การดูแลรักษาและออกกำลังกายในโรคเอ็นไขว้หน้าอักเสบ

เอ็นไขว้หน้า (Anterior cruciate ligament) เป็นหนึ่งในเส้นเอ็นหัวเข่า ยึดระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง
เพื่อป้องกันการขยับในแนวหน้าหลัง และป้องกันการบิดหมุนที่มากเกินไปของหัวเข่า เอ็นไขว้หน้าจึงมีความสำคัญต่อความมั่นคงของหัวเข่า.
โดยเฉพาะเวลาเล่นกีฬาที่ต้องมีการบิดหมุนข้อเข่า เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล เป็นต้น

อาการและอาการแสดง
       โดยปกติเอ็นไขว้หน้าฉีกขาดมักเกิดในช่วงที่เล่นกีฬาและมีการบิดหมุนของหัวเข่าที่รุนแรง ผู้ที่เอ็นฉีกขาดบางคน
ได้ยินเสียงดังบริเวณหัวเข่าเหมือนมีบางสิ่งขาด หลังจากนั้นจะมีอาการปวดบวมบริเวณเข่าที่มีอาการ มักจะเดินลงน้ำหนักไม่ได้
หรือลงได้ไม่เต็มที่ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์ แต่มีผู้ป่วยบางส่วนไม่ได้มาพบแพทย์ในช่วงแรก
       หลังจากเอ็นหัวเข่าฉีกขาด โดยทั่วไปประมาณ 1-2 สัปดาห์  อาการปวด บวม อักเสบบริเวณหัวเข่าจะค่อยๆดีขึ้น 
หลังจากนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถเดินได้ด้วยตนเอง โดยไม่รู้สึกผิดปกติ แต่จะมีอาการเวลาที่หัวเข่าต้องบิดหมุน เช่น เดินเร็ว ขึ้น/ลงบันได
วิ่ง เล่นกีฬา เป็นต้น 
 

การดูแลรักษาโรคเอ็นไขว้หน้าอักเสบ
       ในรายที่ตรวจพบว่าเอ็นไขว้หน้าฉีกขาดเพียงบางส่วนไม่ต้องเข่ารับการผ่าตัดนั้น โดยทั่วไปจะรักษา
เพื่อลดอาการปวด บวม และใช้เครื่องมือกายภาพในการเร่งให้เนื้อเยื่อซ่อมแซมตัวเองเร็วขึ้น
เช่น การใช้เครื่อง ultrasound, laser, shortwave เป็นต้น และการออกกำลังกายเพิ่มความมั่นคงของข้อเข่า

การออกกำลังกายเพิ่มความมั่นคงของข้อเข่า ได้แก่
            1) การฝึกยืนบนเบาะนุ่มๆ และงอเข่าเล็กน้อยค้างไว้ 20 วินาที ขณะงอเข่าหลังต้องตรง ไม่ใช้มือยันขาใดๆ
และอาจจะเพิ่มความยากอีกนิดโดยการหลับตาในขณะที่ทำนี้
           2) ฝึกงอเข่าหนีบลูกบอล โดยให้ยืนชิดกำแพงนำลูกบอลหนีบไว้ระหว่างเข่าสองข้าง
จากนั้นหนีบลูกบอลแล้วค่อยๆงอเข่าลงแล้วเหยียดเข่าขึ้นนับเป็น 1 ครั้ง ทำ 10 ครั้ง ซึ่งในขณะที่ทำหากมีอาการปวดเข่า
ควรหยุดออกกำลังกายทันที เพราะอาจไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้นได้
           3) ฝึกเตะขา โดยนั่งเก้าอี้ขาพ้นจากพื้น แล้วเตะขาขึ้นโดยมีถุงทรายถ่วงขานํ้หนัก 1 กิโลกรัม ค้างไว้ 5 วินาทีแล้วเอาขาลง ทำ 10 ครั้ง
           4) ในผู้ที่ยังคงมีอาการปวด แนะนำให้ไปเดินในนํ้าความสูงระดับเอว เพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา

โดย ฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่