ตั้งเป็นกระทู้คำถาม จะได้ comment กันได้ทุกท่าน
สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้ผมขอเสนอรายละเอียดทางดาราศาสตร์
และ การติดตามชมดาวหาง NEOWISE ครับ ดาวหาง NEOWISE นี้
เป็นดาวหางแบบคาบยาว (Long period comet) ก็คือดาวหางที่มีคาบการโคจร
รอบดวงอาทิตย์มากกว่า 200 ปี ดาวหางดวงนี้มีคาบการโคจรมากถึงประมาณ 4,500 ปี
นั่นก็หมายความว่ามนุษย์ทุกคนบนโลกจะได้ชมดาวหางดวงนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ดาวหาง NEOWISE ถูกค้นพบเมื่อ 27 มีนาคม ปีนี้เอง ตรวจจับด้วยกล้องโทรทรรศน์
NEOWISE space telescope ของ NASA ครับ
นี่คือภาพวงโคจรของ ดาวหาง NEOWISE เธอมีระยะโคจรด้านไกลออกห่างจากระบบสุริยะ
มากถึง 550 AU หรือประมาณ 18.5 เท่าของวงโคจรดาว Neptune ครับ นี่เอง ที่ทำให้
ดาวหางดวงนี้มีคาบยาวถึง 4,500 ปี เธอจะโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่
3 กรกฎาคม 2563 ที่ระยะห่าง 44 ล้าน กิโลเมตร และใกล้โลกที่สุดในวันที่ 23 กรกฎาคม 2563
ที่ระยะห่าง 103 ล้าน กิโลเมตร
ท่านสามารถดูการโคจรด้วย Simulator ของ NASA ที่นี่ครับ
https://ssd.jpl.nasa.gov/sbdb.cgi?sstr=C%2F2020%20F3;old=0;orb=1;cov=0;log=0;cad=0
การติดตามชมดาวหาง NEOWISE สามารถชมได้ในช่วงวันที่ 18 - 23 กรกฏาคม ครับ
ก็คือตั้งแต่ค่ำวันนี้เป็นต้นไป NEOWISE จะปรากฏให้เห็นได้ตอนช่วงหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ตก
เวลาที่เหมาะสมสุด คือ 19:37 เป็นต้นไป โดยจะปรากฏให้เห็นทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
รายละเอียดตามภาพนี้เลย คือในคืนนี้ (18 ก.ค.) เวลา 19:37 ท่านจะต้องมองไปที่ขอบฟ้า
ด้วยมุมสูงแค่ประมาณ 8 องศา ซึ่ง NEOWISE จะสว่างประมาณ 2.7 magnitude (ถือว่าสว่างดีพอสมควร)
และในวันที่ 19 20 21 .... 23 ในเวลา 19:37 ตำแหน่งของดาวหางจะเลื่อนขึ้นด้านบน ตามภาพครับ
แต่ความสว่างจะลดลง และในช่วงวันที่ 21 22 23 จะมีดวงจันทร์มารบกวนการมองเห็น ดังนั้นช่วงวันที่
18 19 20 กรกฏาคม คือช่วงที่ดีสุดในการติดตามชมดาวหาง NEOWISE
แต่ ขอเรียนก่อนว่าในกรุงเทพที่มีแสงรบกวนจากเมืองเยอะ ท่านอาจผิดหวังได้
และช่วงนี้ก็ฤดูฝน อาจมีเมฆมากด้วยครับ ก็ติดตามชมกันนะครับเผื่อจะโชคดีได้เห็น
สวัสดีครับ
ข้อมูล และ รูปภาพ เรียบเรียงจาก
http://thaiastro.nectec.or.th/skyevent/article/c2020f3/
รายละเอียดของดาวหาง NEOWIE และการติดตามชม
สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้ผมขอเสนอรายละเอียดทางดาราศาสตร์
และ การติดตามชมดาวหาง NEOWISE ครับ ดาวหาง NEOWISE นี้
เป็นดาวหางแบบคาบยาว (Long period comet) ก็คือดาวหางที่มีคาบการโคจร
รอบดวงอาทิตย์มากกว่า 200 ปี ดาวหางดวงนี้มีคาบการโคจรมากถึงประมาณ 4,500 ปี
นั่นก็หมายความว่ามนุษย์ทุกคนบนโลกจะได้ชมดาวหางดวงนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ดาวหาง NEOWISE ถูกค้นพบเมื่อ 27 มีนาคม ปีนี้เอง ตรวจจับด้วยกล้องโทรทรรศน์
NEOWISE space telescope ของ NASA ครับ
นี่คือภาพวงโคจรของ ดาวหาง NEOWISE เธอมีระยะโคจรด้านไกลออกห่างจากระบบสุริยะ
มากถึง 550 AU หรือประมาณ 18.5 เท่าของวงโคจรดาว Neptune ครับ นี่เอง ที่ทำให้
ดาวหางดวงนี้มีคาบยาวถึง 4,500 ปี เธอจะโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่
3 กรกฎาคม 2563 ที่ระยะห่าง 44 ล้าน กิโลเมตร และใกล้โลกที่สุดในวันที่ 23 กรกฎาคม 2563
ที่ระยะห่าง 103 ล้าน กิโลเมตร
ท่านสามารถดูการโคจรด้วย Simulator ของ NASA ที่นี่ครับ
https://ssd.jpl.nasa.gov/sbdb.cgi?sstr=C%2F2020%20F3;old=0;orb=1;cov=0;log=0;cad=0
การติดตามชมดาวหาง NEOWISE สามารถชมได้ในช่วงวันที่ 18 - 23 กรกฏาคม ครับ
ก็คือตั้งแต่ค่ำวันนี้เป็นต้นไป NEOWISE จะปรากฏให้เห็นได้ตอนช่วงหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ตก
เวลาที่เหมาะสมสุด คือ 19:37 เป็นต้นไป โดยจะปรากฏให้เห็นทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
รายละเอียดตามภาพนี้เลย คือในคืนนี้ (18 ก.ค.) เวลา 19:37 ท่านจะต้องมองไปที่ขอบฟ้า
ด้วยมุมสูงแค่ประมาณ 8 องศา ซึ่ง NEOWISE จะสว่างประมาณ 2.7 magnitude (ถือว่าสว่างดีพอสมควร)
และในวันที่ 19 20 21 .... 23 ในเวลา 19:37 ตำแหน่งของดาวหางจะเลื่อนขึ้นด้านบน ตามภาพครับ
แต่ความสว่างจะลดลง และในช่วงวันที่ 21 22 23 จะมีดวงจันทร์มารบกวนการมองเห็น ดังนั้นช่วงวันที่
18 19 20 กรกฏาคม คือช่วงที่ดีสุดในการติดตามชมดาวหาง NEOWISE
แต่ ขอเรียนก่อนว่าในกรุงเทพที่มีแสงรบกวนจากเมืองเยอะ ท่านอาจผิดหวังได้
และช่วงนี้ก็ฤดูฝน อาจมีเมฆมากด้วยครับ ก็ติดตามชมกันนะครับเผื่อจะโชคดีได้เห็น
สวัสดีครับ
ข้อมูล และ รูปภาพ เรียบเรียงจาก
http://thaiastro.nectec.or.th/skyevent/article/c2020f3/