ถ้าอุณหภูมิห้องสูงกว่า 37 องศา ควรเปิดพัดลมไหมครับ?

พอดีสงสัยความช่วงร้อนๆที่ผ่านมา อุณหภูมิห้อง 35องศา + 
เปิดพัดลม ก็ดูดลมร้อนมาเต็ม จนนึกถึงพวก ไดร์ร้อนเป่าผม 

ในขณะที่อุณหภูมิร่างกายเรา อยู่ที่ประมาน 37 องศา
ถ้าพัดลมดูด ลมร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า 37 องศามาเป่าเรา
มันจะทำให้เรารู้สึกร้อนขึ้น หรือ เย็นลงครับ
และร่างกายเราอุณหภูมิจะสูงขึ้น เหมือน วัตถุที่ถูกไดร์ร้อนเป่าไหมครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6

ภาพ - การระบายความร้อนออกจากร่างกาย (สมมติให้ร่างกาย = 37C/องศาเซลเซียส
.....
การระบายความร้อนออกจากร่างกาย ทำได้ 4 วิธี

(1). การระเหยน้ำ - เกิดได้ตลอดเวลา จนกว่า ความชื้นสัมพัทธ์จะถึง 100% และเพิ่มได้ตาม
      (ก). ความเร็วลม ที่ผ่านผิวหนัง - ยิ่งแรง ยิ่งดี
      (ข). พื้นที่ผิว - ยิ่งมาก ยิ่งดี
            พื้นที่ผิวคนเรา - แปรตาม ความสูง น้ำหนัก
            (เพิ่มได้เฉพาะ เมื่อสูงขึ้น อ้วนขึ้น แต่เมื่ออ้วนขึ้น จะมีชั้นไขมันใต้ผิวหนังที่เป็นฉนวนความร้อน เพิ่มขึ้น ทำให้ การระบายความร้อนช้าลง)

           คนไทยส่วนใหญ่ประมาณ 1.62 ตารางเมตร
           ถ้าสวมเสื้อผ้าน้อย จะทำให้พื้นที่ผิว เพิ่มขึ้น, ถ้าสวมเสื้อผ้ามาก พื้นที่ระเหยน้ำ จะลดลง

(2). การพา เช่น ลมพัด - เกิดเฉพาะ เมื่อสิ่งแวดล้อมเย็นกว่า ร่างกาย (น้อยกว่า 37C)
(3). การแผ่รังสีความร้อน (infrared) - เกิดเฉพาะ เมื่อสิ่งแวดล้อมเย็นกว่า ร่างกาย (น้อยกว่า 37C)
(4). การนำความร้อน เช่น ผิวหนังสัมผัสโลหะ - เกิดเฉพาะ เมื่อสิ่งแวดล้อมเย็นกว่า ร่างกาย (น้อยกว่า 37C)
.....
การเปิดพัดลมที่ 37C ไม่ ทำให้การระบายความร้อนจากการพา เพิ่มขึ้น
แต่ ทำให้ การระเหยน้ำจากผิวหนัง เพิ่มขึ้น (ระบายความร้อนได้ ดีขึ้น)
จึง ควรเปิดพัดลม

ถ้า เปิดพัดลมที่อุณหภูมิสูงกว่า 37C จะมีการพาความร้อนเข้าสู่ผิวหนัง
และ นำความร้อนออกไป จากการระเหยของน้ำ ที่ผิวหนัง

ส่วนใหญ่ ผลจากการระเหยของน้ำ จะมากกว่า
ยกเว้น ลมร้อนมากๆ (คห 2 อธิบายไว้อย่างดีที่สุด แล้ว)
.....
- คำนวณพื้นที่ผิวร่างกายว่า ท่านมีพื้นที่ผิวหนังกี่ตารางเมตร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
.....

ภาพ - พื้นที่ผิวปอด ลำไส้เล็ก ผิวหนัง (ตารางเมตร)
         โรคติดต่อในคนที่รุนแรง มักจะแพร่ผ่านทางเดินอาหาร หรือ ทางเดินหายใจ
         เนื่องจาก 2 ระบบนี้ มี พื้นที่ผิวสูงมาก

นพ.วัลลภ
ที่มา - [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่