คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
ประเด็นที่ จขกท ตั้งขึ้นมาเป็นเรื่องน่าสนใจที่คนทั่วไปคงจะคิดกันไม่ถึงในอีกแง่มุมหนึ่งของหลักจิตวิทยาการอบรมเลี้ยงดูเด็ก (educational theory) ซึ่งจะมีผลต่อไปต่อแนวทัศนคติในสังคมของหมู่คนในประเทศนั้นๆ
การให้รางวัลในการกระทำดี หรือ ผลงานที่โดดเด่นย่อมมีความสำคัญ แต่....ต้องอยู่ในความสัมพันธ์ที่เหมาะสมไม่ใช่เน้นหนักไปข้างใดข้างหนึ่งเสียจนก่อให้เกิดผลเสียอีกด้านหนึ่ง ในกรณีนี้การให้รางวัลต่อเด็กเรียนดีจากการวัดระดับก็ถือว่าเป็นเพียงพอแล้ว การถ่ายรูปกับผู้ปกครองถือว่าเป็นการกระทำที่เกินเลยไปอย่างไม่จำเป็นซึ่งจะส่งผลกระทบต่อจิตใจของนักเรียนที่ไม่ได้มีผลการเรียนดีเด่น และแทนที่จะเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนไม่ดีต่อสู้กลับกลายเป็นการบั่นทอนกำลังใจไปเสียได้
คนที่เรียนไม่ดีไม่สามารถสรุปได้ว่าคนเหล่านั้นขี้เกียจไม่ใส่ใจ แต่ขึ้นอยู่กับสติปัญญา สภาพแวดล้อมของครอบครัวไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจหรือฐานะทางสังคม มีส่วนสำคัญเป็นหลักด้วย
ประเทศพัฒนาแล้วไม่มีการจัดอันดับผลการสอบ นักเรียนได้ผลเกรดในแต่ละวิชาเป็นของตนเอง คนที่ได้รับผลเกรดดีจะได้รับรางวัลเล็กๆ น้อยๆ จากพ่อแม่ ผู้ปกครอง มีการประกาศผลในหน้าหนังสือพิมพ์บ้างแต่ไม่มีการให้รางวัลต่อหน้ารวมกับคนที่ไม่ได้ผลการเรียนดีให้เป็นที่เจ็บช้ำน้ำใจ
ยิ่งเป็นระดับสอบในมหาวิทยาลัยยิ่งไม่มีพิธีมอบใบประกาศนียบัตร
สิ่งที่เขาต้องการสื่อให้เด็กเข้าใจคือ การประสบความสำเร็จในการเรียนเป็นผลงานของตนเองเป็นหลัก ถึงพ่อแม่จะมีส่วนสนับสนุนแต่พ่อแม่แต่ละคนมีขีดจำกัดที่ไม่สามารถส่งเสริมลูกได้เท่ากัน ฉะนั้นการให้ความชื่นชมต่อพ่อแม้ด้วยจึงไม่มีน้ำหนักในกรณีนี้ การมีผลการเรียนดีต้องไม่ไปข่มทับถมคนที่มีผลงานไม่ดีเท่าตนเอง สอนให้มนุษย์ยอมรับความไม่เท่าเทียมโดยธรรมชาติซึ่งกันและกันตั้งแต่เด็กเพื่อที่โตขึ้นจะได้เห็นอกเห็นใจเพื่อมนุษย์ด้วยกัน ไม่ตัดสินคุณค่าของคนที่ผลงานแต่เพียงอย่างเดียวแต่ดูด้านอื่นๆ โดยรวมด้วยว่าคนๆ นั้นทำตนเป็นคนดีเป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือไม่
และนั่นเป็นเหตุผลหนึ่งประเทศบางประเทศจึงเป็นประเทศสวัสดิการได้ เพราะคนที่มีความสามารถสติปัญญามากกว่ามองเห็นความ่อ่อนแอทางธรรมชาติของมนุษย์และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
การให้รางวัลในการกระทำดี หรือ ผลงานที่โดดเด่นย่อมมีความสำคัญ แต่....ต้องอยู่ในความสัมพันธ์ที่เหมาะสมไม่ใช่เน้นหนักไปข้างใดข้างหนึ่งเสียจนก่อให้เกิดผลเสียอีกด้านหนึ่ง ในกรณีนี้การให้รางวัลต่อเด็กเรียนดีจากการวัดระดับก็ถือว่าเป็นเพียงพอแล้ว การถ่ายรูปกับผู้ปกครองถือว่าเป็นการกระทำที่เกินเลยไปอย่างไม่จำเป็นซึ่งจะส่งผลกระทบต่อจิตใจของนักเรียนที่ไม่ได้มีผลการเรียนดีเด่น และแทนที่จะเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนไม่ดีต่อสู้กลับกลายเป็นการบั่นทอนกำลังใจไปเสียได้
คนที่เรียนไม่ดีไม่สามารถสรุปได้ว่าคนเหล่านั้นขี้เกียจไม่ใส่ใจ แต่ขึ้นอยู่กับสติปัญญา สภาพแวดล้อมของครอบครัวไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจหรือฐานะทางสังคม มีส่วนสำคัญเป็นหลักด้วย
ประเทศพัฒนาแล้วไม่มีการจัดอันดับผลการสอบ นักเรียนได้ผลเกรดในแต่ละวิชาเป็นของตนเอง คนที่ได้รับผลเกรดดีจะได้รับรางวัลเล็กๆ น้อยๆ จากพ่อแม่ ผู้ปกครอง มีการประกาศผลในหน้าหนังสือพิมพ์บ้างแต่ไม่มีการให้รางวัลต่อหน้ารวมกับคนที่ไม่ได้ผลการเรียนดีให้เป็นที่เจ็บช้ำน้ำใจ
ยิ่งเป็นระดับสอบในมหาวิทยาลัยยิ่งไม่มีพิธีมอบใบประกาศนียบัตร
สิ่งที่เขาต้องการสื่อให้เด็กเข้าใจคือ การประสบความสำเร็จในการเรียนเป็นผลงานของตนเองเป็นหลัก ถึงพ่อแม่จะมีส่วนสนับสนุนแต่พ่อแม่แต่ละคนมีขีดจำกัดที่ไม่สามารถส่งเสริมลูกได้เท่ากัน ฉะนั้นการให้ความชื่นชมต่อพ่อแม้ด้วยจึงไม่มีน้ำหนักในกรณีนี้ การมีผลการเรียนดีต้องไม่ไปข่มทับถมคนที่มีผลงานไม่ดีเท่าตนเอง สอนให้มนุษย์ยอมรับความไม่เท่าเทียมโดยธรรมชาติซึ่งกันและกันตั้งแต่เด็กเพื่อที่โตขึ้นจะได้เห็นอกเห็นใจเพื่อมนุษย์ด้วยกัน ไม่ตัดสินคุณค่าของคนที่ผลงานแต่เพียงอย่างเดียวแต่ดูด้านอื่นๆ โดยรวมด้วยว่าคนๆ นั้นทำตนเป็นคนดีเป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือไม่
และนั่นเป็นเหตุผลหนึ่งประเทศบางประเทศจึงเป็นประเทศสวัสดิการได้ เพราะคนที่มีความสามารถสติปัญญามากกว่ามองเห็นความ่อ่อนแอทางธรรมชาติของมนุษย์และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
แสดงความคิดเห็น
การมอบเกียรติบัตรถ่ายรูปกับผู้ปกครองให้นักเรียนที่ได้เกรดอันดับ 1 2 3 ของสายชั้น ถือเป็นความเหลื่อมล้ำไหมคะ