ผมหลงรักเพลงไทยเดิมช่วง 2 ปีที่ผ่านมา บรรเลงเพลงไทยเดิมด้วยเปียโนแล้วพบข้อสังเกตมากมาย อดีตเคยเล่นฆ้องวงใหญ่กับวงดนตรีไทย ขณะนี้กำลังศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเอง หากผิดพลาดประการใดรบกวนผู้รู้ชี้แนะเพิ่มเติมได้ครับ ขอบพระคุณครับ🙏
#ข้อสังเกตในเพลงไทยเดิม🦚
1. ปกติใช้สเกล pentatonic คือ โด เร มี โซ ลา เป็นสเกลสำเนียงไทยและกลิ่นอายโลกตะวันออกโดยเฉพาะประเทศจีน เช่น เพลงเถียนมี่มี่, หนูรักข้าวสาร (老鼠爱大米) (จริง ๆ แล้วดนตรีไทยมีสเกลเป็นของตัวเอง คือโดถึงที และโดไทยต่างจากโดสากล เทียบเคียงคลาสสิกหรือตะวันตกไม่ได้ทั้งหมด)
2. เครื่องดนตรีไทยมีเสียง ฟา กับ ที ด้วย แต่เสียงต่างจากเปียโนเล็กน้อยซึ่งเป็นเสน่ห์อย่างยิ่ง แต่สามารถปรับจูนให้เสียงตรงกันได้โดยเพิ่มลดตะกั่วใต้ลูกระนาด ปรับความตึงสายขิมหรือจะเข้ เป็นต้น (จริง ๆ แล้วไม่ควรปรับจูนเนื่องจากสเกลไทยไม่เหมือนสเกลสากล ควรปรับจูนกรณีเล่นร่วมกับเครื่องดนตรีสากล)
3. ตัวอย่างเพลงที่มีเสียงฟาที่รู้จักกันคือเพลงลาวเสี่ยงเทียน ส่วนเพลงที่มีเสียงทีที่โด่งดังคือเพลงเขมรไทรโยคซึ่งประพันธ์โดยสมเด็จครู ผู้ออกแบบวัดเบญจมบพิตรฯ
4. ไม่ระบุคีย์เพลง major หรือ minor ชัดเจน ถ้าเรียงสเกล pentatonic เป็น โด เร มี โซ ลา อาจเป็นคีย์ major แต่ถ้าเรียงเป็น ลา โด เร มี โซ อาจเป็นคีย์ minor เช่น เพลงเงี้ยวรำลึก
5. ไม่ระบุคีย์เพลงชัดเจนเหมือนในเพลงคลาสสิก หากบรรเลงด้วยเปียโนควรเล่นคีย์ทางแฟลตจะหวานขึ้น เช่น คีย์ Eb, Bb, F, Ab, Db ถ้าเล่นเฉพาะลิ่มคีย์สีดำบนเปียโน คีย์เพลงจะเป็น Gb
6. ระนาดไม่มีลิ่มคีย์สีดำเหมือนเปียโนจึงไม่สามารถเปลี่ยนคีย์ในเพลงเดียวพร้อมกันได้ จึงต้องเตรียมระนาดคีย์เฉพาะกิจ 2 รางเมื่อเล่นเพลงที่มีการย้ายคีย์ เช่น เพลงบ้านของฉันในสี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล ต้องเตรียมระนาดคีย์ C และ Eb แต่พวกเครื่องสาย เช่น ซอ อาจปรับย้ายคีย์เองได้
7. เพลงไทยเดิมน่าจะเด่นที่การนำเสนอเมโลดี้ มีเสียงประสานบ้าง แต่ไม่เห็นการเดินคอร์ดอย่างเป็นรูปธรรม
8. การใช้เสียงประสานสังเกตว่านิยมใช้คู่ 8 และ 4 เช่น คู่แปดในระนาด, ขิม คู่สี่ในระนาดทุ้ม, ฆ้องวงใหญ่, ขิม
9. ใช้ ornament สร้างสีสันเพลงโดยการสะบัด, mordent, trill, tremelo (กรอ/ขยี้), glissando (กวาด) ฯลฯ
10. ใช้จังหวะ 4/4, 2/4 แทบไม่พบจังหวะ 3/4, 6/8 แต่เพลงลูกกรุงในยุคต่อมามีจังหวะ 3/4 และมีคอร์ดเป็นรูปธรรม เช่น เพลงขอให้เหมือนเดิม
11. เนื่องจากข้อจำกัดทางสเกล pentatonic และเพลงไม่มีคอร์ดทำให้เกิดประโยคเมโลดี้วลีซ้ำกันได้ในคนละเพลงซึ่งผู้แต่งอาจมิได้ตั้งใจลอกผลงานผู้อื่น (ยกตัวอย่างเพลงปัจจุบัน เช่น วลี ลซลซด ร ม ในเพลงเพียงสบตาเหมือนกับวลีท่อนแยกในเพลงฉันจะฝันถึงเธอ)
12. เมโลดี้ต้นฉบับอาจเพี้ยนไปตามกาลสมัยเนื่องจากบางเพลงไม่ปรากฏนามผู้แต่ง ผู้แต่งมิได้บันทึกโน้ตไว้ชัดเจนเหมือนเพลงคลาสสิก หรืออาจบรรเลงแบบครูพักลักจำต่อ ๆ กันมา ผู้เล่นต่างยุคอาจ improvise เพี้ยนทีละเล็กทีละน้อย สังเกตจากเพลงลาวดวงเดือนและลาวเสี่ยงเทียนมีเมโลดี้หลายเวอร์ชัน
13. เมโลดี้อาจเพี้ยนไปตามคำร้องที่ใส่ขึ้นในภายหลัง เช่น เพลงลาวเสี่ยงเทียนกับบุษบาเสี่ยงเทียน, เพลงลาวจ้อยกับสร้อยแสงแดงหรือไก่ฟ้า
14. โครงสร้างเพลงส่วนใหญ่เป็นแบบ A คือมีทำนองหลักเดียว บางเพลงขยายเป็น 3 ท่อนตามความเร็ว เช่น สองชั้น สามชั้น แต่บางเพลงโครงสร้างอาจไม่ชัดเจนเหมือนดำเนินไปเรื่อย ๆ เนิบ ๆ ราบเรียบ หรือทำนองรัวต่อเนื่องฟุ้งไปทำให้ฟังไม่ติดหู ต่างจากโครงสร้างเพลงป๊อปที่มีท่อนฮุกมัดใจ จำง่ายติดหูทันที ต่อมาโครงสร้างเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในยุคเพลงลูกกรุงคือ A, ABA, AABA น่าจะได้รับอิทธิพลจากตะวันตก
15. เพลงที่ทำนองติดหู อมตะ เป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบันนี้คือเพลงลาวดวงเดือน, เขมรไทรโยค, ค้างคาวกินกล้วย, ลาวจ้อย, ลาวเสี่ยงเทียน, ลาวกระทบไม้, คำหวาน และอื่น ๆ ที่อาจไม่เรียกไทยเดิมชัดเจน เช่น ล่องแม่ปิง, ช้าง, ลอยกระทง ฯลฯ
16. ชื่อเพลงมักมีคำว่า ลาว, เขมร, มอญ, แขก, เงี้ยว บ่งบอกถึงสำเนียงชนชาติแต่ยังคงเป็นเพลงไทยเดิมที่มีสำเนียงชนชาตินั้น ๆ คล้ายเพลงคลาสสิกที่เสนอสำเนียงชนชาติตุรกี เช่น Violin Concerto No.5 หรือ Rondo Alla Turca ของ Mozart
17. บางคนอาจฟังเพลงไทยเดิมแล้วรู้สึกน่าเบื่ออาจเพราะไม่มีการเดินคอร์ด ทำนองเนิบช้าเรื่อย ๆ ไม่มีจุดพีคโดดเด่นชัดเจน แต่บางคนก็ชื่นชอบเพราะฟังแล้วจิตใจสงบเย็นผ่อนคลาย โดยเฉพาะเพลงสามชั้นซึ่งเทียบเคียงจังหวะ Andante ถึง Adagio ในเพลงคลาสสิก หรือฟังแล้วสนุกเร้าใจเมื่อฟังเพลงเร็วรัวกลองกระชั้นเวลาดูโขนฉากสู้รบ
18. เพลงไทยเดิมมีพัฒนาการเป็นเพลงลูกกรุงในยุคต่อมาโดยใช้เมโลดี้ pentatonic เช่น เพลงครวญ, แต่ปางก่อน, หนึ่งในร้อย, หยาดเพชร, วิมานดิน, วนาสวาท, เพลงสุนทราภรณ์จำนวนมาก และใช้เสียงฟาหรือทีมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น เพลงลุ่มเจ้าพระยา, นกเขาคูรัก, บ้านทรายทอง, ทรายกับทะเล สังเกตว่าเมโลดี้เพลงครวญคล้ายเพลงลาวดวงเดือน เมโลดี้เพลงจันทร์คล้ายเพลงล่องแม่ปิง
19. นักแต่งเพลงรุ่นใหม่ใช้สำเนียงเพลงไทยเดิมสร้างผลงานไพเราะจับใจ เช่น เพลงจันทร์, น้ำตาแสงไต้, บุพเพสันนิวาส, ออเจ้าเอย และใช้เสียงฟาหรือทีเพิ่ม เช่น เพลงฉันจะฝันถึงเธอ, รักแท้มีอยู่จริง, เสียงนั้นเสียงหนึ่ง, เพียงสบตา นอกจากนี้ยังมีเพลงแผ่นดินทอง, สนามหลวง อันตราตรึงใจ
20. เพลงป๊อปที่มีสำเนียงไทย ได้แก่ เพลงรักของปุ๊อัญชลี, แก้มน้องนางนั้นแดงกว่าใคร, ตัวร้ายที่รักเธอ, ไว้ใจได้กา, ลม, เลิกคุยทั้งอำเภอเพื่อเธอคนเดียว ฯลฯ
21. เพลงป๊อปที่ใช้เมโลดี้ pentatonic เป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ เพลงใจสีเทา, ถ้าเลือกได้, สายลมแห่งรัก, อยู่ต่อเลยได้ไหม, เธอ, คู่ชีวิต, ลูกอม, ร่มสีเทา, เพียงเธอ, เธอทั้งนั้น, ไม่เคย, ซ่อนกลิ่น, หมอก, วาฬเกยตื้น ฯลฯ
22. นักแต่งเพลงกลิ่นอายไทยร่วมสมัยที่ผมนับถือและชื่นชม ได้แก่ คุณสราวุธ เลิศปัญญานุช เขียนเพลงสี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล, อ.จำรัส เศวตาภรณ์ เขียนเพลง Journey, คุณวิเชียร ตันติพิมลพันธ์ เขียนเพลงบุพเพสันนิวาสและออเจ้าเอย, ดร.อชิมา พัฒนวีรางกูล เขียนเพลงดรุณดุริยางค์ อย่างน้อยประเทศไทยก็ไม่สิ้นลูกหลานนักประพันธ์เพลงสำเนียงไทย
23. ผู้สืบสานบรรเลงเพลงไทยเดิมผสมผสานดนตรีตะวันตกซึ่งมีผลงานมากมายเป็นที่ประจักษ์ ได้แก่ ดร.ณัชชา พันธุ์เจริญ, อ.ดนู ฮันตระกูล ฯลฯ
24. โอกาสพัฒนาเพลงไทยเดิมในอนาคต ได้แก่ การบันทึกโน้ตลงบรรทัดห้าเส้นแทนการบันทึกเป็นพยัญชนะในกรอบสี่เหลี่ยม ทำให้เห็นภาพรวมเพลงชัดและง่ายขึ้นสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ เช่น เรียบเรียงคอร์ดใหม่ ทำเพลงคอรัส บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีสากลผสมผสานเครื่องดนตรีไทย รื้อฟื้นงานชั้นครูกลับมานำเสนอให้คนรุ่นใหม่เข้าถึงง่าย เห็นคุณค่าของเพลงไทยเดิมและสืบสานเพลงสำเนียงไทยต่อไป
รบกวนผู้รู้ครูเพลงไทยเดิมชี้แนะเพิ่มเติมครับ
#ข้อสังเกตในเพลงไทยเดิม🦚
1. ปกติใช้สเกล pentatonic คือ โด เร มี โซ ลา เป็นสเกลสำเนียงไทยและกลิ่นอายโลกตะวันออกโดยเฉพาะประเทศจีน เช่น เพลงเถียนมี่มี่, หนูรักข้าวสาร (老鼠爱大米) (จริง ๆ แล้วดนตรีไทยมีสเกลเป็นของตัวเอง คือโดถึงที และโดไทยต่างจากโดสากล เทียบเคียงคลาสสิกหรือตะวันตกไม่ได้ทั้งหมด)
2. เครื่องดนตรีไทยมีเสียง ฟา กับ ที ด้วย แต่เสียงต่างจากเปียโนเล็กน้อยซึ่งเป็นเสน่ห์อย่างยิ่ง แต่สามารถปรับจูนให้เสียงตรงกันได้โดยเพิ่มลดตะกั่วใต้ลูกระนาด ปรับความตึงสายขิมหรือจะเข้ เป็นต้น (จริง ๆ แล้วไม่ควรปรับจูนเนื่องจากสเกลไทยไม่เหมือนสเกลสากล ควรปรับจูนกรณีเล่นร่วมกับเครื่องดนตรีสากล)
3. ตัวอย่างเพลงที่มีเสียงฟาที่รู้จักกันคือเพลงลาวเสี่ยงเทียน ส่วนเพลงที่มีเสียงทีที่โด่งดังคือเพลงเขมรไทรโยคซึ่งประพันธ์โดยสมเด็จครู ผู้ออกแบบวัดเบญจมบพิตรฯ
4. ไม่ระบุคีย์เพลง major หรือ minor ชัดเจน ถ้าเรียงสเกล pentatonic เป็น โด เร มี โซ ลา อาจเป็นคีย์ major แต่ถ้าเรียงเป็น ลา โด เร มี โซ อาจเป็นคีย์ minor เช่น เพลงเงี้ยวรำลึก
5. ไม่ระบุคีย์เพลงชัดเจนเหมือนในเพลงคลาสสิก หากบรรเลงด้วยเปียโนควรเล่นคีย์ทางแฟลตจะหวานขึ้น เช่น คีย์ Eb, Bb, F, Ab, Db ถ้าเล่นเฉพาะลิ่มคีย์สีดำบนเปียโน คีย์เพลงจะเป็น Gb
6. ระนาดไม่มีลิ่มคีย์สีดำเหมือนเปียโนจึงไม่สามารถเปลี่ยนคีย์ในเพลงเดียวพร้อมกันได้ จึงต้องเตรียมระนาดคีย์เฉพาะกิจ 2 รางเมื่อเล่นเพลงที่มีการย้ายคีย์ เช่น เพลงบ้านของฉันในสี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล ต้องเตรียมระนาดคีย์ C และ Eb แต่พวกเครื่องสาย เช่น ซอ อาจปรับย้ายคีย์เองได้
7. เพลงไทยเดิมน่าจะเด่นที่การนำเสนอเมโลดี้ มีเสียงประสานบ้าง แต่ไม่เห็นการเดินคอร์ดอย่างเป็นรูปธรรม
8. การใช้เสียงประสานสังเกตว่านิยมใช้คู่ 8 และ 4 เช่น คู่แปดในระนาด, ขิม คู่สี่ในระนาดทุ้ม, ฆ้องวงใหญ่, ขิม
9. ใช้ ornament สร้างสีสันเพลงโดยการสะบัด, mordent, trill, tremelo (กรอ/ขยี้), glissando (กวาด) ฯลฯ
10. ใช้จังหวะ 4/4, 2/4 แทบไม่พบจังหวะ 3/4, 6/8 แต่เพลงลูกกรุงในยุคต่อมามีจังหวะ 3/4 และมีคอร์ดเป็นรูปธรรม เช่น เพลงขอให้เหมือนเดิม
11. เนื่องจากข้อจำกัดทางสเกล pentatonic และเพลงไม่มีคอร์ดทำให้เกิดประโยคเมโลดี้วลีซ้ำกันได้ในคนละเพลงซึ่งผู้แต่งอาจมิได้ตั้งใจลอกผลงานผู้อื่น (ยกตัวอย่างเพลงปัจจุบัน เช่น วลี ลซลซด ร ม ในเพลงเพียงสบตาเหมือนกับวลีท่อนแยกในเพลงฉันจะฝันถึงเธอ)
12. เมโลดี้ต้นฉบับอาจเพี้ยนไปตามกาลสมัยเนื่องจากบางเพลงไม่ปรากฏนามผู้แต่ง ผู้แต่งมิได้บันทึกโน้ตไว้ชัดเจนเหมือนเพลงคลาสสิก หรืออาจบรรเลงแบบครูพักลักจำต่อ ๆ กันมา ผู้เล่นต่างยุคอาจ improvise เพี้ยนทีละเล็กทีละน้อย สังเกตจากเพลงลาวดวงเดือนและลาวเสี่ยงเทียนมีเมโลดี้หลายเวอร์ชัน
13. เมโลดี้อาจเพี้ยนไปตามคำร้องที่ใส่ขึ้นในภายหลัง เช่น เพลงลาวเสี่ยงเทียนกับบุษบาเสี่ยงเทียน, เพลงลาวจ้อยกับสร้อยแสงแดงหรือไก่ฟ้า
14. โครงสร้างเพลงส่วนใหญ่เป็นแบบ A คือมีทำนองหลักเดียว บางเพลงขยายเป็น 3 ท่อนตามความเร็ว เช่น สองชั้น สามชั้น แต่บางเพลงโครงสร้างอาจไม่ชัดเจนเหมือนดำเนินไปเรื่อย ๆ เนิบ ๆ ราบเรียบ หรือทำนองรัวต่อเนื่องฟุ้งไปทำให้ฟังไม่ติดหู ต่างจากโครงสร้างเพลงป๊อปที่มีท่อนฮุกมัดใจ จำง่ายติดหูทันที ต่อมาโครงสร้างเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในยุคเพลงลูกกรุงคือ A, ABA, AABA น่าจะได้รับอิทธิพลจากตะวันตก
15. เพลงที่ทำนองติดหู อมตะ เป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบันนี้คือเพลงลาวดวงเดือน, เขมรไทรโยค, ค้างคาวกินกล้วย, ลาวจ้อย, ลาวเสี่ยงเทียน, ลาวกระทบไม้, คำหวาน และอื่น ๆ ที่อาจไม่เรียกไทยเดิมชัดเจน เช่น ล่องแม่ปิง, ช้าง, ลอยกระทง ฯลฯ
16. ชื่อเพลงมักมีคำว่า ลาว, เขมร, มอญ, แขก, เงี้ยว บ่งบอกถึงสำเนียงชนชาติแต่ยังคงเป็นเพลงไทยเดิมที่มีสำเนียงชนชาตินั้น ๆ คล้ายเพลงคลาสสิกที่เสนอสำเนียงชนชาติตุรกี เช่น Violin Concerto No.5 หรือ Rondo Alla Turca ของ Mozart
17. บางคนอาจฟังเพลงไทยเดิมแล้วรู้สึกน่าเบื่ออาจเพราะไม่มีการเดินคอร์ด ทำนองเนิบช้าเรื่อย ๆ ไม่มีจุดพีคโดดเด่นชัดเจน แต่บางคนก็ชื่นชอบเพราะฟังแล้วจิตใจสงบเย็นผ่อนคลาย โดยเฉพาะเพลงสามชั้นซึ่งเทียบเคียงจังหวะ Andante ถึง Adagio ในเพลงคลาสสิก หรือฟังแล้วสนุกเร้าใจเมื่อฟังเพลงเร็วรัวกลองกระชั้นเวลาดูโขนฉากสู้รบ
18. เพลงไทยเดิมมีพัฒนาการเป็นเพลงลูกกรุงในยุคต่อมาโดยใช้เมโลดี้ pentatonic เช่น เพลงครวญ, แต่ปางก่อน, หนึ่งในร้อย, หยาดเพชร, วิมานดิน, วนาสวาท, เพลงสุนทราภรณ์จำนวนมาก และใช้เสียงฟาหรือทีมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น เพลงลุ่มเจ้าพระยา, นกเขาคูรัก, บ้านทรายทอง, ทรายกับทะเล สังเกตว่าเมโลดี้เพลงครวญคล้ายเพลงลาวดวงเดือน เมโลดี้เพลงจันทร์คล้ายเพลงล่องแม่ปิง
19. นักแต่งเพลงรุ่นใหม่ใช้สำเนียงเพลงไทยเดิมสร้างผลงานไพเราะจับใจ เช่น เพลงจันทร์, น้ำตาแสงไต้, บุพเพสันนิวาส, ออเจ้าเอย และใช้เสียงฟาหรือทีเพิ่ม เช่น เพลงฉันจะฝันถึงเธอ, รักแท้มีอยู่จริง, เสียงนั้นเสียงหนึ่ง, เพียงสบตา นอกจากนี้ยังมีเพลงแผ่นดินทอง, สนามหลวง อันตราตรึงใจ
20. เพลงป๊อปที่มีสำเนียงไทย ได้แก่ เพลงรักของปุ๊อัญชลี, แก้มน้องนางนั้นแดงกว่าใคร, ตัวร้ายที่รักเธอ, ไว้ใจได้กา, ลม, เลิกคุยทั้งอำเภอเพื่อเธอคนเดียว ฯลฯ
21. เพลงป๊อปที่ใช้เมโลดี้ pentatonic เป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ เพลงใจสีเทา, ถ้าเลือกได้, สายลมแห่งรัก, อยู่ต่อเลยได้ไหม, เธอ, คู่ชีวิต, ลูกอม, ร่มสีเทา, เพียงเธอ, เธอทั้งนั้น, ไม่เคย, ซ่อนกลิ่น, หมอก, วาฬเกยตื้น ฯลฯ
22. นักแต่งเพลงกลิ่นอายไทยร่วมสมัยที่ผมนับถือและชื่นชม ได้แก่ คุณสราวุธ เลิศปัญญานุช เขียนเพลงสี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล, อ.จำรัส เศวตาภรณ์ เขียนเพลง Journey, คุณวิเชียร ตันติพิมลพันธ์ เขียนเพลงบุพเพสันนิวาสและออเจ้าเอย, ดร.อชิมา พัฒนวีรางกูล เขียนเพลงดรุณดุริยางค์ อย่างน้อยประเทศไทยก็ไม่สิ้นลูกหลานนักประพันธ์เพลงสำเนียงไทย
23. ผู้สืบสานบรรเลงเพลงไทยเดิมผสมผสานดนตรีตะวันตกซึ่งมีผลงานมากมายเป็นที่ประจักษ์ ได้แก่ ดร.ณัชชา พันธุ์เจริญ, อ.ดนู ฮันตระกูล ฯลฯ
24. โอกาสพัฒนาเพลงไทยเดิมในอนาคต ได้แก่ การบันทึกโน้ตลงบรรทัดห้าเส้นแทนการบันทึกเป็นพยัญชนะในกรอบสี่เหลี่ยม ทำให้เห็นภาพรวมเพลงชัดและง่ายขึ้นสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ เช่น เรียบเรียงคอร์ดใหม่ ทำเพลงคอรัส บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีสากลผสมผสานเครื่องดนตรีไทย รื้อฟื้นงานชั้นครูกลับมานำเสนอให้คนรุ่นใหม่เข้าถึงง่าย เห็นคุณค่าของเพลงไทยเดิมและสืบสานเพลงสำเนียงไทยต่อไป