ayahuasca
(กระเป๋าที่ทำจากจมูกสุนัขจิ้งจอก 3 ตัว ซึ่งเย็บติดกัน และที่คาดหัวสีสันสวยงามเป็นส่วนหนึ่งของโบราณวัตถุที่พบเจอในครั้งนี้ ภาพถ่ายโดย JUAN V. ALBARRACIN-JORDAN และ JOSÉ M. CAPRILES)
ภาชนะในพิธีกรรมที่ทำมาจากปลายจมูกสุนัขจิ้งจอก 3 ตัว ได้บรรจุหลักฐานเก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับสูตรยาหลอนประสาท แห่งลุ่มน้ำแอมะซอน
กระเป๋าใบเล็กๆ ที่ทำมาจากปลายจมูกสุนัข 3 ตัวถูกเย็บติดกันเป็นอย่างดี ได้บรรจุหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับการใช้งานยาหลอนประสาท อะยาวัสกา (ayahuasca) ซึ่งเป็นสูตรยาที่มีผลทางจิตชนิดหนึ่ง ที่ชนเผ่าโบราณในลุ่มน้ำแอมะซอนใช้มันเพื่อทำให้เกิดอาการประสาทหลอน
กระเป๋าใบนี้อาจเคยเป็นของหมอผีเมื่อราวหนึ่งพันปีที่แล้วในพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศโบลิเวียปัจจุบัน ตามคำกล่าวของ โฆเซ กาปริเลส (Jose Capriles) นักมานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัยรัฐเพนน์ และเป็นผู้เขียนงานวิจัยนี้ในวารสาร PNAS เขาเจอกระเป๋าดังกล่าวในช่วงการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อปี 2010 ในถ้ำ เกวาเดลซิเลโน (Cueva del Chileno) ที่เป็นหลักฐานแสดงกิจกรรมของมนุษย์เมื่อ 4000 ปีที่ผ่านมา
ภายในถ้ำมีการพบเจอลูกปัด ผมเปียมนุษย์ และสิ่งของที่ตอนแรก เขาคิดว่ามันคือรองเท้าหนัง แต่แท้จริงแล้วคือกระเป๋าในการประกอบพิธีกรรมของหมอผีที่ทำมาจากปลายจมูกของสุนัข ภายในบรรจุที่คาดผม ไม้พายที่ทำจากกระดูกของตัวลามา ท่อแกะสลัก พืชจำนวนหนึ่งอยู่ในกระเป๋า และแท่นไม้เล็กๆ สำหรับวางสารสำหรับสูดดม จากการตรวจสอบโดยใช้วิธีการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี (Radiocarbon Dating) พบว่า สิ่งของเหล่านี้มีอายุประมาณ 900 – 1170 ปีก่อนคริสตกาล
นอกจากนี้ นักวิจัยได้ทดสอบสารเคมีของพืชที่อยู่ในกระเป๋าใบนี้ พบว่ามีสารหลายประเภท เช่น บูโฟทีนิน (bufotenine) เบนโซอิลเอกโกนีน (Benzoylecgonine) โคเคน ไดเมทธิลทริปตามีน (Dimethyltryptamine) เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นสารที่ออกฤทธิ์คล้ายสารยาเสพติดทั้งสิ้น
(หมอยาโบราณใช้อะยาวัสกา (ayahuasca) ระหว่างพิธีกรรมเพื่อการรักษาโรคในประเทศโคลัมเบีย โดยการพบเจอที่ถ้ำโบลีเวียครั้งนี้เป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่เก่าแก่ที่สุดในเรื่องการใช้อะยาวัสกา ภาพถ่ายโดย EITAN ABRAMOVICH, AFP/GETTY)
แม้การใช้ยาหลอนประสาทอะยาวัสกา จะถูกขนานนามว่าเป็น “สูตรโบราณ” แต่อายุและวิธีการปรุงยาชนิดนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ การค้นพบของกาปริเลสได้รับการพิจารณาว่าเป็นการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับการใช้ยา อะยาวัสกา ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก แม้จะยังไม่มีวิธีการพิสูจน์ว่าหมอผีแห่งถ้ำเกวาเดลซิเลโน จะกลั่นหรือใช้งาน อะยาวัสกา จากส่วนประกอบที่พบเจอในกระเป๋าใบนี้หรือไม่ แต่ก็เชื่อว่าส่วนประกอบเหล่านี้สามารถเป็นส่วนผสมในการปรุงยาดังกล่าวได้จริงๆ
ในทุกวันนี้ อะยาวัสกา กำลังเป็นที่นิยม เพราะผลทางจิตของยาทำให้ผู้ใช้ “เคลิบเคลิ้ม” ถือเป็นคุณประโยชน์สำหรับผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตใจหรือผู้ป่วย ซึ่งมีความความต้องการใช้ยาชนิดนี้ทั้งในทวีปอเมริกาใต้และสหรัฐอเมริกา อันเป็นสถานที่ที่หมอผีประกอบพิธีกรรมที่ใช้อะยาวัสกา สำหรับผู้ที่ต้องการ
Cr.https://ngthai.com/history/21592/ancienthallucinogensfound/
plant of joy
(รูปสลักเทพธิดาแห่ง Heraklion จากเกาะครีตที่มีมงกุฏดอกฝิ่นประดับบนศีรษะ Cr.http://benedante.blogspot.com)
ฝิ่นนั้นเป็นสารเสพติดที่มนุษย์เรารู้จักกันมายาวนานตั้งแต่ครั้งก่อนอารยธรรมแรกจะปรากฏขึ้นบนโลก หลักฐานแรกคือกระเปาะฝิ่นที่ขุดพบในหลุมศพของมนุษย์ยุคนีโอลิธิกในถ้ำ Cueva de los Murciélagos ของสเปนซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่า 6200 ปี
ส่วนหลักฐานแรกที่แสดงว่ามนุษย์มีการเพาะปลูกเก็บเกี่ยวฝิ่นนั้นคือแผ่นดินเหนียวจารอักษรลิ่มของชาวสุเมเรียนเมื่อ 5400 ปีที่แล้ว และให้ชื่อพืชชนิดนี้ว่า พืชแห่งความเริงรมย์ (joy plant, plant of joy) เพื่อช่วยให้นอนหลับและแก้อาการท้องร่วง แต่วัตถุประสงค์หลักที่ชนโบราณที่ใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ในฐานะของ “ยาชา” ในบันทึกปาปิรัสของชาวอียิปต์ยังแนะนำว่าให้ทาฝิ่นไว้ที่หัวนมของแม่นมเพื่อให้เด็กหยุดร้องไห้
ฝิ่นนั้นเป็นทั้งสารเสพติดและยาแก้เจ็บแก้ปวดมาตั้งแต่โบราณ ชาวกรีกผสมมันลงในตำรับยาพิษสำหรับโทษประหารชีวิตซึ่งมีรากต้นเฮมล็อก (hemlock) เป็นส่วนผสมหลักเพื่อไม่ให้ผู้ถูกประหารต้องเจ็บปวดจากพิษมากเกินไป แน่นอน ยาพิษที่พี่โสเครติสของเราดื่มก็คือยาพิษสูตรนี้เอง
ช่วงยุคไบแซนไทน์มีการกล่าวถึงยาชนิดหนึ่งซึ่งสกัดมาจากฝิ่น น่าเสียดายที่สูตรยาดังกล่าวสูญหายไปในช่วงที่ชาวออตโตมันเข้าตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลในปี 1453 ต่อมาในศตวรรษที่ 16 หลังจากที่ พาราเชลซุส (Paracelsus) นักแปรธาตุและนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัยได้ตระเวนอยู่ในคาบสมุทรอารเบียและกลับมาที่ยุโรปแล้ว เขาก็นำฝิ่นไปผสมลงในแอลกอฮอล์เพื่อทำเป็นยาฆ่าเชื้อที่มีคุณสมบัติระงับปวดในตัว
การใช้ฝิ่นในวงการแพทย์จึงหวนคืนสู่ยุโรปอีกครั้งหลังจากห่างหายไปนานนับตั้งแต่เริ่มยุคกลางอันดำมืด การใช้ฝิ่นเพื่อระงับปวดนี้ยังคงมีต่อเนื่องมาจนถึงสมัยสงครามกลางเมืองอเมริกันซึ่งมอร์ฟีน (ยาที่สกัดมาจากฝิ่นอีกที) เริ่มเข้ามามีบทบาท หลังจากนั้นการใช้ฝิ่นเป็นยาแก้ปวดก็ห่างหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ เนื่องจากฝิ่นนั้นให้ผลลัพท์ที่ไม่สม่ำเสมอและค่อนข้างคาดการณ์ได้ยากเมื่อเทียบกับยาแก้ปวดอย่างมอร์ฟีน
เรียบเรียงโดย แมวบก
Cr.
https://www.facebook.com/1686097691645589/posts/2268830603372292/ประวัติศาสตร์ฮาเฮ
Psilocybin
(รูปปั้นสลักเห็ดของชาวมายาโบราณ)
“เห็ดขี้ควาย” ขึ้นอยู่ตามกองขี้ควายแห้ง จะออกฤทธิ์กับระบบประสาท ถ้าใครกินเห็ดนี้เข้าไปแล้วก็จะมึนเมา ประสาทหลอน แต่ถ้ากินมากเกินไปก็อาจจะถึงขั้นควบคุมสติไม่อยู่ คลื่นไส้ อาเจียน และอาจถึงตายได้ ชนโบราณในอดีตที่ “เสพ” เห็ดขี้ควายคือกลุ่มพื้นที่ที่อยู่บริเวณทะเลทรายซาฮาราและวัฒนธรรมของดินแดนโลกใหม่ ทั้งอเมริกากลางและอเมริกาใต้
นักโบราณคดีค้นพบหลักฐานของการ ปลูกเห็ดขี้ควายเป็นครั้งแรกจากพื้นที่ประเทศแอลจีเรีย (Algeria) เมื่อราว 9,000 ถึง 7,000 ปี ก่อนคริสตกาล ในอดีตนั้นเห็ดชนิดนี้ถูกเรียกขานกันว่า “เห็ดเวทมนตร์” ด้วยว่าเมื่อกินเห็ดนี้เข้าไปแล้วจะทำให้มีอาการคลื่นเหียนและเกิดอาการประสาทหลอน ทำให้ชนโบราณเชื่อกันว่า การกินเห็ดชนิดนี้เข้าไปแล้วจะทำให้เฉลียวฉลาดมากขึ้น
ซึ่งในดินแดนอเมริกาโบราณ โดยเฉพาะอเมริกาใต้ช่วงประมาณ 1,000 ถึง 500 ปีก่อนคริสตกาลก็มีการเสพเห็ดขี้ควายเพื่อให้เข้าสู่ภวังค์ด้วยเช่นกัน โดยชาวอเมริกาใต้โบราณมีความเชื่อว่าเห็ดเวทมนตร์นี้จะช่วยให้พวกเขาสามารถเห็นในสิ่งที่สายตาปกติไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งข้อเท็จจริงก็คือมันเป็นผลมาจากอาการประสาทหลอนนั่นเอง
บทความโดย ณัฐพล เดชขจร
ทีมงาน นิตยสาร ต่วย'ตูน
Cr.
https://www.thairath.co.th/content/747307
Nymphaea lotus
ในอียิปต์สมัยโบราณนั้น ดอกบัวหลวงยังไม่เป็นที่รู้จัก เพราะถูกนำเข้ามาภายหลังในยุคที่ถูกรุกรานโดยอาณาจักรเปอร์เซีย ต่อมาเมื่อมีการค้นพบซากดอกบัวแห้งในสุสานของกษัตริย์รามเสสและตุตันคาเมน เรียกว่า “sacred Lotus of the Nile” ก่อนที่นักพฤกษศาสตร์จะจำแนกได้ภายหลังว่าเป็นดอกบัวสาย หรือ Nymphaea lotus เจริญแพร่พันธุ์อยู่ในแม่น้ำไนล์เป็นเครื่องหมายของความบริสุทธิ์ มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ว่าชาวอียิปต์นิยมล่องเรือชมบัวในแม่น้ำไนล์ด้วย
ดอกบัวที่เป็นดอกไม้ศักดิ์สิทธิของอียิปต์คือชนิดสีน้ำเงิน บัวชนิดนี้อยู่ตามผนังสุสานสมัยโบราณ และหัวเสาซึ่งนิยมสลักเป็นรูปดอกบัว ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ทำให้ดอกบัวชนิดนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศอียิปต์ตอนบน
ดอกบัวสีน้ำเงินนี้มีความเชื่อมโยงกับตำนานเรื่องการสร้างโลก ซึ่งชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่า เดิมจักรวาลเป็นที่มืดเต็มไปด้วยมหาสมุทร ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดๆ ต่อมามีดอกบัวสีน้ำเงินขนาดยักษ์ผุดขึ้นจากน้ำและค่อยๆ แย้มกลีบออก พระผู้สร้างหรือองค์สุริยเทพ “รา” ถือกำเนิดขึ้นทรงประทับอยู่ตรงใจกลางดอกซึ่งเป็นสีทอง กลิ่นหอมหวานจากดอกบัวได้อบอวลไปทั่วพื้นน้ำ แสงสว่างสาดส่องออกมาจากร่างของพระองค์เพื่อขับไล่ความมืดให้อันตรธานไป และดอกบัวจะหุบกลีบลงเมื่อสิ้นวัน ความวุ่นวายจะเกิดขึ้นตลอดทั้งคืนจนกว่าพระผู้สร้างจะปรากฏตัวอีกครั้ง
ชาวอียิปต์ถือว่าเกสรสีเหลืองทองใจกลางดอกบัวสีน้ำเงิน เปรียบได้กับแสงสว่างของพระอาทิตย์ที่ตัดกับขอบฟ้า ดอกบัวชนิดนี้บานยามเช้าและหุบกลีบในเวลาบ่าย จึงเตือนให้นึกถึงการขึ้นและตกของพระอาทิตย์ เชื่อกันว่าวิญญาณของคนตายจะกลับเข้าร่างใหม่เหมือนดอกบัวสีน้ำเงินแย้มกลีบบานอีกครั้งเพื่อรับแสงอาทิตย์ยามเช้า ถือเป็นสัญลักษณ์ของการเกิดใหม่หลังความตาย บัวชนิดนี้จึงมักถูกใช้ในพิธีศพ ดังจะเห็นว่าโลงทองชั้นในสุดของกษัตริย์ตุตันคาเมนก็ถูกโปรยทับด้วยกลีบบัวสีน้ำเงิน
เทพเนเฟอร์เตม ซึ่งเป็นเทพแห่งการเยียวยา เครื่องสำอางและเครื่องหอมของชาวอียิปต์โบราณ ถือเป็นเทพแห่งดอกบัวสีน้ำเงินด้วย มักปรากฏในภาพวาดโดยมีมงกุฎดอกบัวสีน้ำเงินอยู่บนเศียร บางตำราว่าพลังอำนาจในการเยียวยาของเทพเนเฟอร์เตมจะถูกส่งผ่านทางดอกไม้ ตำนานว่าเทพเนเฟอร์เตมเคยนำดอกบัวสีน้ำเงินไปถวายสุริยเทพ “รา” เพื่อใช้เยียวยาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย จึงเชื่อว่าชาวอียิปต์โบราณใช้สารเสพติดจากกลีบบัวเพื่อรักษาโรคและใช้ผสมไวน์ดื่มในงานเฉลิมฉลองต่างๆ ส่วนชนชั้นสูงก็มักใช้บัวสีน้ำเงินและแมนเดรกผสมในตัวยาสำหรับบำบัดโรค ใช้สะกดจิตและใช้ในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิหรือการบูชาเทพเจ้า
Cr.
https://www.kankaan.net/2019/03/20/บัวสีน้ำเงิน-ดอกไม้ศัก-2/
พืชที่ถูกพบในมัมมี่
พืชเสพติดที่มีชื่อว่า ต้นฮาร์มาล (Harmal) ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเดียตะวันตก อิหร่าน รวมถึงอารยธรรมอเมริกาใต้ในแถบเทือกเขาแอนดีส (Andes) สรรพคุณคือ เมื่อนำดอกของพืชชนิดนี้ไปผ่านกระบวนการกลั่นแล้วจะได้สารเคมีที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านอาการซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังใช้บรรเทาอาการอักเสบต่างๆและบรรเทาอาการไข้ได้อีกด้วยครับ
โดยหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงให้เห็นถึงการใช้ยาเสพติดชนิดนี้ในสมัยโบราณก็คือ มีการค้นพบฮาร์มาลปะปนอยู่กับเส้นผมของมัมมี่เด็กทารกอายุหนึ่งขวบและมัมมี่ของชายหนุ่มที่ถูกฝังอยู่ทางตอนเหนือของประเทศชิลี นอกจากนั้น แล้วยังมีการค้นพบอุปกรณ์สำหรับเสพฮาร์มาลถูกฝังเอาไว้กับมัมมี่จากเทือกเขาแอนดีสเหล่านี้ด้วย
Coca Leaf
ชนเผ่า อินคามีการใช้ใบโคคาเพื่อ “มอม” เด็กอายุราวๆ 6 ถึง 10 ขวบ ก่อนที่จะพาไปบูชายัญบนเทือกเขาสูง จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าชนเผ่าอินคาจะมอมเด็กๆเหล่านี้ด้วยแอลกอฮอล์และใบโคคาเพื่อให้เมาก่อนที่จะพาขึ้นไปปลิดชีพบนภูเขา ซึ่งชนเผ่าอินคาถือว่าการบูชายัญเด็กเช่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม จึงพบมัมมี่ของชาวอินคาถูกฝังเอาไว้พร้อมกับถุงบรรจุใบโคคาอยู่บ่อยครั้ง
ที่มา
https://board.postjung.com/731346 / ทีมงาน นิตยสาร ต่วย'ตูน
Cr.
https://www.thairath.co.th/content/747307 / โดย :ณัฐพล เดชขจร
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
พืชเสพติดในสมัยโบราณ
(กระเป๋าที่ทำจากจมูกสุนัขจิ้งจอก 3 ตัว ซึ่งเย็บติดกัน และที่คาดหัวสีสันสวยงามเป็นส่วนหนึ่งของโบราณวัตถุที่พบเจอในครั้งนี้ ภาพถ่ายโดย JUAN V. ALBARRACIN-JORDAN และ JOSÉ M. CAPRILES)
ภาชนะในพิธีกรรมที่ทำมาจากปลายจมูกสุนัขจิ้งจอก 3 ตัว ได้บรรจุหลักฐานเก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับสูตรยาหลอนประสาท แห่งลุ่มน้ำแอมะซอน
กระเป๋าใบเล็กๆ ที่ทำมาจากปลายจมูกสุนัข 3 ตัวถูกเย็บติดกันเป็นอย่างดี ได้บรรจุหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับการใช้งานยาหลอนประสาท อะยาวัสกา (ayahuasca) ซึ่งเป็นสูตรยาที่มีผลทางจิตชนิดหนึ่ง ที่ชนเผ่าโบราณในลุ่มน้ำแอมะซอนใช้มันเพื่อทำให้เกิดอาการประสาทหลอน
กระเป๋าใบนี้อาจเคยเป็นของหมอผีเมื่อราวหนึ่งพันปีที่แล้วในพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศโบลิเวียปัจจุบัน ตามคำกล่าวของ โฆเซ กาปริเลส (Jose Capriles) นักมานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัยรัฐเพนน์ และเป็นผู้เขียนงานวิจัยนี้ในวารสาร PNAS เขาเจอกระเป๋าดังกล่าวในช่วงการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อปี 2010 ในถ้ำ เกวาเดลซิเลโน (Cueva del Chileno) ที่เป็นหลักฐานแสดงกิจกรรมของมนุษย์เมื่อ 4000 ปีที่ผ่านมา
ภายในถ้ำมีการพบเจอลูกปัด ผมเปียมนุษย์ และสิ่งของที่ตอนแรก เขาคิดว่ามันคือรองเท้าหนัง แต่แท้จริงแล้วคือกระเป๋าในการประกอบพิธีกรรมของหมอผีที่ทำมาจากปลายจมูกของสุนัข ภายในบรรจุที่คาดผม ไม้พายที่ทำจากกระดูกของตัวลามา ท่อแกะสลัก พืชจำนวนหนึ่งอยู่ในกระเป๋า และแท่นไม้เล็กๆ สำหรับวางสารสำหรับสูดดม จากการตรวจสอบโดยใช้วิธีการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี (Radiocarbon Dating) พบว่า สิ่งของเหล่านี้มีอายุประมาณ 900 – 1170 ปีก่อนคริสตกาล
นอกจากนี้ นักวิจัยได้ทดสอบสารเคมีของพืชที่อยู่ในกระเป๋าใบนี้ พบว่ามีสารหลายประเภท เช่น บูโฟทีนิน (bufotenine) เบนโซอิลเอกโกนีน (Benzoylecgonine) โคเคน ไดเมทธิลทริปตามีน (Dimethyltryptamine) เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นสารที่ออกฤทธิ์คล้ายสารยาเสพติดทั้งสิ้น
(หมอยาโบราณใช้อะยาวัสกา (ayahuasca) ระหว่างพิธีกรรมเพื่อการรักษาโรคในประเทศโคลัมเบีย โดยการพบเจอที่ถ้ำโบลีเวียครั้งนี้เป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่เก่าแก่ที่สุดในเรื่องการใช้อะยาวัสกา ภาพถ่ายโดย EITAN ABRAMOVICH, AFP/GETTY)
แม้การใช้ยาหลอนประสาทอะยาวัสกา จะถูกขนานนามว่าเป็น “สูตรโบราณ” แต่อายุและวิธีการปรุงยาชนิดนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ การค้นพบของกาปริเลสได้รับการพิจารณาว่าเป็นการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับการใช้ยา อะยาวัสกา ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก แม้จะยังไม่มีวิธีการพิสูจน์ว่าหมอผีแห่งถ้ำเกวาเดลซิเลโน จะกลั่นหรือใช้งาน อะยาวัสกา จากส่วนประกอบที่พบเจอในกระเป๋าใบนี้หรือไม่ แต่ก็เชื่อว่าส่วนประกอบเหล่านี้สามารถเป็นส่วนผสมในการปรุงยาดังกล่าวได้จริงๆ
ในทุกวันนี้ อะยาวัสกา กำลังเป็นที่นิยม เพราะผลทางจิตของยาทำให้ผู้ใช้ “เคลิบเคลิ้ม” ถือเป็นคุณประโยชน์สำหรับผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตใจหรือผู้ป่วย ซึ่งมีความความต้องการใช้ยาชนิดนี้ทั้งในทวีปอเมริกาใต้และสหรัฐอเมริกา อันเป็นสถานที่ที่หมอผีประกอบพิธีกรรมที่ใช้อะยาวัสกา สำหรับผู้ที่ต้องการ
Cr.https://ngthai.com/history/21592/ancienthallucinogensfound/
plant of joy
(รูปสลักเทพธิดาแห่ง Heraklion จากเกาะครีตที่มีมงกุฏดอกฝิ่นประดับบนศีรษะ Cr.http://benedante.blogspot.com)
ฝิ่นนั้นเป็นสารเสพติดที่มนุษย์เรารู้จักกันมายาวนานตั้งแต่ครั้งก่อนอารยธรรมแรกจะปรากฏขึ้นบนโลก หลักฐานแรกคือกระเปาะฝิ่นที่ขุดพบในหลุมศพของมนุษย์ยุคนีโอลิธิกในถ้ำ Cueva de los Murciélagos ของสเปนซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่า 6200 ปี
ส่วนหลักฐานแรกที่แสดงว่ามนุษย์มีการเพาะปลูกเก็บเกี่ยวฝิ่นนั้นคือแผ่นดินเหนียวจารอักษรลิ่มของชาวสุเมเรียนเมื่อ 5400 ปีที่แล้ว และให้ชื่อพืชชนิดนี้ว่า พืชแห่งความเริงรมย์ (joy plant, plant of joy) เพื่อช่วยให้นอนหลับและแก้อาการท้องร่วง แต่วัตถุประสงค์หลักที่ชนโบราณที่ใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ในฐานะของ “ยาชา” ในบันทึกปาปิรัสของชาวอียิปต์ยังแนะนำว่าให้ทาฝิ่นไว้ที่หัวนมของแม่นมเพื่อให้เด็กหยุดร้องไห้
ฝิ่นนั้นเป็นทั้งสารเสพติดและยาแก้เจ็บแก้ปวดมาตั้งแต่โบราณ ชาวกรีกผสมมันลงในตำรับยาพิษสำหรับโทษประหารชีวิตซึ่งมีรากต้นเฮมล็อก (hemlock) เป็นส่วนผสมหลักเพื่อไม่ให้ผู้ถูกประหารต้องเจ็บปวดจากพิษมากเกินไป แน่นอน ยาพิษที่พี่โสเครติสของเราดื่มก็คือยาพิษสูตรนี้เอง
ช่วงยุคไบแซนไทน์มีการกล่าวถึงยาชนิดหนึ่งซึ่งสกัดมาจากฝิ่น น่าเสียดายที่สูตรยาดังกล่าวสูญหายไปในช่วงที่ชาวออตโตมันเข้าตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลในปี 1453 ต่อมาในศตวรรษที่ 16 หลังจากที่ พาราเชลซุส (Paracelsus) นักแปรธาตุและนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัยได้ตระเวนอยู่ในคาบสมุทรอารเบียและกลับมาที่ยุโรปแล้ว เขาก็นำฝิ่นไปผสมลงในแอลกอฮอล์เพื่อทำเป็นยาฆ่าเชื้อที่มีคุณสมบัติระงับปวดในตัว
การใช้ฝิ่นในวงการแพทย์จึงหวนคืนสู่ยุโรปอีกครั้งหลังจากห่างหายไปนานนับตั้งแต่เริ่มยุคกลางอันดำมืด การใช้ฝิ่นเพื่อระงับปวดนี้ยังคงมีต่อเนื่องมาจนถึงสมัยสงครามกลางเมืองอเมริกันซึ่งมอร์ฟีน (ยาที่สกัดมาจากฝิ่นอีกที) เริ่มเข้ามามีบทบาท หลังจากนั้นการใช้ฝิ่นเป็นยาแก้ปวดก็ห่างหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ เนื่องจากฝิ่นนั้นให้ผลลัพท์ที่ไม่สม่ำเสมอและค่อนข้างคาดการณ์ได้ยากเมื่อเทียบกับยาแก้ปวดอย่างมอร์ฟีน
เรียบเรียงโดย แมวบก
Cr.https://www.facebook.com/1686097691645589/posts/2268830603372292/ประวัติศาสตร์ฮาเฮ
Psilocybin
(รูปปั้นสลักเห็ดของชาวมายาโบราณ)
“เห็ดขี้ควาย” ขึ้นอยู่ตามกองขี้ควายแห้ง จะออกฤทธิ์กับระบบประสาท ถ้าใครกินเห็ดนี้เข้าไปแล้วก็จะมึนเมา ประสาทหลอน แต่ถ้ากินมากเกินไปก็อาจจะถึงขั้นควบคุมสติไม่อยู่ คลื่นไส้ อาเจียน และอาจถึงตายได้ ชนโบราณในอดีตที่ “เสพ” เห็ดขี้ควายคือกลุ่มพื้นที่ที่อยู่บริเวณทะเลทรายซาฮาราและวัฒนธรรมของดินแดนโลกใหม่ ทั้งอเมริกากลางและอเมริกาใต้
นักโบราณคดีค้นพบหลักฐานของการ ปลูกเห็ดขี้ควายเป็นครั้งแรกจากพื้นที่ประเทศแอลจีเรีย (Algeria) เมื่อราว 9,000 ถึง 7,000 ปี ก่อนคริสตกาล ในอดีตนั้นเห็ดชนิดนี้ถูกเรียกขานกันว่า “เห็ดเวทมนตร์” ด้วยว่าเมื่อกินเห็ดนี้เข้าไปแล้วจะทำให้มีอาการคลื่นเหียนและเกิดอาการประสาทหลอน ทำให้ชนโบราณเชื่อกันว่า การกินเห็ดชนิดนี้เข้าไปแล้วจะทำให้เฉลียวฉลาดมากขึ้น
ซึ่งในดินแดนอเมริกาโบราณ โดยเฉพาะอเมริกาใต้ช่วงประมาณ 1,000 ถึง 500 ปีก่อนคริสตกาลก็มีการเสพเห็ดขี้ควายเพื่อให้เข้าสู่ภวังค์ด้วยเช่นกัน โดยชาวอเมริกาใต้โบราณมีความเชื่อว่าเห็ดเวทมนตร์นี้จะช่วยให้พวกเขาสามารถเห็นในสิ่งที่สายตาปกติไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งข้อเท็จจริงก็คือมันเป็นผลมาจากอาการประสาทหลอนนั่นเอง
บทความโดย ณัฐพล เดชขจร
ทีมงาน นิตยสาร ต่วย'ตูน
Cr.https://www.thairath.co.th/content/747307
Nymphaea lotus
ในอียิปต์สมัยโบราณนั้น ดอกบัวหลวงยังไม่เป็นที่รู้จัก เพราะถูกนำเข้ามาภายหลังในยุคที่ถูกรุกรานโดยอาณาจักรเปอร์เซีย ต่อมาเมื่อมีการค้นพบซากดอกบัวแห้งในสุสานของกษัตริย์รามเสสและตุตันคาเมน เรียกว่า “sacred Lotus of the Nile” ก่อนที่นักพฤกษศาสตร์จะจำแนกได้ภายหลังว่าเป็นดอกบัวสาย หรือ Nymphaea lotus เจริญแพร่พันธุ์อยู่ในแม่น้ำไนล์เป็นเครื่องหมายของความบริสุทธิ์ มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ว่าชาวอียิปต์นิยมล่องเรือชมบัวในแม่น้ำไนล์ด้วย
ดอกบัวที่เป็นดอกไม้ศักดิ์สิทธิของอียิปต์คือชนิดสีน้ำเงิน บัวชนิดนี้อยู่ตามผนังสุสานสมัยโบราณ และหัวเสาซึ่งนิยมสลักเป็นรูปดอกบัว ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ทำให้ดอกบัวชนิดนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศอียิปต์ตอนบน
ดอกบัวสีน้ำเงินนี้มีความเชื่อมโยงกับตำนานเรื่องการสร้างโลก ซึ่งชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่า เดิมจักรวาลเป็นที่มืดเต็มไปด้วยมหาสมุทร ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดๆ ต่อมามีดอกบัวสีน้ำเงินขนาดยักษ์ผุดขึ้นจากน้ำและค่อยๆ แย้มกลีบออก พระผู้สร้างหรือองค์สุริยเทพ “รา” ถือกำเนิดขึ้นทรงประทับอยู่ตรงใจกลางดอกซึ่งเป็นสีทอง กลิ่นหอมหวานจากดอกบัวได้อบอวลไปทั่วพื้นน้ำ แสงสว่างสาดส่องออกมาจากร่างของพระองค์เพื่อขับไล่ความมืดให้อันตรธานไป และดอกบัวจะหุบกลีบลงเมื่อสิ้นวัน ความวุ่นวายจะเกิดขึ้นตลอดทั้งคืนจนกว่าพระผู้สร้างจะปรากฏตัวอีกครั้ง
ชาวอียิปต์ถือว่าเกสรสีเหลืองทองใจกลางดอกบัวสีน้ำเงิน เปรียบได้กับแสงสว่างของพระอาทิตย์ที่ตัดกับขอบฟ้า ดอกบัวชนิดนี้บานยามเช้าและหุบกลีบในเวลาบ่าย จึงเตือนให้นึกถึงการขึ้นและตกของพระอาทิตย์ เชื่อกันว่าวิญญาณของคนตายจะกลับเข้าร่างใหม่เหมือนดอกบัวสีน้ำเงินแย้มกลีบบานอีกครั้งเพื่อรับแสงอาทิตย์ยามเช้า ถือเป็นสัญลักษณ์ของการเกิดใหม่หลังความตาย บัวชนิดนี้จึงมักถูกใช้ในพิธีศพ ดังจะเห็นว่าโลงทองชั้นในสุดของกษัตริย์ตุตันคาเมนก็ถูกโปรยทับด้วยกลีบบัวสีน้ำเงิน
เทพเนเฟอร์เตม ซึ่งเป็นเทพแห่งการเยียวยา เครื่องสำอางและเครื่องหอมของชาวอียิปต์โบราณ ถือเป็นเทพแห่งดอกบัวสีน้ำเงินด้วย มักปรากฏในภาพวาดโดยมีมงกุฎดอกบัวสีน้ำเงินอยู่บนเศียร บางตำราว่าพลังอำนาจในการเยียวยาของเทพเนเฟอร์เตมจะถูกส่งผ่านทางดอกไม้ ตำนานว่าเทพเนเฟอร์เตมเคยนำดอกบัวสีน้ำเงินไปถวายสุริยเทพ “รา” เพื่อใช้เยียวยาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย จึงเชื่อว่าชาวอียิปต์โบราณใช้สารเสพติดจากกลีบบัวเพื่อรักษาโรคและใช้ผสมไวน์ดื่มในงานเฉลิมฉลองต่างๆ ส่วนชนชั้นสูงก็มักใช้บัวสีน้ำเงินและแมนเดรกผสมในตัวยาสำหรับบำบัดโรค ใช้สะกดจิตและใช้ในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิหรือการบูชาเทพเจ้า
Cr.https://www.kankaan.net/2019/03/20/บัวสีน้ำเงิน-ดอกไม้ศัก-2/
พืชที่ถูกพบในมัมมี่
พืชเสพติดที่มีชื่อว่า ต้นฮาร์มาล (Harmal) ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเดียตะวันตก อิหร่าน รวมถึงอารยธรรมอเมริกาใต้ในแถบเทือกเขาแอนดีส (Andes) สรรพคุณคือ เมื่อนำดอกของพืชชนิดนี้ไปผ่านกระบวนการกลั่นแล้วจะได้สารเคมีที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านอาการซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังใช้บรรเทาอาการอักเสบต่างๆและบรรเทาอาการไข้ได้อีกด้วยครับ
โดยหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงให้เห็นถึงการใช้ยาเสพติดชนิดนี้ในสมัยโบราณก็คือ มีการค้นพบฮาร์มาลปะปนอยู่กับเส้นผมของมัมมี่เด็กทารกอายุหนึ่งขวบและมัมมี่ของชายหนุ่มที่ถูกฝังอยู่ทางตอนเหนือของประเทศชิลี นอกจากนั้น แล้วยังมีการค้นพบอุปกรณ์สำหรับเสพฮาร์มาลถูกฝังเอาไว้กับมัมมี่จากเทือกเขาแอนดีสเหล่านี้ด้วย
Coca Leaf
ชนเผ่า อินคามีการใช้ใบโคคาเพื่อ “มอม” เด็กอายุราวๆ 6 ถึง 10 ขวบ ก่อนที่จะพาไปบูชายัญบนเทือกเขาสูง จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าชนเผ่าอินคาจะมอมเด็กๆเหล่านี้ด้วยแอลกอฮอล์และใบโคคาเพื่อให้เมาก่อนที่จะพาขึ้นไปปลิดชีพบนภูเขา ซึ่งชนเผ่าอินคาถือว่าการบูชายัญเด็กเช่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม จึงพบมัมมี่ของชาวอินคาถูกฝังเอาไว้พร้อมกับถุงบรรจุใบโคคาอยู่บ่อยครั้ง
ที่มา https://board.postjung.com/731346 / ทีมงาน นิตยสาร ต่วย'ตูน
Cr.https://www.thairath.co.th/content/747307 / โดย :ณัฐพล เดชขจร
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)