2 อาทิตย์ก่อนถึงวันหยุดยาวช่วงเดือน 7 การไม่มีแพลนไปไหน ดูเหมือนเป็นเรื่องเบื่อน่าดู การเดินทางไปเชียงคานจึงเกิดขึ้น ทุกวันนี้อะไรๆ ก็สะดวกสบายไปหมด จะจองรถ จองที่พัก ก็แค่เสิร์ซใน google ข้อมูลทุกอย่างก็มีให้หมด ทั้งรีวิว ตั๋วรถ ที่พัก โดยเฉพาะที่เที่ยวมีชื่อเสียงมายาวนานเช่นเชียงคาน การหาข้อมูล และการเดินทางดูเหมือนเป็นสิ่งง่ายดาย
.
เราจองรถกับบริษัทขนส่ง บขส 999 ดูเหมือนเจ้านี้จะได้รับคะแนนรีวิวค่อนข้างดี บวกกับราคาตั๋วไม่แพงมากนัก เรารีบจัดการจองรถทั้งขาไป-ขา
กลับ รวมราคาอยู่ที่ 1000 บาท การนั่งรถทัวร์ไปเชียงคาน มีข้อดีคือรถจะไปส่งเราถึงจุดหมายที่ตัวเมืองเชียงคานเลย
.
ถัดมาเรามาจองที่พัก การเดินทางของเราปกติแล้ว ไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายไว้มากกว่า 2,000 บาท สำหรับทริป 3 วัน 2 คืนแบบนี้ การเลือกที่พักจำเป็นต้องเลือกราคาถูก และก็ได้มาในราคา 300 บาทต่อคืน ในชื่อของ “เฮือนพูลทิพย์”
(บรรยากาศที่พัก ห้องพัดลม)
.
การเดินทางเริ่มต้นขึ้นวันเสาร์ช่วงเย็น ไม่เคยนับว่าเป็นการเดินทางครั้งที่เท่าไหร่แล้ว แต่มันมากพอ ที่ไม่ทำให้เกิดความตื่นเต้น หรือวางแผนจัดกระเป๋าล่วงหน้าเหมือนสมัยเดินทางใหม่ๆ ทุกวันนี้ใช้เวลา 5 นาทียัดของเข้ากระเป๋า ก็พร้อมออกเดินทาง
บางทีสิ่งของไม่กี่ชิ้นในเป้ใบนี้ ก็เพียงพอแล้วสำหรับการมีชีวิตอยู่ได้
.
ฝนตกตลอดช่วงบ่ายวันเสาร์ บรรยากาศพาเรา อยากนอนอ่านหนังสือในห้องแบบนี้เรื่อยไป แต่เวลาก็เตือนแล้วว่าต้องออกเดินทาง สะพายเป้พร้อมรองเท้าคู่ใจ เดินฝ่าน้ำขังบนพื้น เพื่อไปขึ้นรถเมล์สาย 1 ลงโรบินสันบางรัก และต่อรถเมล์สาย 77 ไปส่งเราหมอชิต
.
การนั่งรถเมล์ไม่ใช่เรื่องคุ้นชิน สำหรับสิงนักบิดมอเตอร์ไซต์ใน กทม เช่นเรา ตั๋วรถเมล์ที่เคยนั่งประจำสมัยมัธยมเมื่อ 8 ปีก่อน ขึ้นจาก 6 บาท เป็น 10 บาท บรรยากาศสองข้างทาง ถ.เจริญกรุงกลับมาคึกคักดังเดิม จากที่เมื่อสาม สี่ เดือนก่อน เหงาหงอยสุดๆ ตอนนี้จะขาดก็แต่ภาพนักท่องเที่ยวต่างชาติ ถนนเส้นนี้รอคอยการกลับมาเติมสีสันของพวกเขาอยู่
.
รถเมลสาย 77 แล่นเรื่อยมา บนบรรยากาศฟ้าครื้มที่รถไม่ติดนัก เรามาถึงหมอชิต 1 ทุ่มตรง เพื่อรอเวลารถออกตอน 2 ทุ่ม เราเลือกเดินทางเวลานี้เพราะว่าจะไปถึงเชียงคานช่วง 7 โมงเช้าพอดี หมอชิตยังคงขาดภาพกลุ่มวัยรุ่นนักเดินทาง ที่ดูน้อยลงถนัดตา ถ้าเทียบกับปีก่อนๆ
.
รถทัวร์ออกเดินทางตรงเวลา การเดินทางโดยรถทัวร์มีข้อดีคือ เราสามารถวางแผนเวลาได้แน่นอน กว่าการเดินทางโดยรถไฟ แต่ถึงอย่างนั้นก็ใช่รถไฟจะไม่ดี รถไฟยังคงแฝงเรื่องราวการเดินทางพิเศษสุดให้กับเราเสมอ
.
กึ่งหลับกึ่งตื่นตลอดคืน จากเสียงกรนดังลั่นของชายผู้หนึ่ง
.
.
สวัสดีเชียงคาน
.
เช้าวันใหม่กับภาพแรกของเชียงคาน ปรากฎให้เห็นตรงหน้า มันเจริญและขวักไขว่ไปด้วยผู้คนมากกว่าที่คิดไว้ ความยอดนิยมมายาวนาน คงผลักดันให้เกิดความเจริญ เราเดินฝ่าการจราจรที่หนาแน่นเพื่อข้ามจากเชียงคานฝั่งเหนือ ลงไปสู่ฝั่งใต้ โดยมีถนนคั่นกลาง ตามคำบอกกล่าวของชาวบ้านคนหนึ่ง ที่เข้าไปถามทาง
.
สิ่งแรกคือหาของกินประทังท้องที่ร้องมาตลอดคืน เราเริ่มเปิดฉากการกิน ด้วยข้าวจี่ 1 ไม้ราคา 10 บาท เดินไปตามถนนริมโขง ที่เป็นเหมือนเป็นซิกเนเจอร์ของเชียงคาน จนไปสะดุดเข้ากับป้ายร้านอาหารในซอยเล็กๆ ข้างวัดศรีขุ่นเมืองเข้า หากจะมีซัก 1 สิ่งแนะนำสำหรับคนมาที่นี่ เราคงแนะนำเป็น 2 ร้านอาหารนี้
.
.
ร้านที่ 1 คือข้าวปุ้นน้ำแจ่ว ของป้าปลั่ง
.
รสชาติแซ่บไม่เป็นสองรองใคร นักเดินทางอย่างเราที่ไม่เชี่ยวชาญเรื่องของกินเท่าไหร่ แต่เมนูข้าวปุ้นของป้าราคา 40 บาท ตอบโจทย์ความต้องการทุกอย่าง อิ่ม อร่อย เป็นเมนูท้องถิ่น เรากินด้วยความหิวโซ แถมป้ายังใจดี ให้ผักมาจิ้มกับกะปิ พร้อมข้าวเหนียวฟรีๆ 1 กระติบ เพิ่งจะรู้ว่า การเอาผักจิ้มกะปิ กินกับข้าวเหนียวมันอร่อยเหมือนกันนะ
.
ร้านที่ 2 แหนมคลุกป้าแห่ว
.
ตอนเขียนน้ำลายก็ยังไหลอยู่ มันเป็นยำแหนมที่อร่อยจริงๆ ผักเติมไม่อั้นเช่นเคย แถมป้าให้เยอะในแบบที่กินได้ 2 คนในราคา 50 บาท แต่รสชาติยำของป้าก็แอบไม่แซ่บในบางคำ แต่นั่นไม่ใช่ปัญหา เพราะอยากเติมรสชาติอะไรเข้าไป ก็บอกป้าแกได้ตลอดเลย
ร้านข้าวปุ้นจะเปิดตั้งแต่เช้า 7-8 โมงเช้า ส่วนร้านยำแหนมจะเปิดตั้งแต่ 9 โมงครึ่ง และหมดอย่างไวไม่เกินเที่ยง แต่รับประกันจริงๆว่าไม่ควรพลาด
.
เฮือนพูลทิพย์
.
หลังจากหนังท้องเตร่งตรึงด้วยข้าวปุ้น เราเดินกลับมายังที่พัก ณ ซอยเชียงคาน10 ข้อดีหนึ่งของเมืองนี้คือ การทำผังเมือง ดูเข้าใจง่าย แบ่งเป็นซอยชัดเจน ใช้เวลาไม่นานก็คุ้นเคยกับการเดินเที่ยว
.
ที่พักเราเป็นบ้านไม้สองชั้น นำมากั้นห้องเล็กๆ สำหรับไว้ซุกหัวนอน ลูกค้าส่วนใหญ่ล้วนเป็น หนุ่มสาวนักเดินทางวัยแรกรุ่น ที่ขอแค่มีที่ซุกหัวนอน ในราคาไม่แพงก็ถือว่าเยี่ยมยอดแล้ว
.
หากใครคาดหวังความสวยงาม น่าอยู่ ที่นี่คงไม่ตอบโจทย์ แต่ถ้าอยากได้ความเป็นกันเองของป้าติ้ง เจ้าของบ้านพัก ที่มักถามไถ่นักเดินทางทุกคนด้วยความเป็นห่วง แกพร้อมอำนวยความสะดวก แทบทุกอย่างด้วยตัวคนเดียว แถมยังชวนคุยกับนักเดินทางได้ไม่รู้เบื่อตลอดทั้งวัน
สำหรับเรา เฮือนพูลทิพย์ยังคงเป็นบ้านพัก ที่อยากจะบอกต่อกับทุกคน เพราะการบริการที่ประทับใจของป้าติ้ง เหมือนเราเป็นลูกหลานคนหนึ่ง เดินทางกลับมาเยี่ยมแก ณ เชียงคาน
.
ร้อนบรรลัยที่เชียงคาน
.
อากาศในช่วงเช้าไม่ร้อน ไม่หนาว แต่พอตกเที่ยงเท่านั้นแหละ แทบจะนรกแตกไม่ต่างจาก กทม. ถือว่าผิดหวังอยู่ไม่น้อย กับอากาศของเชียงคาน คิดไว้ว่าจะเย็นสบายกว่านี้ แต่เรื่องดิน ฟ้า อากาศเราจะไปโทษใครได้ละ
.
เริ่มนั่งแก่วเพราะไม่รู้จะไปไหนต่อ จึงไปขอเช่าจักยานญี่ปุ่นเก่าๆจากคุณลุงข้างบ้านในราคา 50 บาท อันที่จริงก็มีร้านเช่าจักรยาน มอเตอร์ไซต์ กระจายอยู่ทั่วเชียงคาน ในส่วนของมอเตอร์ไซต์จะอยู่ที่ราคา 250 - 350 บาท (ถ้าย้อนกลับไปได้ เราคิดว่าการเช่ามอเตอร์ไซต์คุ้มค่ากว่า เพราะขับไปท่องเที่ยวได้หลายที่)
.
.
จุดหมายของวันนี้คือแก่งคุดคู้ สถานที่เที่ยวชื่อดังของเชียงคาน ระยะทางจากที่พักไปประมาณ 7 กิโลเมตร มีเส้นทางสำหรับจักรยานลัดเลาะริมฝั่งโขงจนไปถึงแก่ง ถ้าอากาศเย็นสบายกว่านี้ มันคงเป็นเส้นทางที่น่าปั่นจักรยาน พร้อมเสพบรรยากาศริมฝั่งโขงน่าดู แต่ด้วยอากาศร้อนขนาดนี้ เราแทบจะไม่เหลือเวลามาเสพความงาม เพราะแดดที่พร้อมจะแผดเผาให้ผิวแทบไหม้เกรียม
.
.
มาถึงแก่งคุดคู้ช่วงเวลา 11 โมงเช้า ก็ต้องผิดหวังอีกตามเคย แทบไม่มีอะไรเลย นอกจากฝูงคนที่หนาแน่น มีร้านขายของที่ระลึก ของกินอยู่ 20 30 ร้าน พร้อมร้านอาหารริมแม่น้ำ 4-5 ร้าน แน่นขนัดไปด้วยผู้คน เรานั่งโง่ๆ มองดูแก่งคุดคู้ที่ยื่นออกไปในแม่น้ำโขง เป็นภาพโค้งน้ำที่สวยงามดี แต่ก็ไม่ได้น่าตื่นตาอะไรนัก หากเทียบกับระยะทางไกลที่เดินทางมาชม และผู้คนที่เยอะถึงเพียงนี้ อาจเป็นเพราะอากาศที่ร้อนด้วยละมัง เลยทำเอาเสียบรรยากาศไป
.
เราปั่นจักรยานกลับมายังบ้านพัก รอคอยเวลาออกอีกครั้งในช่วงเย็น นับเป็นช่วงเวลาน่าเบื่อ เพราะมาเที่ยวทั้งที ดันต้องมานั่งแก่วอยู่เฉยๆ แต่กลับกัน มันก็นับเป็นช่วงเวลาที่ได้หยุดพัก เราหลับไปในช่วงบ่าย บ้านไม้ป้าติ้งชั้นล่างยังคงเย็นสบาย นึกแล้วคิดถึงสมัยเราอยู่บ้านไม้ตอนเด็กๆ ต่อให้อากาศภายนอกจะร้อนอย่างไร บ้านก็โอบรับความร้อนแทนเราได้เสมอ
.
ถนนคนเดิน เชียงคาน
.
เราออกตะลอนกันอีกครั้งเมื่อเวลา 5 โมงเย็น แสงแดดค่อยๆลดอุณหภูมิความร้อนลง จนกลายเป็นความอบอุ่น ในช่วงเวลาที่ร้านค้ายังตั้งไม่ครบ เราเลือกเดินลัดริมฝั่งโขง เพื่อชมพระอาทิตย์ตกดิน พระอาทิตย์ไม่ว่าจะตกที่แห่งไหน มันยังคงเป็นช่วงเวลา โรแมนติกเสมอ เป็นกิจกรรมที่เราสามารถนั่งดูไม่มีเบื่อ มันสงบ สบาย ภายใต้น้ำโขง ที่ไหลอย่างช้าๆ มองไปทางฝั่งประเทศลาว ให้ความรู้สึกสบายใจ รับรู้ได้ถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่าย จากบ้านเรือน และป่าไม้ที่แน่นขนัดตา
"เพียงปล่อยให้หัวใจ ได้คิดไปตามแสงแดด ในที่สุดความคิดก็เริ่มสงบลง เฉกเช่นเดียวกันกับแสงอาทิตย์ที่ค่อยหายไปจากผืนน้ำโขง"
.
ถนนคนเดินวันนี้ เต็มไปด้วยผู้คนเต็มทางเดิน รวงร้านเปิดพร้อมเพียง เมื่อเวลา 6 โมงเย็น ของกินเต็มไปหมด มีให้เลือกสรรกันมากมาย คิดว่ากลับมาซิกแพคที่บรรจงสร้างมาแรมเดือน คงหายไปพร้อมกับอาหารการกิน ที่เชียงคานในค่ำคืนนี้
.
เราเดินไปเดินมาอยู่หลายรอบ กินนู้นที นี้ทีจนแน่นท้อง นาฬิกาเตือนว่าวันนี้เดินไปจนครบ 10,000 ก้าวขาก็เริ่มล้า แต่ยังคงเดินกันต่อไปเพราะรู้ว่ามีเวลาแค่ 1 วัน
.
ตัดสินใจซื้อเบียร์เซเว่นมานั่งกินริมโขง แสงไฟจากฝั่งไทยดูสว่างไสวตลอดริมน้ำ เมื่อเทียบกับฝั่งลาวที่มืดสนิท คืนนี้ไม่มีแก้วดีๆ หรือโต๊ะสวยๆนั่งจิบเบียร์ มีเพียงที่นั่งริมฟุตบาทมืดๆ พร้อมกระดกเบียร์เข้าปากอย่างชื่นใจ ฟ้าคืนนี้แจ่มใส จนต้องลุ้นกันว่าพรุ่งนี้จะเจอทะเลหมอกรึเปล่า ฤทธิ์ของเบียร์ 1 ขวด ทำให้ค่ำคืนแรก ที่อากาศร้อนอบอ้าว ณ เชียงคานผ่านไปด้วยดี ตั้งแต่หัวถึงหมอนด้วยความเหนื่อยล้ามาตลอดทั้งวัน
ทะเลหมอกภูทอก
.
นัดกับลุงขับสามล้อตอนเช้ามืด เพื่อเดินทางไปชมทะเลหมอกภูทอก (ขอเบอร์ได้จากที่พัก) ราคาค่ารถลุงคิดเราคนละ 100 บาท บวกกับค่ารถกระบะขึ้นภูอีกคนละ 25 บาท เชียงคานในเวลาตีห้าครึ่ง เมืองก็ถูกปลุกด้วยตลาดเช้า และภาพพระสงฆ์เริ่มออกบิณฑบาตร รถแล่นออกจากเชียงคานมุ่งสู่ภูทอก อากาศเย็นสบายเมื่อออกจากเมือง และเข้าใกล้ป่าไม้ เราเริ่มเห็นหมอกบางๆอยู่ไกลลิบตา ไม่นานนักเราก็มาถึงบนยอดภู
(วิวบนภูทอกมองลงไปเป็นเมืองเชียงคาน ส่วนอีกฝั่งแม่น้ำคือประเทศลาว)
พาคุณไป...ตะลอนเชียงคาน
2 อาทิตย์ก่อนถึงวันหยุดยาวช่วงเดือน 7 การไม่มีแพลนไปไหน ดูเหมือนเป็นเรื่องเบื่อน่าดู การเดินทางไปเชียงคานจึงเกิดขึ้น ทุกวันนี้อะไรๆ ก็สะดวกสบายไปหมด จะจองรถ จองที่พัก ก็แค่เสิร์ซใน google ข้อมูลทุกอย่างก็มีให้หมด ทั้งรีวิว ตั๋วรถ ที่พัก โดยเฉพาะที่เที่ยวมีชื่อเสียงมายาวนานเช่นเชียงคาน การหาข้อมูล และการเดินทางดูเหมือนเป็นสิ่งง่ายดาย
.
เราจองรถกับบริษัทขนส่ง บขส 999 ดูเหมือนเจ้านี้จะได้รับคะแนนรีวิวค่อนข้างดี บวกกับราคาตั๋วไม่แพงมากนัก เรารีบจัดการจองรถทั้งขาไป-ขา
กลับ รวมราคาอยู่ที่ 1000 บาท การนั่งรถทัวร์ไปเชียงคาน มีข้อดีคือรถจะไปส่งเราถึงจุดหมายที่ตัวเมืองเชียงคานเลย
.
ถัดมาเรามาจองที่พัก การเดินทางของเราปกติแล้ว ไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายไว้มากกว่า 2,000 บาท สำหรับทริป 3 วัน 2 คืนแบบนี้ การเลือกที่พักจำเป็นต้องเลือกราคาถูก และก็ได้มาในราคา 300 บาทต่อคืน ในชื่อของ “เฮือนพูลทิพย์”
(บรรยากาศที่พัก ห้องพัดลม)
.
การเดินทางเริ่มต้นขึ้นวันเสาร์ช่วงเย็น ไม่เคยนับว่าเป็นการเดินทางครั้งที่เท่าไหร่แล้ว แต่มันมากพอ ที่ไม่ทำให้เกิดความตื่นเต้น หรือวางแผนจัดกระเป๋าล่วงหน้าเหมือนสมัยเดินทางใหม่ๆ ทุกวันนี้ใช้เวลา 5 นาทียัดของเข้ากระเป๋า ก็พร้อมออกเดินทาง
บางทีสิ่งของไม่กี่ชิ้นในเป้ใบนี้ ก็เพียงพอแล้วสำหรับการมีชีวิตอยู่ได้
.
ฝนตกตลอดช่วงบ่ายวันเสาร์ บรรยากาศพาเรา อยากนอนอ่านหนังสือในห้องแบบนี้เรื่อยไป แต่เวลาก็เตือนแล้วว่าต้องออกเดินทาง สะพายเป้พร้อมรองเท้าคู่ใจ เดินฝ่าน้ำขังบนพื้น เพื่อไปขึ้นรถเมล์สาย 1 ลงโรบินสันบางรัก และต่อรถเมล์สาย 77 ไปส่งเราหมอชิต
.
การนั่งรถเมล์ไม่ใช่เรื่องคุ้นชิน สำหรับสิงนักบิดมอเตอร์ไซต์ใน กทม เช่นเรา ตั๋วรถเมล์ที่เคยนั่งประจำสมัยมัธยมเมื่อ 8 ปีก่อน ขึ้นจาก 6 บาท เป็น 10 บาท บรรยากาศสองข้างทาง ถ.เจริญกรุงกลับมาคึกคักดังเดิม จากที่เมื่อสาม สี่ เดือนก่อน เหงาหงอยสุดๆ ตอนนี้จะขาดก็แต่ภาพนักท่องเที่ยวต่างชาติ ถนนเส้นนี้รอคอยการกลับมาเติมสีสันของพวกเขาอยู่
.
รถเมลสาย 77 แล่นเรื่อยมา บนบรรยากาศฟ้าครื้มที่รถไม่ติดนัก เรามาถึงหมอชิต 1 ทุ่มตรง เพื่อรอเวลารถออกตอน 2 ทุ่ม เราเลือกเดินทางเวลานี้เพราะว่าจะไปถึงเชียงคานช่วง 7 โมงเช้าพอดี หมอชิตยังคงขาดภาพกลุ่มวัยรุ่นนักเดินทาง ที่ดูน้อยลงถนัดตา ถ้าเทียบกับปีก่อนๆ
.
รถทัวร์ออกเดินทางตรงเวลา การเดินทางโดยรถทัวร์มีข้อดีคือ เราสามารถวางแผนเวลาได้แน่นอน กว่าการเดินทางโดยรถไฟ แต่ถึงอย่างนั้นก็ใช่รถไฟจะไม่ดี รถไฟยังคงแฝงเรื่องราวการเดินทางพิเศษสุดให้กับเราเสมอ
.
กึ่งหลับกึ่งตื่นตลอดคืน จากเสียงกรนดังลั่นของชายผู้หนึ่ง
.
.
เช้าวันใหม่กับภาพแรกของเชียงคาน ปรากฎให้เห็นตรงหน้า มันเจริญและขวักไขว่ไปด้วยผู้คนมากกว่าที่คิดไว้ ความยอดนิยมมายาวนาน คงผลักดันให้เกิดความเจริญ เราเดินฝ่าการจราจรที่หนาแน่นเพื่อข้ามจากเชียงคานฝั่งเหนือ ลงไปสู่ฝั่งใต้ โดยมีถนนคั่นกลาง ตามคำบอกกล่าวของชาวบ้านคนหนึ่ง ที่เข้าไปถามทาง
.
สิ่งแรกคือหาของกินประทังท้องที่ร้องมาตลอดคืน เราเริ่มเปิดฉากการกิน ด้วยข้าวจี่ 1 ไม้ราคา 10 บาท เดินไปตามถนนริมโขง ที่เป็นเหมือนเป็นซิกเนเจอร์ของเชียงคาน จนไปสะดุดเข้ากับป้ายร้านอาหารในซอยเล็กๆ ข้างวัดศรีขุ่นเมืองเข้า หากจะมีซัก 1 สิ่งแนะนำสำหรับคนมาที่นี่ เราคงแนะนำเป็น 2 ร้านอาหารนี้
.
.
ร้านที่ 1 คือข้าวปุ้นน้ำแจ่ว ของป้าปลั่ง
.
รสชาติแซ่บไม่เป็นสองรองใคร นักเดินทางอย่างเราที่ไม่เชี่ยวชาญเรื่องของกินเท่าไหร่ แต่เมนูข้าวปุ้นของป้าราคา 40 บาท ตอบโจทย์ความต้องการทุกอย่าง อิ่ม อร่อย เป็นเมนูท้องถิ่น เรากินด้วยความหิวโซ แถมป้ายังใจดี ให้ผักมาจิ้มกับกะปิ พร้อมข้าวเหนียวฟรีๆ 1 กระติบ เพิ่งจะรู้ว่า การเอาผักจิ้มกะปิ กินกับข้าวเหนียวมันอร่อยเหมือนกันนะ
.
ร้านที่ 2 แหนมคลุกป้าแห่ว
.
ตอนเขียนน้ำลายก็ยังไหลอยู่ มันเป็นยำแหนมที่อร่อยจริงๆ ผักเติมไม่อั้นเช่นเคย แถมป้าให้เยอะในแบบที่กินได้ 2 คนในราคา 50 บาท แต่รสชาติยำของป้าก็แอบไม่แซ่บในบางคำ แต่นั่นไม่ใช่ปัญหา เพราะอยากเติมรสชาติอะไรเข้าไป ก็บอกป้าแกได้ตลอดเลย
ร้านข้าวปุ้นจะเปิดตั้งแต่เช้า 7-8 โมงเช้า ส่วนร้านยำแหนมจะเปิดตั้งแต่ 9 โมงครึ่ง และหมดอย่างไวไม่เกินเที่ยง แต่รับประกันจริงๆว่าไม่ควรพลาด
.
.
ที่พักเราเป็นบ้านไม้สองชั้น นำมากั้นห้องเล็กๆ สำหรับไว้ซุกหัวนอน ลูกค้าส่วนใหญ่ล้วนเป็น หนุ่มสาวนักเดินทางวัยแรกรุ่น ที่ขอแค่มีที่ซุกหัวนอน ในราคาไม่แพงก็ถือว่าเยี่ยมยอดแล้ว
.
หากใครคาดหวังความสวยงาม น่าอยู่ ที่นี่คงไม่ตอบโจทย์ แต่ถ้าอยากได้ความเป็นกันเองของป้าติ้ง เจ้าของบ้านพัก ที่มักถามไถ่นักเดินทางทุกคนด้วยความเป็นห่วง แกพร้อมอำนวยความสะดวก แทบทุกอย่างด้วยตัวคนเดียว แถมยังชวนคุยกับนักเดินทางได้ไม่รู้เบื่อตลอดทั้งวัน
สำหรับเรา เฮือนพูลทิพย์ยังคงเป็นบ้านพัก ที่อยากจะบอกต่อกับทุกคน เพราะการบริการที่ประทับใจของป้าติ้ง เหมือนเราเป็นลูกหลานคนหนึ่ง เดินทางกลับมาเยี่ยมแก ณ เชียงคาน
.
อากาศในช่วงเช้าไม่ร้อน ไม่หนาว แต่พอตกเที่ยงเท่านั้นแหละ แทบจะนรกแตกไม่ต่างจาก กทม. ถือว่าผิดหวังอยู่ไม่น้อย กับอากาศของเชียงคาน คิดไว้ว่าจะเย็นสบายกว่านี้ แต่เรื่องดิน ฟ้า อากาศเราจะไปโทษใครได้ละ
.
เริ่มนั่งแก่วเพราะไม่รู้จะไปไหนต่อ จึงไปขอเช่าจักยานญี่ปุ่นเก่าๆจากคุณลุงข้างบ้านในราคา 50 บาท อันที่จริงก็มีร้านเช่าจักรยาน มอเตอร์ไซต์ กระจายอยู่ทั่วเชียงคาน ในส่วนของมอเตอร์ไซต์จะอยู่ที่ราคา 250 - 350 บาท (ถ้าย้อนกลับไปได้ เราคิดว่าการเช่ามอเตอร์ไซต์คุ้มค่ากว่า เพราะขับไปท่องเที่ยวได้หลายที่)
.
.
จุดหมายของวันนี้คือแก่งคุดคู้ สถานที่เที่ยวชื่อดังของเชียงคาน ระยะทางจากที่พักไปประมาณ 7 กิโลเมตร มีเส้นทางสำหรับจักรยานลัดเลาะริมฝั่งโขงจนไปถึงแก่ง ถ้าอากาศเย็นสบายกว่านี้ มันคงเป็นเส้นทางที่น่าปั่นจักรยาน พร้อมเสพบรรยากาศริมฝั่งโขงน่าดู แต่ด้วยอากาศร้อนขนาดนี้ เราแทบจะไม่เหลือเวลามาเสพความงาม เพราะแดดที่พร้อมจะแผดเผาให้ผิวแทบไหม้เกรียม
.
.
มาถึงแก่งคุดคู้ช่วงเวลา 11 โมงเช้า ก็ต้องผิดหวังอีกตามเคย แทบไม่มีอะไรเลย นอกจากฝูงคนที่หนาแน่น มีร้านขายของที่ระลึก ของกินอยู่ 20 30 ร้าน พร้อมร้านอาหารริมแม่น้ำ 4-5 ร้าน แน่นขนัดไปด้วยผู้คน เรานั่งโง่ๆ มองดูแก่งคุดคู้ที่ยื่นออกไปในแม่น้ำโขง เป็นภาพโค้งน้ำที่สวยงามดี แต่ก็ไม่ได้น่าตื่นตาอะไรนัก หากเทียบกับระยะทางไกลที่เดินทางมาชม และผู้คนที่เยอะถึงเพียงนี้ อาจเป็นเพราะอากาศที่ร้อนด้วยละมัง เลยทำเอาเสียบรรยากาศไป
.
เราปั่นจักรยานกลับมายังบ้านพัก รอคอยเวลาออกอีกครั้งในช่วงเย็น นับเป็นช่วงเวลาน่าเบื่อ เพราะมาเที่ยวทั้งที ดันต้องมานั่งแก่วอยู่เฉยๆ แต่กลับกัน มันก็นับเป็นช่วงเวลาที่ได้หยุดพัก เราหลับไปในช่วงบ่าย บ้านไม้ป้าติ้งชั้นล่างยังคงเย็นสบาย นึกแล้วคิดถึงสมัยเราอยู่บ้านไม้ตอนเด็กๆ ต่อให้อากาศภายนอกจะร้อนอย่างไร บ้านก็โอบรับความร้อนแทนเราได้เสมอ
.
(วิวบนภูทอกมองลงไปเป็นเมืองเชียงคาน ส่วนอีกฝั่งแม่น้ำคือประเทศลาว)