สวัสดีค่ะ ตอนนี้ได้ผลสอบรอบที่สองมาแล้ว เลยอยากทำตามความตั้งใจที่บอกตัวเองไว้ตั้งแต่ก่อนสอบรอบสองว่าอยากจะมาเผยแพร่เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย สิ่งที่ควรรู้ก่อนจะไปสอบ IELTS ส่งต่อให้กับคนอื่น อย่างน้อย ก็จะได้ไม่ผิดพลาดเหมือนอย่างคนเขียน
ดูเหมือนว่าการขยับจาก 6.5 เป็น 7 สำหรับ writing ดูไม่เยอะใช่มั้ยคะ แต่มีคนจำนวนมากที่ติดอยู่ที่ 6.5 เป็นเวลานาน สอบหลายครั้งก็ติดที่ 6.5 ทุกที module อื่นคะแนนดีหมดแล้ว แต่ writing ไม่ไปไหน ช่องว่างระหว่าง 6.5 กับ 7 ใน writing module ค่อนข้างเยอะค่ะ บทความนี้จะพยายามบอกสิ่งที่ค้นพบระหว่างเตรียมตัวสอบในเวลาเกือบสองสัปดาห์ หวังว่าจะช่วยคุณผู้อ่านได้ ไม่มากก็น้อยค่ะ
บทความ (ขอเรียกว่าบทความแล้วกัน แม้ว่าจะไม่ค่อยเป็นระเบียบเรียบร้อยซักเท่าไหร่ เหมือนเล่าไปเรื่อย) นี้ เหมาะกับใคร
1. คนที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษดีระดับหนึ่ง (เดี๋ยวจะกล่าวต่อไปว่าประมาณไหน และวัดอย่างไร)
2. คนที่รู้สึกว่าความสามารถในการเขียนตัวเองยังไม่ดีนัก หรือเคยสอบมาแล้วได้ผลยังไม่น่าพอใจ กำลังจะไปสอบใหม่
3. ผู้ที่มีเวลาเตรียมตัวสอบอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป (มีเวลาน้อยกว่านี้ อ่านไปเดี๋ยวจิตตกนะ)
4. คนที่ยินดีอ่านอะไรยาวๆ ถ้าชอบอ่านอะไรที่สั้นๆ ข้ามไปได้เลยค่ะ เพราะยาวมาก ชอบพิมพ์
5. คนที่มีหลักกาลามสูตรในจิตใจ เพราะใช่ว่าที่เขียนนี้จะเชื่อถือได้และได้ผลสำหรับคุณ
6. คนที่มีจิตใจเข้มแข็ง ไม่อ่อนไหว เพราะบางส่วนพูดตรงๆ อาจจะทำร้ายจิตใจ ไม่อยากให้จับประเด็นเป็นดราม่าอะไร เพราะทุกอย่างที่พิมพ์มีจุดประสงค์เดียวคืออยากส่งต่อสิ่งที่รู้ที่เจอให้ ไม่มีจุดประสงค์อื่นนะคะ
7. คนที่อยากได้ IELTS band 7 ขึ้นไป
8. คนที่อยากเข้ามาอ่านเล่นๆ ดูว่าพวกสอบภาษาอังกฤษเค้าบ้าขนาดไหน (> <)
ขออนุญาตแนะนำเพจด้วยนะคะ อ่านบทความนี้จบ รบกวนเข้าไปดูเพจ กดไลค์ กดแชร์เป็นกำลังใจ และมาร่วมเรียนภาษาไปด้วยกันนะคะ
https://www.facebook.com/ภาษาอังกฤษไว้ใช้-กับไว้สอบ-English-for-life-and-for-IELTS-105897234504281
ภูมิหลังผู้เขียน และวิธีการวัดพื้นฐานภาษาอังกฤษตัวเอง
(my English Background and how to measure your English skill level)
ผู้เขียนตอนนี้อายุก็มากกว่า 25 แล้ว (ไม่บอกตัวเลขชัดเจน) เรียนโรงเรียนเอกชนมาตั้งแต่อนุบาล และโชคดีมากแม้ว่าจะไม่เคยเรียนต่างประเทศ แต่ครอบครัวและโรงเรียนส่งเสริมเรื่องภาษาอังกฤษ ทำให้มีพื้นฐานที่มากกว่าระดับ ดีเฉยๆ แต่ก็อาจจะไม่ถึงดีมาก (หลงตัวเองมากคนอ่านจะเลิกอ่านไปซะก่อน) ถ้าอยากได้ภาพแบบ objective หน่อยก็คือ
1. สอบ TOEIC ตอนประมาณ 5 - 6 ปีก่อน โดยที่ไม่ได้เตรียมตัวอะไร แค่คืนก่อนสอบ เอาแบบฝึกหัดมาทำดูสองชุด เพื่อให้รู้ว่าแนวข้อสอบเค้าเป็นยังไงแค่นั้น สรุปได้ 960 เต็ม 990
2. สอบ IELTS เมื่อปี 2016 เลือกสอบแบบ General เพราะว่าตอนนั้นเรียนต่ออยู่ ต้องอยู่เวรทุกวัน ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ ไม่ได้เตรียมตัวใดๆ คืนก่อนสอบก็อยู่เวรได้นอนสามชั่วโมง ผลสอบ
3. ดู series : Grey’s Anatomy, the Big Bang Theory, How I Met Your Mother, Law & Order, CSI โดยไม่ต้องเปิด subtitle และเข้าใจมากกว่า 80% ส่วน Sherlocks กับ Crowns อยู่ที่ 60-70%
4. ชีวิตไม่เคยมีใครว่าเรื่องการใช้ภาษาอังกฤษเลย มีแต่คนชม คำศัพท์แน่น Grammar แน่น สำเนียง American สุดๆ
อ่านถึงตรงนี้ก็อย่าเพิ่งมองบนหมั่นไส้กันนะคะ เพราะว่าเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับส่วนต่อไปด้วย ที่แจกแจงให้ฟังเพราะอยากให้เห็นภาพว่าผู้เขียนเป็นอย่างไร และส่งผลอย่างไรกับการเตรียมตัวสอบ (ซึ่งเป็นผลร้ายอย่างรุนแรง)
สำหรับคนที่สงสัยว่าตัวเองอยู่ระดับไหน ง่ายๆเลยคือลองทำ Listening กับ Reading ดูค่ะ ข้อสอบหาได้ง่ายมาก ที่นิยมกันก็คือ Cambridge (แนะนำทำเล่ม 8 ขึ้นไป ตอนนี้มีถึง 14 แล้ว เล่มใหม่ เก็บไว้ทำตอนใกล้สอบนะคะ เริ่มจากเล่ม 8 ก่อน)
จะบอกได้ค่ะว่าตัวเองอยู่ระดับไหน
ความหมายคือ สมมติว่าคุณทำสอง parts นี้ได้ 7 การที่คุณจะทำให้ speaking กับ writing ตัวเองได้ 7 ด้วย บอกเลยว่าไม่ยากค่ะ แค่จับจุดให้ได้ (เหมือนที่จะบอกในส่วนต่อไปของบทความ) แต่ถ้าได้อยู่ที่ 6 การที่จะ up writing หรือ speaking ให้ได้ 7 ก็คงจะยาก เพราะ Listening กับ Reading ต้องบอกว่าเป็นส่วนที่ง่ายกว่า Writing & Speaking
- ถ้าทำแล้วอยู่ที่ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 6 อาจจะต้อง take course เรียนพื้นฐาน หรืออ่านหนังสือแบบเน้นพื้นฐานครอบคลุมให้ทั่วไปก่อน
- 6.5 ถ้าได้ประมาณนี้ ให้เวลากับตัวเอง ทำแบบฝึกหัดมากๆหน่อย เก็บสะสมคำศัพท์ จับใจความประโยค และฝึกหูให้คุ้นกับสำเนียงและแนวข้อสอบ ขยับขึ้นมาเป็น 7 ได้ค่ะ
- 7 อันนี้แสดงว่าพื้นฐานใช้ได้ จองสอบอีกประมาณ 2-3 เดือนได้ ยังคงต้องทำข้อสอบบ่อยๆอยู่ อาจจะวันละชุด หรืออาทิตย์ละ 2-3 ชุด อย่าประมาท แล้วไปเน้นเตรียม Writing & Speaking
- 7.5 ขึ้นไปตลอด อันนี้สบายละ ทำซักอาทิตย์ละชุดพอ จองสอบได้อีก 2-4 สัปดาห์ เตรียม Writing & Speaking ให้เต็มที่
- 7.5 ขึ้นไป + คิดว่า writing & speaking ไม่ใช่ปัญหา ไม่ต้องอ่านต่อแล้วค่ะ จองสอบได้พรุ่งนี้ หรืออาทิตย์หน้าเลย แต่ระวังนะคะ จะเป็นเหมือนผู้เขียน
ใช่แล้วค่ะ ผู้เขียนอยู่ในแบบสุดท้ายนี่แหละ
เส้นทางชีวิตช่วงสอบ (Part 1/2)
เพราะเจ้า COVID-19 นี่แหละ ทำให้เวลาเหลือเยอะ งานลดลงครึ่งนึง มีเวลาฟุ้งซ่านมาก มีเหตุผลให้ต้องมาสอบภาษาอังกฤษ และด้วยความมั่นใจที่กล่าวไปข้างต้น ก็จองสอบแบบมีเวลาเตรียมตัวทั้งหมด 12 วัน
ระหว่างสิบสองวันนี้ สิ่งที่ทำคือทำแบบฝึกหัดตั้งแต่เล่ม 8 ขึ้นไปเรื่อยๆ ทำวันละชุดสองชุด แต่.. ทำเฉพาะ Listening กับ Reading นะคะ เพราะว่าขี้เกียจ Writing มันต้องใช้พลังงานสมองเยอะ เลยทำแค่ ห้าหกโจทย์ ส่วน task I ที่เป็น บรรยาย graph ก็ทำแค่ สี่ห้าอัน เอาแค่จำคำศัพท์เฉพาะเอา กับอ่าน model answers เอา เพราะว่าสะดวกสบายกว่า
ชอบทำ Listening & Writing มาก เหมือนเป็น comfort zone เพราะทำทีไรก็ได้เกิน 7.5 ทุกที ส่วนใหญ่ได้ 8-9 ด้วยซ้ำ ก็เลยสนุก ทำไปเรื่อย รู้สึกเหมือนว่าเราได้เตรียมตัวแล้วนะ บอกตัวเองว่าเรานี่ขยันเสียจริง ถึงจะเก่งภาษาอังกฤษอยู่แล้วก็ไม่ประมาท
แต่จริงๆแล้ว ผิดถนัดค่ะ เหมือนจะดี แต่ไม่ดี เหมือนทหารที่โง่แต่ขยัน ความเสียหายมากกว่าทหารที่โง่แต่ขี้เกียจเสียอีก
เราทำแบบฝึกหัดเยอะ เหนื่อย เสียเวลาแล้วคะแนนมันก็ประมาณเดิม มันจะดีไปกว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว แล้วก็ไม่รู้จะดีกว่านี้ไปทำไมด้วย เพราะเราต้องการแค่ 7 ขึ้นไป จริงๆควรจะเอาเวลาไปเตรียมส่วนอื่นที่อ่อนมากกว่า แต่เราทำเพราะมันสบายใจ นี่จึงเป็นที่มาของหลักการแรกที่อยากบอกค่ะ
หลักการ 1 : จำไว้ว่า overall 7 กับ 8 เอาไปสมัครสอบได้เหมือนกัน แต่ถ้า overall 8 แต่อันใดอันนึงได้ 6.5 สู้คนได้ overall 7 และทุกอย่าง 7 ไม่ได้เลย เทียบกันไม่ได้เลย..
แทนที่จะเน้นไปที่อันใดอันหนึ่งจนเลิศเลอ ได้ 9 แล้วทิ้งอันอื่น คือผิดอย่างรุนแรง (อยากจะนั่ง Time Machine ไปบอกตัวเองเมื่อเดือนก่อนว่าเธอ หยุดทำ Listening ได้แล้ว แล้วไปทำ Writing ซะ) ส่ิงที่ควรทำคือ หาจุดอ่อนตัวเอง แล้วยอมรับมัน และแก้มันค่ะ ดูเหมือนง่าย แต่ทำยาก โดยเฉพาะคนที่เก่งอยู่แล้ว Ego สูงเท่าตึกมหานคร ใครจะทักจะท้วงยังไงก็ไม่ได้นำพา (คนเก่งที่อ่านมาถึงตรงนี้ อย่าเพิ่งหยุดอ่านไปซะก่อนนะ หวังดีจริงๆค่ะ) อยากให้ปรับตัวเองใหม่แล้วหาจุดอ่อนค่ะ
เมื่อหาจุดอ่อนได้แล้ว เราก็เน้นจุดนั้น ทุ่มเทเวลาเตรียม มากกว่า 80% ให้กับจุดนั้น ทีนี้เราก็จะเป็นทหารที่ฉลาดและขยัน ได้ผลสอบดังใจแน่นอน
ทีนี้ขอเล่าต่อเพื่อให้เห็นภาพชีวิตช่วงสอบ ตอนนั้นก็คือยังทำงานไปด้วยบ้าง มีเวลาอยู่บ้านบ้าง เวลาไปทำงาน ก็ print ข้อสอง reading ไปนั่งทำด้วย วิธีการคือ แต่ละ passage จะจับเวลาแค่ 15 นาทีคือต้องเสร็จ ถึงเวลาสอบจริงจะมีเวลา 20 นาทีต่อ part แต่เชื่อเถอะค่ะ ตอนสอบสติสตังเรามันกระเจิง กว่าจะรวบรวมได้ และถ้าคุณมีเวลา 20 นาทีสุดท้ายสำหรับ passage สุดท้าย คุณจะลนมาก ทั้งๆที่ตอนซ้อมทำได้ แต่คุณจะทำไม่ได้ เชื่อเถอะ เพราะฉะนั้น ตอนทำ บอกตัวเอง 15 นาทีพอ ต้องเสร็จ เพื่อวันจริงคุณจะมีเวลา 15 นาทีสุดท้าย พร้อมด้วยความสบายใจว่าทำเสร็จ 40 ข้อแล้ว ทีนี้มาทวนข้อที่ไม่มั่นใจ หรืออ่านละเอียดอีกทีภายหลัง (โดยเฉพาะ true false not given) ก็จะผ่อนคลาย ยิ้มมุมปาก สบายใจ สมองคุณจะคิดออกได้ดีกว่าค่ะ
เคล็ดลับการทำ Reading หาได้มากมายตาม resource ต่างๆ วิธีการจับใจความ การอ่านคำถามก่อนอ่านบทความ ฯลฯ ขอไม่พูดถึงเยอะ เพราะบทความนี้เราเน้น Writing แต่แค่อยากบอกเรื่องเวลาเท่านั้นค่ะ เพราะหลายที่จะบอกแค่จับเวลา 20 นาที ซึ่งผู้เขียนขอไม่เห็นด้วย
สำหรับ
Listening เรารู้กันอยู่แล้วว่าแบ่งเป็น 4 parts มีเวลาให้ดูคำถามก่อนฟัง อะไรพวกนี้ตาม center website youtube เค้าสอนกันอยู่แล้ว ที่อยากจะบอกก็คือ ถ้าต้องการband 7 ก็ผิดได้ถึง 11 ข้อ ย้ำ 11 ข้อ เพราะฉะนั้น ทำเกิน 7 ได้ไม่ยาก พยายามเข้าค่ะ
part แรก สิบข้อแรก บอกตัวเองเลยว่าต้องได้เต็ม มันง่ายสุดแล้ว ฝึกจน part นี้ห้ามผิดเกิน หนึ่งข้อ
part สอง ยากขึ้นมาอีกนิด แต่คนพูดมีแค่คนเดียว ยากตรงต้องอ่าน choice และคำถามยาวหน่อย แต่เราต้องทำได้ ผิดอย่าเกิน 2 ข้อ
part สาม โดยส่วนตัวอันนี้ยากสุด คนพูด 2-3 คน แถมมีส่วนที่เป็น multiple choices ต้องอ่านตัว choices ไปด้วย จะยากมาก อันนี้ผิด 4-5 ข้อ ไม่เกินนี้
part สี่ คนพูดคนเดียวแต่เป็นพวก lecture ให้ความรู้ ศัพท์เฉพาะ แต่ยังไงก็เป็นเติมคำ ไม่ต้องมานั่งอ่าน choices ตั้งใจฟังอย่างเดียวรอดแน่ ผิดอย่าเกิน 3 ข้อ
ที่เหลือ ฝึกไปค่ะ ฝึกเข้าไป พัฒนาได้ไม่ยาก
จุดที่อยากแนะนำให้ระวัง**
อ่านคำสั่งให้ดีๆ ตอนช่วงเติมคำ ส่วนใหญ่เค้าจะบอก ‘one word only’ ก็ต้องเติมแค่คำเดียวนะคะ ระวัง ถ้าเติมสองคือผิดแน่นอน ช่วงหลังๆข้อสอบเป็น one word เกือบทั้งหมด แต่ว่าระวังไว้ไม่เสียหายค่ะ อาจมี ‘not more than two words’ ผ่านมาได้บ้าง อ่านซักหน่อย
ส่วนที่ผิดได้ง่ายๆแต่ไม่ควรให้ผิดคือการเติม s และไม่เติม s ค่ะ ถ้าลองทำแบบฝึกหัดจะพบว่าบางทีเราฟังออกนะ เติมคำถูกนะ แต่เราลืมเติม s และนั่นก็ทำให้เราเสียคะแนนข้อนั้นไปเลย(เค้าไม่มีให้ 0.5 คะแนนนะคะ) ได้คะแนนเท่ากับคนที่ฟังไม่ออกอ่ะคิดดู เหมือนไม่ยุติธรรมแต่ก็เป็นกฏของการสอบค่ะ
ถามว่าทำอะไรได้มั้ยเพื่อแก้ บางครั้งมันมีใบ้มาบ้างเช่นมี a, an นำหน้ามาให้ บางครั้งเดาจากประโยค ประธานอะไรได้ แต่ >70% ก็คือไม่มีหรอกค่ะ ใช้การตั้งใจฟังล้วนๆ ว่าคนพูดเค้าออกเสียง s มาให้รึเปล่า
บางครั้งเฉลยเค้าก็อาจจะให้ทั้งสองแบบเติม s ก็ได้ ไม่เติม s ก็ได้ อันนั้นก็โชคดีไปค่ะ
ระวังตั้งสติกันให้ดีนะคะ Listening คือการสอบที่ไม่ได้วัดความสามารถในการฟังอย่างเดียว แต่วัดสติ สมาธิ ด้วยค่ะ การฝึกฝนจากแบบฝึกหัดจะช่วยให้เราฝึกสมาธิไปด้วย ไม่หลุด เพราะฉะนั้นฝึกเยอะๆค่ะ (จำได้ว่าวันสอบ เสียงคนอ่านคำสั่งเหมือนเป็นคนเดียวใน Cambridge เล่มสิบเป๊ะเลยค่ะ รู้สึกคุ้นเคย)
เดี๋ยวมาต่อนะคะ ตัวอักษรเกิน quota แล้ว
สิ่งที่หวังอยากให้มีคนบอกก่อนไปสอบ IELTS ทำอย่างไรให้ band score writing จาก 6.5 เป็น 7 ภายใน 2 สัปดาห์
ดูเหมือนว่าการขยับจาก 6.5 เป็น 7 สำหรับ writing ดูไม่เยอะใช่มั้ยคะ แต่มีคนจำนวนมากที่ติดอยู่ที่ 6.5 เป็นเวลานาน สอบหลายครั้งก็ติดที่ 6.5 ทุกที module อื่นคะแนนดีหมดแล้ว แต่ writing ไม่ไปไหน ช่องว่างระหว่าง 6.5 กับ 7 ใน writing module ค่อนข้างเยอะค่ะ บทความนี้จะพยายามบอกสิ่งที่ค้นพบระหว่างเตรียมตัวสอบในเวลาเกือบสองสัปดาห์ หวังว่าจะช่วยคุณผู้อ่านได้ ไม่มากก็น้อยค่ะ
บทความ (ขอเรียกว่าบทความแล้วกัน แม้ว่าจะไม่ค่อยเป็นระเบียบเรียบร้อยซักเท่าไหร่ เหมือนเล่าไปเรื่อย) นี้ เหมาะกับใคร
1. คนที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษดีระดับหนึ่ง (เดี๋ยวจะกล่าวต่อไปว่าประมาณไหน และวัดอย่างไร)
2. คนที่รู้สึกว่าความสามารถในการเขียนตัวเองยังไม่ดีนัก หรือเคยสอบมาแล้วได้ผลยังไม่น่าพอใจ กำลังจะไปสอบใหม่
3. ผู้ที่มีเวลาเตรียมตัวสอบอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป (มีเวลาน้อยกว่านี้ อ่านไปเดี๋ยวจิตตกนะ)
4. คนที่ยินดีอ่านอะไรยาวๆ ถ้าชอบอ่านอะไรที่สั้นๆ ข้ามไปได้เลยค่ะ เพราะยาวมาก ชอบพิมพ์
5. คนที่มีหลักกาลามสูตรในจิตใจ เพราะใช่ว่าที่เขียนนี้จะเชื่อถือได้และได้ผลสำหรับคุณ
6. คนที่มีจิตใจเข้มแข็ง ไม่อ่อนไหว เพราะบางส่วนพูดตรงๆ อาจจะทำร้ายจิตใจ ไม่อยากให้จับประเด็นเป็นดราม่าอะไร เพราะทุกอย่างที่พิมพ์มีจุดประสงค์เดียวคืออยากส่งต่อสิ่งที่รู้ที่เจอให้ ไม่มีจุดประสงค์อื่นนะคะ
7. คนที่อยากได้ IELTS band 7 ขึ้นไป
8. คนที่อยากเข้ามาอ่านเล่นๆ ดูว่าพวกสอบภาษาอังกฤษเค้าบ้าขนาดไหน (> <)
ขออนุญาตแนะนำเพจด้วยนะคะ อ่านบทความนี้จบ รบกวนเข้าไปดูเพจ กดไลค์ กดแชร์เป็นกำลังใจ และมาร่วมเรียนภาษาไปด้วยกันนะคะ
https://www.facebook.com/ภาษาอังกฤษไว้ใช้-กับไว้สอบ-English-for-life-and-for-IELTS-105897234504281
ภูมิหลังผู้เขียน และวิธีการวัดพื้นฐานภาษาอังกฤษตัวเอง
(my English Background and how to measure your English skill level)
ผู้เขียนตอนนี้อายุก็มากกว่า 25 แล้ว (ไม่บอกตัวเลขชัดเจน) เรียนโรงเรียนเอกชนมาตั้งแต่อนุบาล และโชคดีมากแม้ว่าจะไม่เคยเรียนต่างประเทศ แต่ครอบครัวและโรงเรียนส่งเสริมเรื่องภาษาอังกฤษ ทำให้มีพื้นฐานที่มากกว่าระดับ ดีเฉยๆ แต่ก็อาจจะไม่ถึงดีมาก (หลงตัวเองมากคนอ่านจะเลิกอ่านไปซะก่อน) ถ้าอยากได้ภาพแบบ objective หน่อยก็คือ
1. สอบ TOEIC ตอนประมาณ 5 - 6 ปีก่อน โดยที่ไม่ได้เตรียมตัวอะไร แค่คืนก่อนสอบ เอาแบบฝึกหัดมาทำดูสองชุด เพื่อให้รู้ว่าแนวข้อสอบเค้าเป็นยังไงแค่นั้น สรุปได้ 960 เต็ม 990
2. สอบ IELTS เมื่อปี 2016 เลือกสอบแบบ General เพราะว่าตอนนั้นเรียนต่ออยู่ ต้องอยู่เวรทุกวัน ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ ไม่ได้เตรียมตัวใดๆ คืนก่อนสอบก็อยู่เวรได้นอนสามชั่วโมง ผลสอบ
3. ดู series : Grey’s Anatomy, the Big Bang Theory, How I Met Your Mother, Law & Order, CSI โดยไม่ต้องเปิด subtitle และเข้าใจมากกว่า 80% ส่วน Sherlocks กับ Crowns อยู่ที่ 60-70%
4. ชีวิตไม่เคยมีใครว่าเรื่องการใช้ภาษาอังกฤษเลย มีแต่คนชม คำศัพท์แน่น Grammar แน่น สำเนียง American สุดๆ
อ่านถึงตรงนี้ก็อย่าเพิ่งมองบนหมั่นไส้กันนะคะ เพราะว่าเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับส่วนต่อไปด้วย ที่แจกแจงให้ฟังเพราะอยากให้เห็นภาพว่าผู้เขียนเป็นอย่างไร และส่งผลอย่างไรกับการเตรียมตัวสอบ (ซึ่งเป็นผลร้ายอย่างรุนแรง)
สำหรับคนที่สงสัยว่าตัวเองอยู่ระดับไหน ง่ายๆเลยคือลองทำ Listening กับ Reading ดูค่ะ ข้อสอบหาได้ง่ายมาก ที่นิยมกันก็คือ Cambridge (แนะนำทำเล่ม 8 ขึ้นไป ตอนนี้มีถึง 14 แล้ว เล่มใหม่ เก็บไว้ทำตอนใกล้สอบนะคะ เริ่มจากเล่ม 8 ก่อน)
จะบอกได้ค่ะว่าตัวเองอยู่ระดับไหน
ความหมายคือ สมมติว่าคุณทำสอง parts นี้ได้ 7 การที่คุณจะทำให้ speaking กับ writing ตัวเองได้ 7 ด้วย บอกเลยว่าไม่ยากค่ะ แค่จับจุดให้ได้ (เหมือนที่จะบอกในส่วนต่อไปของบทความ) แต่ถ้าได้อยู่ที่ 6 การที่จะ up writing หรือ speaking ให้ได้ 7 ก็คงจะยาก เพราะ Listening กับ Reading ต้องบอกว่าเป็นส่วนที่ง่ายกว่า Writing & Speaking
- ถ้าทำแล้วอยู่ที่ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 6 อาจจะต้อง take course เรียนพื้นฐาน หรืออ่านหนังสือแบบเน้นพื้นฐานครอบคลุมให้ทั่วไปก่อน
- 6.5 ถ้าได้ประมาณนี้ ให้เวลากับตัวเอง ทำแบบฝึกหัดมากๆหน่อย เก็บสะสมคำศัพท์ จับใจความประโยค และฝึกหูให้คุ้นกับสำเนียงและแนวข้อสอบ ขยับขึ้นมาเป็น 7 ได้ค่ะ
- 7 อันนี้แสดงว่าพื้นฐานใช้ได้ จองสอบอีกประมาณ 2-3 เดือนได้ ยังคงต้องทำข้อสอบบ่อยๆอยู่ อาจจะวันละชุด หรืออาทิตย์ละ 2-3 ชุด อย่าประมาท แล้วไปเน้นเตรียม Writing & Speaking
- 7.5 ขึ้นไปตลอด อันนี้สบายละ ทำซักอาทิตย์ละชุดพอ จองสอบได้อีก 2-4 สัปดาห์ เตรียม Writing & Speaking ให้เต็มที่
- 7.5 ขึ้นไป + คิดว่า writing & speaking ไม่ใช่ปัญหา ไม่ต้องอ่านต่อแล้วค่ะ จองสอบได้พรุ่งนี้ หรืออาทิตย์หน้าเลย แต่ระวังนะคะ จะเป็นเหมือนผู้เขียน
ใช่แล้วค่ะ ผู้เขียนอยู่ในแบบสุดท้ายนี่แหละ
เส้นทางชีวิตช่วงสอบ (Part 1/2)
เพราะเจ้า COVID-19 นี่แหละ ทำให้เวลาเหลือเยอะ งานลดลงครึ่งนึง มีเวลาฟุ้งซ่านมาก มีเหตุผลให้ต้องมาสอบภาษาอังกฤษ และด้วยความมั่นใจที่กล่าวไปข้างต้น ก็จองสอบแบบมีเวลาเตรียมตัวทั้งหมด 12 วัน
ระหว่างสิบสองวันนี้ สิ่งที่ทำคือทำแบบฝึกหัดตั้งแต่เล่ม 8 ขึ้นไปเรื่อยๆ ทำวันละชุดสองชุด แต่.. ทำเฉพาะ Listening กับ Reading นะคะ เพราะว่าขี้เกียจ Writing มันต้องใช้พลังงานสมองเยอะ เลยทำแค่ ห้าหกโจทย์ ส่วน task I ที่เป็น บรรยาย graph ก็ทำแค่ สี่ห้าอัน เอาแค่จำคำศัพท์เฉพาะเอา กับอ่าน model answers เอา เพราะว่าสะดวกสบายกว่า
ชอบทำ Listening & Writing มาก เหมือนเป็น comfort zone เพราะทำทีไรก็ได้เกิน 7.5 ทุกที ส่วนใหญ่ได้ 8-9 ด้วยซ้ำ ก็เลยสนุก ทำไปเรื่อย รู้สึกเหมือนว่าเราได้เตรียมตัวแล้วนะ บอกตัวเองว่าเรานี่ขยันเสียจริง ถึงจะเก่งภาษาอังกฤษอยู่แล้วก็ไม่ประมาท
แต่จริงๆแล้ว ผิดถนัดค่ะ เหมือนจะดี แต่ไม่ดี เหมือนทหารที่โง่แต่ขยัน ความเสียหายมากกว่าทหารที่โง่แต่ขี้เกียจเสียอีก
เราทำแบบฝึกหัดเยอะ เหนื่อย เสียเวลาแล้วคะแนนมันก็ประมาณเดิม มันจะดีไปกว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว แล้วก็ไม่รู้จะดีกว่านี้ไปทำไมด้วย เพราะเราต้องการแค่ 7 ขึ้นไป จริงๆควรจะเอาเวลาไปเตรียมส่วนอื่นที่อ่อนมากกว่า แต่เราทำเพราะมันสบายใจ นี่จึงเป็นที่มาของหลักการแรกที่อยากบอกค่ะ
หลักการ 1 : จำไว้ว่า overall 7 กับ 8 เอาไปสมัครสอบได้เหมือนกัน แต่ถ้า overall 8 แต่อันใดอันนึงได้ 6.5 สู้คนได้ overall 7 และทุกอย่าง 7 ไม่ได้เลย เทียบกันไม่ได้เลย..
แทนที่จะเน้นไปที่อันใดอันหนึ่งจนเลิศเลอ ได้ 9 แล้วทิ้งอันอื่น คือผิดอย่างรุนแรง (อยากจะนั่ง Time Machine ไปบอกตัวเองเมื่อเดือนก่อนว่าเธอ หยุดทำ Listening ได้แล้ว แล้วไปทำ Writing ซะ) ส่ิงที่ควรทำคือ หาจุดอ่อนตัวเอง แล้วยอมรับมัน และแก้มันค่ะ ดูเหมือนง่าย แต่ทำยาก โดยเฉพาะคนที่เก่งอยู่แล้ว Ego สูงเท่าตึกมหานคร ใครจะทักจะท้วงยังไงก็ไม่ได้นำพา (คนเก่งที่อ่านมาถึงตรงนี้ อย่าเพิ่งหยุดอ่านไปซะก่อนนะ หวังดีจริงๆค่ะ) อยากให้ปรับตัวเองใหม่แล้วหาจุดอ่อนค่ะ
เมื่อหาจุดอ่อนได้แล้ว เราก็เน้นจุดนั้น ทุ่มเทเวลาเตรียม มากกว่า 80% ให้กับจุดนั้น ทีนี้เราก็จะเป็นทหารที่ฉลาดและขยัน ได้ผลสอบดังใจแน่นอน
ทีนี้ขอเล่าต่อเพื่อให้เห็นภาพชีวิตช่วงสอบ ตอนนั้นก็คือยังทำงานไปด้วยบ้าง มีเวลาอยู่บ้านบ้าง เวลาไปทำงาน ก็ print ข้อสอง reading ไปนั่งทำด้วย วิธีการคือ แต่ละ passage จะจับเวลาแค่ 15 นาทีคือต้องเสร็จ ถึงเวลาสอบจริงจะมีเวลา 20 นาทีต่อ part แต่เชื่อเถอะค่ะ ตอนสอบสติสตังเรามันกระเจิง กว่าจะรวบรวมได้ และถ้าคุณมีเวลา 20 นาทีสุดท้ายสำหรับ passage สุดท้าย คุณจะลนมาก ทั้งๆที่ตอนซ้อมทำได้ แต่คุณจะทำไม่ได้ เชื่อเถอะ เพราะฉะนั้น ตอนทำ บอกตัวเอง 15 นาทีพอ ต้องเสร็จ เพื่อวันจริงคุณจะมีเวลา 15 นาทีสุดท้าย พร้อมด้วยความสบายใจว่าทำเสร็จ 40 ข้อแล้ว ทีนี้มาทวนข้อที่ไม่มั่นใจ หรืออ่านละเอียดอีกทีภายหลัง (โดยเฉพาะ true false not given) ก็จะผ่อนคลาย ยิ้มมุมปาก สบายใจ สมองคุณจะคิดออกได้ดีกว่าค่ะ
เคล็ดลับการทำ Reading หาได้มากมายตาม resource ต่างๆ วิธีการจับใจความ การอ่านคำถามก่อนอ่านบทความ ฯลฯ ขอไม่พูดถึงเยอะ เพราะบทความนี้เราเน้น Writing แต่แค่อยากบอกเรื่องเวลาเท่านั้นค่ะ เพราะหลายที่จะบอกแค่จับเวลา 20 นาที ซึ่งผู้เขียนขอไม่เห็นด้วย
สำหรับ Listening เรารู้กันอยู่แล้วว่าแบ่งเป็น 4 parts มีเวลาให้ดูคำถามก่อนฟัง อะไรพวกนี้ตาม center website youtube เค้าสอนกันอยู่แล้ว ที่อยากจะบอกก็คือ ถ้าต้องการband 7 ก็ผิดได้ถึง 11 ข้อ ย้ำ 11 ข้อ เพราะฉะนั้น ทำเกิน 7 ได้ไม่ยาก พยายามเข้าค่ะ
part แรก สิบข้อแรก บอกตัวเองเลยว่าต้องได้เต็ม มันง่ายสุดแล้ว ฝึกจน part นี้ห้ามผิดเกิน หนึ่งข้อ
part สอง ยากขึ้นมาอีกนิด แต่คนพูดมีแค่คนเดียว ยากตรงต้องอ่าน choice และคำถามยาวหน่อย แต่เราต้องทำได้ ผิดอย่าเกิน 2 ข้อ
part สาม โดยส่วนตัวอันนี้ยากสุด คนพูด 2-3 คน แถมมีส่วนที่เป็น multiple choices ต้องอ่านตัว choices ไปด้วย จะยากมาก อันนี้ผิด 4-5 ข้อ ไม่เกินนี้
part สี่ คนพูดคนเดียวแต่เป็นพวก lecture ให้ความรู้ ศัพท์เฉพาะ แต่ยังไงก็เป็นเติมคำ ไม่ต้องมานั่งอ่าน choices ตั้งใจฟังอย่างเดียวรอดแน่ ผิดอย่าเกิน 3 ข้อ
ที่เหลือ ฝึกไปค่ะ ฝึกเข้าไป พัฒนาได้ไม่ยาก
จุดที่อยากแนะนำให้ระวัง**
อ่านคำสั่งให้ดีๆ ตอนช่วงเติมคำ ส่วนใหญ่เค้าจะบอก ‘one word only’ ก็ต้องเติมแค่คำเดียวนะคะ ระวัง ถ้าเติมสองคือผิดแน่นอน ช่วงหลังๆข้อสอบเป็น one word เกือบทั้งหมด แต่ว่าระวังไว้ไม่เสียหายค่ะ อาจมี ‘not more than two words’ ผ่านมาได้บ้าง อ่านซักหน่อย
ส่วนที่ผิดได้ง่ายๆแต่ไม่ควรให้ผิดคือการเติม s และไม่เติม s ค่ะ ถ้าลองทำแบบฝึกหัดจะพบว่าบางทีเราฟังออกนะ เติมคำถูกนะ แต่เราลืมเติม s และนั่นก็ทำให้เราเสียคะแนนข้อนั้นไปเลย(เค้าไม่มีให้ 0.5 คะแนนนะคะ) ได้คะแนนเท่ากับคนที่ฟังไม่ออกอ่ะคิดดู เหมือนไม่ยุติธรรมแต่ก็เป็นกฏของการสอบค่ะ
ถามว่าทำอะไรได้มั้ยเพื่อแก้ บางครั้งมันมีใบ้มาบ้างเช่นมี a, an นำหน้ามาให้ บางครั้งเดาจากประโยค ประธานอะไรได้ แต่ >70% ก็คือไม่มีหรอกค่ะ ใช้การตั้งใจฟังล้วนๆ ว่าคนพูดเค้าออกเสียง s มาให้รึเปล่า
บางครั้งเฉลยเค้าก็อาจจะให้ทั้งสองแบบเติม s ก็ได้ ไม่เติม s ก็ได้ อันนั้นก็โชคดีไปค่ะ
ระวังตั้งสติกันให้ดีนะคะ Listening คือการสอบที่ไม่ได้วัดความสามารถในการฟังอย่างเดียว แต่วัดสติ สมาธิ ด้วยค่ะ การฝึกฝนจากแบบฝึกหัดจะช่วยให้เราฝึกสมาธิไปด้วย ไม่หลุด เพราะฉะนั้นฝึกเยอะๆค่ะ (จำได้ว่าวันสอบ เสียงคนอ่านคำสั่งเหมือนเป็นคนเดียวใน Cambridge เล่มสิบเป๊ะเลยค่ะ รู้สึกคุ้นเคย)
เดี๋ยวมาต่อนะคะ ตัวอักษรเกิน quota แล้ว