ไม่มีแฟรนไชส์ภาพยนตร์เรื่องไหนที่จะเหมือนกับภาพยนตร์เรื่อง Pirates of the Caribbean ทั้งอารมณ์ขัน ตำนานแห่งท้องทะเล รวมไปถึงเอกลักษณ์ของตัวละครที่หลากหลายและล้วนมีเสน่ห์ ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้กางใบเรือออกเดินทางมาได้ยาวนานถึงภาคที่ 5 แล้ว และแน่นอนว่ารายละเอียดข้อมูลเล็กๆน้อยๆได้ถูกซ่อนเอาไว้ในภาพยนตร์เรื่องนี้ หากกระพริบตารับรองได้เลยว่าเราอาจจะพลาดไปเลยก็ได้ อย่างไรก็ตามวันนี้ MONO29 ได้รวบรวบข้อมูลพวกนั้นมาไว้ให้อ่านถึง 30 ข้อ จะมีเรื่องอะไรบ้างนั้นตามมาอ่านกันเลยยยยย
1. นักแสดงหนุ่ม เบรนตัน ธเวทส์ (Brenton Thwaites) ผู้รับบท เฮนรี่ ใน Pirates of the Caribbean: Dead Men Tell No Tales สงครามแค้นโจรสลัดไร้ชีพ เป็นแฟนภาพยนตร์เรื่องนี้ตั้งแต่สมัยเขายังเป็นแค่นักเรียนตัวน้อยในควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ไม่มีใครดีใจไปกว่าเขาอีกแล้วเมื่อเขาได้รู้ว่านอกจากเขาจะได้รับบทตัวเอกในภาพยนตร์เรื่องนี้แล้ว ภาพยนตร์แทบทั้งเรื่องยังจะถ่ายทำในควีนส์แลนด์อีกด้วย
2. ตามธรรมเนียมของ Pirates of the Caribbean ทีมงานและนักแสดงของสี่ภาคที่ผ่านมาจะต้องสู้รบปรบมือกับสภาพอากาศสุดโต่งทั่วโลก โลเกชั่นถ่ายทำหลักของเรื่องอยู่ในโกลด์ โคสต์ รัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ก็ต้องเจอกับสภาพอากาศที่ชื้นแฉะที่สุดในรอบ 61 ปี เนื่องจากพายุไซโคลนมาร์เซีย
3. โยอาคิม รอนนิง (Joachim Rønning) และ เอสเพน แซนด์เบิร์ก (Espen Sandberg) ไม่ใช่ชาวนอร์เวย์คู่แรกที่ได้กำกับภาพยนตร์โจรสลัดสำหรับวอลท์ ดิสนีย์ สตูดิโอส์ เพราะในปี 1991 สตูดิโอนี้เคยเปิดตัวภาพยนตร์โจรสลัดอีกเรื่องหนึ่งจากประเทศดังกล่าวในชื่อของ Shipwrecked (1990) ภายใต้การกำกับของ นิลส์ ก็อป (Nils Gaup)
4. ฉากเมืองเซนต์มาร์ตินที่มีความละเอียดละอออย่างพิเศษสุด ภายใต้การออกแบบของ
ไนเจล เฟลป์ (Nigel Phelps) และดำเนินการสร้างโดยหัวหน้าผู้กำกับศิลป์
เอียน เกรซีย์ (Ian Gracie) และผู้ประสานงานการก่อสร้าง
เบอร์นีย์ ไชลด์ ครอบคลุมพื้นที่ห้าเอเคอร์ที่เขียวชอุ่มในย่านฮินเทอร์แลนด์ของเมืองม็อดแลนด์ แม้ว่าสิ่งปลูกสร้างส่วนใหญ่จะมีแต่ด้านหน้าเท่านั้น แต่สถานที่อย่างน้อยสองแห่งอย่างร้านเหล้าไกรมส์ ทาเวิร์น และสวิฟท์ ชาร์ต เฮาส์ ก็เป็นฉากสามมิติ ที่ถูกสร้างและตกแต่งให้เข้าบรรยากาศ โดยแผนกตกแต่งฉากของเบเวอร์ลีย์ ดันน์ อาคารบางหลังได้รับการออกแบบอย่างชาญฉลาดให้สามารถรื้อถอนออกเพื่อเคลื่อนย้ายอาคารทั้งหลังไปยังส่วนต่าง ๆ ของเมือง เพื่อเสริมสร้างความรู้สึกที่ว่าเมืองนี้มีขนาดใหญ่ขึ้นมา
5. ร้านค้าแต่ละร้านในฉากเมืองเซนต์มาร์ตินได้จัดแสดงสินค้าบางอย่างของพวกเขาไว้ด้านนอก ไม่ว่าจะเป็นปลาหมึกแห้งที่เป็นของจริง ซึ่งส่งกลิ่นตลบอบอวลตลอดระยะเวลาหลายเดือน สินค้าทอ เครื่องสาน เครื่องปั้น และอาหารต่าง ๆ
6. สำหรับซีเควนซ์ปล้นธนาคารในเรื่อง ธนาคารศตวรรษที่ 18 ทั้งหลังถูกสร้างขึ้นมาล้อมรอบรถแทรกเตอร์ที่ถูกเรียกว่า มานิทู คนขับรถมานิทูจะสามารถมองออกไปจากกระจกเพล็กซิกลาสปลอมด้านหน้าได้ แต่คนอื่น ๆ จะไม่สามารถมองทะลุเข้ามาด้านในได้ เป็นการช่วยรักษาภาพลวงตาที่ว่ามีผนังสี่ด้านไว้ได้อย่างพอดิบพอดี
7. ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย เพ็นนี โรส (Penny Rose) และทีมงานของเธอได้เปลี่ยนซาวน์สเตจพื้นที่ 20,000 ตารางฟุต ที่วิลเลจ โร้ดโชว์ สตูดิโอส์ ในโกลด์ โคสต์ รัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ให้กลายเป็นโกดังเก็บเสื้อผ้า หมวก รองเท้า และเครื่องประดับกว่า 2,000 ชิ้น ซึ่งทุกชิ้นถูกเรียงอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยตามชื่อ ประเภท เพศ และอายุของตัวละคร
8. ในการเพิ่มอายุให้กับเครื่องแต่งกายอย่างพอเหมาะ เพ็นนี โรส และทีมงานของเธอได้ใช้เทคนิคนวัตกรรมมากมาย รวมถึงการใส่พวกมันรวมกับก้อนกรวดในเครื่องผสมซีเมนต์ การใช้ที่ขูดชีสทำให้เสื้อผ้าสึกกร่อนและบางครั้งใช้เครื่องพ่นไฟกับตัวผ้าด้วย
9. บริเวณที่ถูกเรียกกันว่า “สนามเรือ” ในเมืองเฮเลนส์เวล รัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย เป็นสถานที่ตั้งของเรือสิบเอ็ดลำซึ่งถูกก่อสร้างขึ้นบนฐานที่เคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์ ผู้คนที่สงสัยใคร่รู้สามารถมองเห็นเสากระโดงเรือหนึ่งหรือสองต้นโผล่ขึ้นจากกองตู้คอนเทนเนอร์ 100 ตู้ที่กองซ้อนทับกันเหมือนอิฐได้
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับหนึ่งอนุมานว่า วัตถุประสงค์ของตู้คอนเทนเนอร์ที่ซ้อนทับกันนั้นเพื่อปิดบังการถ่ายทำลับสุดยอดให้พ้นจากสายตาสอดรู้สอดเห็น ในความเป็นจริงแล้ว ตู้คอนเทนเนอร์พวกนั้นเป็นโครงให้กับเทคโนโลยีที่น่าทึ่งในชื่อ แอร์คัฟเวอร์ อินแฟลเทเบิลส์ หรือจอบลูสกรีนเป่าลมขนาดยักษ์ ซึ่งภายหลังถูกแทนที่ด้วยท้องฟ้าและเกลียวคลื่น ด้วยฝีมือซูเปอร์ไวเซอร์ฝ่ายวิชวลเอฟเฟกต์ แกรี โบรเซนิค (Gary Brozenich) และทีมงานของเขา ผู้คิดค้นเทคโนโลยีนี้ขึ้นมาได้รับรางวัลความสำเร็จด้านเทคนิคพิเศษจากเวทีออสการ์ปี 2016
10. กองถ่ายได้ใช้ “นัคเคิลบูม” (เครนบูมที่เหมือนกับยีราฟ ใช้สำหรับการยก การวาง และการขยับเขยื้อนสิ่งของด้วยระบบไฮโดรลิก) ไม่ต่ำกว่า 27 ตัวในบริเวณสนามเรือ และมีกริดแสงความยาว 150 ฟุตส่องอยู่เหนือเรือเพื่อสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมในเวลากลางคืน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลากลางคืนได้ใช้งานเทคโนเครนสามตัวทุกวันพร้อมด้วยกล้องห้าตัวที่ติดตั้งอยู่ด้านบน โดยรวมแล้ว สนามเรือแห่งนี้ได้ใช้อุปกรณ์หนักราว 30 – 40 ชิ้น
11. เรือของกัปตันซาลาซาร์ที่ผู้ออกแบบงานสร้างไนเจล เฟลป์ สถาปนิกของมันเรียกว่าเป็น “เด็กคุมผับร่างยักษ์” เป็นเหมือนกับปราสาทสเปนที่ลอยได้ โดยมีป้อมปราการและหอคอยอยู่ตรงด้านหลัง ปืนใหญ่ที่หมุนได้อยู่บนดาดฟ้าเรือ และรูปปั้นอัศวินยุคกลางสวมเกราะเต็มยศประดับประดาอยู่เต็มดาดฟ้าเรือและภายนอก
สิ่งที่ห้อยปิดฐานยิงปืนเอาไว้ราวกับผู้พิทักษ์มฤตยูก็คือหัวปีศาจมีเขาสีทอง ราวกับจะเพื่อขู่ขวัญศัตรูหรือพวกโจรสลัดให้กลัวมากยิ่งขึ้น หรืออาจเพื่อเป็นการบ่งบอกถึงหัวใจที่ดำทมิฬของกัปตันเรือลำนี้ก็เป็นได้ บนดาดฟ้าเรือเป็นที่ตั้งของถังไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งไม่ใช่ถังบรรจุน้ำหรือไวน์สำหรับลูกเรือ แต่เป็นสถานที่ลงทัณฑ์ที่เลวร้ายที่สุด
12. แม้ว่าเรือของกัปตันซาลาซาร์จะถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นเรือตามจินตนาการแทนที่จะยึดติดกับประวัติศาสตร์การเดินเรืออย่างเคร่งครัด แต่เฟลป์ก็ได้หยิบยืมแบบดีไซน์ของนกอินทรีย์สองหัวบนใบเรือหลักมาจากแบบดีไซน์ในประวัติศาสตร์ และปืนใหญ่บนดาดฟ้าเรือก็มีสัญลักษณ์ของราชนาวีสเปนและมีโลมาสองตัวห้อยอยู่ ซึ่งเป็นภาพที่ชินตาสำหรับปืนใหญ่ของฝรั่งเศสและสเปนในศตวรรษที่ 18
13. ในเวลาค่ำคืนในเฮเลนส์เวล จิงโจ้มักจะปรากฏตัวขึ้นมาในท้องทุ่งกว้างใหญ่ ตรงด้านหลังของเต็นท์อาหารขนาดใหญ่ เพื่อสำรวจเรื่องราวพิลึกพิลั่นที่เกิดขึ้นในละแวกบ้านของพวกมัน
14. สำหรับเมกอัพเข้มข้นที่เขาต้องเจอในบทกัปตันซาลาซาร์ผู้ต้องสาป นักแสดงหนุ่ม ฮาเวียร์ บาร์เด็ม (Javier Bardem) จะต้องทนนั่งอยู่บนเก้าอี้เมกอัพทุกวัน วันละสองถึงสามชั่วโมง แต่ในตอนที่ โกลชิฟเทห์ ฟาราฮานี (Golshifteh Farahani) นักแสดงสาวสวย ถูกแปลงกายให้กลายเป็น ชานซา แม่มดผู้ลึกลับแห่งท้องทะเล เธอกลับต้องทนนั่งนานถึงสี่ถึงห้าชั่วโมง
15. แผนกของช่างออกแบบทรงผมหลัก ปีเตอร์ ซอร์ด คิง ได้ทำวิกมากกว่า 1,000 หัวให้กับภาพยนตร์เรื่องนี้ และวันทำงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็เกี่ยวข้องกับตัวประกอบ 700 คนและนักแสดงหลัก 30 คน โดยที่ทีมงานหลักประกอบไปด้วยคน 22 คน และอีก 70 คนอยู่ในเต็นท์หลังใหญ่เพื่อดูแลนักแสดงแบ็คกราวน์ นักแสดงสตันท์และคนที่คอยดูเรื่องสัตว์ สถานที่นั้นถูกพูดถึงอย่างขำขันว่า “โรงงานไส้กรอก”
16. กว้านของเรือแบล็ก เพิร์ล เป็นอันเดียวกับที่เราเห็นกันในเวอร์ชั่นก่อน ๆ ของเรือลำนี้ในภาคแรก ภาคสอง และภาคสาม นับว่าเป็นผู้รอดชีวิตจากท้องทะเลตัวจริงเสียงจริง (กว้านคือเครื่องมือที่ใช้หมุน เพื่อให้เชือกหรือสายเคเบิลหมุนรอบมัน และใช้เคลื่อนย้ายหรือยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากได้ เช่น สมอเรือ)
17. ในซีเควนซ์กิโยตินที่จัตุรัสประหาร ศีรษะทั้งสองที่ถูกแยกออกจากตัวเจ้าของถูกสร้างตามแบบของผู้กำกับโยอาคิม รอนนิง และเอสเพน แซนด์เบิร์ก
18. ที่เฮสติงส์ พอยท์ พ้นจากพรมแดนของควีนส์แลนด์เข้าไปในนิวเซาธ์เวลส์ วันถ่ายทำเริ่มต้นขึ้นด้วยการเต้นระบำต้อนรับทีมงานและนักแสดง โดยสมาชิกเผ่ากูบจิงเบอร์ราจากบันด์จาลังก์ ผู้ปกปักษ์พิทักษ์ผืนดินนั้นมานับพัน ๆ ปี
19. ซีเควนซ์แต่งงานแบบฝืนใจที่แสนคึกคัก ถ่ายทำที่เฮสติง พอยท์ กลายเป็นงานภายในครอบครัวสำหรับ สตีเฟน เกรแฮม (Stephen Graham) ผู้ซึ่ง ฮันนาห์ วอลเตอร์ส (Hannah Walters) ภรรยาของเขาที่เป็นนักแสดงมากความสามารถ ได้ถูกทีมผู้สร้างขอร้องให้รับบท เบียทริซ เคลลี ว่าที่เจ้าสาวที่ไม่ค่อยจะเขินอายนักของกัปตันแจ็ก อัลฟีย์ และเกรซ ลูก ๆ ผู้น่ารักและแสบซ่าส์สองคนของเกรแฮมและวอลเตอร์ส รับบทลูกสองคนของเบียทริซ และก็เป็นหน้าที่ของแผนกแต่งหน้าและทำผมมากความสามารถที่จะต้องทำให้ตระกูลเกรแฮม/วอลเตอร์สที่หน้าตาดูดีกลับกลายเป็นดูไม่ได้ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
20. สำหรับฮาเวียร์ บาร์เด็ม นักแสดงรางวัลออสการ์ การรับบทกัปตันซาลาซาร์เป็นเหมือนงานในครอบครัว เพราะ เพเนโลเป ครูซ (Penélope Cruz) ภรรยาของบาร์เด็ม เคยแสดงใน On Stranger Tides (2011) ซึ่งเป็น Pirates ภาคก่อนหน้านี้มาแล้ว และตัวบาร์เด็มเองก็มักไปเยี่ยมกองถ่ายเรื่องนั้นเป็นประจำด้วย
รู้กันหรือยัง!!? 30 เรื่องที่เกิดขึ้นระหว่างถ่ายทำ Pirates of the Caribbean: Dead Men Tell No Tales
5. ร้านค้าแต่ละร้านในฉากเมืองเซนต์มาร์ตินได้จัดแสดงสินค้าบางอย่างของพวกเขาไว้ด้านนอก ไม่ว่าจะเป็นปลาหมึกแห้งที่เป็นของจริง ซึ่งส่งกลิ่นตลบอบอวลตลอดระยะเวลาหลายเดือน สินค้าทอ เครื่องสาน เครื่องปั้น และอาหารต่าง ๆ