คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
จันทบูรเป็นหัวเมืองสำคัญทางตะวันออกมาตั้งแต่โบราณครับ ปรากฏในพระราชพงศาวดารเคยเป็น ๑ ใน ๑๖ เมืองประเทศราชในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดี และในกฎหมายพระราชบัญญัติว่าเป็นตามกฎมณเฑียรบาลเป็น ๑ ให้ ๑๖ เมืองที่ให้อนุวงศ์ราชวงศ์เป็นพญามหานครครอบครอง แต่ความสำคัญน่าจะลดลงไปจนมีสถานะเป็นหัวเมืองชั้นตรีในสมัยหลัง และมีหลักฐานว่าไม่ได้ใหญ่โตมากเท่าเมืองสำคัญอื่นๆ
จดหมายเหตุของเยเรเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremias Van Vliet) หัวหน้าสถานีการค้าบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ประจำสยามในรัชกาลพระเจ้าปราสาททองบันทึกว่า จันทบูรเป็นเพียงเมืองยากจนและไม่มีกำแพงเมือง
ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์น่าจะมีการพัฒนาปรับปรุงเมืองขึ้นบ้าง ดังที่ปรากฏจดหมายเหตุของนิโกลาส์ แฌร์แวส (Nicolas Gervaise) มิชชันนารีชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาสยามในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ระบุว่า
"แม้ว่าบ้านเมืองทางตะวันออกเฉียงใต้จะไม่สู้ใหญ่โตนัก แต่ก็มีความงดงามแปลกแตกต่างกันไป จันทบูรณ์ (Chantaebounne) เป็นเมืองที่งามยิ่งกว่าเมืองอื่นๆ อย่างปราศจากข้อสงสัย มีการป้องกันแข็งแรงตามควรแก่สภาพของท้องถิ่น เจ้าเมืองหาง ผู้มีสมญานามว่าพระองค์ดำ (le Roy noir) ผู้สร้างเมืองพิษณุโลก เป็นผู้สร้างเมืองจันทบูรณ์ขึ้นที่ตำบลปลายน้ำ และพระราชทานนามให้ไว้เป็นเมืองด่านติดต่อกับประเทศกัมพูชาและอยู่ห่างจากทะเลเพียงชั่วระยะทางเดินหนึ่งวันถึง"
ด้วยความที่เป็นหัวเมืองชายทะเลติดต่อกับเขมรโดยเฉพาะเมืองพุทไธมาศที่เป็นเมืองท่าสำคัญของทั้งเขมรและญวน จึงเป็นฐานที่มั่นในการยกทัพเรือไปทำสงครามกับเขมรทางปากน้ำเมืองพุทไธมาศ และเป็นเมืองที่มีชาวต่างประเทศอาศัยอยู่พอสมควร เช่น จีน เขมร ญวนเข้ารีต ปรากฏในจดหมายเหตุของบาทหลวงคณะมิสซังต่างประเทศว่าในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมีญวนเข้ารีตอาศัยอยู่มากพอสมควร เจ้าเมืองจันทบูรใน พ.ศ. ๒๒๙๒ เป็นชาวมลายูและเป็นเพื่อนกับสังฆราชฝรั่งเศส
จากหลักฐานอนุมานว่าจันทบูรเป็นเมืองสำคัญที่สุดในหัวเมืองชายทะเลตะวันออก และมีความเป็นเมืองท่าในระดับหนึ่ง การที่จะมีการซื้อหาอาวุธปืนจากต่างประเทศไว้บ้างจึงไม่น่าเป็นเรื่องแปลกครับ แต่พิจารณาแล้วในเรื่องความแข็งแกร่งของเมือง และความเจริญในฐานะเมืองท่าคงไม่ได้เทียบเท่ากับเมืองท่าอื่นๆ ที่เจริญมากกว่า เช่น ตะนาวศรีและมะริดที่เป็นเมืองท่าสำคัญในการค้าขายกับโลกตะวันตก หรือบางกอกที่เป็นประตูสู่สยามตอนใน
ใน พ.ศ. ๒๓๐๗ หลังพม่าตีเมืองมะริด ตะนาวศรีแตก กรมหมื่นเทพพิพิธถูกส่งตัวไปอยู่ที่เมืองจันทบูร ชาวหัวเมืองตะวันออกและบรรดานายซ่องที่มีอิทธิพลในท้องถิ่นพากันนับถือมาสวามิภักดิ์อยู่ด้วยจำนวนมาก จึงน่าจะทำให้จันทบูรกลายเป็นศูนย์อำนาจสำคัญแห่งหนึ่งในเวลานั้น จึงปรากฏว่ามีพระราชวงศ์และข้าราชการในกรุงไปอยู่ที่เมืองจันทบูรหลายคน เช่น พระองค์เจ้าทับทิมพระธิดาพระเจ้าเสือซึ่งถูกออกพระนามว่า 'เจ้าครอกจันทบูร' และ ขุนพรหมธิบาล เจ้ากรมพระตำรวจวังหน้า
นอกจากนี้ยังมีมิชชันนารีฝรั่งเศสที่ต้องการหนีไปเขมรต่อ ปรากฏจดหมายของเมอซิเออร์อาโตด์ถึงผู้อำนวยการคณะมิสซังต่างประเทศ กล่าวถึงสภาพเมืองจันทบูรใน พ.ศ. ๒๓๐๘ ว่า
"ครั้นพวกข้าพเจ้าได้ไปถึงเมืองจันทบุรี ก็เผอิญเป็นเวลาฤดูที่กำลังเก็บเกี่ยวข้าว ข้าพเจ้าจึงได้ซื้อข้าวมาเก็บไว้เพราะเชื่อว่าจะอยู่ในเมืองจันทบุรีจนกว่าจะเลิกสงคราม ฝ่ายพม่าข้าศึกก็รุกใกล้เข้ามาทุกที และโจรผู้ร้ายในเมืองจันทบุรีก็ชุกชุมมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า เพราะในเวลานั้นพวกผู้ร้ายหมดกลัวด้วยบ้านเมืองกำลังระส่ำระสาย ข้าพเจ้าเห็นว่าจะอยู่ไม่ได้แล้ว จึงได้ยกออกจากเมืองจันทบุรีเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน"
แม้ว่าภายหลังกรมหมื่นเทพพิพิธจะยกไพร่พลไปตั้งที่ปราจีนบุรีแตกถูกพม่าตีแตกหนีไปเมืองนครราชสีมาใน พ.ศ. ๒๓๐๙ แต่น่าเชื่อว่าน่าจะมีผู้คนอีกจำนวนมากยังตั้งมั่นอยู่ที่จันทบูร และเมืองจันทบูรเองน่าจะประเมินว่าตนเองมีความเข้มแข็งเพียงพอจึงได้แยกตนเป็นอิสระจากกรุงศรีอยุทธยาที่กำลังอยู่ในภาวะจลาจลเช่นเดียวกัน ปรากฏในหลักฐานเช่น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองจันทบุรี ได้ทรงสอบถามลำดับเจ้าเมืองจันทบุรีในอดีต ทรงมีพระราชนิพนธ์ไว่า พระยาจันทบูรในเวลานั้นเป็นผู้ที่ชาวเมืองเลือกขึ้นมาเองตอนเสียกรุง ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น
"ลำดับพระยาจันทบุรีซึ่งเป็นมาก่อนแผ่นดินตากนั้นที่ ๑ เจ้าขรัวหลาน ราษฎรเลือกกันตั้งขึ้นเมื่อกรุงเสียคน ๑ พระยาจันทบุรีตั้งในแผ่นดินตาก ๒ คน ที่ ๒ ชื่อนายแก้ว เป็นพระยาจันทบุรีถึงแก่อนิจกรรมหนึ่ง ที่ ๓ นายซือ เป็นพระยาจันทบุรีจนถึงแก่อนิจกรรมหนึ่ง"
นอกจากนี้พระราชพงศาวดารยังกล่าวถึงข้าราชการในเมืองจันทบูรคือ "ขุนพรหมธิบาลผู้เป็นพระท้ายน้ำ" ซึ่งตำแหน่ง "ท้ายน้ำ" คือตำแหน่งเจ้ากรมอาสาหกเหล่าซ้าย ขุนนางฝ่ายทหารระดับสูงในกรุง มีศักดินา ๑๐๐๐๐ ไร่ พระยาจันทบูรที่เป็นเจ้าเมืองชั้นตรีไม่มีอำนาจแต่งตั้งได้ จึงแสดงให้เห็นว่าพระยาจันทบูรในเวลานั้นน่าจะตั้งตนเป็น "เจ้า" แล้ว ไม่ต่างจากพระยาตากที่ทรงตั้งพระเชียงเงินเป็นที่ "ท้ายน้ำ" เหมือนกัน
ส่วนพระยาตากในเวลานั้นตีฝ่ากองทัพพม่าออกจากกรุงมีไพร่พลไม่ได้มากนัก แม้ว่าจะสามารถไล่ตีนายบ้านนายซ่องต่างๆ จนมาตั้งมั่นที่เมืองระยองได้ แต่เมืองระยองเป็นเมืองขนาดเล็ก ไพร่พลที่รวบรวมมาได้ในเวลานั้นก็น่าจะยังมีเพียงไม่มากนัก ในช่วงแรกพระยาตากจึงเลือกให้วิธีประนีประนอมพยายามเจรจาให้พระยาจันทบูรยอมสวามิภักดิ์มากกว่าใช้กำลังหักหาญเป็นเวลาหลายเดือน แต่เมื่อไม่เป็นผลจึงใช้กำลังโจมตีเมือง ซึ่งถ้าอ่านจากพงศาวดารการตีเมืองจันทบูรก็ไม่ได้ลำบากอะไรนัก พระยาตากสามารถตีเมืองแตกได้ในครั้งเดียว
ในกรณีใกล้เคียงกับนายทองอยู่นกเล็ก นายซ่องใหญ่ที่ชลบุรีที่มีความเข้มแข็ง พระยาตากเลือกใช้วิธีประนีประนอมด้วยการแต่งตั้งให้เป็นพระยาอนุราชบุรีศรีมหาสมุทร เป็นเจ้าเมืองชลบุรี มีอำนาจตั้งขุนหมื่นกรมการเมืองตามศักดิ์ พระราชทานเครื่องยศอีกจำนวนมาก
ในช่วงตีค่ายโพธิ์สามต้นกำลังของพระยาตากน่าจะเข้มแข็งขึ้นกว่าก่อนตีเมืองจันทบูรมากพอสมควรครับ เพราะได้เมืองจันทบูรเป็นที่มั่นสำคัญ แล้วยังขยายอำนาจไปทางเมืองตราด โจมตีนายสำเภาจีนที่ปากน้ำเมืองตราดจนยอมสวามิภักดิ์ ใช้เวลาต่อเรือรบนับร้อยลำ เมื่อจะยกไปตีโพธิ์สามต้นได้ทรงกำจัดพระยาอนุราชที่มีความผิดและทรงตั้งเจ้าเมืองใหม่ ในเวลานั้นจึงเรียกได้ว่าทรงมีอำนาจปกครองหัวเมืองชายทะเลตะวันออกอย่างสมบูรณ์ การจะเกณฑ์ไพร่พลแลจัดหายุทโธปกรณ์ยกไปตีค่ายโพธิ์สามต้นน่าจะทำได้สะดวก นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ได้ยินกิตติศัพท์เข้ามาสวามิภักดิ์เพิ่มเติมอีก
กองทัพของสุกี้พระนายกองที่โพธิ์สามต้น สันนิษฐานว่าไม่ได้เข้มแข็งมากนัก เพราะกองทัพหลักของพม่าถอยกลับไปแล้ว อย่างมากน่าจะมีเพียงไม่กี่พันคนรักษาพื้นที่ ควบคุมเชลย และรวบรวมทรัพย์สินของมีค่าต่างๆ สำหรับเตรียมส่งไปอังวะเท่านั้น ไพร่พลซึ่งมีคนไทยอยู่ด้วยก็คงไม่ได้เป็นอันหนึ่งในเดียวกัน จนปรากฏในพระราชพงศาวดารว่าเมื่อถูกโจมตี "ฝ่ายข้าศึกให้สยบสยองกลัวเป็นกำลัง ต่างคนต่างก็หนีออกจากค่ายพระนายกองสิ้น" จนพระนายกองตกใจต้องให้พระยาธิเบศรบริรักษ์ออกมาถวายบังคมสวามิภักดิ์ พระยาตากจึงยึดโพธิ์สามต้นได้สำเร็จครับ (พระราชพงศาวดารที่ชำระสมัยหลังแก้ว่าสุกี้สู้จนตัวตาย แล้วจึงตีค่ายแตก)
จดหมายเหตุของเยเรเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremias Van Vliet) หัวหน้าสถานีการค้าบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ประจำสยามในรัชกาลพระเจ้าปราสาททองบันทึกว่า จันทบูรเป็นเพียงเมืองยากจนและไม่มีกำแพงเมือง
ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์น่าจะมีการพัฒนาปรับปรุงเมืองขึ้นบ้าง ดังที่ปรากฏจดหมายเหตุของนิโกลาส์ แฌร์แวส (Nicolas Gervaise) มิชชันนารีชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาสยามในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ระบุว่า
"แม้ว่าบ้านเมืองทางตะวันออกเฉียงใต้จะไม่สู้ใหญ่โตนัก แต่ก็มีความงดงามแปลกแตกต่างกันไป จันทบูรณ์ (Chantaebounne) เป็นเมืองที่งามยิ่งกว่าเมืองอื่นๆ อย่างปราศจากข้อสงสัย มีการป้องกันแข็งแรงตามควรแก่สภาพของท้องถิ่น เจ้าเมืองหาง ผู้มีสมญานามว่าพระองค์ดำ (le Roy noir) ผู้สร้างเมืองพิษณุโลก เป็นผู้สร้างเมืองจันทบูรณ์ขึ้นที่ตำบลปลายน้ำ และพระราชทานนามให้ไว้เป็นเมืองด่านติดต่อกับประเทศกัมพูชาและอยู่ห่างจากทะเลเพียงชั่วระยะทางเดินหนึ่งวันถึง"
ด้วยความที่เป็นหัวเมืองชายทะเลติดต่อกับเขมรโดยเฉพาะเมืองพุทไธมาศที่เป็นเมืองท่าสำคัญของทั้งเขมรและญวน จึงเป็นฐานที่มั่นในการยกทัพเรือไปทำสงครามกับเขมรทางปากน้ำเมืองพุทไธมาศ และเป็นเมืองที่มีชาวต่างประเทศอาศัยอยู่พอสมควร เช่น จีน เขมร ญวนเข้ารีต ปรากฏในจดหมายเหตุของบาทหลวงคณะมิสซังต่างประเทศว่าในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมีญวนเข้ารีตอาศัยอยู่มากพอสมควร เจ้าเมืองจันทบูรใน พ.ศ. ๒๒๙๒ เป็นชาวมลายูและเป็นเพื่อนกับสังฆราชฝรั่งเศส
จากหลักฐานอนุมานว่าจันทบูรเป็นเมืองสำคัญที่สุดในหัวเมืองชายทะเลตะวันออก และมีความเป็นเมืองท่าในระดับหนึ่ง การที่จะมีการซื้อหาอาวุธปืนจากต่างประเทศไว้บ้างจึงไม่น่าเป็นเรื่องแปลกครับ แต่พิจารณาแล้วในเรื่องความแข็งแกร่งของเมือง และความเจริญในฐานะเมืองท่าคงไม่ได้เทียบเท่ากับเมืองท่าอื่นๆ ที่เจริญมากกว่า เช่น ตะนาวศรีและมะริดที่เป็นเมืองท่าสำคัญในการค้าขายกับโลกตะวันตก หรือบางกอกที่เป็นประตูสู่สยามตอนใน
ใน พ.ศ. ๒๓๐๗ หลังพม่าตีเมืองมะริด ตะนาวศรีแตก กรมหมื่นเทพพิพิธถูกส่งตัวไปอยู่ที่เมืองจันทบูร ชาวหัวเมืองตะวันออกและบรรดานายซ่องที่มีอิทธิพลในท้องถิ่นพากันนับถือมาสวามิภักดิ์อยู่ด้วยจำนวนมาก จึงน่าจะทำให้จันทบูรกลายเป็นศูนย์อำนาจสำคัญแห่งหนึ่งในเวลานั้น จึงปรากฏว่ามีพระราชวงศ์และข้าราชการในกรุงไปอยู่ที่เมืองจันทบูรหลายคน เช่น พระองค์เจ้าทับทิมพระธิดาพระเจ้าเสือซึ่งถูกออกพระนามว่า 'เจ้าครอกจันทบูร' และ ขุนพรหมธิบาล เจ้ากรมพระตำรวจวังหน้า
นอกจากนี้ยังมีมิชชันนารีฝรั่งเศสที่ต้องการหนีไปเขมรต่อ ปรากฏจดหมายของเมอซิเออร์อาโตด์ถึงผู้อำนวยการคณะมิสซังต่างประเทศ กล่าวถึงสภาพเมืองจันทบูรใน พ.ศ. ๒๓๐๘ ว่า
"ครั้นพวกข้าพเจ้าได้ไปถึงเมืองจันทบุรี ก็เผอิญเป็นเวลาฤดูที่กำลังเก็บเกี่ยวข้าว ข้าพเจ้าจึงได้ซื้อข้าวมาเก็บไว้เพราะเชื่อว่าจะอยู่ในเมืองจันทบุรีจนกว่าจะเลิกสงคราม ฝ่ายพม่าข้าศึกก็รุกใกล้เข้ามาทุกที และโจรผู้ร้ายในเมืองจันทบุรีก็ชุกชุมมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า เพราะในเวลานั้นพวกผู้ร้ายหมดกลัวด้วยบ้านเมืองกำลังระส่ำระสาย ข้าพเจ้าเห็นว่าจะอยู่ไม่ได้แล้ว จึงได้ยกออกจากเมืองจันทบุรีเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน"
แม้ว่าภายหลังกรมหมื่นเทพพิพิธจะยกไพร่พลไปตั้งที่ปราจีนบุรีแตกถูกพม่าตีแตกหนีไปเมืองนครราชสีมาใน พ.ศ. ๒๓๐๙ แต่น่าเชื่อว่าน่าจะมีผู้คนอีกจำนวนมากยังตั้งมั่นอยู่ที่จันทบูร และเมืองจันทบูรเองน่าจะประเมินว่าตนเองมีความเข้มแข็งเพียงพอจึงได้แยกตนเป็นอิสระจากกรุงศรีอยุทธยาที่กำลังอยู่ในภาวะจลาจลเช่นเดียวกัน ปรากฏในหลักฐานเช่น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองจันทบุรี ได้ทรงสอบถามลำดับเจ้าเมืองจันทบุรีในอดีต ทรงมีพระราชนิพนธ์ไว่า พระยาจันทบูรในเวลานั้นเป็นผู้ที่ชาวเมืองเลือกขึ้นมาเองตอนเสียกรุง ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น
"ลำดับพระยาจันทบุรีซึ่งเป็นมาก่อนแผ่นดินตากนั้นที่ ๑ เจ้าขรัวหลาน ราษฎรเลือกกันตั้งขึ้นเมื่อกรุงเสียคน ๑ พระยาจันทบุรีตั้งในแผ่นดินตาก ๒ คน ที่ ๒ ชื่อนายแก้ว เป็นพระยาจันทบุรีถึงแก่อนิจกรรมหนึ่ง ที่ ๓ นายซือ เป็นพระยาจันทบุรีจนถึงแก่อนิจกรรมหนึ่ง"
นอกจากนี้พระราชพงศาวดารยังกล่าวถึงข้าราชการในเมืองจันทบูรคือ "ขุนพรหมธิบาลผู้เป็นพระท้ายน้ำ" ซึ่งตำแหน่ง "ท้ายน้ำ" คือตำแหน่งเจ้ากรมอาสาหกเหล่าซ้าย ขุนนางฝ่ายทหารระดับสูงในกรุง มีศักดินา ๑๐๐๐๐ ไร่ พระยาจันทบูรที่เป็นเจ้าเมืองชั้นตรีไม่มีอำนาจแต่งตั้งได้ จึงแสดงให้เห็นว่าพระยาจันทบูรในเวลานั้นน่าจะตั้งตนเป็น "เจ้า" แล้ว ไม่ต่างจากพระยาตากที่ทรงตั้งพระเชียงเงินเป็นที่ "ท้ายน้ำ" เหมือนกัน
ส่วนพระยาตากในเวลานั้นตีฝ่ากองทัพพม่าออกจากกรุงมีไพร่พลไม่ได้มากนัก แม้ว่าจะสามารถไล่ตีนายบ้านนายซ่องต่างๆ จนมาตั้งมั่นที่เมืองระยองได้ แต่เมืองระยองเป็นเมืองขนาดเล็ก ไพร่พลที่รวบรวมมาได้ในเวลานั้นก็น่าจะยังมีเพียงไม่มากนัก ในช่วงแรกพระยาตากจึงเลือกให้วิธีประนีประนอมพยายามเจรจาให้พระยาจันทบูรยอมสวามิภักดิ์มากกว่าใช้กำลังหักหาญเป็นเวลาหลายเดือน แต่เมื่อไม่เป็นผลจึงใช้กำลังโจมตีเมือง ซึ่งถ้าอ่านจากพงศาวดารการตีเมืองจันทบูรก็ไม่ได้ลำบากอะไรนัก พระยาตากสามารถตีเมืองแตกได้ในครั้งเดียว
ในกรณีใกล้เคียงกับนายทองอยู่นกเล็ก นายซ่องใหญ่ที่ชลบุรีที่มีความเข้มแข็ง พระยาตากเลือกใช้วิธีประนีประนอมด้วยการแต่งตั้งให้เป็นพระยาอนุราชบุรีศรีมหาสมุทร เป็นเจ้าเมืองชลบุรี มีอำนาจตั้งขุนหมื่นกรมการเมืองตามศักดิ์ พระราชทานเครื่องยศอีกจำนวนมาก
ในช่วงตีค่ายโพธิ์สามต้นกำลังของพระยาตากน่าจะเข้มแข็งขึ้นกว่าก่อนตีเมืองจันทบูรมากพอสมควรครับ เพราะได้เมืองจันทบูรเป็นที่มั่นสำคัญ แล้วยังขยายอำนาจไปทางเมืองตราด โจมตีนายสำเภาจีนที่ปากน้ำเมืองตราดจนยอมสวามิภักดิ์ ใช้เวลาต่อเรือรบนับร้อยลำ เมื่อจะยกไปตีโพธิ์สามต้นได้ทรงกำจัดพระยาอนุราชที่มีความผิดและทรงตั้งเจ้าเมืองใหม่ ในเวลานั้นจึงเรียกได้ว่าทรงมีอำนาจปกครองหัวเมืองชายทะเลตะวันออกอย่างสมบูรณ์ การจะเกณฑ์ไพร่พลแลจัดหายุทโธปกรณ์ยกไปตีค่ายโพธิ์สามต้นน่าจะทำได้สะดวก นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ได้ยินกิตติศัพท์เข้ามาสวามิภักดิ์เพิ่มเติมอีก
กองทัพของสุกี้พระนายกองที่โพธิ์สามต้น สันนิษฐานว่าไม่ได้เข้มแข็งมากนัก เพราะกองทัพหลักของพม่าถอยกลับไปแล้ว อย่างมากน่าจะมีเพียงไม่กี่พันคนรักษาพื้นที่ ควบคุมเชลย และรวบรวมทรัพย์สินของมีค่าต่างๆ สำหรับเตรียมส่งไปอังวะเท่านั้น ไพร่พลซึ่งมีคนไทยอยู่ด้วยก็คงไม่ได้เป็นอันหนึ่งในเดียวกัน จนปรากฏในพระราชพงศาวดารว่าเมื่อถูกโจมตี "ฝ่ายข้าศึกให้สยบสยองกลัวเป็นกำลัง ต่างคนต่างก็หนีออกจากค่ายพระนายกองสิ้น" จนพระนายกองตกใจต้องให้พระยาธิเบศรบริรักษ์ออกมาถวายบังคมสวามิภักดิ์ พระยาตากจึงยึดโพธิ์สามต้นได้สำเร็จครับ (พระราชพงศาวดารที่ชำระสมัยหลังแก้ว่าสุกี้สู้จนตัวตาย แล้วจึงตีค่ายแตก)
แสดงความคิดเห็น
เมืองจันทบุรีช่วงสงครามกรุง เป็นลักษณธไหนแน่ครับ?
แต่ประเด็นที่พูดน่าสนใจตรงที่ มีหลายท่านบอกมาว่า เมืองจันทบุรีตอนนั้น ตัวเมืองเก่าสมัยนั้นจริงๆไม่ใหญ่นัก, อาวุธปืนและสภาพพร้อมรบของเมืองมีไม่เท่าไหร่? กำลังพลก็ไม่ได้แกร่งอะไรมาก
ดูจะเป็นอะไรที่ต่างจากเมืองจันบูรีที่ภาพลักษณ์คนทั่วไปมากว่า เป็นเมืองที่มีกำแพงก่ออิฐถือปูนแน่นหนามั่นคง อาวุธพร้อมสรรพ งานโปรดักส์ชั่นก็มักเสนอภาพมาแนวนี้
แต่ถ้าเมืองจันทบุรีจริงๆเป็นที่ผู้รู้บอก ทำไมในพงศาวดารตอนพระยาตากจะเข้าตีจันทบูรดูจะเป็นงานที่หนักหนามาก
ตกลงที่จริงเป็นยังไงกันแน่ครับ?
ปล.งั้นแบบนี้ นายกองสุกี้ที่โพธิสามต้น QC ตกสุดๆเลยใช่มั้ย? ที่สู้แพ้แค่ทหารหัวเมืองก็แล้ว แถมยังเป็นทหารที่ไม่ค่อยพร้อมอีก
ทีตอนสู้กับชาวบ้านระจัน เห็นนายกองใหญ่แกบรรเจิดเเผนพิศดารมาก ทั้งค่ายกลสามชั้น ,ทั้งอุโมงค์, ทั้งหอปืนใหญ่ แค่กองทัพจันทบูรมีปืนใหญ่ปืนไฟเหมือนกันเข้าหน่อย ทั่นผู้พิชิตบางระจันถึงกับไปไม่เป็นเปิดตำราพิชัยสงครามรับมือไม่ถูก
ลืมหอปืน ลืมค่ายกลสามชั้นหมด