Ko-Kha man
การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์เกาะคา(Ko-Kha man) ในประเทศไทยถือเป็นเรื่องสำคัญระดับโลก เป็นเวลานานร่วมยี่สิบปีมาแล้วแต่ดูเหมือนประชาชนคนไทยจะให้ความสนใจและรับรู้แพร่หลายไม่มากนัก
สำหรับในทวีปเอเซียนั้นได้พบซากมนุษย์โบราณ Homo erectus ดังกล่าวนี้ที่หมู่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ในปี ค.ศ. 1891 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในวงกว้างเรียกว่า “มนุษย์ชวา (Java man)” อายุประมาณ 700,000 – 400,000 ปีมาแล้ว และใน ค.ศ. 1927 ที่ถ้ำโจวโข่วเตี้ยน ชานกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน อายุประมาณ 750,000 ปี ถึง 200,000 ปีมาแล้ว เรียกกันว่า “มนุษย์ปักกิ่ง (Peking man)”
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ได้พบเครื่องมือหินกรวด ขนาดใหญ่ เทอะทะ ซึ่งเป็นเครื่องมือหินของมนุษย์โบราณที่บ้านด่านชุมพล อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง อยู่ใต้ชั้นหินบะซิลท์ ที่กำหนดอายุให้อยู่ในยุคไพสโตซีนตอนต้น เมื่อประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว แต่ไม่พบหลักฐานที่เกี่ยวกับซากของมนุษย์โบราณ
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2542 ได้มีการค้นพบชิ้นส่วนซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์โบราณ(โฮโมอีเรคตัส) ซึ่งเป็นส่วนของกะโหลกศีรษะมนุษย์โบราณจำนวน 4 ชิ้น ที่บริเวณถ้ำตะกร้า บ้านหาดปู่ด้าย ตำบลนาแส่ง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
ผลการศึกษากะโหลกมนุษย์โบราณที่พบดังกล่าว สรุปได้ว่า เป็นกะโหลกของมนุษย์โบราณ(โฮโม อีเรคตัส) ที่มีอายุประมาณ 1.4 ล้านปีมาแล้ว นับว่าเป็นการพบหลักฐานมนุษย์ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และถือเป็นแหล่งที่สามในทวีปเอเชีย จึงได้รับการตั้งชื่อว่า “มนุษย์เกาะคา (Ko-Kha man)”
ซึ่งมีลักษณะกะโหลกค่อนข้างหนาเทอะทะ หน้าผากลาด มีสันเหนือกระบอกตา มีปริมาตรความจุของขนาดมันสมอง 800 - 1200 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลักษณะทางโครงสร้างร่างกายของมนุษย์โฮโมอิเรคตัส มีแขนขา และกระดูกเชิงกรานที่แข็งแรงมาก ยืนตัวตรง และเดินได้ตรงเช่นเดียวกับมนุษย์สมัยใหม่ มีดำเนินชีวิตโดยการล่าสัตว์และการเก็บอาหารพวกพืชผักได้เป็นครั้งแรก
เขียนโดย อีจันบันเทิง
ขอบคุณข้อมูลจาก อ.สุรพล ดำริห์กุล ม.เชียงใหม่
Cr.
https://old.ejan.co/news/5ae3ee098c3f0
Cr.
http://gospig.blogspot.com/2007/08/500000-homo-erectus-huminoid-1-5.html
Java man
เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 1891 ยูยีน ดูบัวส์ (Eugène Dubois) ศัลยแพทย์ชาวดัตช์ซึ่งมีความสนใจในเรื่องต้นกำเนิดของมนุษย์ และได้รับทุนจากรัฐบาลดัตช์ในการขุดค้นฟอสซิลมนุษย์ในดินแดนดัตช์อีสต์อินดีส์ (หรืออินโดนีเซียในปัจจุบัน)
เมื่อเขาเข้าไปขุดสำรวจที่บริเวณแม่น้ำโซโล (Solo) ใกล้กับตรีนิล (Trinil) ทางตะวันออกของเกาะชวา ดูบัวส์ก็ได้พบฟอสซิลของชิ้นส่วนที่คาดว่าเป็น
กระดูกกราม และกระโหลกศีรษะของสิ่งมีชีวิตที่ "คล้ายมนุษย์" หลังจากนั้นมีการค้นพบกระดูกต้นขาเพิ่มขึ้น ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นของบุคคลเดียวกัน
หลังจากการค้นพบของดูบัวส์แล้ว ก็ยังมีผู้ขุดค้นพบฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์บนเกาะชวาอีกหลายแห่ง ซึ่งต่อมาก็ได้มีการเรียกชื่อรวม ๆ ว่า "มนุษย์ชวา" (Java man) ตามชื่อสถานที่ที่ค้นพบฟอสซิลดังกล่าว
จากการศึกษาฟอสซิลของมนุษย์ชวา นักวิทยาศาสตร์และนักมานุษยวิทยาได้สรุปว่า มนุษย์ชวาน่าจะจัดเป็น โฮโม อีเรคตัส (Homo Erectus) ซึ่งเป็นคนละสายพันธุ์กับมนุษย์ปัจจุบัน ดำรงชีวิตอยู่เมื่อราว 5 แสนปีที่ผ่านมาแล้ว และอาจจะสูญพันธุ์ไปเมื่อราว 1.5 หมื่นปีที่ผ่านมา มนุษย์ชวามีขนาดเล็กและความจุของสมองน้อยกว่ามนุษย์ปัจจุบัน คือมีความสูงราว 1.5 เมตร และความจุสมอง 755-1300 ลูกบาศก์เซนติเมตร สามารถยืนตัวตรงได้คล้ายมนุษย์ปัจจุบัน
นักวิทยาศาสตร์ที่เชื่อในทฤษฎี "มนุษย์ถือกำเนิดที่แอฟริกา" เชื่อว่ามนุษย์ชวาอพยพออกมาจากแอฟริกา โดยผ่านมาจากตอนใต้ของเอเชียผ่านมาตามคาบสมุทรอินโดจีน และเข้ามายังเกาะชวาตั้งแต่เมื่อระดับน้ำทะเลยังต่ำกว่าในปัจจุบันจนเป็นแผ่นดินเชื่อมติดกันเป็นผืนเดียว และบางส่วนอพยพขึ้นเหนือ และได้พบฟอสซิลที่เรียกว่า มนุษย์ปักกิ่ง (Peking man) ซึ่งมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน
รูป
https://alchetron.com/Java-Man
Cr.
http://119.46.166.126/…/selfaccess7/m1/633/lesson3/more2.php และ
https://en.wikipedia.org/wiki/Java_Man
Cr.
https://www.facebook.com/sararueaipueai/posts/1385604384906441/
Peking man
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการขุดค้นเพิ่มเติมในถ้ำของมนุษย์ปักกิ่งที่หมู่บ้านโจวโข่วเตี้ยน ใกล้กับกรุงปักกิ่ง ซึ่งในถ้ำแห่งนี้ได้พบฟอสซิลของมนุษย์เป็นครั้งแรกเมื่อปีค.ศ.1923 เรียกกันว่า “มนุษย์ปักกิ่ง (Peking man)”
แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โบราณวัตถุเหล่านั้นได้ถูกขนย้ายไปยังอเมริกาในปี 1941 ผลการขุดค้นเพิ่มในถ้ำของมนุษย์ปักกิ่งพบว่า บรรพบุรุษของเรารู้จักก่อไฟ ทำเครื่องนุ่งห่ม และประดิษฐ์หอกแหลม ตั้งแต่เมื่อแสนปีก่อน
มนุษย์ปักกิ่งก็คือ มนุษย์โฮโมอีเรกตัส เคยมีชีวิตในช่วงเวลา 750,000-200,000 ปีก่อน เมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักโบราณคดีได้ขุดค้นถ้ำดังกล่าวอีกครั้ง พบว่า มนุษย์สายพันธุ์นี้รู้จักนำหนังสัตว์มาทำให้นุ่มโดยใช้เครื่องมือหินแล้วเอามานุ่งห่ม และรู้จักการเจาะรูบนวัตถุ ภายในถ้ำยังพบบริเวณที่มีการก่อไฟด้วย
ที่น่าสนใจ เชินเจิ้น ภัณฑารักษ์ของพิพิทธภัณฑ์โทรอนโต สมาชิกพิเศษของสถาบันวิทยาศาสตร์จีน บอกว่า มนุษย์ชนิดนี้ได้นำก้อนหินที่มีความแหลมคมมาติดเข้าที่ปลายไม้เพื่อทำเป็นหอก ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการนำวัสดุสองชนิดมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นเครื่องมือ
ถ้ำแห่งนี้เป็นแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งเท่าที่เคยค้นพบ ในช่วงปีค.ศ.1921-1966 นั้น นักโบราณคดีได้ค้นพบเครื่องมือหินหลายพันชิ้น และเศษโครงกระดูกราว 40 ร่าง
Source : Daily Mail (U.K.)
Cr.
https://www.voicetv.co.th/read/59851
Red Deer Cave
หลายปีมานี้ นักชีววิทยาด้านวิวัฒนาการได้คาดการณ์ว่า มนุษย์สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่จะค้นพบนั้นส่วนใหญ่น่าจะมีร่องรอยและต้นกำเนิดจากแถบทวีปเอเชีย และผลการวิเคราะห์ล่าสุดจากฟอสซิลกระดูกที่ค้นพบทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ทำให้ยืนยันถึงความเป็นไปได้ของคำทำนายดังกล่าว
นิตยสารนิวไซแอนทิสต์และไลฟ์ไซน์ได้รายงานบทความวิจัยจากวารสารพีเอลโอเอส วัน (PloS ONE : Public Library of Science) ที่ตีพิมพ์ภาพหัวกะโหลกที่ขุดค้นได้เมื่อปี 1979 ที่ถ้ำหลงหลิน ในเขตปกครองตนเองกว๋างสี (Longlin Cave, Guangxi) ว่าในที่สุดทีมวิจัยก็วิเคราะห์ข้อมูลเป็นผลสำเร็จเมื่อเดือนมี.ค. 2555 โดยมีลักษณะจำเพาะทางด้านกายวิภาคไม่เหมือนกับมนุษย์สายพันธุ์อื่นที่ค้นพบ
ดาร์เรน เคอร์นู (Darren Curnoe) นักมานุษยบรรพกาลวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยนิว เซาธ์เวลส์ ในออสเตรเลีย (University of New South Wales in Sydney, Australia) ผู้ศึกษากะโหลกดังกล่าวสรุปเบื้องต้นว่า โครงกระดูกไม่เหมือนกับมนุษย์สายพันธุ์อื่นๆในผังวิวัฒนาการ กะโหลกที่พบไม่ได้พบเห็นทั่วไปในบรรพบุรุษของมนุษย์ยุคปัจจุบันในหลายหมื่นปีก่อน กะโหลกนั้น มีเนื้อกระดูกที่หนา มีคิ้วโปนเป็นขอบหนาชัดเจน โครงหน้าที่แบนสั้น และส่วนปากแบนไม่มีคางเหมือนมนุษย์ทั่วไป แต่ส่วนของสมอง อยู่ในส่วนหน้าคล้ายกับบรรพบุรุษมนุษย์ยุคปัจจุบัน
อีกทั้ง ยี่ ซือผิง (Ji Xueping) แห่งมหาวิทยาลัยยูนนาน (Yunnan University, China) ได้พบหลักฐานเพิ่มเติม เป็นฟอสซิลคล้ายมนุษย์พันธุ์ใหม่ที่แหล่งขุดค้นแห่งที่ 2 ในเหมืองถ้ำหินปูน จังหวัดยูนนาน (in Yunnan Province) อีก 3 ตัวอย่างด้วยกัน ตั้งแต่ปี 1989 และ ทีมวิจัยของเคอร์นูเพิ่งจะได้เข้าไปศึกษาร่วมกันเมื่อปี 2008
เคอร์นูเรียกฟอสซิลในชุดเดียวกันที่ค้นว่า มนุษย์ถ้ำกวางแดง (Red Deer Cave) หรือ ถ้ำหม่าหลู (Malu cave) เพราะคาดว่ามนุษย์โบราณกลุ่มนี้น่าจะชอบเนื้อกวาง เนื้อจากหลักฐานการขุดค้นพบร่องรอยการนำกวางตัวใหญ่มาประกอบอาหารภายในถ้ำหม่าหลู
อีกทั้ง เมื่อคำณวนอายุด้วยไอโซโทปคาร์บอน (Carbon dating) กับถ่านหินที่ค้นพบในบริเวณใกล้เคียงก็พบว่ามีอายุไล่เลี่ยกับฟอสซิลที่ค้นพบ ทำให้เชื่อว่า มนุษย์กลุ่มนี้รู้จักการใช้ไฟ และยังพบว่า สามารถสร้างเครื่องมือเองได้ด้วย
อย่างไรก็ดี ทีมวิจัยยังสรุปชัดไม่ได้ว่า มนุษย์ถ้ำกวางแดงมีต้นถิ่นฐานมาจากทางใด แต่ก็มีหลักฐานมากพอจะชี้ว่ามนุษย์กลุ่มนี้ยังอยู่บนโลกเมื่อไม่นานมานี้ ผ่านซากฟอสซิลอายุ 11,500 ปี ซึ่งอาจจะถือได้วาเป็นมนุษย์โบราณที่มีชีวิตรอดมาพอๆ กับมนุษย์ยุคปัจจุบัน
การค้นพบมนุษย์ถ้ำกวางแดงนี้ อาจจะช่วยเชื่อมโยงถึงหลักฐานที่ขาดหายไปในวิวัฒนาการของเพื่อนร่วมโลกกับมนุษย์ยุคปัจจุบัน ซึ่งเคอร์นูเชื่อว่า จะเป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์การค้นคว้ามนุษย์ยุคใหม่ในแถบเอเชีย
Cr.
http://www.neutron.rmutphysics.com/science-news/index.php?option=com_content&task=view&id=2322&Itemid=4&limit=1&limitstart=4
hobbit man
(มนุษย์สมัยใหม่ (ซ้าย) เปรียบเทียบกับกะโหลกศีรษะของฮอบบิท (ขวา) Cr.รูปภาพ Yousuke Kaifu)
เมื่อหลายปีก่อน ทีมนักโบราณมานุษยวิทยา ซึ่งนำโดย Mike Morwood แห่งประเทศออสเตรเลียได้ตีพิมพ์บทความในนิตยสาร Nature (Morwood M. J., et al. Nature, 392. 173 - 176 (1998)) อ้างว่า ได้ขุด พบเครื่องมือสมัยหินอายุกว่าแปดแสนปีในถ้ำเลียงบัว บนเกาะ Flores ในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งอยู่ห่างจากฝั่งตะวันออกของเกาะชวาไปถึง ๕๐๐ กิโลเมตร นักโบราณมานุษยวิทยาต่างคิดว่า ถ้าหากการค้นพบนี้เป็นสิ่งที่ยืนยันได้จริง ก็เท่ากับว่า มนุษย์โบราณสปีชี่ H. erectus สามารถต่อเรือข้ามทะเลได้
ในเมื่อการพัฒนาสติ ปัญญาจนถึงขนาดต่อเรือได้ เชื่อกันว่า มีแต่พวก Homo Sapiens หรือบรรพบุรุษของเราเท่านั้น(ซึ่งยังไม่เกิดมาเมื่อแปดแสนปีก่อนนี้) ที่มีสมองพัฒนาได้ถึงขนาดรู้จักสร้างเรือจึงยังแคลงใจว่า เครื่องมือเหล่านั้นจะเป็นของมนุษย์ปัจจุบัน Homo sapiens ที่เดินทางมาถึงในภายหลังแล้วสร้างเครื่องมือทิ้งไว้ที่ถ้ำเดียวกันนี้
แต่ทีมของ ศจ Morwood ได้กลับไปขุดค้นใหม่ในปี ค.ศ. ๒๐๐๓ เมื่อขุดลึกลงไปก็พบโครงกระดูกมนุษย์ร่างเล็กที่ยังไม่ทันกลายเป็นฟอสซิล จึงเป็นโครงกระดูกที่มีสภาพยุ่ยและบอบบางมาก โดยเฉพาะหัวกะโหลก แต่นักโบราณมานุษยวิทยาชาวอินโดนีเซีย คือ Thomas Sutikna มีความชำนาญในการถนอมโครงกระดูกเป็นอย่างดี จนสามารถขุดขึ้นมาศึกษาได้ และยังพบเครื่องมือยุคหินพร้อมกับกระดูกสัตว์ต่างๆ ที่มีรอยไหม้ ดังปรากฏในบทความตีพิมพ์ในนิตยสาร Nature เมื่อเดือน ตุลาคม ค.ศ. ๒๐๐๔
โครงกระดูกนี้จมอยู่ในชั้นดินลึก ๕.๙ เมตร เมื่อทำการตรวจวัดอายุอย่างถี่ถ้วนแล้วประมาณว่า โครงกระดูกมีอายุ ๑๘,๐๐๐ ปี ของมนุษย์ที่สูงเพียง ๑ เมตร ซากมนุษย์แคระนี้ มีช่องบรรจุสมองที่มีปริมาตรเพียงประมาณ ๔๐๐ ซีซี เท่านั้น ซึ่งมีขนาดเพียงหนึ่งในสามของมนุษย์ปัจจุบัน และยังเล็กกว่าซากมนุษย์โบราณในสปีชี่เดียวกัน คือพวก H. erectus ที่พบในเมือง Dmanisi ซึ่งถูกเรียกว่ามนุษย์ "ฮอบบิต" (hobbit man) หรือ มนุษย์แคระ และได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า โฮโม ฟลอเรเสียนซิส (Homo floresiensis)
Cr.
https://my.dek-d.com/dolly_hehe/blog/?blog_id=10072713
Cr.
https://en.wikipedia.org/wiki/Homo_floresiensis
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
กระโหลกมนุษย์โบราณที่พบในเอเชีย
การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์เกาะคา(Ko-Kha man) ในประเทศไทยถือเป็นเรื่องสำคัญระดับโลก เป็นเวลานานร่วมยี่สิบปีมาแล้วแต่ดูเหมือนประชาชนคนไทยจะให้ความสนใจและรับรู้แพร่หลายไม่มากนัก
สำหรับในทวีปเอเซียนั้นได้พบซากมนุษย์โบราณ Homo erectus ดังกล่าวนี้ที่หมู่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ในปี ค.ศ. 1891 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในวงกว้างเรียกว่า “มนุษย์ชวา (Java man)” อายุประมาณ 700,000 – 400,000 ปีมาแล้ว และใน ค.ศ. 1927 ที่ถ้ำโจวโข่วเตี้ยน ชานกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน อายุประมาณ 750,000 ปี ถึง 200,000 ปีมาแล้ว เรียกกันว่า “มนุษย์ปักกิ่ง (Peking man)”
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ได้พบเครื่องมือหินกรวด ขนาดใหญ่ เทอะทะ ซึ่งเป็นเครื่องมือหินของมนุษย์โบราณที่บ้านด่านชุมพล อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง อยู่ใต้ชั้นหินบะซิลท์ ที่กำหนดอายุให้อยู่ในยุคไพสโตซีนตอนต้น เมื่อประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว แต่ไม่พบหลักฐานที่เกี่ยวกับซากของมนุษย์โบราณ
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2542 ได้มีการค้นพบชิ้นส่วนซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์โบราณ(โฮโมอีเรคตัส) ซึ่งเป็นส่วนของกะโหลกศีรษะมนุษย์โบราณจำนวน 4 ชิ้น ที่บริเวณถ้ำตะกร้า บ้านหาดปู่ด้าย ตำบลนาแส่ง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
ผลการศึกษากะโหลกมนุษย์โบราณที่พบดังกล่าว สรุปได้ว่า เป็นกะโหลกของมนุษย์โบราณ(โฮโม อีเรคตัส) ที่มีอายุประมาณ 1.4 ล้านปีมาแล้ว นับว่าเป็นการพบหลักฐานมนุษย์ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และถือเป็นแหล่งที่สามในทวีปเอเชีย จึงได้รับการตั้งชื่อว่า “มนุษย์เกาะคา (Ko-Kha man)”
ซึ่งมีลักษณะกะโหลกค่อนข้างหนาเทอะทะ หน้าผากลาด มีสันเหนือกระบอกตา มีปริมาตรความจุของขนาดมันสมอง 800 - 1200 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลักษณะทางโครงสร้างร่างกายของมนุษย์โฮโมอิเรคตัส มีแขนขา และกระดูกเชิงกรานที่แข็งแรงมาก ยืนตัวตรง และเดินได้ตรงเช่นเดียวกับมนุษย์สมัยใหม่ มีดำเนินชีวิตโดยการล่าสัตว์และการเก็บอาหารพวกพืชผักได้เป็นครั้งแรก
เขียนโดย อีจันบันเทิง
ขอบคุณข้อมูลจาก อ.สุรพล ดำริห์กุล ม.เชียงใหม่
Cr.https://old.ejan.co/news/5ae3ee098c3f0
Cr.http://gospig.blogspot.com/2007/08/500000-homo-erectus-huminoid-1-5.html
Java man
เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 1891 ยูยีน ดูบัวส์ (Eugène Dubois) ศัลยแพทย์ชาวดัตช์ซึ่งมีความสนใจในเรื่องต้นกำเนิดของมนุษย์ และได้รับทุนจากรัฐบาลดัตช์ในการขุดค้นฟอสซิลมนุษย์ในดินแดนดัตช์อีสต์อินดีส์ (หรืออินโดนีเซียในปัจจุบัน)
เมื่อเขาเข้าไปขุดสำรวจที่บริเวณแม่น้ำโซโล (Solo) ใกล้กับตรีนิล (Trinil) ทางตะวันออกของเกาะชวา ดูบัวส์ก็ได้พบฟอสซิลของชิ้นส่วนที่คาดว่าเป็น
กระดูกกราม และกระโหลกศีรษะของสิ่งมีชีวิตที่ "คล้ายมนุษย์" หลังจากนั้นมีการค้นพบกระดูกต้นขาเพิ่มขึ้น ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นของบุคคลเดียวกัน
หลังจากการค้นพบของดูบัวส์แล้ว ก็ยังมีผู้ขุดค้นพบฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์บนเกาะชวาอีกหลายแห่ง ซึ่งต่อมาก็ได้มีการเรียกชื่อรวม ๆ ว่า "มนุษย์ชวา" (Java man) ตามชื่อสถานที่ที่ค้นพบฟอสซิลดังกล่าว
จากการศึกษาฟอสซิลของมนุษย์ชวา นักวิทยาศาสตร์และนักมานุษยวิทยาได้สรุปว่า มนุษย์ชวาน่าจะจัดเป็น โฮโม อีเรคตัส (Homo Erectus) ซึ่งเป็นคนละสายพันธุ์กับมนุษย์ปัจจุบัน ดำรงชีวิตอยู่เมื่อราว 5 แสนปีที่ผ่านมาแล้ว และอาจจะสูญพันธุ์ไปเมื่อราว 1.5 หมื่นปีที่ผ่านมา มนุษย์ชวามีขนาดเล็กและความจุของสมองน้อยกว่ามนุษย์ปัจจุบัน คือมีความสูงราว 1.5 เมตร และความจุสมอง 755-1300 ลูกบาศก์เซนติเมตร สามารถยืนตัวตรงได้คล้ายมนุษย์ปัจจุบัน
นักวิทยาศาสตร์ที่เชื่อในทฤษฎี "มนุษย์ถือกำเนิดที่แอฟริกา" เชื่อว่ามนุษย์ชวาอพยพออกมาจากแอฟริกา โดยผ่านมาจากตอนใต้ของเอเชียผ่านมาตามคาบสมุทรอินโดจีน และเข้ามายังเกาะชวาตั้งแต่เมื่อระดับน้ำทะเลยังต่ำกว่าในปัจจุบันจนเป็นแผ่นดินเชื่อมติดกันเป็นผืนเดียว และบางส่วนอพยพขึ้นเหนือ และได้พบฟอสซิลที่เรียกว่า มนุษย์ปักกิ่ง (Peking man) ซึ่งมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน
รูป https://alchetron.com/Java-Man
Cr. http://119.46.166.126/…/selfaccess7/m1/633/lesson3/more2.php และ https://en.wikipedia.org/wiki/Java_Man
Cr.https://www.facebook.com/sararueaipueai/posts/1385604384906441/
Peking man
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการขุดค้นเพิ่มเติมในถ้ำของมนุษย์ปักกิ่งที่หมู่บ้านโจวโข่วเตี้ยน ใกล้กับกรุงปักกิ่ง ซึ่งในถ้ำแห่งนี้ได้พบฟอสซิลของมนุษย์เป็นครั้งแรกเมื่อปีค.ศ.1923 เรียกกันว่า “มนุษย์ปักกิ่ง (Peking man)”
แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โบราณวัตถุเหล่านั้นได้ถูกขนย้ายไปยังอเมริกาในปี 1941 ผลการขุดค้นเพิ่มในถ้ำของมนุษย์ปักกิ่งพบว่า บรรพบุรุษของเรารู้จักก่อไฟ ทำเครื่องนุ่งห่ม และประดิษฐ์หอกแหลม ตั้งแต่เมื่อแสนปีก่อน
มนุษย์ปักกิ่งก็คือ มนุษย์โฮโมอีเรกตัส เคยมีชีวิตในช่วงเวลา 750,000-200,000 ปีก่อน เมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักโบราณคดีได้ขุดค้นถ้ำดังกล่าวอีกครั้ง พบว่า มนุษย์สายพันธุ์นี้รู้จักนำหนังสัตว์มาทำให้นุ่มโดยใช้เครื่องมือหินแล้วเอามานุ่งห่ม และรู้จักการเจาะรูบนวัตถุ ภายในถ้ำยังพบบริเวณที่มีการก่อไฟด้วย
ที่น่าสนใจ เชินเจิ้น ภัณฑารักษ์ของพิพิทธภัณฑ์โทรอนโต สมาชิกพิเศษของสถาบันวิทยาศาสตร์จีน บอกว่า มนุษย์ชนิดนี้ได้นำก้อนหินที่มีความแหลมคมมาติดเข้าที่ปลายไม้เพื่อทำเป็นหอก ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการนำวัสดุสองชนิดมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นเครื่องมือ
ถ้ำแห่งนี้เป็นแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งเท่าที่เคยค้นพบ ในช่วงปีค.ศ.1921-1966 นั้น นักโบราณคดีได้ค้นพบเครื่องมือหินหลายพันชิ้น และเศษโครงกระดูกราว 40 ร่าง
Source : Daily Mail (U.K.)
Cr.https://www.voicetv.co.th/read/59851
Red Deer Cave
หลายปีมานี้ นักชีววิทยาด้านวิวัฒนาการได้คาดการณ์ว่า มนุษย์สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่จะค้นพบนั้นส่วนใหญ่น่าจะมีร่องรอยและต้นกำเนิดจากแถบทวีปเอเชีย และผลการวิเคราะห์ล่าสุดจากฟอสซิลกระดูกที่ค้นพบทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ทำให้ยืนยันถึงความเป็นไปได้ของคำทำนายดังกล่าว
นิตยสารนิวไซแอนทิสต์และไลฟ์ไซน์ได้รายงานบทความวิจัยจากวารสารพีเอลโอเอส วัน (PloS ONE : Public Library of Science) ที่ตีพิมพ์ภาพหัวกะโหลกที่ขุดค้นได้เมื่อปี 1979 ที่ถ้ำหลงหลิน ในเขตปกครองตนเองกว๋างสี (Longlin Cave, Guangxi) ว่าในที่สุดทีมวิจัยก็วิเคราะห์ข้อมูลเป็นผลสำเร็จเมื่อเดือนมี.ค. 2555 โดยมีลักษณะจำเพาะทางด้านกายวิภาคไม่เหมือนกับมนุษย์สายพันธุ์อื่นที่ค้นพบ
ดาร์เรน เคอร์นู (Darren Curnoe) นักมานุษยบรรพกาลวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยนิว เซาธ์เวลส์ ในออสเตรเลีย (University of New South Wales in Sydney, Australia) ผู้ศึกษากะโหลกดังกล่าวสรุปเบื้องต้นว่า โครงกระดูกไม่เหมือนกับมนุษย์สายพันธุ์อื่นๆในผังวิวัฒนาการ กะโหลกที่พบไม่ได้พบเห็นทั่วไปในบรรพบุรุษของมนุษย์ยุคปัจจุบันในหลายหมื่นปีก่อน กะโหลกนั้น มีเนื้อกระดูกที่หนา มีคิ้วโปนเป็นขอบหนาชัดเจน โครงหน้าที่แบนสั้น และส่วนปากแบนไม่มีคางเหมือนมนุษย์ทั่วไป แต่ส่วนของสมอง อยู่ในส่วนหน้าคล้ายกับบรรพบุรุษมนุษย์ยุคปัจจุบัน
อีกทั้ง ยี่ ซือผิง (Ji Xueping) แห่งมหาวิทยาลัยยูนนาน (Yunnan University, China) ได้พบหลักฐานเพิ่มเติม เป็นฟอสซิลคล้ายมนุษย์พันธุ์ใหม่ที่แหล่งขุดค้นแห่งที่ 2 ในเหมืองถ้ำหินปูน จังหวัดยูนนาน (in Yunnan Province) อีก 3 ตัวอย่างด้วยกัน ตั้งแต่ปี 1989 และ ทีมวิจัยของเคอร์นูเพิ่งจะได้เข้าไปศึกษาร่วมกันเมื่อปี 2008
เคอร์นูเรียกฟอสซิลในชุดเดียวกันที่ค้นว่า มนุษย์ถ้ำกวางแดง (Red Deer Cave) หรือ ถ้ำหม่าหลู (Malu cave) เพราะคาดว่ามนุษย์โบราณกลุ่มนี้น่าจะชอบเนื้อกวาง เนื้อจากหลักฐานการขุดค้นพบร่องรอยการนำกวางตัวใหญ่มาประกอบอาหารภายในถ้ำหม่าหลู
อีกทั้ง เมื่อคำณวนอายุด้วยไอโซโทปคาร์บอน (Carbon dating) กับถ่านหินที่ค้นพบในบริเวณใกล้เคียงก็พบว่ามีอายุไล่เลี่ยกับฟอสซิลที่ค้นพบ ทำให้เชื่อว่า มนุษย์กลุ่มนี้รู้จักการใช้ไฟ และยังพบว่า สามารถสร้างเครื่องมือเองได้ด้วย
อย่างไรก็ดี ทีมวิจัยยังสรุปชัดไม่ได้ว่า มนุษย์ถ้ำกวางแดงมีต้นถิ่นฐานมาจากทางใด แต่ก็มีหลักฐานมากพอจะชี้ว่ามนุษย์กลุ่มนี้ยังอยู่บนโลกเมื่อไม่นานมานี้ ผ่านซากฟอสซิลอายุ 11,500 ปี ซึ่งอาจจะถือได้วาเป็นมนุษย์โบราณที่มีชีวิตรอดมาพอๆ กับมนุษย์ยุคปัจจุบัน
การค้นพบมนุษย์ถ้ำกวางแดงนี้ อาจจะช่วยเชื่อมโยงถึงหลักฐานที่ขาดหายไปในวิวัฒนาการของเพื่อนร่วมโลกกับมนุษย์ยุคปัจจุบัน ซึ่งเคอร์นูเชื่อว่า จะเป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์การค้นคว้ามนุษย์ยุคใหม่ในแถบเอเชีย
Cr.http://www.neutron.rmutphysics.com/science-news/index.php?option=com_content&task=view&id=2322&Itemid=4&limit=1&limitstart=4
hobbit man
(มนุษย์สมัยใหม่ (ซ้าย) เปรียบเทียบกับกะโหลกศีรษะของฮอบบิท (ขวา) Cr.รูปภาพ Yousuke Kaifu)
เมื่อหลายปีก่อน ทีมนักโบราณมานุษยวิทยา ซึ่งนำโดย Mike Morwood แห่งประเทศออสเตรเลียได้ตีพิมพ์บทความในนิตยสาร Nature (Morwood M. J., et al. Nature, 392. 173 - 176 (1998)) อ้างว่า ได้ขุด พบเครื่องมือสมัยหินอายุกว่าแปดแสนปีในถ้ำเลียงบัว บนเกาะ Flores ในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งอยู่ห่างจากฝั่งตะวันออกของเกาะชวาไปถึง ๕๐๐ กิโลเมตร นักโบราณมานุษยวิทยาต่างคิดว่า ถ้าหากการค้นพบนี้เป็นสิ่งที่ยืนยันได้จริง ก็เท่ากับว่า มนุษย์โบราณสปีชี่ H. erectus สามารถต่อเรือข้ามทะเลได้
ในเมื่อการพัฒนาสติ ปัญญาจนถึงขนาดต่อเรือได้ เชื่อกันว่า มีแต่พวก Homo Sapiens หรือบรรพบุรุษของเราเท่านั้น(ซึ่งยังไม่เกิดมาเมื่อแปดแสนปีก่อนนี้) ที่มีสมองพัฒนาได้ถึงขนาดรู้จักสร้างเรือจึงยังแคลงใจว่า เครื่องมือเหล่านั้นจะเป็นของมนุษย์ปัจจุบัน Homo sapiens ที่เดินทางมาถึงในภายหลังแล้วสร้างเครื่องมือทิ้งไว้ที่ถ้ำเดียวกันนี้
แต่ทีมของ ศจ Morwood ได้กลับไปขุดค้นใหม่ในปี ค.ศ. ๒๐๐๓ เมื่อขุดลึกลงไปก็พบโครงกระดูกมนุษย์ร่างเล็กที่ยังไม่ทันกลายเป็นฟอสซิล จึงเป็นโครงกระดูกที่มีสภาพยุ่ยและบอบบางมาก โดยเฉพาะหัวกะโหลก แต่นักโบราณมานุษยวิทยาชาวอินโดนีเซีย คือ Thomas Sutikna มีความชำนาญในการถนอมโครงกระดูกเป็นอย่างดี จนสามารถขุดขึ้นมาศึกษาได้ และยังพบเครื่องมือยุคหินพร้อมกับกระดูกสัตว์ต่างๆ ที่มีรอยไหม้ ดังปรากฏในบทความตีพิมพ์ในนิตยสาร Nature เมื่อเดือน ตุลาคม ค.ศ. ๒๐๐๔
โครงกระดูกนี้จมอยู่ในชั้นดินลึก ๕.๙ เมตร เมื่อทำการตรวจวัดอายุอย่างถี่ถ้วนแล้วประมาณว่า โครงกระดูกมีอายุ ๑๘,๐๐๐ ปี ของมนุษย์ที่สูงเพียง ๑ เมตร ซากมนุษย์แคระนี้ มีช่องบรรจุสมองที่มีปริมาตรเพียงประมาณ ๔๐๐ ซีซี เท่านั้น ซึ่งมีขนาดเพียงหนึ่งในสามของมนุษย์ปัจจุบัน และยังเล็กกว่าซากมนุษย์โบราณในสปีชี่เดียวกัน คือพวก H. erectus ที่พบในเมือง Dmanisi ซึ่งถูกเรียกว่ามนุษย์ "ฮอบบิต" (hobbit man) หรือ มนุษย์แคระ และได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า โฮโม ฟลอเรเสียนซิส (Homo floresiensis)
Cr.https://my.dek-d.com/dolly_hehe/blog/?blog_id=10072713
Cr.https://en.wikipedia.org/wiki/Homo_floresiensis
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)