 900 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะทางที่น่าสร้างรถไฟความเร็วสูงพอสมควรเลย
7. พิลิปินส์ มีความคล้ายกับอินโดนีเซีย เกาะมีขนาดใหญ่ กว้าง สามารถสร้างรถไฟความเร็วสูงได้
ส่วนประเทศที่สร้างได้ แต่...ไม่ค่อยเหมาะนัก มีดังนี้
1. สิงคโปร์ ศักยภาพเต็มสตรีม แต่ด้วยพื้นที่ขนาดเล็กมาก จึงไม่จำเป็นต้องมีรถไฟความเร็วสูง
2. บรูไน ประชากรน้อย+ประเทศเล็ก ไม่จำเป็นต้องมีรถไฟความร็วสูง
3. ติมอร์ (เหมือนข้อ2)
4. เวียดนาม ระยะห่างระหว่าง 2 เมืองใหญ่ คือ ฮานอยและโฮจิมินทร์ ห่างกันมากเกินไป (ประมาณ 1200 กิโลเมตร) ถ้าจะมีรถไฟความเร็วสูง เวียดนามจะต้องมีรถไฟที่ความเร็วระดับ 350-400กิโลเมตร/ชั่วโมง ถึงจะเหมาะสมและสามารถแข่งขันกับเครื่องบินได้
** พูดถึงลักษณะภูมิประเทศเท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงจำนวนประชากร ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและศักยภาพของประเทศ ถ้านำปัจจัยต่างๆ มารวมกันทั้งหมด ในอาเซียนจะเหลือไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่เหมาะจะสร้างรถไฟความเร็วสูงได้ **