ต้องเคลียร์อวิชชาในตัวเรา ถึงจะเข้าใจศีล
"๒. ในกระบวนการปฏิบัติธรรม หรือการฝึกอบรมพัฒนาชีวิตนั้น เมื่อมองในแง่ลำดับสิ่งที่จะต้องทำการให้ประณีตยิ่งขึ้นไปตามขั้น ก็ต้องจัดเตรียมพื้นฐานให้ราบรื่น ไม่ง่อนแง่น ไม่ขาดพร่อง เริ่มด้วยละเว้น หรือกำจัดความชั่วก่อน แล้วจึงเสริมสร้างความดีให้บริบูรณ์ จนถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นในที่สุด เหมือนจะปลูกพืชต้องชำระที่ดิน กำจัดสิ่งที่เป็นโทษก่อน แล้วจึงหว่านพืชและบำรุงรักษาไปจนได้ผลที่หมาย
ในระบบแห่งพุทธธรรมนั้น ศีลเป็นข้อปฏิบัติขั้นเริ่มแรกสุด มุ่งไปที่ความประพฤติพื้นฐาน จึงเน้นไปที่การละเว้นความชั่วต่างๆ ซึ่งเป็นจดเริ่มต้น พูดย้ำให้เห็นสิ่งที่ต้องการกำจัดอย่างชัดเจนเสียก่อน แล้วจึงขยายขอบเขต ยกระดับความประพฤติให้สูงขึ้นไปในด้านความดี ด้วยอาศัยการปฏฺบัติในขั้นสมาธิและปัญญาเข้ามาช่วยมากขึ้นๆ โดยลำดับ" สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). ๒๕๕๕. พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย กรุงเทพ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๗๑๕.
แม้ว่าเราจะรู้ แต่ถ้าผิดทางผิดเวลาก็จบ สรุป คือ เพราะว่าเราไม่เข้าใจสภาวธรรม หรือบุคคล
ต้องเคลียร์อวิชชาในตัวเรา ถึงจะเข้าใจศีล ถึงจะรับศีลได้ ถ้าเราไม่เกิดวิชชา วิชชาไม่กระจ่างเรารับศีลไม่ได้หรอก เราต้องมีวิชชาถึงจะไปทำศีลได้ ไม่ใช่เพราะศีลทำให้เกิดวิชชา มันคนละเรื่องกัน นี่แหละเป็นการเข้าใจผิด
เข้าใจผิดไปว่าเอาแต่ศีล แต่ไม่เอาวิชชา ในเมื่อเรารู้ศีลไม่กระจ่าง แล้วเราจะรักษาศีลไปได้กี่น้ำ เวลาเข้าพรรษากันที ก็จะเฮโลกันทำ ทำได้กี่น้ำ
แสดงว่าต้องมีวิชชา ศีล สมาธิ ปัญญา เรียงอย่างนี้ถูกต้องไหม? เพราะถ้าไม่เข้าใจในศีล แล้วจะไปปฏิบัติศีลทำไม?
สิ่งที่ร่ำเรียนกันมาเรียงลำดับ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา แต่ถ้าเรากลับกัน คือ ปัญญา สมาธิ และศีล
ก็เหมือนกับหลักธรรม พรหมวิหาร ๔ ที่ในการพิจารณาใช้ต้องกลับกัน คือ อุเบกขา มุฑิตา กรุณา เมตตา
เพราะถ้าเราไม่มีปัญญา เราจะมาทำสมาธิก็ไม่ได้
สิ่งที่สุดยอดก็คือศีล แต่ไม่ใช่ปัญญา ทั้งๆที่ว่าเราชูป้ายว่า ปัญญาเหนือสุดยอดแล้ว ก็คือ ต้องมีศีล มีความเป็นปกติ
สิ่งที่เรามีศีล เป็นปกติก็คือ ปฏิบัติไปตามภาวะแห่งธรรมนั้นได้ แต่เราต้องมาจากปัญญาถึงจะเกิดสมาธิ แล้วจึงจะเกิดศีล ที่จะบ่งการทำอะไรต่างๆ
บางครั้งหัวหน้าใหญ่หน่อย พวกสามเณรตีความหมายไม่เป็นไร เจ้าอาวาสตีความเอง ตีความไม่ถูกต้อง เป็นการเข้าข้างตัวเอง ก็กลายเป็นเลอะเทอะ เริ่มเปลี่ยนแล้ว ถ้าผู้รู้ในทางศาสนาหรือว่าผู้นำไปเปลี่ยน ยิ่งเลอะเลย ณ เวลานี้ผ่านมาเรื่อยๆ จนเวลานี้ข้างในผิดเพี้ยนไปเยอะแล้ว ก็ยังไม่รู้ก็ยังทู่ซี้ว่าถูกอีก เพราะว่าคนเปลี่ยนใบหน้าว่าถูกไง
ต้นเหตุที่ทำผิดศีลกันเพราะเป็นเช่นนี้ แล้วเราก็ไม่อยากปฏิบัติศีลกัน เพราะเราขาดวิชชานี่เอง ต้องให้ปัญญาแก่เขาก่อน เขาถึงจะรักษาศีลได้ ถ้าไม่มีปัญญาก็รักษาศีลไม่ได้
พระพุทธเจ้าท่านเทศน์สั่งสอนบอกว่า คุณทำแล้วจะได้ดีอะไร แล้วคุณไม่ทำแล้วคุณเสียอะไร แล้วให้เราตัดสินว่าเราจะเอายังไง เอาเริ่มตั้งแต่ขั้นศีล ๕ ก่อน ศีล ๘ ก่อน ถึงจะเป็นศีล ๒๒๗ ข้อก่อน อะไรอย่างนี้ จะเป็นขั้นๆ ไป
เดี๋ยวนี้บางคนศีล ๕ ยังไม่เข้าใจ แต่กระโดดไปรักษาศีล ๒๒๗ ข้อกันแล้ว พอผ้าเหลืองห่มตัวลงไป คนที่ถือศีล ๘ ก็ต้องไปยกมือไหว้ ทั้งๆ คนนี้ศีล ๕ ยังไม่รู้เรื่องเลย นี่แหละ ผิดเพี้ยนไปแล้ว บอกให้แก้ตรงนี้ก็ยังไม่ยอมแก้ไข คือ ใครจะไปบวชต้องไปเรียนก่อน
เดี๋ยวนี้ใครจะบวชแล้วเรียนก่อนบ้างมีไหม? ขนาดนี้สวดยังไม่ได้เลย ยังสวดแทนให้ ว่าตามนะ คนบวชก็ต้องพูดตามคนนำ เขาก็ไม่รู้ว่าพูดอะไร
ธุดงค์ ก็คือ เราต้องข้อวัตรปฏิบัติสิ่งต่างๆ ขึ้นมาเพื่อขัดเกลาตนเอง เช่น เราอยากจะขโมยของเขา เราติดนิสัยตัวนี้แล้ว ธุดงค์ก็คือว่า ตั้งกฎขึ้นมา ข้อวัตรปฏิบัติ บังคับไม่ให้เราไปขโมยของเขา นี่แหละเรียกว่าธุดงค์ ธุดงค์เป็นตัวๆ เลย
^_^ ..._/_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
ต้องเคลียร์อวิชชาในตัวเรา ถึงจะเข้าใจศีล
"๒. ในกระบวนการปฏิบัติธรรม หรือการฝึกอบรมพัฒนาชีวิตนั้น เมื่อมองในแง่ลำดับสิ่งที่จะต้องทำการให้ประณีตยิ่งขึ้นไปตามขั้น ก็ต้องจัดเตรียมพื้นฐานให้ราบรื่น ไม่ง่อนแง่น ไม่ขาดพร่อง เริ่มด้วยละเว้น หรือกำจัดความชั่วก่อน แล้วจึงเสริมสร้างความดีให้บริบูรณ์ จนถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นในที่สุด เหมือนจะปลูกพืชต้องชำระที่ดิน กำจัดสิ่งที่เป็นโทษก่อน แล้วจึงหว่านพืชและบำรุงรักษาไปจนได้ผลที่หมาย
ในระบบแห่งพุทธธรรมนั้น ศีลเป็นข้อปฏิบัติขั้นเริ่มแรกสุด มุ่งไปที่ความประพฤติพื้นฐาน จึงเน้นไปที่การละเว้นความชั่วต่างๆ ซึ่งเป็นจดเริ่มต้น พูดย้ำให้เห็นสิ่งที่ต้องการกำจัดอย่างชัดเจนเสียก่อน แล้วจึงขยายขอบเขต ยกระดับความประพฤติให้สูงขึ้นไปในด้านความดี ด้วยอาศัยการปฏฺบัติในขั้นสมาธิและปัญญาเข้ามาช่วยมากขึ้นๆ โดยลำดับ" สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). ๒๕๕๕. พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย กรุงเทพ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๗๑๕.
แม้ว่าเราจะรู้ แต่ถ้าผิดทางผิดเวลาก็จบ สรุป คือ เพราะว่าเราไม่เข้าใจสภาวธรรม หรือบุคคล
ต้องเคลียร์อวิชชาในตัวเรา ถึงจะเข้าใจศีล ถึงจะรับศีลได้ ถ้าเราไม่เกิดวิชชา วิชชาไม่กระจ่างเรารับศีลไม่ได้หรอก เราต้องมีวิชชาถึงจะไปทำศีลได้ ไม่ใช่เพราะศีลทำให้เกิดวิชชา มันคนละเรื่องกัน นี่แหละเป็นการเข้าใจผิด
เข้าใจผิดไปว่าเอาแต่ศีล แต่ไม่เอาวิชชา ในเมื่อเรารู้ศีลไม่กระจ่าง แล้วเราจะรักษาศีลไปได้กี่น้ำ เวลาเข้าพรรษากันที ก็จะเฮโลกันทำ ทำได้กี่น้ำ
แสดงว่าต้องมีวิชชา ศีล สมาธิ ปัญญา เรียงอย่างนี้ถูกต้องไหม? เพราะถ้าไม่เข้าใจในศีล แล้วจะไปปฏิบัติศีลทำไม?
สิ่งที่ร่ำเรียนกันมาเรียงลำดับ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา แต่ถ้าเรากลับกัน คือ ปัญญา สมาธิ และศีล
ก็เหมือนกับหลักธรรม พรหมวิหาร ๔ ที่ในการพิจารณาใช้ต้องกลับกัน คือ อุเบกขา มุฑิตา กรุณา เมตตา
เพราะถ้าเราไม่มีปัญญา เราจะมาทำสมาธิก็ไม่ได้
สิ่งที่สุดยอดก็คือศีล แต่ไม่ใช่ปัญญา ทั้งๆที่ว่าเราชูป้ายว่า ปัญญาเหนือสุดยอดแล้ว ก็คือ ต้องมีศีล มีความเป็นปกติ
สิ่งที่เรามีศีล เป็นปกติก็คือ ปฏิบัติไปตามภาวะแห่งธรรมนั้นได้ แต่เราต้องมาจากปัญญาถึงจะเกิดสมาธิ แล้วจึงจะเกิดศีล ที่จะบ่งการทำอะไรต่างๆ
บางครั้งหัวหน้าใหญ่หน่อย พวกสามเณรตีความหมายไม่เป็นไร เจ้าอาวาสตีความเอง ตีความไม่ถูกต้อง เป็นการเข้าข้างตัวเอง ก็กลายเป็นเลอะเทอะ เริ่มเปลี่ยนแล้ว ถ้าผู้รู้ในทางศาสนาหรือว่าผู้นำไปเปลี่ยน ยิ่งเลอะเลย ณ เวลานี้ผ่านมาเรื่อยๆ จนเวลานี้ข้างในผิดเพี้ยนไปเยอะแล้ว ก็ยังไม่รู้ก็ยังทู่ซี้ว่าถูกอีก เพราะว่าคนเปลี่ยนใบหน้าว่าถูกไง
ต้นเหตุที่ทำผิดศีลกันเพราะเป็นเช่นนี้ แล้วเราก็ไม่อยากปฏิบัติศีลกัน เพราะเราขาดวิชชานี่เอง ต้องให้ปัญญาแก่เขาก่อน เขาถึงจะรักษาศีลได้ ถ้าไม่มีปัญญาก็รักษาศีลไม่ได้
พระพุทธเจ้าท่านเทศน์สั่งสอนบอกว่า คุณทำแล้วจะได้ดีอะไร แล้วคุณไม่ทำแล้วคุณเสียอะไร แล้วให้เราตัดสินว่าเราจะเอายังไง เอาเริ่มตั้งแต่ขั้นศีล ๕ ก่อน ศีล ๘ ก่อน ถึงจะเป็นศีล ๒๒๗ ข้อก่อน อะไรอย่างนี้ จะเป็นขั้นๆ ไป
เดี๋ยวนี้บางคนศีล ๕ ยังไม่เข้าใจ แต่กระโดดไปรักษาศีล ๒๒๗ ข้อกันแล้ว พอผ้าเหลืองห่มตัวลงไป คนที่ถือศีล ๘ ก็ต้องไปยกมือไหว้ ทั้งๆ คนนี้ศีล ๕ ยังไม่รู้เรื่องเลย นี่แหละ ผิดเพี้ยนไปแล้ว บอกให้แก้ตรงนี้ก็ยังไม่ยอมแก้ไข คือ ใครจะไปบวชต้องไปเรียนก่อน
เดี๋ยวนี้ใครจะบวชแล้วเรียนก่อนบ้างมีไหม? ขนาดนี้สวดยังไม่ได้เลย ยังสวดแทนให้ ว่าตามนะ คนบวชก็ต้องพูดตามคนนำ เขาก็ไม่รู้ว่าพูดอะไร
ธุดงค์ ก็คือ เราต้องข้อวัตรปฏิบัติสิ่งต่างๆ ขึ้นมาเพื่อขัดเกลาตนเอง เช่น เราอยากจะขโมยของเขา เราติดนิสัยตัวนี้แล้ว ธุดงค์ก็คือว่า ตั้งกฎขึ้นมา ข้อวัตรปฏิบัติ บังคับไม่ให้เราไปขโมยของเขา นี่แหละเรียกว่าธุดงค์ ธุดงค์เป็นตัวๆ เลย
^_^ ..._/_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต