เดือน มิ.ย. 63 ทาง Adobe ได้มีอัปเดตโปรแกรม Lightroom Classic
ซึ่งทำให้การใช้งานส่วนต่างๆดีขึ้น
และมี 8 เรื่องที่ผู้ใช้งานควรทราบดังนี้ครับ
1. ปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้งานเพิ่มมากขึ้น (Performance Improvements)
ลองใช้ไปสักพักรู้เลยว่าสเกลและการเปิดปิดส่วนต่างๆลื่นไหลมากยิ่งขึ้น เพราะในบางครั้งการใช้โปรแกรมประมวลผลอะไรสักอย่างแล้วเกิดความหน่วงสาเหตุส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากตัวโค้ดภายในโปรแกรมเอง มาในเวอร์ชั่นนี้รู้สึกว่าในคอมเครื่องเดิมโปรแกรมทำได้ดีมากขึ้น ใช้ทรัพยากรในเครื่องได้คุ้มค่ากว่าเก่า
2. ปรับปรุงหน้าตาโปรแกรมให้น่าใช้งานมากยิ่งขึ้น (UI Improvements)
ใครที่เคยใช้ Lightroom Classic ก็คงชินกับการอัปเดตที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงหน้าตาอะไรมานานหลายปีแล้ว มาตอนนี้หน้าตาปรับเปลี่ยนไปเล็กน้อย แต่เข้าใจมากยิ่งขึ้น รู้สึกว่าโปรแกรมไม่น่าจะยากและผู้ใช้หน้าใหม่ก็อาจรู้สึกเป็นมิตรกว่าเก่า ส่วนตัวผู้สอนชอบแบบใหม่นี้นะครับเพราะโปรแกรมออกแบบมาเก็บส่วนต่างๆที่เยอะแยะเอาไว้จนเรียบไปเลย อันไหนจะใช้ค่อยเปิดออกมา
3. ตัวเลือกปรับเปลี่ยนค่า ‘สีสัน’ ในการปรับแต่งเฉพาะจุด(Local Hue Adjustment)
หลายคนอาจจะว้าวก็ได้นะครับแต่ส่วนตัวก็เฉยๆ จะไปชอบก็ตรงการเลื่อนสเกลแบบละเอียดที่มีในฟังก์ชั่นนี้มากกว่า โดยที่คุณสมบัติดังกล่าวซ่อนอยู่ในฟิลเตอร์ทั้งหลายแหล่ ไม่ว่าจะเป็นฟิลเตอร์แถบสี (Graduated Filter), ฟิลเตอร์วงกลม (Radial Filter) และ พู่กันปรับแต่งเฉพาะจุด (Adjustments Brush)
เหตุผลที่รู้สึกเฉย เพราะแม้ไม่มีฟังก์ชั่นตัวนี้เราก็ปรับสีได้จากเครื่องมืออื่นที่มีอยู่แล้วนั่นเองครับ
4. แม่แบบของค่าความไวแสงที่ต่างกัน (ISO Adaptive Presets)
คุณสมบัตินี้มีไว้เพื่อการลดคลื่นสัญญาณรบกวนที่หลากหลาย เช่นถ้าถ่ายมา ISO100 เทียบกับ ISO1000 ปัญหาที่เกิดขึ้นจากสาเหตุดังกล่าวในภาพก็ไม่เท่ากัน การแก้ไขภาพจึงไม่ควรไปลดสิ่งเหล่านี้เท่ากัน ตรงนี้ก็ช่วยได้ ส่วนตัวไม่ได้ใช้อยู่แล้วเพราะไม่ถ่ายภาพมา ISO สูงจนเกินกำลังกล้องอยู่แล้วครับ หรือถ้าจะลดคงไปใช้ปลั๊กอินที่มีประสิทธิภาพมากกว่านี้จะดีกว่า
5. กรอบการจัดองค์ประกอบแบบศูนย์กลาง (Centered Crop Overlay)
ส่วนนี้มีเพิ่มมาใน Crop Guide Overlay (คีย์ลัด - ‘O’) ระหว่างที่ทำการใช้เครื่องมือ Crop Overlay (‘R’) ใครจะว้าวก็ว้าวไป แต่มันคุ้มไหมล่ะที่ไปว้าวกับกรอบแบบสี่เหลี่ยมผ่ากลางแบบนั้นน่ะ (555+)
6. แม่แบบการแก้ไขภาพขั้นพื้นฐานแบบใหม่ (New Defaults Presets)
อาจดูพื้นฐานไปสักนิด (ควรมีตั้งนานแล้ว) เพราะผู้ใช้ LRC จะสร้างไว้ใช้เองก็ได้แต่ Adobe ก็ละเอียดและใส่ใจเหมือนว่าเรื่องจุกจิกนี้ทำให้เลยก็แล้วกันนะ แล้วก็เป็นแม่แบบขั้นพื้นฐานที่คนน่าจะกดใช้มากกว่าแม่แบบพื้นฐานเก่าๆที่คนมักกดซ่อนมากกว่า อันนี้ดีครับ
7. รองรับกล้องและเลนส์ใหม่ๆ (Support for New Cameras and Lenses)
มันแน่อยู่แล้วเพราะค่ายกล้องแต่ละค่ายเขาไม่ร่วมมือในการแชร์เทคโนโลยีร่วมกันหรอกครับ การผลิตฟอร์แมท RAW ในหลายๆปีที่ผ่านมาชี้ให้เราเห็นว่าแต่ละค่ายต่างมีนามสกุลของใครของมัน ไม่มีใครมาร่วมใช้ DNG แบบเดียวกัน การปรับปรุงและเรียนรู้กล้องใหม่ๆของโปรแกรมให้เปิดได้มากที่สุดก็เป็นจุดที่ Adobe LRC ควรทำได้อยู่เสมอในรุ่นใหม่
8. การปรับปรุงในด้านอื่นๆ (Other Improvements)
มีหลายส่วนที่ต้องพูดไม่ว่าจะเป็นเส้นเคิร์ฟ ที่ชาว DozzDIY ใช้เป็นเครื่องมือพื้นฐานไปแล้วดูสวยงามมากขึ้น, การสำรองข้อมูลแคตาล็อกที่ดีขึ้น, การบีบอัดไฟล์ Tiff ที่ดีขึ้น, ส่วน Metadata อัปเดตที่ดีขึ้น และสารพัดสารเพที่ถึงไม่บอกก็ต้องรับรู้ได้ในการใช้งานอยู่ดี
8 สิ่งปรับปรุงใน Lightroom Classic 9.3 (อัปเดต มิ.ย. 63)
ซึ่งทำให้การใช้งานส่วนต่างๆดีขึ้น
และมี 8 เรื่องที่ผู้ใช้งานควรทราบดังนี้ครับ
ลองใช้ไปสักพักรู้เลยว่าสเกลและการเปิดปิดส่วนต่างๆลื่นไหลมากยิ่งขึ้น เพราะในบางครั้งการใช้โปรแกรมประมวลผลอะไรสักอย่างแล้วเกิดความหน่วงสาเหตุส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากตัวโค้ดภายในโปรแกรมเอง มาในเวอร์ชั่นนี้รู้สึกว่าในคอมเครื่องเดิมโปรแกรมทำได้ดีมากขึ้น ใช้ทรัพยากรในเครื่องได้คุ้มค่ากว่าเก่า
2. ปรับปรุงหน้าตาโปรแกรมให้น่าใช้งานมากยิ่งขึ้น (UI Improvements)
ใครที่เคยใช้ Lightroom Classic ก็คงชินกับการอัปเดตที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงหน้าตาอะไรมานานหลายปีแล้ว มาตอนนี้หน้าตาปรับเปลี่ยนไปเล็กน้อย แต่เข้าใจมากยิ่งขึ้น รู้สึกว่าโปรแกรมไม่น่าจะยากและผู้ใช้หน้าใหม่ก็อาจรู้สึกเป็นมิตรกว่าเก่า ส่วนตัวผู้สอนชอบแบบใหม่นี้นะครับเพราะโปรแกรมออกแบบมาเก็บส่วนต่างๆที่เยอะแยะเอาไว้จนเรียบไปเลย อันไหนจะใช้ค่อยเปิดออกมา
3. ตัวเลือกปรับเปลี่ยนค่า ‘สีสัน’ ในการปรับแต่งเฉพาะจุด(Local Hue Adjustment)
หลายคนอาจจะว้าวก็ได้นะครับแต่ส่วนตัวก็เฉยๆ จะไปชอบก็ตรงการเลื่อนสเกลแบบละเอียดที่มีในฟังก์ชั่นนี้มากกว่า โดยที่คุณสมบัติดังกล่าวซ่อนอยู่ในฟิลเตอร์ทั้งหลายแหล่ ไม่ว่าจะเป็นฟิลเตอร์แถบสี (Graduated Filter), ฟิลเตอร์วงกลม (Radial Filter) และ พู่กันปรับแต่งเฉพาะจุด (Adjustments Brush)
เหตุผลที่รู้สึกเฉย เพราะแม้ไม่มีฟังก์ชั่นตัวนี้เราก็ปรับสีได้จากเครื่องมืออื่นที่มีอยู่แล้วนั่นเองครับ
4. แม่แบบของค่าความไวแสงที่ต่างกัน (ISO Adaptive Presets)
คุณสมบัตินี้มีไว้เพื่อการลดคลื่นสัญญาณรบกวนที่หลากหลาย เช่นถ้าถ่ายมา ISO100 เทียบกับ ISO1000 ปัญหาที่เกิดขึ้นจากสาเหตุดังกล่าวในภาพก็ไม่เท่ากัน การแก้ไขภาพจึงไม่ควรไปลดสิ่งเหล่านี้เท่ากัน ตรงนี้ก็ช่วยได้ ส่วนตัวไม่ได้ใช้อยู่แล้วเพราะไม่ถ่ายภาพมา ISO สูงจนเกินกำลังกล้องอยู่แล้วครับ หรือถ้าจะลดคงไปใช้ปลั๊กอินที่มีประสิทธิภาพมากกว่านี้จะดีกว่า
5. กรอบการจัดองค์ประกอบแบบศูนย์กลาง (Centered Crop Overlay)
ส่วนนี้มีเพิ่มมาใน Crop Guide Overlay (คีย์ลัด - ‘O’) ระหว่างที่ทำการใช้เครื่องมือ Crop Overlay (‘R’) ใครจะว้าวก็ว้าวไป แต่มันคุ้มไหมล่ะที่ไปว้าวกับกรอบแบบสี่เหลี่ยมผ่ากลางแบบนั้นน่ะ (555+)
6. แม่แบบการแก้ไขภาพขั้นพื้นฐานแบบใหม่ (New Defaults Presets)
อาจดูพื้นฐานไปสักนิด (ควรมีตั้งนานแล้ว) เพราะผู้ใช้ LRC จะสร้างไว้ใช้เองก็ได้แต่ Adobe ก็ละเอียดและใส่ใจเหมือนว่าเรื่องจุกจิกนี้ทำให้เลยก็แล้วกันนะ แล้วก็เป็นแม่แบบขั้นพื้นฐานที่คนน่าจะกดใช้มากกว่าแม่แบบพื้นฐานเก่าๆที่คนมักกดซ่อนมากกว่า อันนี้ดีครับ
7. รองรับกล้องและเลนส์ใหม่ๆ (Support for New Cameras and Lenses)
มันแน่อยู่แล้วเพราะค่ายกล้องแต่ละค่ายเขาไม่ร่วมมือในการแชร์เทคโนโลยีร่วมกันหรอกครับ การผลิตฟอร์แมท RAW ในหลายๆปีที่ผ่านมาชี้ให้เราเห็นว่าแต่ละค่ายต่างมีนามสกุลของใครของมัน ไม่มีใครมาร่วมใช้ DNG แบบเดียวกัน การปรับปรุงและเรียนรู้กล้องใหม่ๆของโปรแกรมให้เปิดได้มากที่สุดก็เป็นจุดที่ Adobe LRC ควรทำได้อยู่เสมอในรุ่นใหม่
8. การปรับปรุงในด้านอื่นๆ (Other Improvements)
มีหลายส่วนที่ต้องพูดไม่ว่าจะเป็นเส้นเคิร์ฟ ที่ชาว DozzDIY ใช้เป็นเครื่องมือพื้นฐานไปแล้วดูสวยงามมากขึ้น, การสำรองข้อมูลแคตาล็อกที่ดีขึ้น, การบีบอัดไฟล์ Tiff ที่ดีขึ้น, ส่วน Metadata อัปเดตที่ดีขึ้น และสารพัดสารเพที่ถึงไม่บอกก็ต้องรับรู้ได้ในการใช้งานอยู่ดี