สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 11
ทำไมข้าราชการทำผิดถึงย้าย ไม่ไล่ออกเลย? ผมจะบอกให้ครับ
เราจะเห็นข่าวอยู่ตลอด
เวลาข้าราชการถูกร้องเรียน, มีพฤติกรรมกระทำความผิด, ทุจริต ฯลฯ
มักจะถูกย้ายตลอด ไม่เห็นโดนไล่ออกซักที
ชาวบ้าน ก็จะมองว่าเก็บไว้ทำไม ทำไมไม่ไล่ออกไป
พอเรื่องเงียบก็กลับมาที่เดิม
ดังจะเห็นจากความคิดเห็นในเว็บ หรือ โซเชียลมีเดีย ต่าง ๆ
ผมจะให้ข้อมูล ว่าทำไม ไม้ไล่ออกซะให้จบ ๆ ไป
การย้าย ตามหลักจะไม่ใช่การลงโทษ
การย้ายในกรณีที่ข้าราชการผู้นั้นถูกร้องเรียน หรือถูกพบว่ากระทำ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำผิด
การย้ายนั้น คือ การ "กัน" ไม่ให้ข้าราชการผู้นั้น ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน
หรือ กระทำการอะไรอันเป็นการรบกวนการสืบสวนสอบสวน หรือกระทำอันตรายต่อการยุติธรรม
เช่น ใช้อำนาจข่มขู่ผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อประโยชน์ของตน
หรือ เก็บกวาดหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด
ข้าราชการที่ถูกย้าย ก็มักจะถูกตั้งกรรมการสอบ
เบื้องต้นอาจจะเป็นการสอบข้อเท็จจริงก่อนก็ได้ ถ้าพฤติการณ์ยังไม่ปรากฏชัด
แต่ถ้าชัดเจนแล้ว ก็จะเป็นการสอบวินัย
ซึ่งเมื่อการสอบสวนแล้วเสร็จ หากพบว่ามีความผิดจริง ก็จะถูกลงโทษทางวินัยต่อไป
หรือหากมีการกระทำผิดทางอาญาร่วมด้วย ก็จะถูกดำเนินคดีอาญาตามฐานความผิดนั้น
รวมไปถึงการกระทำละเมิดทางแพ่ง หากมีเป็นการส่วนตัว
หรือ กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
ก็ไม่พ้นที่จะต้องรับผิดชดใช้อีกด้วย
การลงโทษทางวินัยข้าราชการ (ทั่วไป)
โทษทางวินัยมี 5 สถาน ดังต่อไปนี้
1. ภาคทัณฑ์
2. ตัดเงินเดือน
3. ลดเงินเดือน
4. ปลดออก
5. ไล่ออก
ทั้งนี้ การย้าย สามารถนำมาใช้เป็นการให้คุณให้โทษข้าราชการได้เช่นกัน
เช่น การย้ายไปในถิ่นไกลปืนเที่ยง การย้ายไปไกลจากภูมิลำเนา การย้ายไปในถิ่นอันตรายหรือถิ่นทุรกันดาร ก็เป็นการให้โทษข้าราชการ
หรือ การย้ายไปในท้องที่เจริญ การย้ายไปใกล้ภูมิลำเนา การย้ายไปในหน่วยงานที่มีตำแหน่งว่างให้สามารถเลื่อนระดับได้สูงขึ้น ก็เป็นการให้คุณ
สำหรับว่าทำไมไม่ไล่ออกเลยทันทีนั้น
ก็หลักการเดียวกับกฎหมายบ้านเมืองทั่วไปครับ
เช่น มีคนกล่าวหาคุณ (หรือใครที่เย้ว ๆ ว่าทำไมไม่ไล่ออกเลย ย้ายทำไม) ว่าข่มขืนเด็ก
แบบนี้ ต้องประหาร ตัดHUM หรือจำคุก คุณทันทีเลย
หรือ คุณทำงานร้านอาหาร มีคนร้องว่าคุณถ่มน้ำลายใส่อาหารที่นำมาเสิร์ฟให้ลูกค้า
แบบนี้ เลวมาก ชั่วช้า ต้องไล่คุณออกเลยทันที
โดยไม่ต้องสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง หรือให้โอกาสคุณนำพยานหลักฐานมาสู้กันเลยใช่ไหม
ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วคุณอาจจะไม่ได้ทำผิดอะไรเลยก็ได้
ฉันใดก็ฉันนั้นครับ
จึงต้องมีการสอบสวนให้สิ้นสงสัยเสียก่อนจะลงโทษใครได้
ซึ่งในการลงโทษนั้น
หากเป็นการลงโทษมั่ว ๆ ในทางกลั่นแกล้ง
คนสั่งลงโทษ ไปจนถึงกรรมการฯ หรือผู้เกี่ยวข้อง
อาจจะโชคร้าย โดนลงโทษซะเอง ก็ยังได้
จึงต้องมีการสอบสวนให้แน่ชัด กว่าจะออกคำสั่งลงโทษแต่ละที
เหตุผลอีกประการหนึ่งที่การลงโทษข้าราชการกระทำได้ยากเย็น
ก็ด้วย หลักประกันความมั่นคงในการดำรงสถานภาพข้าราชการ (Security of tenure) ครับ
ซึ่งหลักที่ว่าเป็นหลักสำคัญใน ระบบคุณธรรม (Merit System) ไม่ใช่หลักในระบบอุปถัมภ์แต่อย่างใด
เพราะงานราชการเกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะ
หากผู้บังคับบัญชาสามารถลงโทษลูกน้องได้ง่าย ๆ
ก็จะส่งผลเสียต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ผู้บังคับบัญชาก็จะมีอำนาจล้นพ้นเกินไป
ข้าราชการผู้น้อยก็จะไม่กล้าปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตรงไปตรงมา
เพราะหากขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชา แม้ผู้บังคับบัญชาจะกระทำผิดทุจริตก็ตาม แต่ผู้น้อยก็จะเป็นฝ่ายโดนเล่นงานซะเอง
จึงต้องมีกฎหมายและระเบียบ คุ้มครองเอาไว้ ไม่ให้เกิดการกลั่นแกล้งได้โดยง่ายจากผู้บังคับบัญชา
ความคุ้มครองนี้จึงเป็นหลักประกันให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสุจริต ซื่อตรง
เพราะ หลักประกันความมั่นคงในการดำรงสถานภาพข้าราชการ เป็นการถ่วงดุลอำนาจ
ระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชา กับ ผู้บังคับบัญชานั่นเอง
ลองคิดเล่น ๆ ถ้าเกิดมีการลงโทษได้ง่าย ๆ โดยผู้บังคับบัญชา
เราคงไม่เห็นครูผู้น้อย ออกมาร้องเรียนเรื่องอาหารกลางวันเด็กไม่ได้มาตรฐาน
เพราะคงโดน ผอ. ใส่ความไล่ออกไปก่อนตั้งนานแล้ว
https://ppantip.com/topic/39228024
เราจะเห็นข่าวอยู่ตลอด
เวลาข้าราชการถูกร้องเรียน, มีพฤติกรรมกระทำความผิด, ทุจริต ฯลฯ
มักจะถูกย้ายตลอด ไม่เห็นโดนไล่ออกซักที
ชาวบ้าน ก็จะมองว่าเก็บไว้ทำไม ทำไมไม่ไล่ออกไป
พอเรื่องเงียบก็กลับมาที่เดิม
ดังจะเห็นจากความคิดเห็นในเว็บ หรือ โซเชียลมีเดีย ต่าง ๆ
ผมจะให้ข้อมูล ว่าทำไม ไม้ไล่ออกซะให้จบ ๆ ไป
การย้าย ตามหลักจะไม่ใช่การลงโทษ
การย้ายในกรณีที่ข้าราชการผู้นั้นถูกร้องเรียน หรือถูกพบว่ากระทำ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำผิด
การย้ายนั้น คือ การ "กัน" ไม่ให้ข้าราชการผู้นั้น ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน
หรือ กระทำการอะไรอันเป็นการรบกวนการสืบสวนสอบสวน หรือกระทำอันตรายต่อการยุติธรรม
เช่น ใช้อำนาจข่มขู่ผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อประโยชน์ของตน
หรือ เก็บกวาดหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด
ข้าราชการที่ถูกย้าย ก็มักจะถูกตั้งกรรมการสอบ
เบื้องต้นอาจจะเป็นการสอบข้อเท็จจริงก่อนก็ได้ ถ้าพฤติการณ์ยังไม่ปรากฏชัด
แต่ถ้าชัดเจนแล้ว ก็จะเป็นการสอบวินัย
ซึ่งเมื่อการสอบสวนแล้วเสร็จ หากพบว่ามีความผิดจริง ก็จะถูกลงโทษทางวินัยต่อไป
หรือหากมีการกระทำผิดทางอาญาร่วมด้วย ก็จะถูกดำเนินคดีอาญาตามฐานความผิดนั้น
รวมไปถึงการกระทำละเมิดทางแพ่ง หากมีเป็นการส่วนตัว
หรือ กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
ก็ไม่พ้นที่จะต้องรับผิดชดใช้อีกด้วย
การลงโทษทางวินัยข้าราชการ (ทั่วไป)
โทษทางวินัยมี 5 สถาน ดังต่อไปนี้
1. ภาคทัณฑ์
2. ตัดเงินเดือน
3. ลดเงินเดือน
4. ปลดออก
5. ไล่ออก
ทั้งนี้ การย้าย สามารถนำมาใช้เป็นการให้คุณให้โทษข้าราชการได้เช่นกัน
เช่น การย้ายไปในถิ่นไกลปืนเที่ยง การย้ายไปไกลจากภูมิลำเนา การย้ายไปในถิ่นอันตรายหรือถิ่นทุรกันดาร ก็เป็นการให้โทษข้าราชการ
หรือ การย้ายไปในท้องที่เจริญ การย้ายไปใกล้ภูมิลำเนา การย้ายไปในหน่วยงานที่มีตำแหน่งว่างให้สามารถเลื่อนระดับได้สูงขึ้น ก็เป็นการให้คุณ
สำหรับว่าทำไมไม่ไล่ออกเลยทันทีนั้น
ก็หลักการเดียวกับกฎหมายบ้านเมืองทั่วไปครับ
เช่น มีคนกล่าวหาคุณ (หรือใครที่เย้ว ๆ ว่าทำไมไม่ไล่ออกเลย ย้ายทำไม) ว่าข่มขืนเด็ก
แบบนี้ ต้องประหาร ตัดHUM หรือจำคุก คุณทันทีเลย
หรือ คุณทำงานร้านอาหาร มีคนร้องว่าคุณถ่มน้ำลายใส่อาหารที่นำมาเสิร์ฟให้ลูกค้า
แบบนี้ เลวมาก ชั่วช้า ต้องไล่คุณออกเลยทันที
โดยไม่ต้องสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง หรือให้โอกาสคุณนำพยานหลักฐานมาสู้กันเลยใช่ไหม
ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วคุณอาจจะไม่ได้ทำผิดอะไรเลยก็ได้
ฉันใดก็ฉันนั้นครับ
จึงต้องมีการสอบสวนให้สิ้นสงสัยเสียก่อนจะลงโทษใครได้
ซึ่งในการลงโทษนั้น
หากเป็นการลงโทษมั่ว ๆ ในทางกลั่นแกล้ง
คนสั่งลงโทษ ไปจนถึงกรรมการฯ หรือผู้เกี่ยวข้อง
อาจจะโชคร้าย โดนลงโทษซะเอง ก็ยังได้
จึงต้องมีการสอบสวนให้แน่ชัด กว่าจะออกคำสั่งลงโทษแต่ละที
เหตุผลอีกประการหนึ่งที่การลงโทษข้าราชการกระทำได้ยากเย็น
ก็ด้วย หลักประกันความมั่นคงในการดำรงสถานภาพข้าราชการ (Security of tenure) ครับ
ซึ่งหลักที่ว่าเป็นหลักสำคัญใน ระบบคุณธรรม (Merit System) ไม่ใช่หลักในระบบอุปถัมภ์แต่อย่างใด
เพราะงานราชการเกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะ
หากผู้บังคับบัญชาสามารถลงโทษลูกน้องได้ง่าย ๆ
ก็จะส่งผลเสียต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ผู้บังคับบัญชาก็จะมีอำนาจล้นพ้นเกินไป
ข้าราชการผู้น้อยก็จะไม่กล้าปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตรงไปตรงมา
เพราะหากขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชา แม้ผู้บังคับบัญชาจะกระทำผิดทุจริตก็ตาม แต่ผู้น้อยก็จะเป็นฝ่ายโดนเล่นงานซะเอง
จึงต้องมีกฎหมายและระเบียบ คุ้มครองเอาไว้ ไม่ให้เกิดการกลั่นแกล้งได้โดยง่ายจากผู้บังคับบัญชา
ความคุ้มครองนี้จึงเป็นหลักประกันให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสุจริต ซื่อตรง
เพราะ หลักประกันความมั่นคงในการดำรงสถานภาพข้าราชการ เป็นการถ่วงดุลอำนาจ
ระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชา กับ ผู้บังคับบัญชานั่นเอง
ลองคิดเล่น ๆ ถ้าเกิดมีการลงโทษได้ง่าย ๆ โดยผู้บังคับบัญชา
เราคงไม่เห็นครูผู้น้อย ออกมาร้องเรียนเรื่องอาหารกลางวันเด็กไม่ได้มาตรฐาน
เพราะคงโดน ผอ. ใส่ความไล่ออกไปก่อนตั้งนานแล้ว
https://ppantip.com/topic/39228024
แสดงความคิดเห็น
ราชการทำผิดไม่มีไล่ออกเหรอครับ? เห็นเอกชนแปบๆไล่ หรือรัฐวิสาหกิจหลายที่ต้องคดีก็พ้นสภาพพนักงาน
เคสก่อนนี้แค่มีคนขับรถ ขับเบรคขับเบรค หาเรื่องกัน บริษัทเอกชนออกมาโพสว่าได้ไล่ออกแล้วทันที
หรือระเบียบรัฐวิสาหกิจบางที่ พนักงานจะต้องไม่มีคดีความ แค่เมาแล้วขับเจอจับเป็นคดีก็ต้องพ้นสภาพพนักงาน หรือไปชกต่อยกันเป็นคดี ก็พันสภาพเช่นกัน
สงสัยเคสเด้งไปเด้งมา ถ้าคดีตัดสิยว่าผิด จะยังได้ทำงานราชการอยู่รึเปล่า