คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
- ระบบลิฟท์ จุดสำคัญที่ครอบคลุม ถูกบังคับไว้เพราะตรงคำว่า ลิฟท์สำหรับ "อาคารสูง" แล้วก็มีตัวเลขความสูงจำกัดความไว้ เรื่ม ที่ 23 ม. ตามที่จขกท.เห็นมานั้นแหละ
จากกฎกระทรวงฉบับนี้ครับ เห็นเด่นอยู่ตอนต้นข้อแรกวรรคแรกเลย
http://office.dpt.go.th/legal/images/pdf/legal_11.pdf
- ทีนี้ ปกติก็จะได้ยินเป็นแบบคห. 1 ว่า คร่าวๆ คือเป็นตึก 5 ชั้น ก็เริ่มแล้ว
เหตุผลที่เขาใช้ประมาณ ก็เป็นไปตามตัวเลขว่าประมาณตัวเลขกลมๆ ใช้ 5 เมตร*5 ชั้น = 25เมตร
เพราะตีตัวเลขกลม จะเอา 4 เมตรแล้วผ่านก็ไม่ครอบคลุมการพูดแบบกะคร่าวๆ ก็มีอาคารบางที่อยากสร้างโอ่โถง สร้างเกินชั้นละ 4 เมตรได้ เผื่อฝ้าอีกล่ะ หรือชั้นล่าง ทำตรงล้อบบี้ ทำให้สูงกว่าชั้นอื่นก็มี
การใช้ตัวเลข 5 ชั้น คือการทำความเข้าใจแบบเร็วๆ เข้าใจนึกภาพไวกว่าบอกความสูงเป็นเมตร และเผื่อคลุมได้ทุกกรณี แบบไม่พลาด
- แต่ข้อเท็จจริง ก็ดูจากความสูงจริง ถ้าใครสร้าง 5 ชั้น แต่สร้างชั้นละ 3.5-4 เมตร ไม่มีชั้นไหนทำห้องโถงรับแขกเลย ทำ 4 เมตรทุกชั้น ก็แค่ 20 เมตร นี่ก็อยู่อาศัยได้ หรือเป็นห้องเช่าปานกลางได้
อาคารเล็กๆ หอพักนักศึกษา หรือ guest house สูง 3.5 เมตร เดินสายไฟตีกิ๊บเห็นๆ ก็ยังอยู่กันได้ แปรไปตามแรงจ่าย
จึงสามารถที่จะมีอาคารที่มี 5 ชั้น แต่ไม่มีลิฟท์ แล้วไม่ผิดกฎหมายได้...
แต่เหลือเป็นประเด็นการให้บริการลูกค้า/ให้ผู้เช่า การตัดสินใจของเจ้าของอาคารและสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้เองที่ต้องดีดเครื่องคิดเลขเองนั่นแหละ ว่าไม่มีแล้วทำให้ลดมูลค่าของอาคารหรือไม่
...มีผลต่อมูลค่า ไม่ใช่ประเด็นเรื่องลิฟท์ไม่ติดตั้งแล้วตีราคาสินทรัพย์ต่ำ แต่เรื่องการประเมินผลตอบแทนโครงการที่จะเป็น cash inflow ไปให้เจ้าหนี้ยอมอนุมัติปล่อยเงินมา เมื่อทำการลดเกรดอาคารเองให้เป็นแบบโบราณเดินขึ้นบันได้ด้วยพลังน่อง... ก็จะได้เกรดลูกค้าตามสภาพ ต้องปล่อยเช่าแบบลูกค้าตลาดล่าง แบบถูกๆ ราคาติดดิน รายได้ประเมินก็ลดแน่นอน เป็นเหตุ เป็นผล
ก็อยู่ที่การเอาแผนธุรกิจไปแสดง ถ้าเอาลูกค้าตลาดล่าง ก็ต้องแสดงการตอบแทนโครงการให้เห็นว่าถึงจุดคุ้มทุนในระยะเวลายอมรับได้ เช่น หาได้ปริมาณเยอะ
- แต่ๆๆๆๆๆ มีเงื่อนไขอีกข้อ
ถ้าเจ้าของอาคารทำเตี้ยลง แต่มีที่ดินเยอะเน้นไม่สูงแต่กว้างขวางมากเพราะเก็บที่ดินไว้เยอะ และอาคารสร้างไม่สูงมากงานฐานรากจะอออกแบบง่าย
แต่ว่าแม้อาคารเตี้ยกว่ากำหนด สมมติแค่ 15 เมตร แต่อาจจะทำให้อาคารนั้น กลายเป็น "อาคารขนาดใหญ่พิเศษ" ได้ ก็จะถูกบังคับเช่นกัน
ข้อความเขียนไว้ชัดเช่นกัน ต้นเอกสารเลย ๑๐,๐๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป
ส่วนชนิดลิฟท์ ก็เขียนไว้ชัดเจน
สรุปให้สั้นๆ ว่า ถ้าลิฟท์ดับเพลิง ทำได้สเปคป้องกันได้ทุกสถานการณ์แล้ว แบบนั้นก็จะสามารถใช้เป็นลิฟท์โดยสารในยามปกติได้
ระบบไฟฟ้าลิฟท์ดับเพลิง ต้องแยกต่างหาก ที่แน่ๆ อยู่แล้วว่าทั้งระบบไฟทั้งตัวลิฟท์ ต้องสร้างป้องกันไฟไหม้ได้ แล้วมีสายดับเพลิงไม่ไกล
มีกำหนดอยู่พอควร อีกว่ามีอะไรบ้าง
แต่เจ้าของก็อาจแยกลิฟท์ดับเพลิง เป็นสัดส่วนก็ได้
เพราะจากข้อกำหนด เช่น หน้าลิฟท์ทุกชั้นต้องมีโถง กำหนดลิฟท์ไว่ในพื้นที่ปลอดภัยจากควันไฟ ถ้าข้อกำหนดจะไปขัดกับการให้บริการลูกค้า ก็สร้างลิฟท์สเปคดับเพลิงน้อยหนึ่งตัวแยกไป จะเอาไปเป็นลิฟท์ขนของบ้างในเวลาปกติ ก็ไม่มีอะไรขัดกม.นี้
จากกฎกระทรวงฉบับนี้ครับ เห็นเด่นอยู่ตอนต้นข้อแรกวรรคแรกเลย
http://office.dpt.go.th/legal/images/pdf/legal_11.pdf
- ทีนี้ ปกติก็จะได้ยินเป็นแบบคห. 1 ว่า คร่าวๆ คือเป็นตึก 5 ชั้น ก็เริ่มแล้ว
เหตุผลที่เขาใช้ประมาณ ก็เป็นไปตามตัวเลขว่าประมาณตัวเลขกลมๆ ใช้ 5 เมตร*5 ชั้น = 25เมตร
เพราะตีตัวเลขกลม จะเอา 4 เมตรแล้วผ่านก็ไม่ครอบคลุมการพูดแบบกะคร่าวๆ ก็มีอาคารบางที่อยากสร้างโอ่โถง สร้างเกินชั้นละ 4 เมตรได้ เผื่อฝ้าอีกล่ะ หรือชั้นล่าง ทำตรงล้อบบี้ ทำให้สูงกว่าชั้นอื่นก็มี
การใช้ตัวเลข 5 ชั้น คือการทำความเข้าใจแบบเร็วๆ เข้าใจนึกภาพไวกว่าบอกความสูงเป็นเมตร และเผื่อคลุมได้ทุกกรณี แบบไม่พลาด
- แต่ข้อเท็จจริง ก็ดูจากความสูงจริง ถ้าใครสร้าง 5 ชั้น แต่สร้างชั้นละ 3.5-4 เมตร ไม่มีชั้นไหนทำห้องโถงรับแขกเลย ทำ 4 เมตรทุกชั้น ก็แค่ 20 เมตร นี่ก็อยู่อาศัยได้ หรือเป็นห้องเช่าปานกลางได้
อาคารเล็กๆ หอพักนักศึกษา หรือ guest house สูง 3.5 เมตร เดินสายไฟตีกิ๊บเห็นๆ ก็ยังอยู่กันได้ แปรไปตามแรงจ่าย
จึงสามารถที่จะมีอาคารที่มี 5 ชั้น แต่ไม่มีลิฟท์ แล้วไม่ผิดกฎหมายได้...
แต่เหลือเป็นประเด็นการให้บริการลูกค้า/ให้ผู้เช่า การตัดสินใจของเจ้าของอาคารและสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้เองที่ต้องดีดเครื่องคิดเลขเองนั่นแหละ ว่าไม่มีแล้วทำให้ลดมูลค่าของอาคารหรือไม่
...มีผลต่อมูลค่า ไม่ใช่ประเด็นเรื่องลิฟท์ไม่ติดตั้งแล้วตีราคาสินทรัพย์ต่ำ แต่เรื่องการประเมินผลตอบแทนโครงการที่จะเป็น cash inflow ไปให้เจ้าหนี้ยอมอนุมัติปล่อยเงินมา เมื่อทำการลดเกรดอาคารเองให้เป็นแบบโบราณเดินขึ้นบันได้ด้วยพลังน่อง... ก็จะได้เกรดลูกค้าตามสภาพ ต้องปล่อยเช่าแบบลูกค้าตลาดล่าง แบบถูกๆ ราคาติดดิน รายได้ประเมินก็ลดแน่นอน เป็นเหตุ เป็นผล
ก็อยู่ที่การเอาแผนธุรกิจไปแสดง ถ้าเอาลูกค้าตลาดล่าง ก็ต้องแสดงการตอบแทนโครงการให้เห็นว่าถึงจุดคุ้มทุนในระยะเวลายอมรับได้ เช่น หาได้ปริมาณเยอะ
- แต่ๆๆๆๆๆ มีเงื่อนไขอีกข้อ
ถ้าเจ้าของอาคารทำเตี้ยลง แต่มีที่ดินเยอะเน้นไม่สูงแต่กว้างขวางมากเพราะเก็บที่ดินไว้เยอะ และอาคารสร้างไม่สูงมากงานฐานรากจะอออกแบบง่าย
แต่ว่าแม้อาคารเตี้ยกว่ากำหนด สมมติแค่ 15 เมตร แต่อาจจะทำให้อาคารนั้น กลายเป็น "อาคารขนาดใหญ่พิเศษ" ได้ ก็จะถูกบังคับเช่นกัน
ข้อความเขียนไว้ชัดเช่นกัน ต้นเอกสารเลย ๑๐,๐๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป
ส่วนชนิดลิฟท์ ก็เขียนไว้ชัดเจน
สรุปให้สั้นๆ ว่า ถ้าลิฟท์ดับเพลิง ทำได้สเปคป้องกันได้ทุกสถานการณ์แล้ว แบบนั้นก็จะสามารถใช้เป็นลิฟท์โดยสารในยามปกติได้
ระบบไฟฟ้าลิฟท์ดับเพลิง ต้องแยกต่างหาก ที่แน่ๆ อยู่แล้วว่าทั้งระบบไฟทั้งตัวลิฟท์ ต้องสร้างป้องกันไฟไหม้ได้ แล้วมีสายดับเพลิงไม่ไกล
มีกำหนดอยู่พอควร อีกว่ามีอะไรบ้าง
แต่เจ้าของก็อาจแยกลิฟท์ดับเพลิง เป็นสัดส่วนก็ได้
เพราะจากข้อกำหนด เช่น หน้าลิฟท์ทุกชั้นต้องมีโถง กำหนดลิฟท์ไว่ในพื้นที่ปลอดภัยจากควันไฟ ถ้าข้อกำหนดจะไปขัดกับการให้บริการลูกค้า ก็สร้างลิฟท์สเปคดับเพลิงน้อยหนึ่งตัวแยกไป จะเอาไปเป็นลิฟท์ขนของบ้างในเวลาปกติ ก็ไม่มีอะไรขัดกม.นี้
แสดงความคิดเห็น
อาคารทั่วไปไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีลิฟท์ใช่มั้ยครับ ถ้าเป็นตึกสูง23ม.ถึงต้องมี และต้องเป็นลิฟท์ดับเพลิงใช่มั้ยครับ