Decameron Tarot เป็นหนึ่งในสำรับที่ผมสนใจมาก แต่ยังมิได้ครอบครอง ผมลองเซิจดูรูปหลายต่อหลายใบ ในรอบแรกก็ตื่นเต้นกับภาพของมัน แต่เมื่อลองพินิจดี ๆ จะพบว่าในไพ่แต่ละใบซ่อนเรื่องราวที่น่าคิด วิเคราะห์ เชื่อมโยงไปถึงแก่นของไพ่นั้น ๆ ได้ดีทีเดียว
Decameron Tarot ออกแบบโดยศิลปินชาวอิตาลี่ Giacinto Gaudenzi, Luciano Spadanuda สรรสร้างขึ้นในปี 2003
Decameron เป็นชื่อวรรณกรรมในศตวรรษที่ 14 เขียนโดย Giovanni Boccaccio ภายในบรรจุ Novella (เรื่องสั้นขนาดยาว) ไว้อีก 100 เรื่อง ในส่วนของชื่อเรื่องที่แปลเป็นภาษากรีกได้ว่า "10 วัน" มาจากเหตุการณ์หลักในเรื่องที่ว่าด้วยวัยรุ่นหนุ่มสาว 10 คน หนีตายกาฬโรคที่ระบาดในเมืองฟลอเรนซ์ พวกเขาเดินทางรอนแรมไปยังคฤหาสน์หรูชนบท โดยวางแผนจะพำนักที่นี่เป็นเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อทำการฆ่าเวลาอันแสนเบื่อหน่าย พวกเขาจึงตัดสินใจจะผลัดกันเล่านิทานวันละ 10 เรื่อง (10 คน x 10 วัน = 100 เรื่อง ตามในหนังสือ -- อนึ่งพวกเขาข้ามวันศุกร์ และเสาร์ออก ฉะนั้นจะได้ 10 วัน ใน 2 สัปดาห์พอดี) เรื่องราวที่พวกเขาเล่าส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเรื่องความรัก ตั้งแต่ทะลึ่ง ลามก ไปจนถึงโศกนาฏกรรม
.
ไพ่ Decameron ก็คือการหยิบเอาคอนเซปต์เรื่องเพศของวรรณกรรมเรื่องที่ว่ามาขยายให้ใหญ่ จัดหนักจัดเต็มถึงความลามกอนาจาร รับประกันความโป๊เปลือยเดือยโผล่แทบทุกใบ ภายใต้ความหื่นกระหายมันคือความสำเริงสำราญของการสวาปามเรื่องเพศแบบไม่มีเม้ม มันคืออารมณ์ดิบ ๆ มันส์ ๆ อันแสนสามัญของมนุษย์ มันคือความใกล้ชิดกับธรรมชาติแบบที่สิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่าศาสนาจะเข้ามามีอิทธิพล ตัวละครในไพ่หลายตัว ไม่ว่าจะยากดีมีจน เป็นกษัตริย์ ราชินี มหาดเล็ก ชาวบ้าน ยันพระ ก็สามารถหงี่ และตกในวังวนกามารมณ์ด้วยกันทั้งนั้น นี่แหละขุมพลังแห่งธรรมชาติที่แท้ทรู!
ไพ่หลายใบถ้ามองแบบหื่นกระหาย ก็จะเห็นแต่ความลามก แต่ถ้าคุณศึกษาไพ่ยิปซีมาบ้าง จะเห็นการตีความเชื่อมโยงเข้ากับแก่นไพ่แต่ละใบได้ดีทีเดียว ขอยกตัวอย่าง 2 ใบที่ชอบ
The Tower - ปกติไพ่ใบนี้จะสื่อถึงความหมายร้าย ๆ แรง ๆ สาหัสสากรรจ์ อุบัติเหตุ และสิ่งไม่คาดฝัน... แต่ในไพ่ชุดนี้กลับเป็นรูปหนุ่มสาวแวะมานอนพลอดรักกันริมทุ่ม มองเห็นหอคอยอยู่ด้านหลัง ฝ่ายหญิงใช้มือรูดลึงค์ฬารของฝ่ายชายอย่างสนุกสนาน ในขณะที่ฝ่ายชายนอนเคลิ้มฝันหวาน.... The Tower สื่อถึงอะไรในภาพ เราสามารถมองเห็นความเชื่อมโยงของหอคอยที่ตั้งตระหง่าน กับหอค-ยที่ชูผงาด หอคอยในไพ่ยิปซีโดยหลักการยึดตามความหมายของ Pamela Smith ฉบับ Rider-Waite คือ หอคอย Babel ที่มนุษย์สร้างขึ้นเทียมฟ้า ไขว้คว้าหาสวรรค์ แต่ท้ายที่สุดกลับถูกสายฟ้าฟาดถล่มลงมา สั่งสอนให้มนุษย์รู้ว่าอย่าอาจหาญทำตัวทัดเทียมพระเจ้า.... ทั้งหอคอย หอค-ย คือตัวแทนอำนาจของมนุษย์ อำนาจความเป็นชาย ความยิ่งใหญ่ที่ถูกสูบฉีด แต่ยังไม่ทันที่จะได้สัมผัสความสุข ดูเหมือนสวรรค์ก็ได้ล่มลงมาก่อน ไม่บอกก็รู้ว่าฝ่ายชายคง "กระฉอก" ออกมาในไม่ช้า นี่แหละน่า เหตุการณ์ไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นก่อนจะได้สัมผัสสวรรค์
The Star เป็นไพ่แห่งความหวัง การฟื้นฟู ในไพ่สำรับปกติ เราจะเห็นสาวน้อยเปลือยกายเทน้ำอยู่ริมสระ สาวน้อยนางนี้บางตำราก็ว่าคือเทพี Nut บ้างก็ว่าเทพี Isis จะเป็นใครก็ช่าง นางต้องการช่วยเหลือสามีที่สิ้นสติ และหนทางที่จะกอบกู้ได้ก็คือต้องเดินทางไปตักน้ำในสระแห่งนี้ ซึ่งระหว่างทางนางก็หกระเหินเดินล้มจนเสื้อผ้าขาดวิ่น กว่าจะถึงสระก็แก้ผ้าโทง ๆ ไปเสียแล้ว สภาพเปลือยเปล่าสื่อถึงความบริสุทธิ์ใจ จิตใจอันงดงาม เธอตักน้ำมา และเทลงพื้นที่แห้งแล้ง ฟื้นฟูสภาพพื้นดินให้กลับมางอกเงยเขียวชอุ่มอีกครั้ง The Star มักจะเป็นไพ่ที่พูดถึงการมีความหวัง การเยียวยาตัวเอง การรู้สึกอิ่มเอมกับตัวเอง พึงใจพึงจิต... ในฉบับ Decameron ไม่มีเทพี แต่มีอีบ้าซึ่งน่าจะชื่อสมทรง นางมองเห็นไอ้ฟักนอนสลบอยู่ใต้ต้นไม้ เพื่อจะปลุกคนรักให้ตื่น นางคงต้องหาน้ำ แต่ในเมื่อน้ำหายาก ก็ขอใช้ของเหลวในกายแทนเสียเลย อย่าลืมนะว่าปัสสาวะถือเป็นน้ำบริสุทธิ์ เพราะผ่านการกลั่นกรองมาแล้ว เรียกได้ว่าเป็น The Star เวอร์ชั่น DIY ความหวังนั้นไซร้ ไม่ต้องมองไกลที่ไหน เริ่มต้นจากตัวเรานั้นก่อนสิเป็นดี
Decameron Tarot ที่สุดของไพ่ยิปซีที่โป๊ ลามก แต่น่าค้นหามากที่สุด
Decameron Tarot เป็นหนึ่งในสำรับที่ผมสนใจมาก แต่ยังมิได้ครอบครอง ผมลองเซิจดูรูปหลายต่อหลายใบ ในรอบแรกก็ตื่นเต้นกับภาพของมัน แต่เมื่อลองพินิจดี ๆ จะพบว่าในไพ่แต่ละใบซ่อนเรื่องราวที่น่าคิด วิเคราะห์ เชื่อมโยงไปถึงแก่นของไพ่นั้น ๆ ได้ดีทีเดียว
Decameron Tarot ออกแบบโดยศิลปินชาวอิตาลี่ Giacinto Gaudenzi, Luciano Spadanuda สรรสร้างขึ้นในปี 2003
Decameron เป็นชื่อวรรณกรรมในศตวรรษที่ 14 เขียนโดย Giovanni Boccaccio ภายในบรรจุ Novella (เรื่องสั้นขนาดยาว) ไว้อีก 100 เรื่อง ในส่วนของชื่อเรื่องที่แปลเป็นภาษากรีกได้ว่า "10 วัน" มาจากเหตุการณ์หลักในเรื่องที่ว่าด้วยวัยรุ่นหนุ่มสาว 10 คน หนีตายกาฬโรคที่ระบาดในเมืองฟลอเรนซ์ พวกเขาเดินทางรอนแรมไปยังคฤหาสน์หรูชนบท โดยวางแผนจะพำนักที่นี่เป็นเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อทำการฆ่าเวลาอันแสนเบื่อหน่าย พวกเขาจึงตัดสินใจจะผลัดกันเล่านิทานวันละ 10 เรื่อง (10 คน x 10 วัน = 100 เรื่อง ตามในหนังสือ -- อนึ่งพวกเขาข้ามวันศุกร์ และเสาร์ออก ฉะนั้นจะได้ 10 วัน ใน 2 สัปดาห์พอดี) เรื่องราวที่พวกเขาเล่าส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเรื่องความรัก ตั้งแต่ทะลึ่ง ลามก ไปจนถึงโศกนาฏกรรม
.
ไพ่ Decameron ก็คือการหยิบเอาคอนเซปต์เรื่องเพศของวรรณกรรมเรื่องที่ว่ามาขยายให้ใหญ่ จัดหนักจัดเต็มถึงความลามกอนาจาร รับประกันความโป๊เปลือยเดือยโผล่แทบทุกใบ ภายใต้ความหื่นกระหายมันคือความสำเริงสำราญของการสวาปามเรื่องเพศแบบไม่มีเม้ม มันคืออารมณ์ดิบ ๆ มันส์ ๆ อันแสนสามัญของมนุษย์ มันคือความใกล้ชิดกับธรรมชาติแบบที่สิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่าศาสนาจะเข้ามามีอิทธิพล ตัวละครในไพ่หลายตัว ไม่ว่าจะยากดีมีจน เป็นกษัตริย์ ราชินี มหาดเล็ก ชาวบ้าน ยันพระ ก็สามารถหงี่ และตกในวังวนกามารมณ์ด้วยกันทั้งนั้น นี่แหละขุมพลังแห่งธรรมชาติที่แท้ทรู!
ไพ่หลายใบถ้ามองแบบหื่นกระหาย ก็จะเห็นแต่ความลามก แต่ถ้าคุณศึกษาไพ่ยิปซีมาบ้าง จะเห็นการตีความเชื่อมโยงเข้ากับแก่นไพ่แต่ละใบได้ดีทีเดียว ขอยกตัวอย่าง 2 ใบที่ชอบ
The Tower - ปกติไพ่ใบนี้จะสื่อถึงความหมายร้าย ๆ แรง ๆ สาหัสสากรรจ์ อุบัติเหตุ และสิ่งไม่คาดฝัน... แต่ในไพ่ชุดนี้กลับเป็นรูปหนุ่มสาวแวะมานอนพลอดรักกันริมทุ่ม มองเห็นหอคอยอยู่ด้านหลัง ฝ่ายหญิงใช้มือรูดลึงค์ฬารของฝ่ายชายอย่างสนุกสนาน ในขณะที่ฝ่ายชายนอนเคลิ้มฝันหวาน.... The Tower สื่อถึงอะไรในภาพ เราสามารถมองเห็นความเชื่อมโยงของหอคอยที่ตั้งตระหง่าน กับหอค-ยที่ชูผงาด หอคอยในไพ่ยิปซีโดยหลักการยึดตามความหมายของ Pamela Smith ฉบับ Rider-Waite คือ หอคอย Babel ที่มนุษย์สร้างขึ้นเทียมฟ้า ไขว้คว้าหาสวรรค์ แต่ท้ายที่สุดกลับถูกสายฟ้าฟาดถล่มลงมา สั่งสอนให้มนุษย์รู้ว่าอย่าอาจหาญทำตัวทัดเทียมพระเจ้า.... ทั้งหอคอย หอค-ย คือตัวแทนอำนาจของมนุษย์ อำนาจความเป็นชาย ความยิ่งใหญ่ที่ถูกสูบฉีด แต่ยังไม่ทันที่จะได้สัมผัสความสุข ดูเหมือนสวรรค์ก็ได้ล่มลงมาก่อน ไม่บอกก็รู้ว่าฝ่ายชายคง "กระฉอก" ออกมาในไม่ช้า นี่แหละน่า เหตุการณ์ไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นก่อนจะได้สัมผัสสวรรค์
The Star เป็นไพ่แห่งความหวัง การฟื้นฟู ในไพ่สำรับปกติ เราจะเห็นสาวน้อยเปลือยกายเทน้ำอยู่ริมสระ สาวน้อยนางนี้บางตำราก็ว่าคือเทพี Nut บ้างก็ว่าเทพี Isis จะเป็นใครก็ช่าง นางต้องการช่วยเหลือสามีที่สิ้นสติ และหนทางที่จะกอบกู้ได้ก็คือต้องเดินทางไปตักน้ำในสระแห่งนี้ ซึ่งระหว่างทางนางก็หกระเหินเดินล้มจนเสื้อผ้าขาดวิ่น กว่าจะถึงสระก็แก้ผ้าโทง ๆ ไปเสียแล้ว สภาพเปลือยเปล่าสื่อถึงความบริสุทธิ์ใจ จิตใจอันงดงาม เธอตักน้ำมา และเทลงพื้นที่แห้งแล้ง ฟื้นฟูสภาพพื้นดินให้กลับมางอกเงยเขียวชอุ่มอีกครั้ง The Star มักจะเป็นไพ่ที่พูดถึงการมีความหวัง การเยียวยาตัวเอง การรู้สึกอิ่มเอมกับตัวเอง พึงใจพึงจิต... ในฉบับ Decameron ไม่มีเทพี แต่มีอีบ้าซึ่งน่าจะชื่อสมทรง นางมองเห็นไอ้ฟักนอนสลบอยู่ใต้ต้นไม้ เพื่อจะปลุกคนรักให้ตื่น นางคงต้องหาน้ำ แต่ในเมื่อน้ำหายาก ก็ขอใช้ของเหลวในกายแทนเสียเลย อย่าลืมนะว่าปัสสาวะถือเป็นน้ำบริสุทธิ์ เพราะผ่านการกลั่นกรองมาแล้ว เรียกได้ว่าเป็น The Star เวอร์ชั่น DIY ความหวังนั้นไซร้ ไม่ต้องมองไกลที่ไหน เริ่มต้นจากตัวเรานั้นก่อนสิเป็นดี