รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศเพื่อควบคุมโรคระบาดของไวรัส COVID-19 ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 ซึ่งมีข้อกำหนดต่าง ๆ ออกตามมามากมาย รวมทั้งการปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค การห้ามเดินทางข้ามจังหวัดและการประกาศเคอร์ฟิวผลจากการที่คนอยู่บ้านมากขึ้น ซึ่งรวมถึงมาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลให้ต้องมีการขอความร่วมมือให้ประชาชนจำกัดการเดินทาง “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” รวมถึงทำงานอยู่บ้าน (Work from Home) การที่ประชาชนต้องทำงานอยู่บ้านมากขึ้นส่งผลให้การใช้บริการสั่งอาหารในรูปแบบเดลิเวอรี่เพิ่มขึ้นจากผู้ให้บริการต่าง ๆ อาทิ LINEMAN, GRAB FOOD, GET, FOOD PANDA เป็นหลายเท่าตัว
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) รายงานว่าช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่รัฐบาลขอความร่วมมือให้ประชาชนอยู่บ้านและสั่งปิดสถานประกอบการที่มีความเสี่ยงต่อการติดต่อของโรคนั้น ส่งผลให้ปริมาณขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งจากบริการรับส่งอาหาร (food delivery) เนื่องจากวิถีชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนไป เช่น นั่งรับประทานอาหารที่ร้านไม่ได้ ใช้ชีวิตและทำงานอยู่กับบ้านมากขึ้น จึงมีการสั่งอาหารมารับประทานที่บ้านมากขึ้น ทำให้ขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นตามไปด้วยจากช่วงก่อนหน้านี้ถึง 15% คือ จากวันละ 5,500 ตัน เป็น 6,300 ตันต่อวัน
ปริมาณขยะเดลิเวอรีที่เพิ่มขึ้น ทำให้เครือข่ายเพื่อความยั่งยืนแห่งประเทศไทย (TRBN) ซึ่งเป็นการรวมตัวขององค์กรภาคธุรกิจรายใหญ่ของไทย ร่วมกับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ริเริ่มโครงการ "ส่งพลาสติกกลับบ้าน" ตั้งจุดรับขยะพลาสติกแบบยืดและแบบแข็ง 10 จุดในย่านสุขุมวิท และรณรงค์ให้ครัวเรือนแยกขยะติดเชื้อและขยะรีไซเคิลออกจากขยะทั่วไปเพื่อลดปริมาณขยะและนำไปกำจัดอย่างมีประสิทธิภาพ
ในสถานการณ์โรคระบาด หลายคนอาจกังวลว่าปริมาณขยะติดเชื้อจะเพิ่มมากขึ้น แต่ ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานครบอกว่า ปริมาณขยะติดเชื้อไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก มีเพียงขยะหน้ากากอนามัยที่เพิ่มขึ้น โดยในขณะนี้มีปริมาณการใช้ 1.5-2 ล้านชิ้นต่อวัน ซึ่งเป็นจำนวนที่ กรุงเทพมหานครจัดการได้ เพียงแต่ต้องมีขั้นตอนการจัดการเพิ่มขึ้น ซึ่งในสถานการณ์ปกติ กรุงเทพมหานครปริมาณขยะติดเชื้อโดยเฉลี่ย 40 ตันต่อวัน ส่วนใหญ่มาจากสถานพยาบาล 3,000 กว่าแห่ง แต่ช่วงโควิดสถานพยาบาลและคลินิกงดรับนัดคนไข้หรือทำหัตถการ ปริมาณขยะติดเชื้อจากสถานประกอบการเหล่านี้จึงลดลง แต่ก็มีขยะติดเชื้อจำพวกหน้ากากอนามัยและชุดป้องกันการติดเชื้อส่วนบุคคลหรือชุดพีพีอีเพิ่มขึ้นมา ปริมาณขยะติดเชื้อในภาพรวมจึงยังคงเท่าเดิม
แม้ปริมาณขยะติดเชื้อจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่ "พื้นที่" จัดเก็บขยะติดเชื้อขยายวงขึ้น โดยต้องดำเนินการจัดเก็บในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ในกรุงเทพมหานคร ทั้งที่อยู่ในความดูแลของรัฐบาลและกรุงเทพมหานคร ตลอดจนถึงขยะติดเชื้อจากบ้านเรือนที่มีผู้ต้องสงสัยติดเชื้อและได้รับคำสั่งจากแพทย์ให้กักตัวอยู่บ้าน (Home Quarantine) ด้วย ขยะติดเชื้อที่จัดเก็บทั้งหมดจะถูกนำไปกำจัดในเตาเผามูลฝอยติดเชื้อที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุชและหนองแขม ที่อุณหภูมิมากกว่า 750 องศา ซึ่งวันหนึ่งรองรับขยะได้มากกว่า 50 ตัน
ปัจจุบันมีแนวคิดในการจัดการขยะมีจำนวนมาก ตั้งแต่ 3R ไปจนถึง 7R (1.Refuse ปฏิเสธบรรจุภัณฑ์เพิ่มมลพิษ 2.Recycle แยกขยะให้ง่าย 3.Reuse ใช้แล้วใช้อีก 4.Refill เลือกใช้สินค้าแบบเติม 5.Repair ของเสียก็หัดซ่อม 6.Return อุดหนุนสินค้าคืนขวด 7.Reduce ลดการกินทิ้งกินขว้าง) ตามความเหมาะสมของแต่ละบริบทของพื้นที่ ซึ่งแนวคิดการจัดการขยะที่สากลนิยมใช้ คือ 4R โดยเริ่มจาก Reduce การลดปริมาณขยะจากต้นทาง Reuse การใช้ซ้ำ Recycle การนํากลับมาใช้ใหม่ ตามด้วย Recovery หรือ การแปรรูปเป็นพลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า และจบที่ Landfill เพื่อเป็นการจัดการปลายทางด้วยการฝังดินอย่างถูกต้อง
ซึ่งประเทศที่มีการจัดการขยะอย่างครบวงจรมากที่สุด คือ ประเทศสวีเดน โดยชาวสวีเดนได้รับการปลูกฝังให้คัดแยกขยะออกเป็นประเภททำให้ง่ายต่อการนำขยะไปแปรรูป อีกทั้งสวีเดนกลายเป็นประเทศผู้นำด้านการบริหารจัดการขยะและการผลิตพลังงานจากขยะ (Waste-to-Energy) และต้องนำเข้าขยะจากต่างประเทศเพื่อผลิตเป็นพลังงาน นอกจากนี้ยังสามารถสร้างโรงงานผลิตพลังงานจากขยะโดยเทคโนโลยีขั้นสูง และลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 2.2 ล้านตันต่อปี สำหรับการจัดการขยะของประเทศไทยนั้น รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะโดยใช้แนวคิด 3R คือ Reduce Reuse และ Recycle โดยจัดทำ Roadmap จัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ. 2559 – 2564 เพื่อเป็นกรอบและทิศทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะ
หากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เป็นโอกาสในการสร้างแนวทางปฏิบัติใหม่ๆ โดยเฉพาะในด้านสุขอนามัย การจัดการขยะก็น่าจะเป็นอีกด้านหนึ่งของ ‘ความปกติใหม่’ ที่ควรเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการคัดแยกขยะ การจัดเก็บ และการรีไซเคิล อีกทั้งเราไม่รู้แน่ว่าการระบาดของโควิด-19 จะจบลงเมื่อใด แต่ที่รู้แน่ ๆ คือคนไทยต้องใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่นี้ไปอีกนาน และเราจะรับมือกับผลข้างเคียงของชีวิตวิถีใหม่อย่างไร เพื่อไม่ให้ "ขยะเดลิเวอรี" กลายเป็น 'New Normal' ของคนไทยไปด้วย
#COVID19
#โควิด
#ขยะเดลิเวอรี่
#เปลี่ยนขยะเป็นพลังงานไฟฟ้า
#โรงไฟฟ้าขยะ
...........................................
ดร. เชาวน์ นกอยู่
รู้หรือไม่ ?? โควิด-19 ทำขยะล้นเมือง
รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศเพื่อควบคุมโรคระบาดของไวรัส COVID-19 ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 ซึ่งมีข้อกำหนดต่าง ๆ ออกตามมามากมาย รวมทั้งการปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค การห้ามเดินทางข้ามจังหวัดและการประกาศเคอร์ฟิวผลจากการที่คนอยู่บ้านมากขึ้น ซึ่งรวมถึงมาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลให้ต้องมีการขอความร่วมมือให้ประชาชนจำกัดการเดินทาง “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” รวมถึงทำงานอยู่บ้าน (Work from Home) การที่ประชาชนต้องทำงานอยู่บ้านมากขึ้นส่งผลให้การใช้บริการสั่งอาหารในรูปแบบเดลิเวอรี่เพิ่มขึ้นจากผู้ให้บริการต่าง ๆ อาทิ LINEMAN, GRAB FOOD, GET, FOOD PANDA เป็นหลายเท่าตัว
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) รายงานว่าช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่รัฐบาลขอความร่วมมือให้ประชาชนอยู่บ้านและสั่งปิดสถานประกอบการที่มีความเสี่ยงต่อการติดต่อของโรคนั้น ส่งผลให้ปริมาณขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งจากบริการรับส่งอาหาร (food delivery) เนื่องจากวิถีชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนไป เช่น นั่งรับประทานอาหารที่ร้านไม่ได้ ใช้ชีวิตและทำงานอยู่กับบ้านมากขึ้น จึงมีการสั่งอาหารมารับประทานที่บ้านมากขึ้น ทำให้ขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นตามไปด้วยจากช่วงก่อนหน้านี้ถึง 15% คือ จากวันละ 5,500 ตัน เป็น 6,300 ตันต่อวัน
ปริมาณขยะเดลิเวอรีที่เพิ่มขึ้น ทำให้เครือข่ายเพื่อความยั่งยืนแห่งประเทศไทย (TRBN) ซึ่งเป็นการรวมตัวขององค์กรภาคธุรกิจรายใหญ่ของไทย ร่วมกับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ริเริ่มโครงการ "ส่งพลาสติกกลับบ้าน" ตั้งจุดรับขยะพลาสติกแบบยืดและแบบแข็ง 10 จุดในย่านสุขุมวิท และรณรงค์ให้ครัวเรือนแยกขยะติดเชื้อและขยะรีไซเคิลออกจากขยะทั่วไปเพื่อลดปริมาณขยะและนำไปกำจัดอย่างมีประสิทธิภาพ
ในสถานการณ์โรคระบาด หลายคนอาจกังวลว่าปริมาณขยะติดเชื้อจะเพิ่มมากขึ้น แต่ ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานครบอกว่า ปริมาณขยะติดเชื้อไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก มีเพียงขยะหน้ากากอนามัยที่เพิ่มขึ้น โดยในขณะนี้มีปริมาณการใช้ 1.5-2 ล้านชิ้นต่อวัน ซึ่งเป็นจำนวนที่ กรุงเทพมหานครจัดการได้ เพียงแต่ต้องมีขั้นตอนการจัดการเพิ่มขึ้น ซึ่งในสถานการณ์ปกติ กรุงเทพมหานครปริมาณขยะติดเชื้อโดยเฉลี่ย 40 ตันต่อวัน ส่วนใหญ่มาจากสถานพยาบาล 3,000 กว่าแห่ง แต่ช่วงโควิดสถานพยาบาลและคลินิกงดรับนัดคนไข้หรือทำหัตถการ ปริมาณขยะติดเชื้อจากสถานประกอบการเหล่านี้จึงลดลง แต่ก็มีขยะติดเชื้อจำพวกหน้ากากอนามัยและชุดป้องกันการติดเชื้อส่วนบุคคลหรือชุดพีพีอีเพิ่มขึ้นมา ปริมาณขยะติดเชื้อในภาพรวมจึงยังคงเท่าเดิม
แม้ปริมาณขยะติดเชื้อจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่ "พื้นที่" จัดเก็บขยะติดเชื้อขยายวงขึ้น โดยต้องดำเนินการจัดเก็บในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ในกรุงเทพมหานคร ทั้งที่อยู่ในความดูแลของรัฐบาลและกรุงเทพมหานคร ตลอดจนถึงขยะติดเชื้อจากบ้านเรือนที่มีผู้ต้องสงสัยติดเชื้อและได้รับคำสั่งจากแพทย์ให้กักตัวอยู่บ้าน (Home Quarantine) ด้วย ขยะติดเชื้อที่จัดเก็บทั้งหมดจะถูกนำไปกำจัดในเตาเผามูลฝอยติดเชื้อที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุชและหนองแขม ที่อุณหภูมิมากกว่า 750 องศา ซึ่งวันหนึ่งรองรับขยะได้มากกว่า 50 ตัน
ปัจจุบันมีแนวคิดในการจัดการขยะมีจำนวนมาก ตั้งแต่ 3R ไปจนถึง 7R (1.Refuse ปฏิเสธบรรจุภัณฑ์เพิ่มมลพิษ 2.Recycle แยกขยะให้ง่าย 3.Reuse ใช้แล้วใช้อีก 4.Refill เลือกใช้สินค้าแบบเติม 5.Repair ของเสียก็หัดซ่อม 6.Return อุดหนุนสินค้าคืนขวด 7.Reduce ลดการกินทิ้งกินขว้าง) ตามความเหมาะสมของแต่ละบริบทของพื้นที่ ซึ่งแนวคิดการจัดการขยะที่สากลนิยมใช้ คือ 4R โดยเริ่มจาก Reduce การลดปริมาณขยะจากต้นทาง Reuse การใช้ซ้ำ Recycle การนํากลับมาใช้ใหม่ ตามด้วย Recovery หรือ การแปรรูปเป็นพลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า และจบที่ Landfill เพื่อเป็นการจัดการปลายทางด้วยการฝังดินอย่างถูกต้อง
ซึ่งประเทศที่มีการจัดการขยะอย่างครบวงจรมากที่สุด คือ ประเทศสวีเดน โดยชาวสวีเดนได้รับการปลูกฝังให้คัดแยกขยะออกเป็นประเภททำให้ง่ายต่อการนำขยะไปแปรรูป อีกทั้งสวีเดนกลายเป็นประเทศผู้นำด้านการบริหารจัดการขยะและการผลิตพลังงานจากขยะ (Waste-to-Energy) และต้องนำเข้าขยะจากต่างประเทศเพื่อผลิตเป็นพลังงาน นอกจากนี้ยังสามารถสร้างโรงงานผลิตพลังงานจากขยะโดยเทคโนโลยีขั้นสูง และลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 2.2 ล้านตันต่อปี สำหรับการจัดการขยะของประเทศไทยนั้น รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะโดยใช้แนวคิด 3R คือ Reduce Reuse และ Recycle โดยจัดทำ Roadmap จัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ. 2559 – 2564 เพื่อเป็นกรอบและทิศทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะ
หากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เป็นโอกาสในการสร้างแนวทางปฏิบัติใหม่ๆ โดยเฉพาะในด้านสุขอนามัย การจัดการขยะก็น่าจะเป็นอีกด้านหนึ่งของ ‘ความปกติใหม่’ ที่ควรเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการคัดแยกขยะ การจัดเก็บ และการรีไซเคิล อีกทั้งเราไม่รู้แน่ว่าการระบาดของโควิด-19 จะจบลงเมื่อใด แต่ที่รู้แน่ ๆ คือคนไทยต้องใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่นี้ไปอีกนาน และเราจะรับมือกับผลข้างเคียงของชีวิตวิถีใหม่อย่างไร เพื่อไม่ให้ "ขยะเดลิเวอรี" กลายเป็น 'New Normal' ของคนไทยไปด้วย
#COVID19
#โควิด
#ขยะเดลิเวอรี่
#เปลี่ยนขยะเป็นพลังงานไฟฟ้า
#โรงไฟฟ้าขยะ
...........................................
ดร. เชาวน์ นกอยู่