“จีน-อินเดีย” ยากแตกหัก เศรษฐกิจ-เทคโนโลยีเชื่อมโยงแน่น
การปะทะกันระหว่างกองทหาร “จีน” กับ “อินเดีย” บริเวณชายแดนเมื่อ 16 มิ.ย. 2020 สร้างความตึงเครียดทางการทูตและการทหารระหว่างสองมหาอำนาจเอเชียเพิ่มขึ้นตามมา โดยในอินเดียได้เกิดกระแสการต่อต้านจีนจนนำไปสู่การเรียกร้องให้มีการบอยคอตสินค้าและบริการจากจีน โดยเฉพาะสินค้าเกี่ยวกับ “เทคโนโลยี” อย่างไรก็ตาม ด้วยความเชื่อมโยงของทั้งสองประเทศที่มีมากขึ้น
การปลุกกระแสชาตินิยมย่อมไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอินเดียเอง ทั้งนี้ เหตุการณ์ความขัดแย้งทางการทหารได้ปลุกกระแสชาตินิยมในอินเดียที่มีเค้ามาตั้งแต่ก่อนหน้านี้
โดยซีเอ็นเอ็นรายงานหลังจากเหตุการณ์ปะทะกันทางทหารว่าชาวอินเดียปลุกกระแสต่อต้าน รวมถึงรณรงค์ให้มีการบอยคอตสินค้าและบริการจากจีนในวงกว้างมากขึ้นอีก ขณะที่ “โกลบอล ไทมส์” รายงานว่า กระแสต่อต้านจีนกำลังพุ่งสูงขึ้น โดยชาวอินเดียหลายล้านคนได้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น “Remove China Apps” ซึ่งจะปิดกั้นและป้องกันแอปพลิเคชั่นของจีนออกจากสมาร์ทโฟน
เช่นเดียวกับที่รัฐบาลของ “นเรนทรา โมดี” ใช้วิธีขี่กระแสชาตินิยมโดยมีเป้าหมายทางการเมือง ด้วยการประกาศเพิ่มกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดสำหรับการลงทุนทางตรงจากจีน ซึ่งในกรณีนี้ “อามิต บันดารี” จาก “เกตเวย์ เฮาส์” สำนักคิดทางด้านนโยบายต่างประเทศของอินเดียชี้ว่า รัฐบาลมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอิทธิพลในด้านเทคโนโลยีที่จีนเริ่มแผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปในอินเดียมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความพยายามกีดกัน แต่กล่าวได้ว่าถึงขณะนี้จีนได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของอินเดียอย่างมาก และบริษัทเทคโนโลยีจากจีนกลายเป็น
ผู้ลงทุนหลักในสตาร์ตอัพของอินเดีย โดยซีเอ็นเอ็นรายงานโดยอ้างอิงงานวิจัยของ “เกตเวย์ เฮาส์” พบว่า นักลงทุนชาวจีนได้เข้าไปมีบทบาทในสตาร์ตอัพยูนิคอร์นของอินเดียกว่า 30 แห่ง และคาดการณ์ว่าเงินลงทุนที่นักลงทุนจีนลงทุนในสตาร์ตอัพของอินเดียสูงกว่า 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่ปี 2015 อย่างเช่น “อาลีบาบา” ที่เข้าไปมีบทบาทในการพัฒนาดิจิทัลอีโคโนมีของอินเดีย โดยได้ลงทุนใน “สแนปดีล” แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ, “เพย์ทีเอ็ม” ผู้ให้บริการชำระเงินออนไลน์ รวมถึง “โซมาโต้” ผู้ให้บริการดีลิเวอรี่ เป็นต้น
“ซูกาตี้ โกซ” หัวหน้านักวิเคราะห์ภูมิภาคเอเชียใต้จาก “อัลไบรต์ สโตนบริดจ์ กรุ๊ป” สำนักคิดด้านการเมืองระหว่างประเทศจากวอชิงตัน ดี.ซี.ชี้ว่า จีนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการยกระดับเศรษฐกิจของอินเดียสู่ยุคดิจิทัล ขณะที่อินเดียที่มีประชากรผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตจำนวนมากก็เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของจีนในการแข่งขันช่วงชิงความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีของโลก ความสัมพันธ์จึงเป็นไปในลักษณะที่ต่างฝ่ายต่างพึ่งพากันและกัน
ขณะที่รายงานจาก “อินเตอร์เนชั่นแนล ดาต้า คอร์ปอเรชั่น” (ไอดีซี) ระบุว่า ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาบริษัทผู้ผลิตสมาร์ทโฟนของจีนยังได้เข้าไปมีบทบาทในอินเดียทั้งต่อผู้บริโภค, การลงทุน และการจ้างงาน โดยเมื่อปี 2019 แบรนด์สมาร์ทโฟนที่ทำยอดขายมากที่สุดในอินเดีย 5 อันดับแรก เป็นสมาร์ทโฟนจากจีนถึง 4 แบรนด์ และมียอดขายถึง 16,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแทบทั้งหมดมีฐานการผลิตในอินเดียนั่นเอง
“คิรานจิต คอร์” นักวิจัยอาวุโสภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จาก “ไอดีซี” สรุปผลที่จะตามมาจากกรณีดังกล่าวว่า “แคมเปญต่อต้านสินค้าจีนจะส่งผลต่อทั้งการจ้างงานและการบริโภคภายในประเทศของอินเดีย” นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่อินเดียจำเป็นต้องพึ่งพาจีนเช่นเดียวกัน อย่างเครื่องจักรหนัก, อุปกรณ์โทรคมนาคม, อุปกรณ์โรงไฟฟ้า เป็นต้น
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้อินเดียก็เคยรณรงค์ต่อต้านสินค้าเหล่านี้จากจีน แต่ไม่ได้ส่งผลต่อยอดขายมากนัก เช่นเดียวกับครั้งนี้ที่ “คิรานจิต คอร์” ชี้ว่า แม้จะมีการเรียกร้องให้แบนสินค้าจากจีน แต่คงไม่ส่งผลกระทบมากนักเช่นเดียวกัน เนื่องจากอินเดียยังจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเหล่านี้จากจีน
https://www.prachachat.net/world-news/news-480222
มือถือซัมซุงในอินเดียทำไมไม่รุ่ง ในไทยยังรุ่งเลย
การปะทะกันระหว่างกองทหาร “จีน” กับ “อินเดีย” บริเวณชายแดนเมื่อ 16 มิ.ย. 2020 สร้างความตึงเครียดทางการทูตและการทหารระหว่างสองมหาอำนาจเอเชียเพิ่มขึ้นตามมา โดยในอินเดียได้เกิดกระแสการต่อต้านจีนจนนำไปสู่การเรียกร้องให้มีการบอยคอตสินค้าและบริการจากจีน โดยเฉพาะสินค้าเกี่ยวกับ “เทคโนโลยี” อย่างไรก็ตาม ด้วยความเชื่อมโยงของทั้งสองประเทศที่มีมากขึ้น
การปลุกกระแสชาตินิยมย่อมไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอินเดียเอง ทั้งนี้ เหตุการณ์ความขัดแย้งทางการทหารได้ปลุกกระแสชาตินิยมในอินเดียที่มีเค้ามาตั้งแต่ก่อนหน้านี้
โดยซีเอ็นเอ็นรายงานหลังจากเหตุการณ์ปะทะกันทางทหารว่าชาวอินเดียปลุกกระแสต่อต้าน รวมถึงรณรงค์ให้มีการบอยคอตสินค้าและบริการจากจีนในวงกว้างมากขึ้นอีก ขณะที่ “โกลบอล ไทมส์” รายงานว่า กระแสต่อต้านจีนกำลังพุ่งสูงขึ้น โดยชาวอินเดียหลายล้านคนได้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น “Remove China Apps” ซึ่งจะปิดกั้นและป้องกันแอปพลิเคชั่นของจีนออกจากสมาร์ทโฟน
เช่นเดียวกับที่รัฐบาลของ “นเรนทรา โมดี” ใช้วิธีขี่กระแสชาตินิยมโดยมีเป้าหมายทางการเมือง ด้วยการประกาศเพิ่มกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดสำหรับการลงทุนทางตรงจากจีน ซึ่งในกรณีนี้ “อามิต บันดารี” จาก “เกตเวย์ เฮาส์” สำนักคิดทางด้านนโยบายต่างประเทศของอินเดียชี้ว่า รัฐบาลมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอิทธิพลในด้านเทคโนโลยีที่จีนเริ่มแผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปในอินเดียมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความพยายามกีดกัน แต่กล่าวได้ว่าถึงขณะนี้จีนได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของอินเดียอย่างมาก และบริษัทเทคโนโลยีจากจีนกลายเป็น
ผู้ลงทุนหลักในสตาร์ตอัพของอินเดีย โดยซีเอ็นเอ็นรายงานโดยอ้างอิงงานวิจัยของ “เกตเวย์ เฮาส์” พบว่า นักลงทุนชาวจีนได้เข้าไปมีบทบาทในสตาร์ตอัพยูนิคอร์นของอินเดียกว่า 30 แห่ง และคาดการณ์ว่าเงินลงทุนที่นักลงทุนจีนลงทุนในสตาร์ตอัพของอินเดียสูงกว่า 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่ปี 2015 อย่างเช่น “อาลีบาบา” ที่เข้าไปมีบทบาทในการพัฒนาดิจิทัลอีโคโนมีของอินเดีย โดยได้ลงทุนใน “สแนปดีล” แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ, “เพย์ทีเอ็ม” ผู้ให้บริการชำระเงินออนไลน์ รวมถึง “โซมาโต้” ผู้ให้บริการดีลิเวอรี่ เป็นต้น
“ซูกาตี้ โกซ” หัวหน้านักวิเคราะห์ภูมิภาคเอเชียใต้จาก “อัลไบรต์ สโตนบริดจ์ กรุ๊ป” สำนักคิดด้านการเมืองระหว่างประเทศจากวอชิงตัน ดี.ซี.ชี้ว่า จีนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการยกระดับเศรษฐกิจของอินเดียสู่ยุคดิจิทัล ขณะที่อินเดียที่มีประชากรผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตจำนวนมากก็เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของจีนในการแข่งขันช่วงชิงความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีของโลก ความสัมพันธ์จึงเป็นไปในลักษณะที่ต่างฝ่ายต่างพึ่งพากันและกัน
ขณะที่รายงานจาก “อินเตอร์เนชั่นแนล ดาต้า คอร์ปอเรชั่น” (ไอดีซี) ระบุว่า ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาบริษัทผู้ผลิตสมาร์ทโฟนของจีนยังได้เข้าไปมีบทบาทในอินเดียทั้งต่อผู้บริโภค, การลงทุน และการจ้างงาน โดยเมื่อปี 2019 แบรนด์สมาร์ทโฟนที่ทำยอดขายมากที่สุดในอินเดีย 5 อันดับแรก เป็นสมาร์ทโฟนจากจีนถึง 4 แบรนด์ และมียอดขายถึง 16,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแทบทั้งหมดมีฐานการผลิตในอินเดียนั่นเอง
“คิรานจิต คอร์” นักวิจัยอาวุโสภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จาก “ไอดีซี” สรุปผลที่จะตามมาจากกรณีดังกล่าวว่า “แคมเปญต่อต้านสินค้าจีนจะส่งผลต่อทั้งการจ้างงานและการบริโภคภายในประเทศของอินเดีย” นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่อินเดียจำเป็นต้องพึ่งพาจีนเช่นเดียวกัน อย่างเครื่องจักรหนัก, อุปกรณ์โทรคมนาคม, อุปกรณ์โรงไฟฟ้า เป็นต้น
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้อินเดียก็เคยรณรงค์ต่อต้านสินค้าเหล่านี้จากจีน แต่ไม่ได้ส่งผลต่อยอดขายมากนัก เช่นเดียวกับครั้งนี้ที่ “คิรานจิต คอร์” ชี้ว่า แม้จะมีการเรียกร้องให้แบนสินค้าจากจีน แต่คงไม่ส่งผลกระทบมากนักเช่นเดียวกัน เนื่องจากอินเดียยังจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเหล่านี้จากจีน
https://www.prachachat.net/world-news/news-480222