การตัดสินใจย้ายจาก Nintendo ไปสร้างเกมลง ps ให้กับ Sony นั้น แม้จะเป็นการตัดสินใจจะเป็นไปตามผลการทดสอบ, ความต้องการใช้สื่อบรรจุข้อมูลแบบ CD และผลประโยชน์ที่จะได้รับอื่น ๆ ก็ตามแต่ก็ไม่ใช้ว่าการตัดสินใจนี้เป็นเรื่องที่ทำกันง่าย ๆ
เพราะในขณะนั้นแทบไม่มีบริษัทเกมไหน โดยเฉพาะค่ายยักษ์ใหญ่ที่เชื่อมั่นในเครื่อง ps เลย
Keith Boesky ประธานของ Eidos (1997-1999) ซึ่งเป็นบริษัทที่รับงานว่าจ้างแปลง ff7 ลงเครื่อง pc ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า
“Square was a bet-the-company kind of company. It was a big risk to put Final Fantasy 7 on the PlayStation. … Nobody had confidence in PlayStation. Nobody knew whether it would work, and most people thought that it wouldn’t. And the early pictures that came out, when it looked like a toilet bowl, confirmed everybody’s suspicions.”
โดยสรุปคือ Boesky มองว่าการนำ ff7 มาลง ps นั้นเป็นเดิมพันที่สูงมากเพราะในขณะนั้นไม่มีใครที่เชื่อมั่นในเครื่อง ps เลย ไม่รู้ว่าเครื่องมันจะ work ไหมและไม่มีใครคิดว่ามันจะ work ด้วย เมื่อภาพแรกของตัวเครื่องออกมาแล้วรูปร่างเหมือนฝาโถชักโครกก็ยิ่งทำให้ทุก ๆ คนมั่นใจเข้าไปอีก (อู้ย แร้ง)
หนึ่งในผู้ที่สนับสนุนการตัดสินใจของ Square ให้ย้ายไปเข้ากับ Sony ก็คือตัว Miyamoto เอง
Sakaguchi เล่าคำพูดของ Miyamoto ที่บอกกับเค้าไว้ดังนี้
“If we, the software designers, were that confident that we could make a good game this way, then it would be strange to deny us this opportunity.”
“ถ้าเราซึ่งเป็น software designers มั่นใจว่านี่คือวิธีการที่เราจะสร้างเกมดี ๆ ขึ้นมาได้ งั้นมันคงจะแปลกพิลึกที่จะปฏิเสธโอกาสนี้”
Jun Iwasaki รองประธานฝ่ายการตลาด Square US กล่าวไว้ว่า
“I thought it was the right decision, but yeah, there was a lot of [tension] with Nintendo after.”
“ผมคิดว่านี่คือการตัดสินใจที่ถูกต้องแต่ ใช่ มันจะต้องมีความตึงเครียดอย่างมากกับ Nintendo ในภายหลังแน่”
Hironobu Sakaguchi ได้ให้สัมภาษณ์ถึงวันที่ทาง Square ตัดสินใจแจ้งกับทาง Nintendo ว่าจะไปสร้างเกมให้กับ Sony ไว้ดังนี้
“When we made our decision, the president of Square [Masafumi Miyamoto], our lead programmer [Ken Narita] and I went to a meeting with Yamauchi-san. There is an old cultural tradition where, in Kyoto, someone will welcome you with tea, but you’re not supposed to really drink that tea. It’s just polite to have it there. And Yamauchi-san welcomed us with a very expensive bento meal and beer, and gave us a very nice welcome and basically patted us on the back to say, “I wish you the best.” No bitter feelings or anything.”
โดยสรุปคือ Square ไปแจ้งด้วยตนเองโดยผู้ที่ไปพบกับทาง Nintendo นั้นมีประธานของ Square Masafumi Miyamoto, lead programmer Ken Narita และตัว Sakaguchi เองรวม 3 คน โดยแจ้งกับประธานของ Nintendo Japan Hiroshi Yamauchi โดยตรง
ทาง Yamauchi เองนอกจากจะต้อนรับอย่างดีเอาชา, เบียร์และอาหารมาเลี้ยง (แต่คนของทาง Square ก็ไม่ได้แตะต้อง เพราะการเอาเครื่องดื่มและอาหารมาต้อนรับนั้นเป็นแค่ธรรมเนียม) ยังลูบหลังคนของทาง Square แล้วอวยพรให้ประสบแต่เรื่องดี ๆ
นั้นคือคือปฏิกิริยาตอบรับในระดับบริหาร
แต่ดูเหมือนว่าในระดับล่างลงมาจะมีการตอบรับที่ “แตกต่าง” กันออกไปบ้าง
ไม่ใช่ทุกคนใน Nintendo ที่จะโบกมือลาแล้วจากกันด้วยดี
Yoshihiro Maruyama ได้เล่าถึงสิ่งที่คนของ Nintendo พูดถึง Square หลังหันไปสร้างเกมให้กับ Sony ว่า
“Oh, we don’t need that.”
แปลไทยคงได้ประมาณ “อ๋อ เราไม่ต้องไปพึ่งพวกนั้นหรอก”
Maruyama ให้ความเห็นว่า นี่เป็นเพราะ Nintendo มีชุดความคิดที่ว่า “เครื่องของเราเพื่อเกมของเรา ถ้าอยากเอาเกมมาลงเครื่องของเรา ok ไม่มีปัญหา แต่ถ้าไม่ชอบใจอะไรขึ้นมา เราก็ไม่ต้องการคุณ” เลยมีการพูดถึง Square แบบนี้
ส่วน Hiroshi Kawai เองก็เล่าตามที่เค้าเคยได้ยินมาว่า
“ไปแล้วก็ไม่ต้องกลับมาอีกเลยน่ะ”
ขณะที่ทาง Nintendo Japan ดูจะไม่ค่อยจะกังวลต่อการจากไปของ Square นักแต่ดูเหมือนทาง Nintendo America จะกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นไม่น้อย
George Harrison รองประธานอาวุโส ฝ่ายการตลาดและการสื่อสารประจำ Nintendo of America (1992-2007) ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า
“The period when PlayStation first arrived using CDs rather than cartridges was a tough period for Nintendo with publishers. Nintendo wanted to stay with cartridges to minimize counterfeiting but publishers wanted the extra capacity available on CDs. This was especially true for games like Final Fantasy with rich graphics.”
สรุปได้ว่า เมื่อ ps ลงสนามด้วยสื่อบรรจุเกมแบบ CD แทนที่จะเป็นตลับนั้นได้สร้างความยากลำบากให้กับทาง Nintendo ในด้านความสัมพันธ์กับผู้พัฒนาเกมอย่างมาก เพราะ Nintendo นั้นต้องการที่จะใช้ตลับต่อไปเพื่อป้องกันการปลอมแปลงและละเมิดลิขสิทธิ์ขณะที่ทางผู้พัฒนาเกมต้องการใช้สื่อที่มีพื้นที่เก็บข้อมูลจำนวนมากแต่ค่าการผลิตถูกซึ่ง CD ตอบโจทย์ความต้องการนี้ได้ โดย ff เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเกมที่จำเป็นต้องใช้ CD ในการบรรจุข้อมูล
ส่วน Darren Smith ได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า
“I knew it was important [when Square left], and it certainly was a loss. But for me, it wasn’t such a devastating loss. I knew it was very important for [Nintendo in] Japan. I’m not so sure about the U.S. market. But we knew it was a big deal to have lost it on our system, and knowing that it would make Sony a bigger competitor, it just made the work that much more important.”
โดยสรุปคือ Smith มองว่าการจากไปของ Square นั้นคือความสูญเสียของ Nintendo แต่ส่วนตัวแล้วมันไม่ใช่ความสูญเสียร้ายแรง โดยเฉพาะในตลาดอเมริกา แต่กระนั้นนี่จะทำให้ Sony กลายเป็นคู่แข่งที่น่าจับตามองมากยิ่งขึ้น
สิ่งที่ Smith คิดนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก ในเวลานั้นแม้ว่าตลาดตะวันตกจะเริ่มต้องการเกมที่เล่นได้นานและมีเรื่องราวเป็นชิ้นเป็นอันมากขึ้นแต่เกม RPG จากญี่ปุ่นในขณะนั้นยังไม่ได้รับนิยมในตลาดตะวันตกนัก การที่ Square ซึ่งรู้กันว่าเป็นผู้พัฒนาเกมแนว RPG ย้ายไปสร้างเกมให้ Sony จึงสามารถมองได้ว่าเป็นความสูญเสียที่ยังไม่ร้ายแรง ตัวอย่างเช่น ff6 ที่ผู้เล่นในไทยรู้จักดีและถือเป็นภาคที่ประสบความสำเร็จภาคหนึ่งแท้จริงแล้วตัวเกมประสบความสำเร็จแค่ตลาดในญี่ปุ่นเท่านั้น แม้ยอดขายรวมทั่วโลกจะทำได้ถึง 3.48 ล้านตลับแต่ถ้าดูเฉพาะยอดขายนอกประเทศญี่ปุ่นแล้วกลับมียอดขายเพียง 860,000 ตลับ Tomoyuki Takechi ให้ข้อมูลเพิ่มว่า ff6 ขายที่อเมริกาได้เพียง 400,000 ตลับ ขณะที่ Zelda A Link to the past ที่ไม่ใช่ RPG เต็มรูปแบบนั้นขายได้ถึง 1 ล้านตลับเฉพาะแค่ที่อเมริกาเพียงแห่งเดียว
จากนั้น Square ก็เริ่มดำเนินการวางแผนและตารางการพัฒนารวมถึงการลงทุนและจัดหาเครื่องมือ, บุคลากร, อุปกรณ์รวมถึงเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับงานกราฟฟิก 3D มาเป็นจำนวนมาก คิดเป็นจำนวนเงินที่ Square ลงทุนไปรวม 40 ล้าน USD (เทียบค่าเงินในปี 2017 ได้ประมาณ 60 ล้าน USD) โดยระดมพนักงานมาทำงานในโครงการนี้ร่วม 150 คนซึ่งเป็นจำนวนมหาศาลเมื่อเทียบกับเกมอื่น ๆ ในสมัยนั้นที่ใช้คนแค่ 30 คนโดยเฉลี่ยต่อโครงการ
ต่อมาการแยกทางของ Square กับ Nintendo ก็ได้รับการประกาศต่อสาธารณะเมื่อช่วงต้นปี 1996 โดยทาง Square ได้ลงโฆษณาทั้งทางทีวีและนิตยสารต่าง ๆ รวมถึงนิตยสารการ์ตูนชื่อดังที่มีผู้อ่านหลักหลายล้านคนอย่าง โชนัน Jump เพื่อประกาศว่า ff ภาคใหม่จะไปลงเครื่อง ps ของ Sony แล้ว
ผู้อ่านสามารถชม VDO โฆษณาทางทีวีดังกล่าวได้ในใน Link ข้างล่าง
https://www.youtube.com/watch?v=9wc8UgCMoj4
เรื่องราวของกระบวนการพัฒนา ff7 นั้น ผู้เขียนขอละเอาไว้เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ว่า ทำไม Square ถึงแยกทางกับ Nintendo ยกเว้นประเด็นหนึ่งคือ Sony นั้น support การสร้าง ff7 ถึงขนาดยอมปรับปรุงโปรแกรมควบคุม ps ให้ใช้ทรัพยากรน้อยลงเพื่อให้ทาง square เอาไปใช้ในการรันเกม ff7
(ความจริงคือตอนทรัพยากรไม่พอทาง square ถึงกับเริ่มเข้าไปแกะการทำงานของโปรแกรมควบคุม Hardware เพื่อจะเขียนโปรแกรมควบคุม Hardware ของ ps เองโดยตรงซึ่ง sony ไม่ ok กับเรื่องนี้ สุดท้ายก็ตกลงกันได้ที่ Sony จะปรับปรุงโปรแกรมควบคุม ps ให้ ซึ่งนี่มีผลดีต่อผู้พัฒนาเกมคนอื่น ๆ ด้วย)
Ff7 ใช้เวลาในการพัฒนาประมาณ 1 ปี จึงเสร็จสิ้นและออกวางจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 31 มกราคม 1997
เพียง 3 วันแรกก็ขายได้ถึง 2 ล้านชุดและเมื่อสิ้นปี 1997 ก็ทำยอดขายไปได้ถึง 3.27 ล้านชุด
ต่อมามีการแปล ff7 เป็นภาษาอังกฤษเพื่อวางจำหน่ายที่อเมริกาในวันที่ 7 กันยายน 1997 โดยมี Sony เป็นผู้จัดจำหน่ายและทำการตลาด ส่วนการวางขาย ff7 ทั่วโลกนั้นกำหนดไว้ว่าเป็นวันที่ 2 ตุลาคม ปีเดียวกัน
จากยอดขายของ ff6 ทำให้ Takechi เองคิดว่าเกมคงจะขายได้สัก 1 ล้านชุดนอกญี่ปุ่น
เมื่อ ff7 ออกวางขายที่อเมริกา เพียงช่วงสุดสัปดาห์แรกของการวางจำหน่ายก็ทำยอดขายได้ถึง 330,000 ชุด และสามารถทำยอดขายได้ถึง 500,000 ชุดโดยใช้เวลาไม่ถึง 3 สัปดาห์ เมื่อเข้าสู่เดือนธันวาคมก็ทำยอดขายได้ถึง 1 ล้านชุด รวมเวลาไม่ถึง 4 เดือน
นี่กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญมากในการแข่งขันของตลาดเครื่องเกมคอนโซลในยุคนั้น
to be continued in “Dethrone” Part1
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
บทความตามใจฉัน “The Last Day of Allies” Part 4
เพราะในขณะนั้นแทบไม่มีบริษัทเกมไหน โดยเฉพาะค่ายยักษ์ใหญ่ที่เชื่อมั่นในเครื่อง ps เลย
Keith Boesky ประธานของ Eidos (1997-1999) ซึ่งเป็นบริษัทที่รับงานว่าจ้างแปลง ff7 ลงเครื่อง pc ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า
“Square was a bet-the-company kind of company. It was a big risk to put Final Fantasy 7 on the PlayStation. … Nobody had confidence in PlayStation. Nobody knew whether it would work, and most people thought that it wouldn’t. And the early pictures that came out, when it looked like a toilet bowl, confirmed everybody’s suspicions.”
โดยสรุปคือ Boesky มองว่าการนำ ff7 มาลง ps นั้นเป็นเดิมพันที่สูงมากเพราะในขณะนั้นไม่มีใครที่เชื่อมั่นในเครื่อง ps เลย ไม่รู้ว่าเครื่องมันจะ work ไหมและไม่มีใครคิดว่ามันจะ work ด้วย เมื่อภาพแรกของตัวเครื่องออกมาแล้วรูปร่างเหมือนฝาโถชักโครกก็ยิ่งทำให้ทุก ๆ คนมั่นใจเข้าไปอีก (อู้ย แร้ง)
หนึ่งในผู้ที่สนับสนุนการตัดสินใจของ Square ให้ย้ายไปเข้ากับ Sony ก็คือตัว Miyamoto เอง
Sakaguchi เล่าคำพูดของ Miyamoto ที่บอกกับเค้าไว้ดังนี้
“If we, the software designers, were that confident that we could make a good game this way, then it would be strange to deny us this opportunity.”
“ถ้าเราซึ่งเป็น software designers มั่นใจว่านี่คือวิธีการที่เราจะสร้างเกมดี ๆ ขึ้นมาได้ งั้นมันคงจะแปลกพิลึกที่จะปฏิเสธโอกาสนี้”
Jun Iwasaki รองประธานฝ่ายการตลาด Square US กล่าวไว้ว่า
“I thought it was the right decision, but yeah, there was a lot of [tension] with Nintendo after.”
“ผมคิดว่านี่คือการตัดสินใจที่ถูกต้องแต่ ใช่ มันจะต้องมีความตึงเครียดอย่างมากกับ Nintendo ในภายหลังแน่”
Hironobu Sakaguchi ได้ให้สัมภาษณ์ถึงวันที่ทาง Square ตัดสินใจแจ้งกับทาง Nintendo ว่าจะไปสร้างเกมให้กับ Sony ไว้ดังนี้
“When we made our decision, the president of Square [Masafumi Miyamoto], our lead programmer [Ken Narita] and I went to a meeting with Yamauchi-san. There is an old cultural tradition where, in Kyoto, someone will welcome you with tea, but you’re not supposed to really drink that tea. It’s just polite to have it there. And Yamauchi-san welcomed us with a very expensive bento meal and beer, and gave us a very nice welcome and basically patted us on the back to say, “I wish you the best.” No bitter feelings or anything.”
โดยสรุปคือ Square ไปแจ้งด้วยตนเองโดยผู้ที่ไปพบกับทาง Nintendo นั้นมีประธานของ Square Masafumi Miyamoto, lead programmer Ken Narita และตัว Sakaguchi เองรวม 3 คน โดยแจ้งกับประธานของ Nintendo Japan Hiroshi Yamauchi โดยตรง
ทาง Yamauchi เองนอกจากจะต้อนรับอย่างดีเอาชา, เบียร์และอาหารมาเลี้ยง (แต่คนของทาง Square ก็ไม่ได้แตะต้อง เพราะการเอาเครื่องดื่มและอาหารมาต้อนรับนั้นเป็นแค่ธรรมเนียม) ยังลูบหลังคนของทาง Square แล้วอวยพรให้ประสบแต่เรื่องดี ๆ
นั้นคือคือปฏิกิริยาตอบรับในระดับบริหาร
แต่ดูเหมือนว่าในระดับล่างลงมาจะมีการตอบรับที่ “แตกต่าง” กันออกไปบ้าง
ไม่ใช่ทุกคนใน Nintendo ที่จะโบกมือลาแล้วจากกันด้วยดี
Yoshihiro Maruyama ได้เล่าถึงสิ่งที่คนของ Nintendo พูดถึง Square หลังหันไปสร้างเกมให้กับ Sony ว่า
“Oh, we don’t need that.”
แปลไทยคงได้ประมาณ “อ๋อ เราไม่ต้องไปพึ่งพวกนั้นหรอก”
Maruyama ให้ความเห็นว่า นี่เป็นเพราะ Nintendo มีชุดความคิดที่ว่า “เครื่องของเราเพื่อเกมของเรา ถ้าอยากเอาเกมมาลงเครื่องของเรา ok ไม่มีปัญหา แต่ถ้าไม่ชอบใจอะไรขึ้นมา เราก็ไม่ต้องการคุณ” เลยมีการพูดถึง Square แบบนี้
ส่วน Hiroshi Kawai เองก็เล่าตามที่เค้าเคยได้ยินมาว่า
“ไปแล้วก็ไม่ต้องกลับมาอีกเลยน่ะ”
ขณะที่ทาง Nintendo Japan ดูจะไม่ค่อยจะกังวลต่อการจากไปของ Square นักแต่ดูเหมือนทาง Nintendo America จะกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นไม่น้อย
George Harrison รองประธานอาวุโส ฝ่ายการตลาดและการสื่อสารประจำ Nintendo of America (1992-2007) ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า
“The period when PlayStation first arrived using CDs rather than cartridges was a tough period for Nintendo with publishers. Nintendo wanted to stay with cartridges to minimize counterfeiting but publishers wanted the extra capacity available on CDs. This was especially true for games like Final Fantasy with rich graphics.”
สรุปได้ว่า เมื่อ ps ลงสนามด้วยสื่อบรรจุเกมแบบ CD แทนที่จะเป็นตลับนั้นได้สร้างความยากลำบากให้กับทาง Nintendo ในด้านความสัมพันธ์กับผู้พัฒนาเกมอย่างมาก เพราะ Nintendo นั้นต้องการที่จะใช้ตลับต่อไปเพื่อป้องกันการปลอมแปลงและละเมิดลิขสิทธิ์ขณะที่ทางผู้พัฒนาเกมต้องการใช้สื่อที่มีพื้นที่เก็บข้อมูลจำนวนมากแต่ค่าการผลิตถูกซึ่ง CD ตอบโจทย์ความต้องการนี้ได้ โดย ff เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเกมที่จำเป็นต้องใช้ CD ในการบรรจุข้อมูล
ส่วน Darren Smith ได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า
“I knew it was important [when Square left], and it certainly was a loss. But for me, it wasn’t such a devastating loss. I knew it was very important for [Nintendo in] Japan. I’m not so sure about the U.S. market. But we knew it was a big deal to have lost it on our system, and knowing that it would make Sony a bigger competitor, it just made the work that much more important.”
โดยสรุปคือ Smith มองว่าการจากไปของ Square นั้นคือความสูญเสียของ Nintendo แต่ส่วนตัวแล้วมันไม่ใช่ความสูญเสียร้ายแรง โดยเฉพาะในตลาดอเมริกา แต่กระนั้นนี่จะทำให้ Sony กลายเป็นคู่แข่งที่น่าจับตามองมากยิ่งขึ้น
สิ่งที่ Smith คิดนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก ในเวลานั้นแม้ว่าตลาดตะวันตกจะเริ่มต้องการเกมที่เล่นได้นานและมีเรื่องราวเป็นชิ้นเป็นอันมากขึ้นแต่เกม RPG จากญี่ปุ่นในขณะนั้นยังไม่ได้รับนิยมในตลาดตะวันตกนัก การที่ Square ซึ่งรู้กันว่าเป็นผู้พัฒนาเกมแนว RPG ย้ายไปสร้างเกมให้ Sony จึงสามารถมองได้ว่าเป็นความสูญเสียที่ยังไม่ร้ายแรง ตัวอย่างเช่น ff6 ที่ผู้เล่นในไทยรู้จักดีและถือเป็นภาคที่ประสบความสำเร็จภาคหนึ่งแท้จริงแล้วตัวเกมประสบความสำเร็จแค่ตลาดในญี่ปุ่นเท่านั้น แม้ยอดขายรวมทั่วโลกจะทำได้ถึง 3.48 ล้านตลับแต่ถ้าดูเฉพาะยอดขายนอกประเทศญี่ปุ่นแล้วกลับมียอดขายเพียง 860,000 ตลับ Tomoyuki Takechi ให้ข้อมูลเพิ่มว่า ff6 ขายที่อเมริกาได้เพียง 400,000 ตลับ ขณะที่ Zelda A Link to the past ที่ไม่ใช่ RPG เต็มรูปแบบนั้นขายได้ถึง 1 ล้านตลับเฉพาะแค่ที่อเมริกาเพียงแห่งเดียว
จากนั้น Square ก็เริ่มดำเนินการวางแผนและตารางการพัฒนารวมถึงการลงทุนและจัดหาเครื่องมือ, บุคลากร, อุปกรณ์รวมถึงเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับงานกราฟฟิก 3D มาเป็นจำนวนมาก คิดเป็นจำนวนเงินที่ Square ลงทุนไปรวม 40 ล้าน USD (เทียบค่าเงินในปี 2017 ได้ประมาณ 60 ล้าน USD) โดยระดมพนักงานมาทำงานในโครงการนี้ร่วม 150 คนซึ่งเป็นจำนวนมหาศาลเมื่อเทียบกับเกมอื่น ๆ ในสมัยนั้นที่ใช้คนแค่ 30 คนโดยเฉลี่ยต่อโครงการ
ต่อมาการแยกทางของ Square กับ Nintendo ก็ได้รับการประกาศต่อสาธารณะเมื่อช่วงต้นปี 1996 โดยทาง Square ได้ลงโฆษณาทั้งทางทีวีและนิตยสารต่าง ๆ รวมถึงนิตยสารการ์ตูนชื่อดังที่มีผู้อ่านหลักหลายล้านคนอย่าง โชนัน Jump เพื่อประกาศว่า ff ภาคใหม่จะไปลงเครื่อง ps ของ Sony แล้ว
ผู้อ่านสามารถชม VDO โฆษณาทางทีวีดังกล่าวได้ในใน Link ข้างล่าง
https://www.youtube.com/watch?v=9wc8UgCMoj4
เรื่องราวของกระบวนการพัฒนา ff7 นั้น ผู้เขียนขอละเอาไว้เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ว่า ทำไม Square ถึงแยกทางกับ Nintendo ยกเว้นประเด็นหนึ่งคือ Sony นั้น support การสร้าง ff7 ถึงขนาดยอมปรับปรุงโปรแกรมควบคุม ps ให้ใช้ทรัพยากรน้อยลงเพื่อให้ทาง square เอาไปใช้ในการรันเกม ff7
(ความจริงคือตอนทรัพยากรไม่พอทาง square ถึงกับเริ่มเข้าไปแกะการทำงานของโปรแกรมควบคุม Hardware เพื่อจะเขียนโปรแกรมควบคุม Hardware ของ ps เองโดยตรงซึ่ง sony ไม่ ok กับเรื่องนี้ สุดท้ายก็ตกลงกันได้ที่ Sony จะปรับปรุงโปรแกรมควบคุม ps ให้ ซึ่งนี่มีผลดีต่อผู้พัฒนาเกมคนอื่น ๆ ด้วย)
Ff7 ใช้เวลาในการพัฒนาประมาณ 1 ปี จึงเสร็จสิ้นและออกวางจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 31 มกราคม 1997
เพียง 3 วันแรกก็ขายได้ถึง 2 ล้านชุดและเมื่อสิ้นปี 1997 ก็ทำยอดขายไปได้ถึง 3.27 ล้านชุด
ต่อมามีการแปล ff7 เป็นภาษาอังกฤษเพื่อวางจำหน่ายที่อเมริกาในวันที่ 7 กันยายน 1997 โดยมี Sony เป็นผู้จัดจำหน่ายและทำการตลาด ส่วนการวางขาย ff7 ทั่วโลกนั้นกำหนดไว้ว่าเป็นวันที่ 2 ตุลาคม ปีเดียวกัน
จากยอดขายของ ff6 ทำให้ Takechi เองคิดว่าเกมคงจะขายได้สัก 1 ล้านชุดนอกญี่ปุ่น
เมื่อ ff7 ออกวางขายที่อเมริกา เพียงช่วงสุดสัปดาห์แรกของการวางจำหน่ายก็ทำยอดขายได้ถึง 330,000 ชุด และสามารถทำยอดขายได้ถึง 500,000 ชุดโดยใช้เวลาไม่ถึง 3 สัปดาห์ เมื่อเข้าสู่เดือนธันวาคมก็ทำยอดขายได้ถึง 1 ล้านชุด รวมเวลาไม่ถึง 4 เดือน
นี่กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญมากในการแข่งขันของตลาดเครื่องเกมคอนโซลในยุคนั้น
to be continued in “Dethrone” Part1
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/