ในเด็กที่เป็นไข้จนมีอุณหภูมิร่างกาย สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส อาจทำให้เกิดอาการชักได้ และโดยทั่วไปจะพบอาการชักจากไข้สูงในเด็กที่มีอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 5 ปี เป็นอาการชักที่เกิดจากไข้ที่สูงมากโดยตรง ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อของสมองหรือจากสาเหตุอื่นๆ อาการชักมักเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงแรกของอาการไข้ อาการชักจากไข้สูงในเด็ก มี 2 ชนิด ดังนี้
ชนิดที่ 1 เรียกว่า simple หมายถึง ไข้ร่วมกับชักที่เกิดทั้งตัว ระยะเวลานานไม่เกิน 15 นาที (ส่วนใหญ่ไม่เกิน 5 นาที) โดยที่เด็กไม่มีอาการซึมหรืออ่อนแรง และไม่มีการชักซ้ำใน 24 ชั่วโมง
ชนิดที่ 2 เรียกว่า complex หมายถึง ไข้ร่วมกับชักที่เกิดเฉพาะที่ หรือระยะเวลานานกว่า 15 นาที หรือมีอาการอ่อนแรง หรือมีชักซ้ำใน 24 ชั่วโมง
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเด็กชัก
- คลายเสื้อผ้าที่รัดตัวเด็กออก จับนอนตะแคง ให้ศีรษะต่ำเพื่อป้องกันการสำลัก
- ห้ามใช้วัสดุใดๆงัดปาก และห้ามให้ยาทางปากขณะที่มีอาการชัก
- รีบเช็ดตัวลดไข้ โดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำที่อุณหภูมิปกติ (ห้ามใช้น้ำเย็น) บิดพอหมาดเช็ดทุกส่วนของร่างกายอย่าง ต่อเนื่อง เน้นบริเวณข้อพับต่างๆใช้เวลาเช็ดตัวอย่างน้อย 15-20 นาที หลังเช็ดตัวจนไข้ลดลงแล้วซับตัวให้แห้ง ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศและความร้อนได้ดี ไม่หนาเกินไป
- รีบนำตัวเด็กส่งโรงพยาบาล ในรายที่ชักนานเกิน 5 นาที แพทย์จะให้ยาที่ทำให้หยุดชัก (diazepam) ทางทวารหนัก หรือทางหลอดเลือดดำ
แนวทางการหาสาเหตุของอาการชักในเด็ก
สำหรับการตรวจหาสาเหตุ ของอาการชักในเด็กที่การชักบ่อยๆ
1. ตรวจน้ำไขสันหลัง เพื่อแยกว่าไม่ใช่การติดเชื้อของสมอง ทำในรายที่มีข้อบ่งชี้ เช่น เด็กที่อายุน้อยกว่า 12 เดือน มีอาการแสดงที่ผิดปกติเช่น ซึม คอแข็ง กระหม่อมโป่งตึง
2. ตรวจเลือด เพื่อหาความผิดปกติทางเมตาบอลิก เช่นระดับน้ำตาล ระดับเกลือแร่
3. ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง แนะนำทำในรายที่มีประวัติโรคลมชักในครอบครัว หรือมีอาการชักจากไข้ซ้ำหลายครั้ง
การดูแลรักษาภาวะชักจากไข้
รักษาสาเหตุที่ทำให้มีไข้ และให้ยาลดไข้ร่วมกับเช็ดตัวเพื่อลดไข้
ยากันชัก ไม่จำเป็นต้องให้ในภาวะนี้ ยกเว้นพิจารณาให้เมื่อมีภาวะชักจากไข้หลายครั้งหรือคลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติ ซึ่งยากันชักมีทั้งแบบให้เป็นครั้งคราวเมื่อมีไข้ และให้แบบต่อเนื่อง ขึ้นกับความผิดปกติที่พบและการร่วมตัดสินใจของผู้ปกครอง เนื่องจากยากันชักมีผลข้างเคียงต่อเด็กได้
เด็กที่เคยชักจากไข้สูงแล้ว มีโอกาสชักซ้ำได้ไหม
ภาวะชักจากไข้เกิดซ้ำได้โดยทั่วไปร้อยละ 20-30 ของเด็กที่ชักจากไข้ครั้งแรก แต่ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงมากกว่า 3 ข้อ โอกาสชักซ้ำภายใน 2 ปีจะมากกว่าร้อยละ 60 โดยปัจจัยเสี่ยง ได้แก่
- ชักครั้งแรกก่อนอายุ 12 เดือน
- มีพ่อแม่ หรือ พี่น้อง มีประวัติอาการชักจากไข้
- ชักภายในชั่วโมงแรกของไข้
- ชักโดยที่มีไข้ไม่สูงมาก
ภาวะชักจากไข้ จะทำให้เกิดอันตรายต่อสมองหรือมีผลต่อสติปัญญาหรือไม่
อาการชักจากไข้สูงในเด็ก มักไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อสมอง และไม่ทำให้สติปัญญาเดิมของเด็กแย่ลง ถ้าชักไม่นานเกิน 5 นาที
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://bit.ly/2E0dnOu
#โรงพยาบาลสินแพทย์
#โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
#เบื้องหลังทุกการรักษาคือความใส่ใจ
ชัก เพราะไข้สูงในเด็ก ส่งผลกระทบต่อสมองหรือไม่
ชนิดที่ 1 เรียกว่า simple หมายถึง ไข้ร่วมกับชักที่เกิดทั้งตัว ระยะเวลานานไม่เกิน 15 นาที (ส่วนใหญ่ไม่เกิน 5 นาที) โดยที่เด็กไม่มีอาการซึมหรืออ่อนแรง และไม่มีการชักซ้ำใน 24 ชั่วโมง
ชนิดที่ 2 เรียกว่า complex หมายถึง ไข้ร่วมกับชักที่เกิดเฉพาะที่ หรือระยะเวลานานกว่า 15 นาที หรือมีอาการอ่อนแรง หรือมีชักซ้ำใน 24 ชั่วโมง
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเด็กชัก
- คลายเสื้อผ้าที่รัดตัวเด็กออก จับนอนตะแคง ให้ศีรษะต่ำเพื่อป้องกันการสำลัก
- ห้ามใช้วัสดุใดๆงัดปาก และห้ามให้ยาทางปากขณะที่มีอาการชัก
- รีบเช็ดตัวลดไข้ โดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำที่อุณหภูมิปกติ (ห้ามใช้น้ำเย็น) บิดพอหมาดเช็ดทุกส่วนของร่างกายอย่าง ต่อเนื่อง เน้นบริเวณข้อพับต่างๆใช้เวลาเช็ดตัวอย่างน้อย 15-20 นาที หลังเช็ดตัวจนไข้ลดลงแล้วซับตัวให้แห้ง ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศและความร้อนได้ดี ไม่หนาเกินไป
- รีบนำตัวเด็กส่งโรงพยาบาล ในรายที่ชักนานเกิน 5 นาที แพทย์จะให้ยาที่ทำให้หยุดชัก (diazepam) ทางทวารหนัก หรือทางหลอดเลือดดำ
แนวทางการหาสาเหตุของอาการชักในเด็ก
สำหรับการตรวจหาสาเหตุ ของอาการชักในเด็กที่การชักบ่อยๆ
1. ตรวจน้ำไขสันหลัง เพื่อแยกว่าไม่ใช่การติดเชื้อของสมอง ทำในรายที่มีข้อบ่งชี้ เช่น เด็กที่อายุน้อยกว่า 12 เดือน มีอาการแสดงที่ผิดปกติเช่น ซึม คอแข็ง กระหม่อมโป่งตึง
2. ตรวจเลือด เพื่อหาความผิดปกติทางเมตาบอลิก เช่นระดับน้ำตาล ระดับเกลือแร่
3. ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง แนะนำทำในรายที่มีประวัติโรคลมชักในครอบครัว หรือมีอาการชักจากไข้ซ้ำหลายครั้ง
การดูแลรักษาภาวะชักจากไข้
รักษาสาเหตุที่ทำให้มีไข้ และให้ยาลดไข้ร่วมกับเช็ดตัวเพื่อลดไข้
ยากันชัก ไม่จำเป็นต้องให้ในภาวะนี้ ยกเว้นพิจารณาให้เมื่อมีภาวะชักจากไข้หลายครั้งหรือคลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติ ซึ่งยากันชักมีทั้งแบบให้เป็นครั้งคราวเมื่อมีไข้ และให้แบบต่อเนื่อง ขึ้นกับความผิดปกติที่พบและการร่วมตัดสินใจของผู้ปกครอง เนื่องจากยากันชักมีผลข้างเคียงต่อเด็กได้
เด็กที่เคยชักจากไข้สูงแล้ว มีโอกาสชักซ้ำได้ไหม
ภาวะชักจากไข้เกิดซ้ำได้โดยทั่วไปร้อยละ 20-30 ของเด็กที่ชักจากไข้ครั้งแรก แต่ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงมากกว่า 3 ข้อ โอกาสชักซ้ำภายใน 2 ปีจะมากกว่าร้อยละ 60 โดยปัจจัยเสี่ยง ได้แก่
- ชักครั้งแรกก่อนอายุ 12 เดือน
- มีพ่อแม่ หรือ พี่น้อง มีประวัติอาการชักจากไข้
- ชักภายในชั่วโมงแรกของไข้
- ชักโดยที่มีไข้ไม่สูงมาก
ภาวะชักจากไข้ จะทำให้เกิดอันตรายต่อสมองหรือมีผลต่อสติปัญญาหรือไม่
อาการชักจากไข้สูงในเด็ก มักไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อสมอง และไม่ทำให้สติปัญญาเดิมของเด็กแย่ลง ถ้าชักไม่นานเกิน 5 นาที
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2E0dnOu
#โรงพยาบาลสินแพทย์
#โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
#เบื้องหลังทุกการรักษาคือความใส่ใจ