ก่อนอื่นต้องขอยินดีกับแฟนๆเรือใบด้วยครับ ที่อุธรณ์โทษแบนจาก UEFA ได้
และคิดว่าอาจจะมีหลายคนที่ยังสงสัยว่าทำไมถึงชนะมาได้ ผมจึงขออนุญาตสรุปเหตุการณ์และเหตุผลจากสื่อของทางฝั่งอังกฤษ (ในที่นี้คือสกายสปอร์ต)รวมถึงความเข้าใจของผมเอง
และทำไมถึงมีประโยคที่เริ่มพูดกันว่า Financial fair play ได้ตายไปแล้วเกิดขึ้นมาในโลกโซเชี่ยล
หากมีส่วนไหนทีผิดพลาดต้องขออภัย และทุกท่านสามารถโต้แย้งได้ด้วยความยินดีครับ
เริ่มตามไทม์ไลน์เลยนะครับ
1. การใช้กฏ FFP เริ่มขึ้นในปี 2013-2014 โดยมีหลักใหญ่ใจความสำคัญแบบเข้าใจง่ายที่สุดก็คือ "สโมสรจะต้องอยู่ได้ด้วยรายได้ของตัวเองเพียงเท่านั้น"
ณ ที่นี้หมายถึง แมทช์เดย์ สปอร์เซอร์ เมอร์เชนไดเซอร์ต่างๆ แต่ก็ยังมีคำถามว่า แล้วถ้าเจ้าของอัดเงินเข้ามาผ่านทางสปอนเซอร์ล่ะ ? ซึ่งตรงนี้กฏเขียนไว้แค่ว่า "ไม่เป็นจำนวนที่เยอะเกินไป และต้องแจ้งข้อมูลให้ UEFA ตรวจสอบ"
กฏคือจะขาดทุนได้ไม่เกิน 5 ล้านยูโรและต้องอยู่ในกรอบระยะเวลา 5 ปี โดยจะมีการตรวจสอบทุก 3 ฤดูกาล แต่ช่วงเวลาดังกล่าวมีการผ่อนปรนให้สามารถขาดทุนได้ที่ 45 ล้านยูโร
2. หลังจากการออกกฏพบว่ามีหลายสโมสรที่มีความผิด รวมถึงแมนซิตี้
3*. แมนซิตี้ โดนลงโทษครั้งแรก ในยุคของเปเยกรินี่ เป็นการปรับเงิน 49ล้านปอนด์ และ โดนโทษให้ส่งรายชื่อนักเตะลงทะเบียนในรายการของ UEFA ได้ 21 จากปกติ 25 คน
4. ปี 2018 มีแฮกเกอร์จากเวปไซต์ football leaks ได้แฮคเข้าอีเมลล์ของผู้บริหารแมนเชสเตอร์ซิตี้และนำข้อมูลมาเปิดเผย จึงได้มีการยื่นเรื่องตรวจสอบอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ซิตี้ปฏิเสธจะให้ความร่วมมือ
5. ปี 2020 UEFA มีคำสั่งแบนสโมสรแมนซิตี้ เป็นเวลา 2 ปีพร้อมปรับเงิน 30ล้านยูโร
6. แมนซิตี้คิดว่าการแบนในครั้งนี้ไม่เป็นธรรมจึงอุธรต่อศาลกีฬาโลก
7. 13/7/2020 ศาลกีฬาโลกตัดสินให้แมนซิตี้ชนะคดีด้วยเหตุผลว่า
"หลักฐานไม่เพียงพอ" และ "ไม่อยู่ในระยะเวลา 5 ปี ตามกฏของ FFPเอง"
แต่ซิตี้มีความผิดที่ไม่ให้ความร่วมมือจึงเหลือโทษปรับ 10ล้านยูโร
8. UEFA ตัดสินใจไม่อุธรณ์เรื่องโทษต่อ ตัดสินที่แมนซิตี้ชนะคดี ไม่โดนแบน แต่ต้องโดนปรับเงิน
9. UEFA กล่าวหลังจากเหตุการแค่ว่า ในหลายๆปีที่ผ่านมา กฏ FFP มีไว้เพื่อช่วยให้ทุกๆสโมสรเติบโตได้อย่างมั่นคงยั่งยืน และจะยังยึดถือหลักนี้ต่อไป (อิหยังวะ)
........
ส่วนด้านล่างนี้เป็นความเห็นจากผมเองที่คิดว่าซิตี้น่าจะรอดตั้งแต่มีข่าวในช่วงแรกอยู่แล้ว โดยตอนนั้นผมคิดว่า น่าจะเป็นเหตุผลเพราะข้อมูลมาจากการแฮคมากกว่า
ค่อนข้างประหลาดใจเหมือนกัน เพราะวิธีที่แมนซิตี้ใช้ แทบจะไม่ต้องใช้ช่องโหว่ที่ซับซ้อนอะไรเลย
ซิตี้โดนตรวจสอบในปี 2013 และลงโทษไปแล้ว ตาม 3* มันก็ควรจะจบ เพราะได้ชดใช้โทษไปแล้ว
คือพูดกันแบบบ้านๆ ก็ใช้เงินให้มันมือแบบแต่ก่อนไปเลย แค่เตะถ่วงให้เกิน 5 ปี ถ้าตรวจสอบไม่ได้ เดี๋ยวก็รอดเอง
ตอนนี้ในคอมมูนิตี้ของทางฝรั่งเริ่มมีประโยคที่ว่า Financial fair play IS DEAD กันแล้ว
เพราะถ้าแมนซิตี้ยังรอดมาได้ ทีมที่ใช้วิธีคล้ายกัน(หรือซิกแซกกว่าแบบPSG) ย่อมไม่มีทางโดนแบนแน่นอน
ท้ายที่สุดผมมีแค่เจตนาจะลงรายละเอียดของการพิจารณาเพียงเท่านั้น
ไม่ได้มีเจตนาจะทำให้แฟนๆเรือใบเคืองใจ และในฐานะของแฟนบอลลิเวอร์พูล ส่วนหนึ่งแม้จะไม่พอใจ แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด
ผมยังอยากเห็นซิตี้แกร่งแบบทุกวันนี้หรือปีก่อน เพื่อเป็นแรงผลักดันให้ทีมที่ผมรักได้พัฒนาเพื่อเป็นคู่ต่อสู้กับทีมของท่านเพียงเท่านั้น
และในมุมมองส่วนตัว
FFP มันก็ได้ตายไปแล้วจริงๆนั่นล่ะ
ทำไมซิตี้ถึงชนะการอุธรณ์ และประโยคที่ว่า Financial fair play ได้ตายไปแล้ว มันมีที่มาจากอะไร เชิญกระทู้นี้ครับ
และคิดว่าอาจจะมีหลายคนที่ยังสงสัยว่าทำไมถึงชนะมาได้ ผมจึงขออนุญาตสรุปเหตุการณ์และเหตุผลจากสื่อของทางฝั่งอังกฤษ (ในที่นี้คือสกายสปอร์ต)รวมถึงความเข้าใจของผมเอง
และทำไมถึงมีประโยคที่เริ่มพูดกันว่า Financial fair play ได้ตายไปแล้วเกิดขึ้นมาในโลกโซเชี่ยล
หากมีส่วนไหนทีผิดพลาดต้องขออภัย และทุกท่านสามารถโต้แย้งได้ด้วยความยินดีครับ
เริ่มตามไทม์ไลน์เลยนะครับ
1. การใช้กฏ FFP เริ่มขึ้นในปี 2013-2014 โดยมีหลักใหญ่ใจความสำคัญแบบเข้าใจง่ายที่สุดก็คือ "สโมสรจะต้องอยู่ได้ด้วยรายได้ของตัวเองเพียงเท่านั้น"
ณ ที่นี้หมายถึง แมทช์เดย์ สปอร์เซอร์ เมอร์เชนไดเซอร์ต่างๆ แต่ก็ยังมีคำถามว่า แล้วถ้าเจ้าของอัดเงินเข้ามาผ่านทางสปอนเซอร์ล่ะ ? ซึ่งตรงนี้กฏเขียนไว้แค่ว่า "ไม่เป็นจำนวนที่เยอะเกินไป และต้องแจ้งข้อมูลให้ UEFA ตรวจสอบ"
กฏคือจะขาดทุนได้ไม่เกิน 5 ล้านยูโรและต้องอยู่ในกรอบระยะเวลา 5 ปี โดยจะมีการตรวจสอบทุก 3 ฤดูกาล แต่ช่วงเวลาดังกล่าวมีการผ่อนปรนให้สามารถขาดทุนได้ที่ 45 ล้านยูโร
2. หลังจากการออกกฏพบว่ามีหลายสโมสรที่มีความผิด รวมถึงแมนซิตี้
3*. แมนซิตี้ โดนลงโทษครั้งแรก ในยุคของเปเยกรินี่ เป็นการปรับเงิน 49ล้านปอนด์ และ โดนโทษให้ส่งรายชื่อนักเตะลงทะเบียนในรายการของ UEFA ได้ 21 จากปกติ 25 คน
4. ปี 2018 มีแฮกเกอร์จากเวปไซต์ football leaks ได้แฮคเข้าอีเมลล์ของผู้บริหารแมนเชสเตอร์ซิตี้และนำข้อมูลมาเปิดเผย จึงได้มีการยื่นเรื่องตรวจสอบอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ซิตี้ปฏิเสธจะให้ความร่วมมือ
5. ปี 2020 UEFA มีคำสั่งแบนสโมสรแมนซิตี้ เป็นเวลา 2 ปีพร้อมปรับเงิน 30ล้านยูโร
6. แมนซิตี้คิดว่าการแบนในครั้งนี้ไม่เป็นธรรมจึงอุธรต่อศาลกีฬาโลก
7. 13/7/2020 ศาลกีฬาโลกตัดสินให้แมนซิตี้ชนะคดีด้วยเหตุผลว่า
"หลักฐานไม่เพียงพอ" และ "ไม่อยู่ในระยะเวลา 5 ปี ตามกฏของ FFPเอง"
แต่ซิตี้มีความผิดที่ไม่ให้ความร่วมมือจึงเหลือโทษปรับ 10ล้านยูโร
8. UEFA ตัดสินใจไม่อุธรณ์เรื่องโทษต่อ ตัดสินที่แมนซิตี้ชนะคดี ไม่โดนแบน แต่ต้องโดนปรับเงิน
9. UEFA กล่าวหลังจากเหตุการแค่ว่า ในหลายๆปีที่ผ่านมา กฏ FFP มีไว้เพื่อช่วยให้ทุกๆสโมสรเติบโตได้อย่างมั่นคงยั่งยืน และจะยังยึดถือหลักนี้ต่อไป (อิหยังวะ)
........
ส่วนด้านล่างนี้เป็นความเห็นจากผมเองที่คิดว่าซิตี้น่าจะรอดตั้งแต่มีข่าวในช่วงแรกอยู่แล้ว โดยตอนนั้นผมคิดว่า น่าจะเป็นเหตุผลเพราะข้อมูลมาจากการแฮคมากกว่า
ค่อนข้างประหลาดใจเหมือนกัน เพราะวิธีที่แมนซิตี้ใช้ แทบจะไม่ต้องใช้ช่องโหว่ที่ซับซ้อนอะไรเลย
ซิตี้โดนตรวจสอบในปี 2013 และลงโทษไปแล้ว ตาม 3* มันก็ควรจะจบ เพราะได้ชดใช้โทษไปแล้ว
คือพูดกันแบบบ้านๆ ก็ใช้เงินให้มันมือแบบแต่ก่อนไปเลย แค่เตะถ่วงให้เกิน 5 ปี ถ้าตรวจสอบไม่ได้ เดี๋ยวก็รอดเอง
ตอนนี้ในคอมมูนิตี้ของทางฝรั่งเริ่มมีประโยคที่ว่า Financial fair play IS DEAD กันแล้ว
เพราะถ้าแมนซิตี้ยังรอดมาได้ ทีมที่ใช้วิธีคล้ายกัน(หรือซิกแซกกว่าแบบPSG) ย่อมไม่มีทางโดนแบนแน่นอน
ท้ายที่สุดผมมีแค่เจตนาจะลงรายละเอียดของการพิจารณาเพียงเท่านั้น
ไม่ได้มีเจตนาจะทำให้แฟนๆเรือใบเคืองใจ และในฐานะของแฟนบอลลิเวอร์พูล ส่วนหนึ่งแม้จะไม่พอใจ แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด
ผมยังอยากเห็นซิตี้แกร่งแบบทุกวันนี้หรือปีก่อน เพื่อเป็นแรงผลักดันให้ทีมที่ผมรักได้พัฒนาเพื่อเป็นคู่ต่อสู้กับทีมของท่านเพียงเท่านั้น
และในมุมมองส่วนตัว
FFP มันก็ได้ตายไปแล้วจริงๆนั่นล่ะ