LAN (แลน) คืออะไร?
ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนเลยว่า "แลน" ไม่ใช่สัตว์ชนิดนึงอย่างแน่นอน
แต่ "แลน" มาจากศัพท์ทางเทคนิคภาษาอังกฤษคำนึงที่ใช้เรียกระบบการสื่อสารหรือการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายเข้าถึงกันว่า LAN ย่อมาจากคำว่า Local Area Network แต่การที่เครือข่ายแต่ละเครือข่ายจะเชื่อมต่อหรือสื่อสารกันได้ก็ต้องมีสื่อ ไม่ว่าเป็นแบบสายหรือไร้สาย ประเภทที่ต้องใช้สายที่มีลักษณะเป็นเส้นทองแดงมีพลาสติกห่อหุ่มอยู่รอบนอกนั่นก็คือ สายทองชนิดหนึ่งที่เรียกว่า 'สาย LAN (สายแลน)'
ส่วนประเภทไร้สาย ก็คือประเภทที่เรานิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพราะสะดวกต่อการใช้งานก็คือ Wireless หรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า WiFi (วายฟาย)
แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งสองประเภทนี้ก็ยังคงได้รับความนิยมในการใช้งานตามบ้านและบางส่วนในระบบโรงงานอุตสาหกรรม เพราะฉนั้น "สาย LAN (แลน) ก็คือสายทองแดงที่ใช้เชื่อมต่อระบบเครือข่าย 2 เครือข่ายหรือมากกว่าเข้าด้วยกัน
เพื่อนๆหลายคนอาจสังเกตความสำคัญของสายแลนได้จากการมีช่าง Internet ไปติดตั้งที่บ้าน แล้วเราต้องการต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา จะเห็นได้ว่ามันขาดไม่ได้เลยที่จะต้องใช้มัน แต่สิ่งสำคัญก็คือ ระยะทางจากต้นทาง (Router (เร้าเตอร์)) ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ หากไกลกันมากเกินไป ถ้าคุณภาพสายไม่ดีหรือสายที่มีอยู่เป็นเกรดคุณภาพต่ำ ก็อาจทำให้สัญญาณความเร็ว Internet ก็อาจด้อยคุณภาพตามลงไปด้วย เพราะฉนั้นการเลือกซื้อสายแลนก็มีความสำคัญอยู่ไม่น้อยเลย แต่สายแลนที่หลายท่านคุ้นเคยกันก็คือสายแลนสำเร็จรูปที่มีการใส่หัว Connector มาให้อยู่แล้ว ทำให้เรา ไม่สามารถเลือกคุณภาพสายและหัวได้ตามความต้องการ
อีกหนึ่งอย่างที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ หัว Connector ที่ต้องใช้ก็มีแบ่งระดับคุณภาพด้วยเช่นกัน ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เราสามารถเลือกซื้อได้ตามความต้องการได้ครับครับ
Q: แล้วทำไมต้องใช้สายแลนด้วยล่ะ ในเมื่อมี WiFi ให้ใช้ ทั้งสะดวกและไม่พันละโยงละใย?
A: เนื่องจาก WiFi นั้นเป็นระบบไร้สาย ส่งผ่านข้อมูลโดยคลื่นสัญญาญความถี่ (ในอากาศ) ซึ่งเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่ามันนิ่งหรือไม่นิ่ง แต่การใช้สายแลน เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต้นทางและปลายทางเข้าด้วยกันโดยตรงและสัมผัสกันด้วยวัตถุโลหะทองแดง ทำให้การเดินทางของข้อมูลนั่นเสถียรกว่าและแม่นยำกว่า สายแลน จึงมีความนิยมใช้มากกว่า WiFi สำหรับบรรดาผู้ที่ต้องการความแม่นยำและความเสถียรของการส่งข้อมูล
นี่คือสาเหตุว่าทำไมการใช้สายแลนถึงยังมีคนนิยมใช้กันในปัจจุบัน แม้ว่าในปัจจุบัน ระบบ WiFi ก็ได้พัฒนาตัวเองขึ้นมาเทียบเท่าระบบสายได้แล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นระบบ WiFi หรือไร้สาย ถึงจะเทียบเท่าแบบระบบสายได้ในบางกรณี แต่อีกในบางกรณี ก็อาจมีอุปสรรคในการส่งผ่านข้อมูล เช่น ไม้ และ กระจก ซึ่งไม้จะเป็นตัวดูดซับความถี่สูง เพราะ WiFi ใช้คลื่นความถี่สูงในการส่งข้อมูล เราอาจจำลองได้จากคลื่นความถี่สูงของเสียง ตัวอย่างเช่นในโรงหนังที่มีประตูไม้หนาๆ สมมติว่าเรายืนอยู่หน้าโรงหนัง เมื่อมีคนเปิดประตูโรงหนังออกมา เราจะได้ยินเสียงหนังทั้งหมด แต่เมื่อเขาปิดประตูแล้ว เราจะได้ยินเพียงแค่เสียงที่เป็นเสียงทุ้มๆ (เสียงย่านความถี่ต่ำ) เห็นมั้ยความว่ามีแต่ย่ายความถี่ต่ำเท่านั้นที่ทะลุทะลวงออกมาได้ ส่วนคลื่นความถี่สูงนั้นหมดสิทธิ์ครับ คงเห็นภาพกันแล้วใช่มั้ยครับว่าทำไม WiFi ถึงใช้ได้กับบางพื้นที่ และใช้ไม่ได้กับบางพื้นที่ แต่สายแลนนี่คือ ชัวร์ครับ แน่นอน เพราะเราสามารถเดินสายจากจุดนึงไปสู่อีกจุดนึงได้ทุกที่ แม้อาจจะลำบากหน่อยในขั้นตอนการติดตั้งครั้งแรก เพราะต้องมีการเจาะผนังบ้างในบางพื้นที่ และที่สำคัญหากผู้ใช้เองไม่มีความชำนาญก็อาจจะต้องเสียเงินจ้างช่างมาทำให้ และไม่เพียงเท่านั้น นอกจากเดินสายแลนเสร็จแล้ว ก็ต้องมีการย้ำหัวเชื่อมต่อเข้ากับสายอีก เพื่อเชื่อมต่อที่ตัวสายกับช่องที่เป็นเต้ารับของอุปกรณ์นั้นๆ เราเรียกการทำแบบนี้ว่าการ "เข้าหัวแลน" หรือการ "ย้ำหัวแลน" นั่นเองครับ ซึ่งจุดนี้แหละครับที่ต้องเสียค่าบริการย้ำหัวแลนให้บรรดาช่าง และจำนวนค่าบริการที่ต้องเสียให้ช่างก็ขึ้นอยู่กับความยากง่าย และความเหนื่อยของช่างด้วย บางช่างก็อาจจะเหมาทำทั้งงานบางช่างก็คิดเป็นจุด จุดละ 300, 500, 1,000 แล้วแต่ช่างด้วยครับ และก็มีอีกอย่างที่จะบอกก็คือ ช่างละเอียดกับช่างชุ่ย จะบอกว่าการเข้าหัวนี่ก็สำคัญระดับนึงครับ หากย้ำเข้าไม่ดีก็ทำให้สัญญาณไม่ดีด้วยเช่นกัน ถึงดีก็อาจดีแค่ตอนแรก แต่พอใช้ไปนานๆยิ่งเน่าก็มีครับ เพราะฉนั้นวันนี้ผมจะมาบอกวิธีการเข้าหัวสายแลนให้เพื่อนได้นำไปลองทำกันดูครับ จะได้มั่นใจได้ว่า เป็นฝีมือของเราเองนะ เราทำจุดไหนบ้างเราก็จำได้เอง สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง
และวันนี้ขอบอกเลยว่า ผมจะมาเข้าหัวสายแลนแบบดีดีให้ดูเลยครับ ไม่ใช่งานชุ่ยครับ ผมเรียกของผมเองว่า "การเข้าหัวสายแลนแบบสุภาพ"
วิธีเข้าหัวสายแลนแบบสุภาพ คือ วิธีการเข้าหัวสายแลนให้แม่นยำและสวยงาม เพื่องานที่ออกมาดูดี มีมาตรฐาน ดูเรียบร้อยน่าใช้งาน แนะนำและรับรองเลยว่าเข้าหัวสายแลนแบบนี้แล้ว ใช้งานได้ทันทีโดยไม่ได้ต้องใช้เครื่องเทสสาย เพราะการเข้าหัวแบบนี้ มีความแม่นยำมาก และยังดูเป็นระเบียบเรียบร้อยอีกด้วยครับ
ปล. อาจใช้ภาพประกอบที่มาจากเว็บอื่นด้วยนะครับ เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้น
สำหรับท่านที่ไม่เคยทำมาก่อน รับรองว่าไม่ยากครับ ค่อยๆฝึกทำไปเรื่อยๆจะเกิดความชำนาญขึ้นเองครับ
จุดประสงค์เพื่อการศึกษาครับ
**ขอบคุณครับ**
วิธีเข้าหัวสายแลน (LAN) CAT5 แบบสวยงาม แม่นยำ งานดีมีระเบียบ
ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนเลยว่า "แลน" ไม่ใช่สัตว์ชนิดนึงอย่างแน่นอน
แต่ "แลน" มาจากศัพท์ทางเทคนิคภาษาอังกฤษคำนึงที่ใช้เรียกระบบการสื่อสารหรือการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายเข้าถึงกันว่า LAN ย่อมาจากคำว่า Local Area Network แต่การที่เครือข่ายแต่ละเครือข่ายจะเชื่อมต่อหรือสื่อสารกันได้ก็ต้องมีสื่อ ไม่ว่าเป็นแบบสายหรือไร้สาย ประเภทที่ต้องใช้สายที่มีลักษณะเป็นเส้นทองแดงมีพลาสติกห่อหุ่มอยู่รอบนอกนั่นก็คือ สายทองชนิดหนึ่งที่เรียกว่า 'สาย LAN (สายแลน)'
ส่วนประเภทไร้สาย ก็คือประเภทที่เรานิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพราะสะดวกต่อการใช้งานก็คือ Wireless หรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า WiFi (วายฟาย)
แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งสองประเภทนี้ก็ยังคงได้รับความนิยมในการใช้งานตามบ้านและบางส่วนในระบบโรงงานอุตสาหกรรม เพราะฉนั้น "สาย LAN (แลน) ก็คือสายทองแดงที่ใช้เชื่อมต่อระบบเครือข่าย 2 เครือข่ายหรือมากกว่าเข้าด้วยกัน
เพื่อนๆหลายคนอาจสังเกตความสำคัญของสายแลนได้จากการมีช่าง Internet ไปติดตั้งที่บ้าน แล้วเราต้องการต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา จะเห็นได้ว่ามันขาดไม่ได้เลยที่จะต้องใช้มัน แต่สิ่งสำคัญก็คือ ระยะทางจากต้นทาง (Router (เร้าเตอร์)) ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ หากไกลกันมากเกินไป ถ้าคุณภาพสายไม่ดีหรือสายที่มีอยู่เป็นเกรดคุณภาพต่ำ ก็อาจทำให้สัญญาณความเร็ว Internet ก็อาจด้อยคุณภาพตามลงไปด้วย เพราะฉนั้นการเลือกซื้อสายแลนก็มีความสำคัญอยู่ไม่น้อยเลย แต่สายแลนที่หลายท่านคุ้นเคยกันก็คือสายแลนสำเร็จรูปที่มีการใส่หัว Connector มาให้อยู่แล้ว ทำให้เรา ไม่สามารถเลือกคุณภาพสายและหัวได้ตามความต้องการ
อีกหนึ่งอย่างที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ หัว Connector ที่ต้องใช้ก็มีแบ่งระดับคุณภาพด้วยเช่นกัน ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เราสามารถเลือกซื้อได้ตามความต้องการได้ครับครับ
Q: แล้วทำไมต้องใช้สายแลนด้วยล่ะ ในเมื่อมี WiFi ให้ใช้ ทั้งสะดวกและไม่พันละโยงละใย?
A: เนื่องจาก WiFi นั้นเป็นระบบไร้สาย ส่งผ่านข้อมูลโดยคลื่นสัญญาญความถี่ (ในอากาศ) ซึ่งเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่ามันนิ่งหรือไม่นิ่ง แต่การใช้สายแลน เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต้นทางและปลายทางเข้าด้วยกันโดยตรงและสัมผัสกันด้วยวัตถุโลหะทองแดง ทำให้การเดินทางของข้อมูลนั่นเสถียรกว่าและแม่นยำกว่า สายแลน จึงมีความนิยมใช้มากกว่า WiFi สำหรับบรรดาผู้ที่ต้องการความแม่นยำและความเสถียรของการส่งข้อมูล
นี่คือสาเหตุว่าทำไมการใช้สายแลนถึงยังมีคนนิยมใช้กันในปัจจุบัน แม้ว่าในปัจจุบัน ระบบ WiFi ก็ได้พัฒนาตัวเองขึ้นมาเทียบเท่าระบบสายได้แล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นระบบ WiFi หรือไร้สาย ถึงจะเทียบเท่าแบบระบบสายได้ในบางกรณี แต่อีกในบางกรณี ก็อาจมีอุปสรรคในการส่งผ่านข้อมูล เช่น ไม้ และ กระจก ซึ่งไม้จะเป็นตัวดูดซับความถี่สูง เพราะ WiFi ใช้คลื่นความถี่สูงในการส่งข้อมูล เราอาจจำลองได้จากคลื่นความถี่สูงของเสียง ตัวอย่างเช่นในโรงหนังที่มีประตูไม้หนาๆ สมมติว่าเรายืนอยู่หน้าโรงหนัง เมื่อมีคนเปิดประตูโรงหนังออกมา เราจะได้ยินเสียงหนังทั้งหมด แต่เมื่อเขาปิดประตูแล้ว เราจะได้ยินเพียงแค่เสียงที่เป็นเสียงทุ้มๆ (เสียงย่านความถี่ต่ำ) เห็นมั้ยความว่ามีแต่ย่ายความถี่ต่ำเท่านั้นที่ทะลุทะลวงออกมาได้ ส่วนคลื่นความถี่สูงนั้นหมดสิทธิ์ครับ คงเห็นภาพกันแล้วใช่มั้ยครับว่าทำไม WiFi ถึงใช้ได้กับบางพื้นที่ และใช้ไม่ได้กับบางพื้นที่ แต่สายแลนนี่คือ ชัวร์ครับ แน่นอน เพราะเราสามารถเดินสายจากจุดนึงไปสู่อีกจุดนึงได้ทุกที่ แม้อาจจะลำบากหน่อยในขั้นตอนการติดตั้งครั้งแรก เพราะต้องมีการเจาะผนังบ้างในบางพื้นที่ และที่สำคัญหากผู้ใช้เองไม่มีความชำนาญก็อาจจะต้องเสียเงินจ้างช่างมาทำให้ และไม่เพียงเท่านั้น นอกจากเดินสายแลนเสร็จแล้ว ก็ต้องมีการย้ำหัวเชื่อมต่อเข้ากับสายอีก เพื่อเชื่อมต่อที่ตัวสายกับช่องที่เป็นเต้ารับของอุปกรณ์นั้นๆ เราเรียกการทำแบบนี้ว่าการ "เข้าหัวแลน" หรือการ "ย้ำหัวแลน" นั่นเองครับ ซึ่งจุดนี้แหละครับที่ต้องเสียค่าบริการย้ำหัวแลนให้บรรดาช่าง และจำนวนค่าบริการที่ต้องเสียให้ช่างก็ขึ้นอยู่กับความยากง่าย และความเหนื่อยของช่างด้วย บางช่างก็อาจจะเหมาทำทั้งงานบางช่างก็คิดเป็นจุด จุดละ 300, 500, 1,000 แล้วแต่ช่างด้วยครับ และก็มีอีกอย่างที่จะบอกก็คือ ช่างละเอียดกับช่างชุ่ย จะบอกว่าการเข้าหัวนี่ก็สำคัญระดับนึงครับ หากย้ำเข้าไม่ดีก็ทำให้สัญญาณไม่ดีด้วยเช่นกัน ถึงดีก็อาจดีแค่ตอนแรก แต่พอใช้ไปนานๆยิ่งเน่าก็มีครับ เพราะฉนั้นวันนี้ผมจะมาบอกวิธีการเข้าหัวสายแลนให้เพื่อนได้นำไปลองทำกันดูครับ จะได้มั่นใจได้ว่า เป็นฝีมือของเราเองนะ เราทำจุดไหนบ้างเราก็จำได้เอง สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง
และวันนี้ขอบอกเลยว่า ผมจะมาเข้าหัวสายแลนแบบดีดีให้ดูเลยครับ ไม่ใช่งานชุ่ยครับ ผมเรียกของผมเองว่า "การเข้าหัวสายแลนแบบสุภาพ"
วิธีเข้าหัวสายแลนแบบสุภาพ คือ วิธีการเข้าหัวสายแลนให้แม่นยำและสวยงาม เพื่องานที่ออกมาดูดี มีมาตรฐาน ดูเรียบร้อยน่าใช้งาน แนะนำและรับรองเลยว่าเข้าหัวสายแลนแบบนี้แล้ว ใช้งานได้ทันทีโดยไม่ได้ต้องใช้เครื่องเทสสาย เพราะการเข้าหัวแบบนี้ มีความแม่นยำมาก และยังดูเป็นระเบียบเรียบร้อยอีกด้วยครับ
ปล. อาจใช้ภาพประกอบที่มาจากเว็บอื่นด้วยนะครับ เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้น
สำหรับท่านที่ไม่เคยทำมาก่อน รับรองว่าไม่ยากครับ ค่อยๆฝึกทำไปเรื่อยๆจะเกิดความชำนาญขึ้นเองครับ
จุดประสงค์เพื่อการศึกษาครับ
**ขอบคุณครับ**