▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
เดินป่า
ภาพถ่ายทิวทัศน์
บันทึกนักเดินทาง
อุปกรณ์เดินป่า
อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ
"เขาคิชฌกูฏ" กับเส้นทางเดินป่าสายเก่า เดินเท้าขึ้นเขาคิชฌกูฏ จากวัดโคกตะพง ถึง “รอยพระพุทธบาท”
เปิดเส้นทางเดินป่าสายเก่า เดินเท้าขึ้นเขาคิชฌกูฏ จากวัดโคกตะพง ถึง “รอยพระพุทธบาท” ที่ขาลุยต้องลองสักครั้งในชีวิต สำหรับเส้นทางศึกษาธรรมชาติเชิงนิเวศเขาคิชฌกูฎ เริ่มต้นจากวัดโคกตะพง ชุมชนบ้านแกลง ต.วังแซ้ม อ.มะขาม จ.จันทบุรี เป็นเส้นทางเก่าแก่โบราณที่ใช้ขึ้นเขาคิชฌกูฏมานานเป็นร้อยปีแล้ว โดยปกติแล้วเส้นทางเดินป่าเส้นนี้จะเปิดให้ขึ้นเทศกาลขึ้นเขาคิชฌกูฏเป็นประจำทุกปี ปีละ 3 เดือน โดยในปีนี้จะเปิดให้ขึ้นตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2563 ถึง 24 มีนาคม 2563 เส้นทางเดินป่าเส้นนี้เป็นเส้นทางเก่าแก่ที่ใช้เดินกันมาตั้งแต่โบราณที่ใช้เดินขึ้นเขาคิชฌกูฏมานานเป็นร้อยปีแล้ว จวบจนสมัยที่หลวงพ่อเขียน ขันธสโร ได้เข้ามาดำเนินการ จึงได้หยุดใช้เส้นทางนี้ และเปลี่ยนมาใช้เส้นทางวัดพลวงแทน (โดยทางทั้งสองเส้นนี้ขึ้นอยู่กับอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฎ) แต่ในระยะหลัง ก็ได้เปิดใช้เส้นทางนี้อีกครั้งเมื่อราวปี 2558 ให้เป็นเส้นทางเดินเท้าขึ้นเขาคิชกูฏ โดยมีชาวบ้านคอยนำทาง ทางเดินป่าสายเก่าเส้นนี้เป็นป่าล้วนๆ ที่มีแต่ธรรมชาติ ระหว่างทางมีจุดชมวิวหลายแห่ง มีต้นไม้ น้ำตก พรรณไม้ สัตว์และแมลงต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายไปยังรอยพระพุทธบาทบนยอดเขา เส้นทางนี้อาจจะไม่เป็นที่นิยมเท่ากับเส้นทางวัดพลวง ที่จะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้กราบสักการะขอพรเป็นระยะๆ และมีรถรับ-ส่ง
ระหว่างทางมีจุดชมวิวหลายแห่ง มีต้นไม้ น้ำตก พรรณไม้ สัตว์และแมลงต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายไปยังรอยพระพุทธบาทบนยอดเขา ระหว่างทางท่านจะได้พบพรรณไม้นานาชนิด เช่น กล้วยไม้ เทียนดอย ดอกลิ้นมังกร เห็ดแชมเปญ รวมถึงสัตว์หายากเฉพาะถิ่นอีกด้วย บางชนิดพบเพียงที่นี่ที่เดียวในโลก เช่น “กบอกหนาม” หนึ่งเดียวในโลก (กบป่าหายากที่มีลักษณะเฉพาะตัว มีรูปร่างคล้ายกับคางคกมีผิวหนังหยาบ ขรุขระเป็นสันและปุ่มลำตัวสีเขียว น้ำตาลจนถึงสีดำ มีจุดประสีน้ำตาลทั่วตัวในฤดูผสมพันธุ์ ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมกบตัวผู้จะมีกลุ่มหนามแหลมสีดำ กระจายกันอยู่บนแผ่นอกและใต้คาง เมื่อสิ้นฤดูผสมพันธุ์ หนามเหล่านี้จะหลุดหายไป เหลือเพียงรอยสีคล้ำๆ ตรงตำแหน่งเดิม กบอกหนามพบเฉพาะในบริเวณที่แคบๆตั้งแต่บริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของไทยโดยอาศัยอยู่ในแถบเขาสอยดาวจังหวัดจันทบุรี
จักจั่นงวงช้างจันทบุรี นักดนตรีแห่งป่าใหญ่ในภาคตะวันออกเป็น จักจั่นสายพันธุ์หนึ่งในวงศ์ Cicadidae Pyrops ducalis ( Stal). 1863. TYPE : Londres Cambodge ในประเทศไทยพบได้หลายสี แต่ละพื้นที่มีลวดลายแตกต่างกันจนเป็นเอกลักษณ์ ในจันทบุรีมักพบตามลำต้นลำไยและในป่าสมบูรณ์ เช่น เขาสอยดาวและเขาคิชฌกูฏเป็นต้น
อึ่งกรายจันทบูรณ์ (Megophrys lekaguli) เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชนิดหนึ่ง มีลักษณะสะดุดตาคือ มีลำตัวป้อม ขาสั้น ผิวหนังด้านหลังมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแดง มีลายรูปนาฬิกาทรายสีน้ำตาลเข้มพาดอยู่ตั้งแต่บริเวณระหว่างตาจนถึงเอว พบเฉพาะในภาคตะวันออกของไทย พบครั้งแรกที่เขาสอยดาวใต้ จังหวัดจันทบุรี
การเดินทางจากวัดโคกตะพง ซึ่งจะมีรถรับส่ง
ประมาณ 5 กิโลเมตร เพื่อเดินทางไปยังจุดเริ่มเดินเท้า ที่ปากปล่องระบายความร้อนของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ ซึ่งจุดนี้จะเป็นจุดที่เริ่มเดินเท้าขึ้นเขา ในระยะทางราวๆ 3 กิโลเมตร ระหว่างทางผ่านป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์ ผ่านน้ำตก แต่ทางค่อนข้างชัน จึงgหมาะกบคนที่มีโรคประจำตัว ขณะเดียวกันก็จะมีจุดพักเป็นระยะๆ ซึ่งใช้เวลาจนถึงยอดเขาคิชฌกูฎ ประมาณ 4ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับการเดินของแต่ละคน
ช่างภาพ saravut naipreedee
เรื่องราว/ถ่ายภาพ nussorn chanathipphitphiboon