สวัสดีค่ะ พบกับเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับคอนโดที่ CondoNewb นำมาฝากกันอีกแล้ว ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงการ “กู้ร่วมซื้อคอนโด” อีกหนึ่งวิธีในการกู้ซื้อคอนโดมิเนียมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ต่อเดือนไม่มากพอ หรือมีภาระหนี้สินเยอะ แต่อยากกู้ซื้อคอนโดหรือบ้านเป็นของตัวเอง เพราะการกู้ร่วมจะช่วยเพิ่มโอกาสในการกู้ซื้อคอนโดให้ผ่านได้ง่ายขึ้น โดยหลักการกู้ร่วมซื้อคอนโด-บ้าน คือการเซ็นสัญญากู้ซื้อทรัพย์สินชิ้นเดียวกัน เพื่อนำรายได้ของบุคคล 2 หรือ 3 คนมารวมกัน วิธีนี้จะช่วยเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ให้เพียงพอต่อการผ่อนชำระได้ตามสัญญา ทำให้สามารถกู้ซื้อทรัพย์สินชิ้นใหญ่ ๆ อย่างคอนโดและบ้านได้ โดยสามารถใส่ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้ 2 กรณี คือใส่ชื่อคนเดียว หรือใส่ชื่อผู้กู้ร่วมทุกคน
ในอดีตนั้นการกู้ร่วม สถาบันทางการเงินจะมีเงื่อนไขในการกู้ร่วม คือ ผู้กู้ร่วมจะต้องร่วมสายโลหิตกัน เป็นคนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ พี่น้อง เครือญาติ คู่สมรส หรือถ้าหากเป็นคู่สมรสที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ต้องใช้ใบลงบันทึกประจำวัน ภาพถ่ายงานแต่ง การ์ดแต่งงาน หรือการมีบุตรร่วมกันเป็นหลักฐานในการกู้ ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวก็เป็นที่ถกเถียงกันว่า หากเป็นในกรณีคู่รัก LGBTQ ซึ่งไม่เข้าเงื่อนไขข้างต้นจะทำให้ไม่สามารถกู้ร่วมได้หรือไม่ ในปัจจุบันจึงมีหลายสถาบันการเงิน เริ่มหันมาปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการกู้ร่วมให้ผู้กู้ร่วมในกลุ่ม LGBTQ สามารถกู้ร่วมกับคู่รักได้ เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด และธนาคารยูโอบี
อีกหนึ่งข้อที่หลาย ๆ คนมักจะสับสนก็คือ การกู้ร่วม แตกต่างกับการค้ำประกันอย่างไร จะขออธิบายอย่างนี้ค่ะ การกู้ร่วมคือ ผู้กู้ร่วมเป็นลูกหนี้ร่วมชั้นต้นเท่า ๆ กัน และธนาคารจะนำรายได้ของผู้กู้ร่วมมาประเมิณร่วมกัน ในขณะที่การค้ำประกันจะไม่นำรายได้ของผู้ค้ำประกันมาประเมิน และในการเรียกชำระหนี้นั้นธนาคารจะสามารถเรียกเก็บจากใครก็ได้ที่กู้ร่วมในการชำระเงิน ในขณะที่ถ้าเป็นในกรณีค้ำประกันจะเรียกผู้กู้ให้ชำระก่อน ถ้าผู้กู้ไม่ชำระ จึงจะไปเรียกร้องกับผู้ค้ำประกันต่อไป
ขั้นตอนการกู้ร่วมต้องทำอย่างไร?
เตรียมเอกสาร
โดยเอกสารที่ใช้ ผู้ยื่นกู้ร่วมทุกคนจะต้องเตรียมเอกสารทั้งหมด โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. เอกสารส่วนตัวทั่วไป
- บัตรประชาชน
- ทะเบียนบ้าน
- ทะเบียนสมรส หรือใบสำคัญการหย่า (ถ้ามี)
- ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล
- บัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้กู้ร่วม
- หลักฐานแสดงความสัมพันธ์ในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส เช่นใบสูติบัตรของบุตร, ใบทะเบียนบ้านบุตร, การ์ดแต่งงาน หรือรูปถ่ายแต่งงาน สำหรับกรณีที่เป็นคู่รัก LGBTQ ต้องมีการเซ็นเอกสารรับรองการอยู่ร่วมกัน หรือตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร
2. เอกสารแสดงความสามารถทางการเงิน
กลุ่มพนักงานบริษัท มีรายได้เงินเดือนประจำ
- เอกสารรับรองเงินเดือน ฉบับจริง
- สลิปเงินเดือน การจ่ายเงินค่าจ้างย้อนหลัง 3 เดือน ฉบับจริงและสำเนา
- Statement ย้อนหลัง 6 เดือน ทั้งฉบับจริง และสำเนา
- หากได้รับเงินเดือนเป็นเงินสด ต้องยื่นรายการภาษีเงินได้ประจำปี หรือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ทั้งต้นฉบับและสำเนา
กรณีประกอบธุรกิจส่วนตัว
- สำเนาทะเบียนการค้า ทะเบียนพาณิชย์ หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
- สำเนาทะเบียนการค้าหรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
- รายชื่อผู้ถือหุ้น
- รายการเดินบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน
- สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี
- หลักฐานการเสียภาษี เช่น ภ.พ. 30 เป็นต้น
- รูปถ่ายกิจการ 4-5 ภาพพร้อมแผนที่ตั้งโดยสังเขป
กรณีประกอบอาชีพอิสระ
- รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
- ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์, ทนาย, สถาปนิก เป็นต้น
ข้อดีและข้อควรระวังในการกู้ร่วม
ข้อดีในการกู้ร่วม
- เพิ่มโอกาสในการกู้ซื้อคอนโดและบ้าน สำหรับผู้มีรายได้ต่อเดือนน้อย
- อาจได้วงเงินเพิ่มมากขึ้น แทนการยื่นกู้ซื้อคอนโดและบ้านเพียงคนเดียว
- มีการผ่อนปรนให้ในกรณีกู้ร่วม จากเดิมหากกู้ร่วมซื้ออสังหาฯ จะถือว่าเป็นสัญญาที่ 1 ของทุกคนที่ยื่นกู้ร่วมโดยปริยาย แต่มาตรการ LTV ใหม่นั้น เปลี่ยนเงื่อนไขดังนี้
ใครถือกรรมสิทธิ์ ให้สัญญาที่ 1 เป็นของคนนั้น เช่น A กับ B ไม่เคยกู้ซื้อคอนโดมิเนียมมาก่อน โดยทั้งคู่ตัดสินใจกู้ร่วมซื้อคอนโดร่วมกัน แต่ A เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว เราจะถือว่า A คือผู้ถือสัญญาที่ 1 (ซึ่งจะทำให้การกู้ซื้อคอนโดเดี่ยว เป็นสัญญาที่ 2 ซึ่งจะได้วงเงินสินเชื่อไม่เต็ม 100%) ส่วน B นั้นไม่ถือว่ามีสัญญาการกู้ซื้อคอนโดมิเนียม สามารถกู้เดี่ยวซื้อคอนโดมิเนียมเป็นสัญญาที่ 1 ได้ โดยจะได้วงเงินสินเชื่อเต็ม 100% ตามมาตรการ LTV ใหม่
ข้อควรระวังในการกู้ร่วม
- กู้ร่วม = เป็นหนี้ร่วมกัน
ในกรณีนี้หลาย ๆ คนจะต้องพึงระลึกไว้เสมอว่าแม้จะไม่ได้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือมีหน้าที่ผ่อนชำระกับธนาคาร แต่ธนาคารสามารถเรียกเก็บเงินชำระจากคุณได้ ในฐานะผู้กู้ร่วม ดังนั้นจะไม่สามารถเอาข้ออ้างดังกล่าวแจ้งกับธนาคารได้ หากผู้กู้ร่วมอีกคนไม่ชำระหนี้ตามกำหนด
- สิทธิลดหย่อนภาษี หารเฉลี่ยเท่า ๆ กัน
เป็นที่รู้กันว่าเราสามารถนำดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับซื้ออสังหาฯ นำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งหากเป็นในกรณีกู้ร่วมนั้น จะต้องการเท่ากันตามจำนวนของผู้ร่วมกู้ เช่น กู้ร่วมสองคนก็หารครึ่ง กู้ร่วมสามคนก็หารสาม แม้จะมีเพียงคนเดียวที่เป็นคนผ่อนชำระก็ตาม
- กู้ร่วมกับคู่สมรสชาวต่างชาติ มีข้อจำกัดเรื่องการถือกรรมสิทธิ์
เพราะชาวต่างชาติไม่สามารถเป็นเจ้าของที่ดินในประเทศไทยได้ แม้จะกู้ร่วมกัน นอกจากนี้ ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของการใช้สินเชื่อด้วย โดยธนาคารอาจจะจำกัดวงเงินเหลือ 50 – 60% ของราคาขาย หรือราคาประเมิน และจำกัดระยะเวลาการกู้เงินสูงสุด ตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร
- หากจะขายบ้าน ต้องได้รับการยินยอมจากผู้กู้ร่วมทุกคน
การกู้ร่วมจะมีความยุ่งยากกว่าการกู้ซื้อคอนโดมิเนียม เพียงคนเดียว เพราะหากเราต้องการจะขายคอนโดมิเนียม หรือบ้านที่ยื่นกู้ร่วมกัน จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้กู้ร่วมคนอื่น ๆ ทุกคน ดังนั้นหากจะกู้ร่วมกับใคร ก็อย่าลืมเจรจากันให้ดีเสียก่อนนะคะ
- ต้องทำยังไงหากกู้ร่วมกับคู่รักแต่เลิกกัน
1. ถอนชื่อผู้กู้ร่วม
ในกรณีที่จดทะเบียนสมรส : ทำการจดทะเบียนหย่าให้เรียบร้อย จากนั้นนำใบหย่าไปแจ้งออกจากสัญญากู้ที่ทำกับธนาคาร โดยทางธนาคารจะทำการ
เปลี่ยนรูปแบบสินเชื่อ และสัญญาเงินกู้ใหม่
ในกรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส : ให้ตกลงกันก่อน ว่าจะให้ใครเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ และแจ้งถอดถอนชื่อกับทางธนาคารที่ทำสัญญากู้ไว้ ซึ่งธนาคารจะทำการประเมินว่าผู้กู้จะมีความสามารถในการผ่อนชำระต่อหรือไม่
ซึ่งต้องแจ้งก่อนนะคะว่า การจะอนุมัติให้ถอนชื่อออกหรือไม่นั้น เป็นการตัดสินใจของธนาคาร อาจจะมีกรณีที่ไม่อนุมัติหากธนาคารประเมินแล้วว่าผู้กู้ไม่มีความสามารถพอในการชำระต่อ
2. รีไฟแนนซ์จากกู้ร่วมเป็นกู้เดี่ยว
ในกรณีที่ธนาคารไม่อนุมัติให้ถอนชื่อ วิธีการต่อไปที่เราสามารถทำได้ คือการรีไฟแนนซ์กับธนาคารอื่น เพื่อทำเรื่องยื่นกู้เดี่ยว โดยธนาคารใหม่ก็จะทำการประเมินความสามารถของผู้ยื่นกู้ ว่าจะสามารถชำหนี้ได้หรือไม่ โดยจะใช้หลักเกณฑ์ปกติทั่วไปในการให้สินเชื่อ คือดูจากรายได้ ดูยอดดาวน์คอนโด หรือบ้าน เช็คภาระหนี้สิน เช็คประวัติเครดิตบูโร
3. ขายทิ้งซะเลย
ในสุดท้ายแล้ว หากธนาคารไม่อนุมัติทั้งการถอนชื่อ หรือรีไฟแนนซ์เปลี่ยนเป็นการกู้เดี่ยว การขายทิ้งอาจจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่ต้องเคลียร์กันให้ชัดว่าไม่มีใครอยากจะเก็บคอนโด หรือบ้านหลังนี้ที่เคยกู้ร่วมกันมาก่อนอีกแล้ว จึงจะสามารถขายคอนโด หรือบ้านนั้น เพื่อจบปัญหานั่นเอง แต่อย่าลืมเช็คสภาพคอนโดมิเนียม และบ้าน รวมถึงตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่จะต้องใช้ในการขายด้วย
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ คือเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการกู้ร่วม ที่ทาง CondoNewb นำมาฝากเพื่อน ๆ กันในวันนี้ สำหรับใครที่กำลังตัดสินใจอยากจะซื้อคอนโดมิเนียม และกำลังเตรียมตัวในการกู้ซื้อสามารถอ่านบทความดี ๆ ก็สามารถแวะเข้าไปอ่านบทความดี ๆ ที่เว็บไซต์ของ
CondoNewb ได้นะคะ ส่วนในครั้งหน้าเราจะมีเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับคอนโดมิเนียมอะไรมาฝากกันอีก อย่าลืมติดตามเราเอาไว้นะคะ แล้วพบกันใหม่กระทู้หน้าค่ะ
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ :
อยากกู้ร่วมซื้อคอนโดต้องทำยังไง มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง?
อยากกู้ร่วมซื้อคอนโดต้องทำยังไง มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง
ในอดีตนั้นการกู้ร่วม สถาบันทางการเงินจะมีเงื่อนไขในการกู้ร่วม คือ ผู้กู้ร่วมจะต้องร่วมสายโลหิตกัน เป็นคนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ พี่น้อง เครือญาติ คู่สมรส หรือถ้าหากเป็นคู่สมรสที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ต้องใช้ใบลงบันทึกประจำวัน ภาพถ่ายงานแต่ง การ์ดแต่งงาน หรือการมีบุตรร่วมกันเป็นหลักฐานในการกู้ ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวก็เป็นที่ถกเถียงกันว่า หากเป็นในกรณีคู่รัก LGBTQ ซึ่งไม่เข้าเงื่อนไขข้างต้นจะทำให้ไม่สามารถกู้ร่วมได้หรือไม่ ในปัจจุบันจึงมีหลายสถาบันการเงิน เริ่มหันมาปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการกู้ร่วมให้ผู้กู้ร่วมในกลุ่ม LGBTQ สามารถกู้ร่วมกับคู่รักได้ เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด และธนาคารยูโอบี
อีกหนึ่งข้อที่หลาย ๆ คนมักจะสับสนก็คือ การกู้ร่วม แตกต่างกับการค้ำประกันอย่างไร จะขออธิบายอย่างนี้ค่ะ การกู้ร่วมคือ ผู้กู้ร่วมเป็นลูกหนี้ร่วมชั้นต้นเท่า ๆ กัน และธนาคารจะนำรายได้ของผู้กู้ร่วมมาประเมิณร่วมกัน ในขณะที่การค้ำประกันจะไม่นำรายได้ของผู้ค้ำประกันมาประเมิน และในการเรียกชำระหนี้นั้นธนาคารจะสามารถเรียกเก็บจากใครก็ได้ที่กู้ร่วมในการชำระเงิน ในขณะที่ถ้าเป็นในกรณีค้ำประกันจะเรียกผู้กู้ให้ชำระก่อน ถ้าผู้กู้ไม่ชำระ จึงจะไปเรียกร้องกับผู้ค้ำประกันต่อไป
ขั้นตอนการกู้ร่วมต้องทำอย่างไร?
เตรียมเอกสาร
โดยเอกสารที่ใช้ ผู้ยื่นกู้ร่วมทุกคนจะต้องเตรียมเอกสารทั้งหมด โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. เอกสารส่วนตัวทั่วไป
- บัตรประชาชน
- ทะเบียนบ้าน
- ทะเบียนสมรส หรือใบสำคัญการหย่า (ถ้ามี)
- ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล
- บัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้กู้ร่วม
- หลักฐานแสดงความสัมพันธ์ในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส เช่นใบสูติบัตรของบุตร, ใบทะเบียนบ้านบุตร, การ์ดแต่งงาน หรือรูปถ่ายแต่งงาน สำหรับกรณีที่เป็นคู่รัก LGBTQ ต้องมีการเซ็นเอกสารรับรองการอยู่ร่วมกัน หรือตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร
2. เอกสารแสดงความสามารถทางการเงิน
กลุ่มพนักงานบริษัท มีรายได้เงินเดือนประจำ
- เอกสารรับรองเงินเดือน ฉบับจริง
- สลิปเงินเดือน การจ่ายเงินค่าจ้างย้อนหลัง 3 เดือน ฉบับจริงและสำเนา
- Statement ย้อนหลัง 6 เดือน ทั้งฉบับจริง และสำเนา
- หากได้รับเงินเดือนเป็นเงินสด ต้องยื่นรายการภาษีเงินได้ประจำปี หรือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ทั้งต้นฉบับและสำเนา
กรณีประกอบธุรกิจส่วนตัว
- สำเนาทะเบียนการค้า ทะเบียนพาณิชย์ หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
- สำเนาทะเบียนการค้าหรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
- รายชื่อผู้ถือหุ้น
- รายการเดินบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน
- สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี
- หลักฐานการเสียภาษี เช่น ภ.พ. 30 เป็นต้น
- รูปถ่ายกิจการ 4-5 ภาพพร้อมแผนที่ตั้งโดยสังเขป
กรณีประกอบอาชีพอิสระ
- รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
- ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์, ทนาย, สถาปนิก เป็นต้น
ข้อดีและข้อควรระวังในการกู้ร่วม
ข้อดีในการกู้ร่วม
- เพิ่มโอกาสในการกู้ซื้อคอนโดและบ้าน สำหรับผู้มีรายได้ต่อเดือนน้อย
- อาจได้วงเงินเพิ่มมากขึ้น แทนการยื่นกู้ซื้อคอนโดและบ้านเพียงคนเดียว
- มีการผ่อนปรนให้ในกรณีกู้ร่วม จากเดิมหากกู้ร่วมซื้ออสังหาฯ จะถือว่าเป็นสัญญาที่ 1 ของทุกคนที่ยื่นกู้ร่วมโดยปริยาย แต่มาตรการ LTV ใหม่นั้น เปลี่ยนเงื่อนไขดังนี้
ใครถือกรรมสิทธิ์ ให้สัญญาที่ 1 เป็นของคนนั้น เช่น A กับ B ไม่เคยกู้ซื้อคอนโดมิเนียมมาก่อน โดยทั้งคู่ตัดสินใจกู้ร่วมซื้อคอนโดร่วมกัน แต่ A เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว เราจะถือว่า A คือผู้ถือสัญญาที่ 1 (ซึ่งจะทำให้การกู้ซื้อคอนโดเดี่ยว เป็นสัญญาที่ 2 ซึ่งจะได้วงเงินสินเชื่อไม่เต็ม 100%) ส่วน B นั้นไม่ถือว่ามีสัญญาการกู้ซื้อคอนโดมิเนียม สามารถกู้เดี่ยวซื้อคอนโดมิเนียมเป็นสัญญาที่ 1 ได้ โดยจะได้วงเงินสินเชื่อเต็ม 100% ตามมาตรการ LTV ใหม่
ข้อควรระวังในการกู้ร่วม
- กู้ร่วม = เป็นหนี้ร่วมกัน
ในกรณีนี้หลาย ๆ คนจะต้องพึงระลึกไว้เสมอว่าแม้จะไม่ได้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือมีหน้าที่ผ่อนชำระกับธนาคาร แต่ธนาคารสามารถเรียกเก็บเงินชำระจากคุณได้ ในฐานะผู้กู้ร่วม ดังนั้นจะไม่สามารถเอาข้ออ้างดังกล่าวแจ้งกับธนาคารได้ หากผู้กู้ร่วมอีกคนไม่ชำระหนี้ตามกำหนด
- สิทธิลดหย่อนภาษี หารเฉลี่ยเท่า ๆ กัน
เป็นที่รู้กันว่าเราสามารถนำดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับซื้ออสังหาฯ นำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งหากเป็นในกรณีกู้ร่วมนั้น จะต้องการเท่ากันตามจำนวนของผู้ร่วมกู้ เช่น กู้ร่วมสองคนก็หารครึ่ง กู้ร่วมสามคนก็หารสาม แม้จะมีเพียงคนเดียวที่เป็นคนผ่อนชำระก็ตาม
- กู้ร่วมกับคู่สมรสชาวต่างชาติ มีข้อจำกัดเรื่องการถือกรรมสิทธิ์
เพราะชาวต่างชาติไม่สามารถเป็นเจ้าของที่ดินในประเทศไทยได้ แม้จะกู้ร่วมกัน นอกจากนี้ ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของการใช้สินเชื่อด้วย โดยธนาคารอาจจะจำกัดวงเงินเหลือ 50 – 60% ของราคาขาย หรือราคาประเมิน และจำกัดระยะเวลาการกู้เงินสูงสุด ตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร
- หากจะขายบ้าน ต้องได้รับการยินยอมจากผู้กู้ร่วมทุกคน
การกู้ร่วมจะมีความยุ่งยากกว่าการกู้ซื้อคอนโดมิเนียม เพียงคนเดียว เพราะหากเราต้องการจะขายคอนโดมิเนียม หรือบ้านที่ยื่นกู้ร่วมกัน จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้กู้ร่วมคนอื่น ๆ ทุกคน ดังนั้นหากจะกู้ร่วมกับใคร ก็อย่าลืมเจรจากันให้ดีเสียก่อนนะคะ
- ต้องทำยังไงหากกู้ร่วมกับคู่รักแต่เลิกกัน
1. ถอนชื่อผู้กู้ร่วม
ในกรณีที่จดทะเบียนสมรส : ทำการจดทะเบียนหย่าให้เรียบร้อย จากนั้นนำใบหย่าไปแจ้งออกจากสัญญากู้ที่ทำกับธนาคาร โดยทางธนาคารจะทำการ
เปลี่ยนรูปแบบสินเชื่อ และสัญญาเงินกู้ใหม่
ในกรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส : ให้ตกลงกันก่อน ว่าจะให้ใครเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ และแจ้งถอดถอนชื่อกับทางธนาคารที่ทำสัญญากู้ไว้ ซึ่งธนาคารจะทำการประเมินว่าผู้กู้จะมีความสามารถในการผ่อนชำระต่อหรือไม่
ซึ่งต้องแจ้งก่อนนะคะว่า การจะอนุมัติให้ถอนชื่อออกหรือไม่นั้น เป็นการตัดสินใจของธนาคาร อาจจะมีกรณีที่ไม่อนุมัติหากธนาคารประเมินแล้วว่าผู้กู้ไม่มีความสามารถพอในการชำระต่อ
2. รีไฟแนนซ์จากกู้ร่วมเป็นกู้เดี่ยว
ในกรณีที่ธนาคารไม่อนุมัติให้ถอนชื่อ วิธีการต่อไปที่เราสามารถทำได้ คือการรีไฟแนนซ์กับธนาคารอื่น เพื่อทำเรื่องยื่นกู้เดี่ยว โดยธนาคารใหม่ก็จะทำการประเมินความสามารถของผู้ยื่นกู้ ว่าจะสามารถชำหนี้ได้หรือไม่ โดยจะใช้หลักเกณฑ์ปกติทั่วไปในการให้สินเชื่อ คือดูจากรายได้ ดูยอดดาวน์คอนโด หรือบ้าน เช็คภาระหนี้สิน เช็คประวัติเครดิตบูโร
3. ขายทิ้งซะเลย
ในสุดท้ายแล้ว หากธนาคารไม่อนุมัติทั้งการถอนชื่อ หรือรีไฟแนนซ์เปลี่ยนเป็นการกู้เดี่ยว การขายทิ้งอาจจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่ต้องเคลียร์กันให้ชัดว่าไม่มีใครอยากจะเก็บคอนโด หรือบ้านหลังนี้ที่เคยกู้ร่วมกันมาก่อนอีกแล้ว จึงจะสามารถขายคอนโด หรือบ้านนั้น เพื่อจบปัญหานั่นเอง แต่อย่าลืมเช็คสภาพคอนโดมิเนียม และบ้าน รวมถึงตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่จะต้องใช้ในการขายด้วย
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ คือเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการกู้ร่วม ที่ทาง CondoNewb นำมาฝากเพื่อน ๆ กันในวันนี้ สำหรับใครที่กำลังตัดสินใจอยากจะซื้อคอนโดมิเนียม และกำลังเตรียมตัวในการกู้ซื้อสามารถอ่านบทความดี ๆ ก็สามารถแวะเข้าไปอ่านบทความดี ๆ ที่เว็บไซต์ของ CondoNewb ได้นะคะ ส่วนในครั้งหน้าเราจะมีเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับคอนโดมิเนียมอะไรมาฝากกันอีก อย่าลืมติดตามเราเอาไว้นะคะ แล้วพบกันใหม่กระทู้หน้าค่ะ
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ : อยากกู้ร่วมซื้อคอนโดต้องทำยังไง มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง?