คำถาม หัก ณ ที่จ่าย

ตอนนี้ผมกำลังเริ่มจัดทำบริษัทเล็กๆ และเริ่มต้นจะนำส่งภาษีเองก่อน ซึ่งขอสอบถามผู้รู้ทุกท่านครับว่า

ภาษี หัก ณ ที่จ่าย
1 บริษัทจัดจ้างวิทยากรเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการซึ่ง มีค่าใช้จ่ายท่านละ 50,000 บาท จ่ายครั้งเดียว อยากสอบถามว่า บริษัทจะต้องดำเนินการเรื่องเอกสารและภาษีด้านใดบ้างครับ ช่วยแนะนำ และอัตราการคำนวนภาษีหัก ณ ที่จ่ายคำนวนอย่างไรครับ

2 เมื่อบริษัทดำเนินการไประยะหนึ่งแต่ไม่ได้ตกลงเรื่องเงินเดือนกรรมการไว้เพราะมองว่าไม่ได้มีรายรับอย่างต่อเนื่องเพียงเป็น ช่องทางการหารายได้เสริมช่วยกันบริหาร ในกลุ่มญาติ แต่จะมอบค่าเบี้ยเลี้ยงในการประชุม ในแต่ละเดือน เพียงคนละ 5,000 บาท บริษัทจะต้องดำเนินการเรื่องเอกสารและภาษีด้านใดบ้างครับ ช่วยแนะนำ และอัตราการคำนวนภาษีหัก ณ ที่จ่ายคำนวนอย่างไรครับ

ขอบคุณล่วงหน้าที่ให้คำแนะนำจากทุกท่านเลยนะครับ ปล.สอบถามสรรพากรแล้วไม่เข้าไจและตอบคำถามไม่ชัดเจนทำให้สับสน แต่มีความตั้งใจที่จะชำระภาษี อย่างถูกต้องตามระบบจริงๆ ครับ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
1 บริษัทจัดจ้างวิทยากรเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการซึ่ง มีค่าใช้จ่ายท่านละ 50,000 บาท จ่ายครั้งเดียว อยากสอบถามว่า บริษัทจะต้องดำเนินการเรื่องเอกสารและภาษีด้านใดบ้างครับ ช่วยแนะนำ และอัตราการคำนวนภาษีหัก ณ ที่จ่ายคำนวนอย่างไรครับ
   1.1  ภาษีหัก ณ ที่จ่าย  >  เงินได้ของวิทยากรแต่ละท่าน หากบริษัทจ้างมาเป็นรายบุคคล ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2)  การหักภาษีจะหักตามอัตราภาษีเงินได้ หรือที่เรียกกันว่า ภาษีอัตราก้าวหน้า (เหมือนการหักเงินเดือนพนักงาน)  วิธีการหักจะนำเงินที่ได้รับ หักค่าใช้จ่ายเหมา 50% (ไม่เกิน 100,000) หักค่าลดหย่อนสวนตัว 60,000 บาท ที่เหลือค่อยนำมาคำนวณภาษีเงินได้  [ ซึ่งจากข้อเท็จจริง จ่าย 50,000 บาท/ท่าน เมื่อหักค่าใช้จ่าย/ค่าลดหย่อนแล้ว ไม่มีเงินที่จะนำมาเสียภาษี นั่นคือไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ]
        <> สรุปไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย (เนื่องจากไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องหัก)

           อนึ่งหากข้อมูลเปลี่ยนไป เช่น บริษัทจ้างวิทยากรจากบริษัทที่รับจัดอบรม  โดยบริษัทผู้จัดอบรมเป็นคนหาวิทยากรมา  การจ่ายเงิน จะจ่ายให้แก่บริษัทผู้จัดอบรม  หากเป็นกรณีนี้ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% (ซึ่งช่วง เม.ย.-ก.ย. รัฐลดให้เหลือหัก 1.5%) จากยอดเงินรวมทั้งสิ้น  
         
   1.2  เอกสารที่ต้องเตรียม
          - กำหนดการอบรม/สัมมนา  
          - ใบสำคัญจ่าย เพื่อให้วิทยากรเซ็นรับเงิน พร้อมขอสำเนาบัตรประชาชนของวิทยกร(เซ็นรับรอง)
          - หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย  ถึงแม้ไม่มีภาษีที่ต้องหัก ก็ต้องจัดทำด้วย (ต้นฉบับ มอบให้วิทยากร คู่ฉบับเก็บไว้เป็นหลักฐาน)
          - บันทึกประวัติการจ่ายชำระให้วิทยากรท่านนี้ไว้  เพื่อเก็บยอดจำนวนเงินที่ได้รับจากบริษัทตลอดทั้งปีภาษี
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่