พนักงานออฟฟิศล้วนมีพฤติกรรมในการทำงานที่แตกต่างกันออกไป บางคนอาจมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การนั่งหลังค่อม นั่งทำงานหน้าจอคอมนาน ๆ โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ หรือมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น โต๊ะ เก้าอี้ สูงเกินไป จนส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกาย ซึ่งสิ่งที่เราทำทุกวันอยู่นั้นอาจจะส่งผลเสียต่อร่างกาย และอาจเกิดโรคที่เรียกว่า "ออฟฟิศซินโดรม" นั่นเองค่ะ
ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) คืออะไร
เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) มักพบได้บ่อยในคนทำงานออฟฟิศ เพราะเป็นการทำงานที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่องกันหลายชั่วโมงต่อวัน หรืออยู่ในท่าการทำงานที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่องกันนาน ๆ เช่น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานเกินไป โดยไม่ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ การนั่ง หรือยืนหลังค่อม ไหล่ห่อ ก้มคอมากเกินไป เป็นต้น ซึ่งอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง และอาจส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาไม่ว่าจะเป็นโรคเกี่ยวกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบนัยน์ตา ระบบการย่อยอาหาร และการมองเห็นได้อีกด้วย
สาเหตุของการเกิดออฟฟิศซินโดรม
อย่างที่เราทราบจากหัวข้อข้างต้นไปแล้วว่าโรคออฟฟิศซินโดรมเกิดจากลักษณะการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำ ๆ เป็นเวลานานหลายชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ได้อีก เช่น
-
สภาพแวดล้อม อุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสมกับโครงสร้างของร่างกายของผู้ทำงาน เช่น โต๊ะ หรือเก้าอี้ที่ใช้ทำงานสูงหรือต่ำจนเกินไป เป็นต้น
-
สภาพร่างกายและจิตใจ เช่น ความเครียดจากการทำงาน การพักผ่อนไม่เพียงพอ การได้รับสารอาหารไม่ครบ ทานอาหารไม่ตรงเวลา สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วยได้ด้วย
อาการของออฟฟิศซินโดรม
-
มีอาการปวดกล้ามเนื้อ จะมีลักษณะอาการปวดล้า ๆ เฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น บ่า ไหล่ คอ สะบัก มักมีอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง อาจมีอาการปวดร้าวไปบริเวณใกล้เคียงร่วมด้วย หรือมีอาการชาลงมาที่แขน โดยความรุนแรงจะสามารถเป็นได้ตั้งแต่ปวดเล็กน้อยไปจนถึงอาการปวดรุนแรงและทรมาน
-
มีอาการทางระบบประสาท เช่น อาการชาบริเวณมือและแขน หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไปจะมีอาการอ่อนแรงที่อวัยวะนั้นร่วมด้วย
-
มีอาการของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น วูบ เย็น เหน็บ ขนลุก และเหงื่อออกตามบริเวณที่ปวดร้าว หากเป็นบริเวณคออาจมีอาการมึนงง หูอื้อ ตาพร่ามัว
ภาวะแทรกซ้อนของออฟฟิศซินโดรม
โรคนี้จะส่งผลให้เกิดอาการของโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อตามมาได้ เช่น
-
เอ็นข้อมืออักเสบกดทับเส้นประสาท (carpal tunnel syndrome) มักมีอาการเริ่มต้นคือชานิ้วมือ โดยเฉพาะนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง ซึ่งมักเกิดขึ้นบ่อยในผู้หญิงวัยทำงาน โดยอาการชาจะค่อย ๆ เป็นบ่อยขึ้นเรื่อย ๆ โดยส่วนมากมักจะมีอาการชาในตอนกลางคืนมากกว่าตอนกลางวัน และจะชาเกือบตลอดเวลาในเวลาต่อม
-
นิ้วล็อค (trigger finger) เป็นอาการที่เกิดจากการอักเสบของปลอกเอ็นนิ้วมือทำให้มีการหนาขึ้นส่งผลให้ไม่สามารถยืด หรือหดนิ้วได้ตามปกติ โดยนิ้วที่พบว่ามักเกิดอาการดังกล่าวคือ นิ้วโป้ง นิ้วกลาง และนิ้วนาง หรืออาจจะเกิดขึ้นได้ทุกนิ้ว และอาจเกิดขึ้นได้ทั้งนิ้วมือทั้งสองข้างอีกด้วย
-
โรคเอ็นอักเสบที่ข้อมือ (De quervain’s Tenosynovitis) คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นและเส้นเอ็นบริเวณข้อมือทางฝั่งนิ้วโป้งทำให้เกิดการกดทับของเส้นเอ็นภายใน โดยส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 8 เท่า
การรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม
-
รับประทานยา เพื่อช่วยบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้อักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น หากอาการไม่ดีขึ้นแนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำกายภาพบำบัดในการรักษาต่อไป
-
การทำกายภาพบำบัด เป็นการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก และยังเป็นการประเมินโครงสร้างร่างกายและการปรับร่างกายให้เกิดความสมดุล รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคอื่น ๆ ที่อาจเกิดตามมาได้ในระยะยาว
-
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เริ่มจากการนั่งให้ถูกวิธีโดยการนั่งตัวตรง พยายามอย่าก้มคอ ปรับระดับเก้าอี้ให้พอดีกับโต๊ะ และควรพักสายตาหลังจากทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน เช่น การมองออกไปไกล ๆ เป็นต้น
การป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม
-
ออกกำลังกาย เพื่อยืดกล้ามเนื้อให้เกิดความยืดหยุ่น และเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา หรือปรับระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ให้สามารถนั่งทำงานในท่าที่สบาย เป็นต้น
-
พักการใช้งานกล้ามเนื้อ เช่น ในระหว่างทำงานควรมีการเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้ออย่างน้อยทุก ๆ 1 ชั่วโมง
-
เปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน ยึดหลัก “10-20-60” พักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุก 10 นาที โดยลุกออกไปเดินเล่น หรือเปลี่ยนอิริยาบถเมื่อทำงานครบทุก ๆ 20 นาที เมื่อครบ 60 นาทีให้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อและแขน โดยการบริหารต้นคอ สะบัก ไหล่ แขนมือ เอวหลัง และขา
โรคออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคที่เราสามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับพฤติกรรมในที่ทำงาน และไม่ควรปล่อยปละละเลยหากเกิดสัญญาณเตือนของอาการ เพราะการดูแลสุขภาพของตนเองตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้
ออฟฟิศซินโดรม โรคที่ชาวออฟฟิศต้องรู้
ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) คืออะไร
เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) มักพบได้บ่อยในคนทำงานออฟฟิศ เพราะเป็นการทำงานที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่องกันหลายชั่วโมงต่อวัน หรืออยู่ในท่าการทำงานที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่องกันนาน ๆ เช่น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานเกินไป โดยไม่ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ การนั่ง หรือยืนหลังค่อม ไหล่ห่อ ก้มคอมากเกินไป เป็นต้น ซึ่งอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง และอาจส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาไม่ว่าจะเป็นโรคเกี่ยวกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบนัยน์ตา ระบบการย่อยอาหาร และการมองเห็นได้อีกด้วย
สาเหตุของการเกิดออฟฟิศซินโดรม
อย่างที่เราทราบจากหัวข้อข้างต้นไปแล้วว่าโรคออฟฟิศซินโดรมเกิดจากลักษณะการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำ ๆ เป็นเวลานานหลายชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ได้อีก เช่น
- สภาพแวดล้อม อุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสมกับโครงสร้างของร่างกายของผู้ทำงาน เช่น โต๊ะ หรือเก้าอี้ที่ใช้ทำงานสูงหรือต่ำจนเกินไป เป็นต้น
- สภาพร่างกายและจิตใจ เช่น ความเครียดจากการทำงาน การพักผ่อนไม่เพียงพอ การได้รับสารอาหารไม่ครบ ทานอาหารไม่ตรงเวลา สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วยได้ด้วย
อาการของออฟฟิศซินโดรม
- มีอาการปวดกล้ามเนื้อ จะมีลักษณะอาการปวดล้า ๆ เฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น บ่า ไหล่ คอ สะบัก มักมีอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง อาจมีอาการปวดร้าวไปบริเวณใกล้เคียงร่วมด้วย หรือมีอาการชาลงมาที่แขน โดยความรุนแรงจะสามารถเป็นได้ตั้งแต่ปวดเล็กน้อยไปจนถึงอาการปวดรุนแรงและทรมาน
- มีอาการทางระบบประสาท เช่น อาการชาบริเวณมือและแขน หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไปจะมีอาการอ่อนแรงที่อวัยวะนั้นร่วมด้วย
- มีอาการของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น วูบ เย็น เหน็บ ขนลุก และเหงื่อออกตามบริเวณที่ปวดร้าว หากเป็นบริเวณคออาจมีอาการมึนงง หูอื้อ ตาพร่ามัว
ภาวะแทรกซ้อนของออฟฟิศซินโดรม
โรคนี้จะส่งผลให้เกิดอาการของโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อตามมาได้ เช่น
- เอ็นข้อมืออักเสบกดทับเส้นประสาท (carpal tunnel syndrome) มักมีอาการเริ่มต้นคือชานิ้วมือ โดยเฉพาะนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง ซึ่งมักเกิดขึ้นบ่อยในผู้หญิงวัยทำงาน โดยอาการชาจะค่อย ๆ เป็นบ่อยขึ้นเรื่อย ๆ โดยส่วนมากมักจะมีอาการชาในตอนกลางคืนมากกว่าตอนกลางวัน และจะชาเกือบตลอดเวลาในเวลาต่อม
- นิ้วล็อค (trigger finger) เป็นอาการที่เกิดจากการอักเสบของปลอกเอ็นนิ้วมือทำให้มีการหนาขึ้นส่งผลให้ไม่สามารถยืด หรือหดนิ้วได้ตามปกติ โดยนิ้วที่พบว่ามักเกิดอาการดังกล่าวคือ นิ้วโป้ง นิ้วกลาง และนิ้วนาง หรืออาจจะเกิดขึ้นได้ทุกนิ้ว และอาจเกิดขึ้นได้ทั้งนิ้วมือทั้งสองข้างอีกด้วย
- โรคเอ็นอักเสบที่ข้อมือ (De quervain’s Tenosynovitis) คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นและเส้นเอ็นบริเวณข้อมือทางฝั่งนิ้วโป้งทำให้เกิดการกดทับของเส้นเอ็นภายใน โดยส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 8 เท่า
การรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม
- รับประทานยา เพื่อช่วยบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้อักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น หากอาการไม่ดีขึ้นแนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำกายภาพบำบัดในการรักษาต่อไป
- การทำกายภาพบำบัด เป็นการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก และยังเป็นการประเมินโครงสร้างร่างกายและการปรับร่างกายให้เกิดความสมดุล รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคอื่น ๆ ที่อาจเกิดตามมาได้ในระยะยาว
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เริ่มจากการนั่งให้ถูกวิธีโดยการนั่งตัวตรง พยายามอย่าก้มคอ ปรับระดับเก้าอี้ให้พอดีกับโต๊ะ และควรพักสายตาหลังจากทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน เช่น การมองออกไปไกล ๆ เป็นต้น
การป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม
- ออกกำลังกาย เพื่อยืดกล้ามเนื้อให้เกิดความยืดหยุ่น และเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา หรือปรับระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ให้สามารถนั่งทำงานในท่าที่สบาย เป็นต้น
- พักการใช้งานกล้ามเนื้อ เช่น ในระหว่างทำงานควรมีการเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้ออย่างน้อยทุก ๆ 1 ชั่วโมง
- เปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน ยึดหลัก “10-20-60” พักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุก 10 นาที โดยลุกออกไปเดินเล่น หรือเปลี่ยนอิริยาบถเมื่อทำงานครบทุก ๆ 20 นาที เมื่อครบ 60 นาทีให้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อและแขน โดยการบริหารต้นคอ สะบัก ไหล่ แขนมือ เอวหลัง และขา
โรคออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคที่เราสามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับพฤติกรรมในที่ทำงาน และไม่ควรปล่อยปละละเลยหากเกิดสัญญาณเตือนของอาการ เพราะการดูแลสุขภาพของตนเองตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้